อิซาเบลลา เบิร์ด

อิซาเบลลา ลูซี เบิร์ด มีนามสกุลหลังแต่งงานว่า บิชอป (อังกฤษ: Isabella Lucy Bird, 15 ตุลาคม พ.ศ. 2374 – 7 ตุลาคม พ.ศ. 2447) เป็นนักสำรวจ นักเขียน[1] ช่างภาพ[2] และนักธรรมชาติวิทยา[3]ชาวอังกฤษ เธอกับ แฟนนี่ เจน บัตเลอร์ ได้ก่อตั้งโรงพยาบาลจอห์น บิชอป เมโมเรียล ในเมืองศรีนาการ์ ประเทศอินเดีย[4] เธอเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกราชสมาคมภูมิศาสตร์[5]

อิซาเบลลา เบิร์ด

FRSGS FRGS และได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกราชสมาคมภูมิศาสตร์แห่งสกอตแลนด์ (F.R.S.G.S)
ภาพของอิซาเบลลา เบิร์ด
เกิดอิซาเบลลา ลูซี เบิร์ด
15 ตุลาคม ค.ศ. 1831(1831-10-15)
โบโรบริดจ์, ยอร์กเชอร์, ประเทศอังกฤษ
เสียชีวิต7 ตุลาคม ค.ศ. 1904(1904-10-07) (72 ปี)
เนวิลสตรีท, เอดินบะระ, ประเทศสกอตแลนด์
สุสานสุสานดีน, เอดินบะระ
สัญชาติอังกฤษ
ชื่ออื่นอิซาเบลลา บิชอป
อาชีพนักสำรวจ นักเขียน ช่างภาพ นักธรรมชาติวิทยา
คู่สมรสจอห์น บิชอป (แต่ง 2424)
บิดามารดาดอร่า ลอว์สัน, เอ็ดเวิร์ด เบิร์ด

ชีวิตวัยต้น แก้

อิซาเบลลา เบิร์ด เกิดเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2374 ที่โบโรบริดจ์ฮอลล์ ยอร์กเชอร์ ซึ่งเป็นทั้งบ้านเกิดของคุณยายและเป็นที่ทำงานที่แรกของบิดาของเธอหลังจากได้รับคำสั่งในปี พ.ศ. 2364 พ่อแม่ของเธอคือ เรฟ เอ็ดเวิร์ด เบิร์ด และภรรยาคนที่สองของเขา ดอร่า ลอว์สัน (พ.ศ. 2346-2409)[1]

ในชั่วชีวิตวัยเด็กของเธอ เธอได้ย้ายที่อยู่เป็นจำนวนมาก ในปี พ.ศ. 2375 บาทหลวงเบิร์ดได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระสอนศาสนาตำแหน่งผู้ช่วยในเมเดนเฮด หลังจากนั้นเธอก็ต้องย้ายที่อยู่อีกครั้งเนื่องจากพ่อของเธอป่วยหนัก โดยย้ายไปที่ทัตเทนฮอลล์[6] มณฑลเชชเชอร์ โดยมี ดร.จอห์น เบิร์ด ซัมเนอร์ บิชอปแห่งเชสเตอร์ ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องของเขามาเยี่ยม ถัดมาในปีเดียวกันนั้นเอง เธอก็ได้มีน้องสาวชื่อว่า เฮนเรียตตา

เธอเป็นคนที่พูดขวานผ่าซากมาตั้งแต่เด็ก เมื่อตอนเธออายุเพียง 6 ขวบ เธอได้เผชิญหน้ากับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรท้องถิ่นนาม เซอร์ฟิลิป เกรย์ เอเกอร์ตัน บารอนเน็ตที่ 10 ขณะกำลังหาเสียงอยู่ และเข้าไปถามว่า "ที่คุณไปบอกพ่อว่าน้องสาวของดิฉันสวยงามมาก นั่นเป็นการชมเพื่อแลกกับคะแนนเสียงหรือเปล่าคะ"[7]

การที่พ่อของเธอมีความคิดขัดแย้งกับการทำงานในวันอาทิตย์ ทำให้ผู้คนที่นับถือเขาลดน้อยลง และถูกเชิญให้ย้ายไปที่เซนต์โธมัสในนครเบอร์มิงแฮม ที่นั่นก็ได้มีการยกประเด็นขึ้นมาคัดค้านอีกครั้ง ซึ่งส่งผลให้รัฐมนตรีถูกปาด้วย "ก้อนหิน โคลน และคำดูหมิ่น"

