พระเจ้าคาลาคาอัวแห่งฮาวาย

พระเจ้าคาลาคาอัวแห่งฮาวาย (ฮาวาย: Kalākaua) หรือ สมเด็จพระราชาธิบดีเดวิด ลาอาเมอา คามานาคาปูอู มาฮีนูลานี นาไลอาเอฮูโอกาลานี ลูมีอาลานี คาลาคาอัว (ฮาวาย: David Laʻamea Kamanakapuʻu Mahinulani Nalaiaehuokalani Lumialani Kalākaua)[1] เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 7 แห่งราชอาณาจักรฮาวาย ต่อจากพระเจ้าลูนาลิโลแห่งฮาวาย พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในราชวงศ์คาลาคาอัวและถือได้ว่าพระองค์เป็นสมเด็จพระราชาธิบดีพระองค์สุดท้ายของฮาวาย เนื่องจากรัชกาลต่อจากพระองค์ซึ่งเป็นรัชกาลสุดท้ายดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระราชินีนาถ พระเจ้าคาลาคาอัวทรงครองราชย์ระหว่างวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 1874 จนถึง 20 มกราคม 1891 โดยในระหว่างครองราชย์พระองค์ทรงได้รับฉายาว่า The Merrie Monarch

พระเจ้าคาลาคาอัวแห่งฮาวาย

เดวิด ลาอาเมอา คามานาคาปูอู มาฮีนูลานี นาไลอาเอฮูโอกาลานี ลูมีอาลานี คาลาคาอัว
พระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะฮาวาย
ครองราชย์12 กุมภาพันธ์ 1874 - 20 มกราคม 1891
รัชสมัย17 ปี
ราชาภิเษก12 กุมภาพันธ์ 1883
รัชกาลก่อนหน้าพระเจ้าลูนาลิโลแห่งฮาวาย
รัชกาลถัดไปสมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานีแห่งฮาวาย
ประสูติ16 พฤศจิกายน 1836
สวรรคต20 มกราคม พ.ศ. 1891 (54 พรรษา)
พระอัครมเหสีสมเด็จพระราชินีคาปีโอลานีแห่งฮาวาย
ราชวงศ์คาลาคาอัว
พระบรมราชชนกคาเอซาร์ คาปาเคอา
พระบรมราชชนนีอานาเลอา เคโอโฮคาโลเล
ลายพระอภิไธย

พระราชประวัติ แก้

 
พระเจ้าคาลาคาอัวเมื่อทรงพระเยาว์ ราวปีค.ศ. 1850

พระเจ้าคาลาคาอัว เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 1836 ที่เมืองโฮโนลูลู ราชอาณาจักรฮาวาย ทรงเป็นโอรสในคาเอซาร์ คาปาเคอากับอานาเลอา เคโอโฮคาโลเล มีพระอนุชาและพระขนิษฐภคนีทั้งสิ้น 7 พระองค์ ได้แก่ โมเสส คาลีโอคาลานี สมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานีแห่งฮาวาย แอนนา คาอีอูลานี เจ้าหญิงไคมีนาอาอูอาโอ คีนีนี เจ้าหญิงลีเกลีเกและเจ้าชายเลเลอีโอโฮกูที่ 2[1] พระนาม คาลาคาอัว ของพระองค์มีความหมายถึงวันแห่งสงคราม ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับวันที่สหราชอาณาจักรและราชอาณาจักรฮาวายในรัชสมัยของพระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 3 แห่งฮาวายได้ลงนามในสนธิสัญญาซึ่งไม่เป็นธรรมในวันที่พระองค์เสด็จพระราชสมภพ[2][3] ถึงแม้ว่าในระยะแรกพระองค์ได้รับการกำหนดให้เป็นบุตรบุญธรรมของคูอีนี ลีลีฮา ผู้ว่าราชการโออาฮู แต่เจ้าหญิงคีอานูกลับส่งพระองค์ให้ไปเป็นบุครบุญธรรมของฮาอะเฮโอ คานูอีและสามีของนางคือเคอาเวอามาฮี คีนามากาแทน[4] ฮาอะเฮโอมารดาบุญธรรมของพระองค์เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1843 โดยทำพินัยกรรมยกสมบัติทั้งหมดของนางให้แก่พระองค์[5] หลังจากมารดาบุญธรรมของพระองค์เสียชีวิต สิทธิ์ในการเลี้ยงดูจึงตกอยู่กับบิดาบุญธรรมของพระองค์ ซึ่งเป็นหัวหน้าระดับล่าง ต่อมาบิดาบุญธรรมได้แต่งงานกับไป หญิงชาวตาฮีติ ซึ่งได้เลี้ยงดูพระองค์เสมือนบุตรของตนเอง[4][6]

เมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้ 4 พรรษา พระองค์ได้กลับไปอาศัยอยู่ที่โออาฮูกับพระบิดาและพระมารดาที่แท้จริง พระองค์ได้เข้าศึกษาต่อในโรงเรียนสำหรับชนชั้นสูงของฮาวาย ในขณะที่กำลังศึกษาอยู่นั้นพระองค์สามารถตรัสได้ทั้งภาษาฮาวายและภาษาอังกฤษอย่างคล่องแคล่ว เมื่อพระองค์มีพระชนมายุ 16 พรรษา พระองค์เริ่มศึกษากฎหมาย แต่ด้วยภาระหน้าที่ของพระองค์ในรัฐบาลมีมากทำให้พระองค์ไม่มีโอกาสสำเร็จการศึกษาทางด้านกฎหมาย ในปี ค.ศ. 1863 พระองค์ได้รับมอบหมายให้ดูแลงานทางด้านการไปรษณีย์