ในปี พ.ศ. 2391 ครอบครัวของเธอต้องย้ายที่อยู่อีกครั้ง เมื่อได้ใช้เวลาอยู่ในอีสต์บอร์นได้ระยะหนึ่ง ก็ได้หาที่พักอาศัยในไวตันในฮันติงดอนเชอร์ (ปัจจุบันคือเคมบริดจ์เชอร์)[7]

ในช่วงสมัยเด็กตอนต้น เธอเป็นคนที่อ่อนแอ ต้องทนทุกข์ทรมานจากอาการโรคไขสันหลัง ปวดหัว และนอนไม่หลับ หมอได้แนะนำเธอให้ใช้ชีวิตข้างนอกบ้านบ้าง[1] ด้วยเหตุนี้เธอจึงรู้วิธีการขี่ตั้งแต่วัยเด็ก และต่อมาก็พายเรือ ทางด้านการศึกษานั้น เธอได้แต่เพียงเรียนรู้จากพ่อและแม่ ทางด้านพ่อของเธอเป็นนักพฤกษศาสตร์ ผู้ที่สอนเธอให้รู้เรื่องพืช ส่วนทางด้านแม่ของเธอสอนเธอในทุกแขนง และเธอยังเป็นหนอนหนังสืออีกด้วย[7] อย่างไรก็ตาม "ความเฉลียวฉลาดและความอยากรู้ไปเสียทุกเรื่องของเธอ นั้นทำให้เป็นไปไม่ได้เลยที่สมองในวัยเด็กของเธอจะสามารถทนรับบรรยากาศในสังคมที่เต็มไปด้วยพวกเคร่งศาสนาได้"[8]

เมื่อเธออายุได้ 16 ปี แผ่นพับของเธอได้รับการตีพิมพ์ โดยแผ่นพับนั้นมีหัวข้อว่า การค้าเสรีกับลัทธิคุ้มครอง ต่อมาเธอก็ได้เขียนบทความให้กับวารสารต่าง ๆ ต่อไป[5] จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2393 เนื้องอกเส้นใยในบริเวณใกล้เคียงกระดูกสันหลังของเธอได้รับการนำออก แต่เธอก็ยังคงทนทุกข์ทรมานจากอาการที่ระบุสาเหตุไม่ได้ เธอยังคงมีอาการอ่อนล้าและนอนไม่หลับ ทำให้ครอบครัวของเธอใช้เวลาในช่วงฤดูร้อนถึง 6 รอบในการพยายามรักษาสุขภาพของเธอ

การที่แพทย์ได้แนะนำเธอให้ออกเดินทางทางทะเล ทำให้ในปี พ.ศ. 2397 ชีวิตการเดินทางของเธอได้เริ่มต้นขึ้น เมื่อเธอได้มีโอกาสในการเดินทางโดยสารเรือไปยังสหรัฐอเมริกา เพื่อพาลูกพี่ลูกน้องไปบ้านญาติ พ่อของเธอได้ "มอบเงินให้จำนวน 100 ปอนด์สเตอร์ลิง และมีคำขอให้ออกไปให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้"[7] "จดหมายอันสดใสสุดแสนบรรยาย"ของเธอที่ส่งไปยังญาติ ๆ[5] ได้กลายเป็นพื้นฐานของหนังสือเล่มแรกที่เธอเขียน ชื่อว่า "หญิงสาวชาวอังกฤษในอเมริกา" (2399)[9] ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์เมอร์เรย์ และจอห์น เมอร์เรย์ ผู้ก่อตั้งสำนักพิมพ์ก็ได้ชื่อว่า เป็นเพื่อนที่สนิทที่สุดและแน่นอนว่าเป็นผู้จัดพิมพ์ตลอดชีพของเธอ[10]

การเดินทางในวัยกลางคน แก้

 
อิซาเบลลา เบิร์ด ขณะสวมชุดแมนจูเรียจากการเดินทางผ่านประเทศจีน

ในปี พ.ศ. 2415 อิซาเบลลา เบิร์ด ได้ออกเดินทางนอกประเทศอังกฤษอีกครั้ง โดยคราวนี้มีเป้าหมายไปยังประเทศออสเตรเลียที่เธอไม่ชอบ ต่อมาไปที่ฮาวาย (เป็นที่รู้จักในยุโรปว่าหมู่เกาะแซนด์วิช) ความรักต่อฮาวาย จากทั้งการไปปีนภูเขาไฟเมานาเคอา และภูเขาไฟเมานาโลอา[11] ทำให้เธอแจ้งเกิดหนังสือเรื่องใหม่ ซึ่งจะตีพิมพ์ในอีก 3 ปีต่อมา จากนั้นเธอได้ย้ายเมืองไปยังรัฐโคโลราโด ที่ซึ่งเธอได้ยินว่าเป็นรัฐที่มีอากาศดี เหมาะสำหรับผู้ทุพพลภาพ เธอมักแต่งกายสุภาพ และขี่ม้าเยื้องไปด้านหน้าให้เหมือนผู้ชาย ในปี พ.ศ. 2416 เธอได้เดินทางบนเทือกเขาร็อกกีระยะทางกว่า 800 ไมล์ (1287 กม.) จดมหายของเธอที่ส่งไปถึงน้องสาวได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสาร ดิลีเชอร์อาเวอส์ (The Leisure Hour)[11] ตีพิมพ์ควบคู่ไปกับหนังสือเล่มที่ 4 และอาจเป็นเล่มที่โด่งดังที่สุดของเธอ มีชื่อว่า ชีวิตของหญิงสาวในเทือกเขาร็อกกี

ในช่วงเวลาที่เธอได้ใช้ไปกับเทือกเขาร็อกกี ผู้ที่ทำให้สุขภาพจิตของเธอยังดีอยู่ก็คงเป็นคนที่เธอบังเอิญไปรู้จัก คน ๆ นั้นมีชื่อว่า จิม นูเจนต์ เขายังได้เขียนหนังสือเรื่อง "ร็อคกี้เมาเท่นจิม" ซึ่งเป็นตำราเรียนนอกกฎหมาย เกี่ยวกับพวกความรุนแรง แฝงไปด้วยบทกวี ทางจิมนั้นดูเหมือนว่า เขาจะหลงชอบอิซาเบลลา ผู้ที่มีความคิดที่แสนอิสระ แต่เขาก็ต้องผิดหวัง เนื่องจากเธอได้ออกจากการเดินทางบนเทือกเขาร็อกกี ถัดมาในไม่ถึง 1 ปี จิมได้ถูกอาวุธปืนยิงเสียชีวิต

 
ภาพประกอบ แสดงผู้ชายชาวไอนุสองคน มาจากหนังสือของเธอในปี พ.ศ. 2423 ชื่อ ร่องรอยไร้พ่ายในญี่ปุ่น

เมื่อเธอกลับมาอยู่ที่บ้าน เธอได้ถูกตามล่าอีกครั้ง คราวนี้โดยศัลยแพทย์ชายวัยสามสิบในเอดินบะระนาม ดร.จอห์น บิชอป ถัดมาเธอได้มาสนใจประเทศญี่ปุ่น จากหนังสือของ จอห์น ฟรานซิส แคมป์เบลล์ เรื่อง "บันทึกย่อของฉัน" (2419) ฉะนั้นในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2421 เธอจึงได้ขอคำแนะนำจากอดีตหัวหน้านักสำรวจชื่อ โคลิน อเล็กซานเดอร์ แม็กวีน แล้วออกเดินทางอีกครั้ง โดยคราวนี้ไปยังประเทศญี่ปุ่น จีน เกาหลี เวียดนาม สิงคโปร์ และมาลายา ถัดมาเมื่อน้องสาวของเธอ เฮนเรียตต้า อมีเลีย เบิร์ด เสียชีวิตด้วยโรคไทฟอยด์ในปี พ.ศ. 2423 เธอจึงตัดสินใจตกลงรับคำขอแต่งงานของ จอห์น บิชอป โดยทั้งสองแต่งงานกันในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2424 และต่อมาในปีเดียวกันนั้นเอง เธอได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งคาปิโอลานี จากพระเจ้าคาลาคาอัวแห่งฮาวาย[1] ต่อมาสุขภาพของเธอกลับมาถึงขั้นเลวร้ายอีกครั้ง แต่เนื่องจากเงินจำนวนมากที่เธอได้รับเมื่อ จอห์น บิชอป เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2429 ผนวกด้วยความคิดที่ว่า การเดินทางในครั้งก่อน ๆ เป็นไปอย่างยากลำบาก เบิร์ดจึงตัดสินใจเรียนแพทย์และเดินทางในฐานะมิชชันนารี

ช่วงปลายชีวิต แก้

 
เกาหลีและเพื่อนบ้านของเธอ (2441)

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2432 เธอได้เดินทางไปยังประเทศอินเดีย โดยมีภารกิจในการเผยแพร่คริสตศาสนา พร้อมกับเยี่ยมชมลาดักที่ชายแดนของทิเบตแล้วเดินทางไปยังเปอร์เซีย เคอร์ดิสถานและตุรกี มหาราชาแห่งแคชเมียร์ได้มอบที่ดินส่วนหนึ่งในประเทศอินเดียให้แก่เธอ โดยให้เธอไปใช้ในการสร้างโรงพยาบาล ขนาดความจุ 16 เตียงและให้มีห้องจ่ายยาสำหรับผู้หญิง ที่นั่น เธอได้ทำงานร่วมกับ แฟนนี เจน บัตเลอร์ และก่อตั้งโรงพยาบาลจอห์น บิชอป เมโมเรียล เพื่อรำลึกถึงสามีที่เพิ่งเสียชีวิตซึ่งได้ทิ้งเงินไว้เพื่อการนี้ตามความประสงค์ของเขา ในปีต่อมา เธอเข้าร่วมกลุ่มทหารอังกฤษที่เดินทางระหว่างแบกแดดและเตหะราน ถัดมาในปี พ.ศ. 2434 เธอได้เดินทางผ่านบาลูจิสถานไปยังเปอร์เซียและอาร์เมเนีย เพื่อสำรวจแหล่งที่มาของแม่น้ำคอรูน และต่อมาในปีนั้นเธอได้ปราศรัยในห้องคณะกรรมการของสภาสามัญชนเรื่องการกดขี่ข่มเหงชาวคริสต์ในเคอร์ดิสถาน ซึ่งเธอได้เป็นถึงตัวแทนในการเสนอความแด่อัครมหาเสนาบดีแห่งจักรวรรดิตุรกี

การที่เธอได้ไปโพล่ในนิตยสารต่าง ๆ มาเป็นเวลาหลายทศวรรษ ทำให้เธอเป็นบุคลลที่ประชาชนรู้จักกันมาก จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2433 เธอได้เป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับทุนกิตติมศักดิ์จากราชสมาคมภูมิศาสตร์แห่งสกอตแลนด์ สองปีต่อมา เธอกลายเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมราชสมาคมภูมิศาสตร์[12] เธอยังได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของ ราชสมาคมถ่ายภาพ เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2440 การเดินทางครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายของเธอเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2440 เมื่อเธอเดินทางไปตามแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำฮันในประเทศจีนและเกาหลีตามลำดับ ต่อมาเธอยังคงเดินทางไปที่โมร็อกโก ซึ่งเธอได้เดินทางท่ามกลางชาวเบอร์เบอร์และต้องใช้บันไดในการขึ้นขี่ม้าตัวเมียสีดำของเธอ ซึ่งเป็นของขวัญจากสุลต่าน[11]

การเสียชีวิต แก้

 
การบูชาหลุมศพของอิซาเบลลา เบิร์ด ในสุสานดีน เอดินบะระ

เพียงไม่กี่เดือนหลังจากการเดินทางกลับจากโมร็อกโก เธอได้ล้มป่วยลงและในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2447 เธอได้เสียชีวิตที่บ้านของเธอ ณ 16 ถนนเมลวิลล์ เอดินบะระ สกอตแลนด์[13] เธอถูกฝังร่วมกับครอบครัวของเธอในสุสานดีนทางตะวันตกของเมือง หลุมศพของเธอตั้งอยู่ใกล้ทางโค้งและทางเดินเล็ก ๆ โดยในความเป็นจริงแล้ว เธอยังมีแผนการเดินทางไปยังประเทศจีนหากเธอยังมีชีวิตอยู่

สิ่งที่เหลือไว้ แก้

 
หอนาฬิกาในโทเบอร์โมรี ถูกสร้างโดยเงินบริจาคของอิซาเบลลา ลูซี่ เบิร์ด

ชีวประวัติฉบับแรกของอิซาเบลลา ถูกเขียนโดย แอน เอ็ม สต็อดดาร์ต และเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2450

ในละครท็อปเกิร์ล (2525) ที่เขียนโดย แคเรียล เชอร์ชิลล์ ได้ใช้อิซาเบลลาเป็นหนึ่งในตัวละครของเรื่อง รวมถึงบทสนทนาส่วนใหญ่ที่เชอร์ชิลล์เขียนก็มาจากงานเขียนของอิซาเบลลา

อิซาเบลลาได้รับการเสนอชื่อให้อยู่ในหอเกียรติยศสตรีโคโลราโดในปี พ.ศ. 2528[14]

ในหนังสือเรื่อง Bedrock: Writers on the Wonders of Geology (2549) โดยมี ลอเรต์ อี. ซาวอย, เอลดริดจ์ เอ็ม. มัวร์ส และจูดิธ อี. มัวร์ส เป็นบรรณาธิการ หนังสือเล่มนี้เล่าวถึงเธอในด้านงานเขียนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การยกย่องแด่ธรรมชาติและการอธิบายถึงลักษณะทางธรณีวิทยา[15]

อิซาเบลลายังได้เป็นตัวละครหลักของการ์ตูนเรื่อง อิซาเบลลา เบิร์ดในแดนมหัศจรรย์ (Fushigi no Kuni no Bird) ซึ่งเป็นนวนิยายเกี่ยวกับการเดินทางของเธอไปยังประเทศญี่ปุ่น โดยได้รับการแปลเป็นสองภาษา คือ ภาษาญี่ปุ่น และภาษาอังกฤษ ซึ่งเริ่มตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2561[16]

หอนาฬิกาในหมู่บ้านโทเบอร์โมรี บนเกาะมุล สกอตแลนด์ ซึ่งเป็นเป็นหอที่อิซาเบลลาใช้ทรัพย์สินส่วนตัวสร้างขึ้นมา โดยสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงเฮนเรียตตา ผู้เป็นน้องสาวสุดที่รักของเธอ โดยหอนี้ถูกออกแบบโดยนักปีนเขาและนักสำรวจชื่อ เอ็ดเวิร์ด วิมเปอร์[7]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Middleton, Dorothy (2004). "Bishop [Bird], Isabella Lucy (1831–1904)". Oxford Dictionary of National Biography. Oxford University Press.
  2. "Isabella Bird (1831–1904)". The John Murray Archive. National Library of Scotland. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2014. สืบค้นเมื่อ 16 March 2014.
  3. Ogilvie, Marilyn Bailey (1986). Women in science : antiquity through the nineteenth century : a biographical dictionary with annotated bibliography (Reprint. ed.). Cambridge, Mass.: MIT Press. pp. 38. ISBN 9780262650380.
  4. "Health Care Institutes - John Bishop Memorial Mission Hospital, Kashmir". Diocese of Amritsar. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 December 2014. สืบค้นเมื่อ 2015-04-21.
  5. 5.0 5.1 5.2 "Mrs Bishop". The Times. Obituaries. London, England (37521): 4. 10 October 1904.
  6. Lucas, Charles Prestwood (1912). Bishop, Isabella Lucy. Dictionary of National Biography. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 February 2017.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 Stoddart, Anna M, (1906) The Life of Isabella Bird, Mrs Bishop : London, J. Murray OCLC 4138739
  8. "The Life of Isabella Bird". The Spectator. London: 6. 26 January 1907.
  9. Bird, Isabella L. (1856). The Englishwoman in America. John Murray OCLC 169934144.
  10. David McClay. "Travels with Isabella Bird (transcript)". National Library of Scotland. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2014. สืบค้นเมื่อ 17 March 2014.
  11. 11.0 11.1 11.2 "Bird, Isabella". The Hawaiian Archipelago (Biographical Note). eBooks. 2004. p. i.
  12. Bell, Morag; McEwan, Cheryl (1996-01-01). "The Admission of Women Fellows to the Royal Geographical Society, 1892-1914; the Controversy and the Outcome". The Geographical Journal. 162 (3): 295–312. doi:10.2307/3059652. JSTOR 3059652.
  13. Edinburgh Post Office Directory 1904
  14. Colorado Women's Hall of Fame, Isabella Bird
  15. Savoy, Lauret E. & Moores, Eldridge M. & Moores, Judith E. 2006. TX: Trinity University Press.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  16. Baker, Bayleigh (2018-01-22). "Isabella Bird in Wonderland Manga Gets Bilingual Edition in Japan". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ 2018-11-30.