การเลือกตั้งพระมหากษัตริย์ ค.ศ. 1872 แก้

พระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 5 แห่งฮาวาย พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์คาเมฮาเมฮาเสด็จสวรรคตในวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1872 โดยไม่ได้แต่งตั้งรัชทายาทในการขึ้นครองราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรฮาวายได้กำหนดไว้ว่าหากพระมหากษัตริย์มิได้แต่งตั้งผู้ใดเป็นรัชทายาท พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่จะมาจากการเลือกตั้งในรัฐสภา

ในการเลือกตั้งครั้งนี้มีบุคคลสมัครรับเลือกตั้งเป็นพระมหากษัตริย์ฮาวายค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตามการเลือกตั้งในครั้งนี้มีผู้สมัครที่เป็นชนชั้นสูง 2 คนที่มีความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่ง คือ วิลเลียม ลูนาลีโลกับคาลาคาอัว อย่างไรก็ตามลูนาลีโลได้รับความนิยมมากกว่า เนื่องจากมีสถานะทางชนชั้นที่สูงกว่าคาลาคาอัว อีกทั้งยังเป็นลูกพี่ลูกน้องของพระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 5 แห่งฮาวาย นอกจากนี้แล้วลูนาลีโลมีความเป็นเสรีนิยมมากกว่าคาลาคาอัว และให้สัญญาแก่ประชาชนในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้ประชาชนมีสิทธิ์มีเสียงในการบริหารราชการแผ่นดินมากขึ้น หลายฝ่ายเชื่อว่าลูนาลีโลมีความเหมาะสมที่จะดำรงสถานะเป็นพระมหาษัตริย์ แต่ลูนาลีโลไม่ตอบรับหากไม่ได้รับการยินยอมจากประชาชน

ในช่วงของการเลือกตั้งนี้ คาลาคาอัวได้แต่งคำประพันธ์ในภาษาฮาวาย โดยมีข้อความตัดตอนเป็นภาษาอังกฤษดังนี้ :

"O my people! My countrymen of old! Arise! This is the voice!"
"Ho! all ye tribes! Ho! my own ancient people! The people who took hold and built up the Kingdom of Kamehameha."
"Arise! This is the voice."
"Let me direct you, my people! Do nothing contrary to the law or against the peace of the Kingdom."
"Do not go and vote."
"Do not be led by the foreigners; they had no part in our hardships, in gaining the country. Do not be led by their false teachings."

คาลาคาอัวมีความที่เป็นอนุรักษนิยมมากกว่าลูนาลีโล ในระหว่างนั้นชาวต่างชาติมีบทบาทสำคัญในการควบคุมรัฐบาลฮาวาย คาลาคาอัวให้สัญญาว่าจะให้ชาวพื้นเมืองเข้ามามีบทบาทในการบริหารราชการแผ่นดิน รวมถึงแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1873 ประชาชนลงคะแนนเลือกลูนาลีโลด้วยคะแนนเสียงส่วนใหญ่ และในวันต่อมารัฐสภาเห็นชอบ ลูนาลีโลขึ้นเสวยราชสมับติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะฮาวาย

เหตุการณ์ในรัชสมัย แก้

 
เส้นทางการเดินทางของพระเจ้าคาลาคาอัว

เมื่อพระเจ้าลูนาลิโลแห่งฮาวาย เสด็จสวรรคตอย่างกะทันหัน โดนไม่ทรงมีรัชทายาท ทำให้เกิดปัญหาเรื่องผู้ที่จะสืบราชบัลลังก์ระหว่างพระองค์กับสมเด็จพระราชินีเอ็มมา นาเอ รูก แต่ในที่สุดพระองค์ก็ได้รับเลือกให้เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ต่อไป ปัญหาการไม่มีรัชทายาทสืบราชบัลลังก์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ไม่มั่นคง พระองค์จึงได้แต่งตั้งเจ้าชายเลเลอีโอโฮกูที่ 2 พระอนุชาของพระองค์ให้ทรงเป็นรัชทายาท เพื่อสร้างความมั่นคงให้สถาบันพระมหากษัตริย์

ในระยะแรกของการครองราชย์ของพระเจ้าคาลาคาอัว พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนเกาะต่าง ๆ ของราชอาณาจักรฮาวาย ซึ่งในท้ายที่สุดช่วยสร้างความนิยมของพระองค์ ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1874 พระองค์ส่งผู้แทนทางการทูตไปสหรัฐอเมริกา เพื่อเจรจาสนธิสัญญาที่จะช่วยกันลดความตึงเครียดลงในฮาวาย ในเดือนพฤศจิกายน พระเจ้าคาลาคาอัวเสด็จพระราชดำเนินเยือนวอชิงตัน ดี.ซี. เพื่อเข้าพบประธานาธิบดียูลิสซิส เอส. แกรนท์ ซึ่งนำไปสู่การลงนามในสนธิสัญญาเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1875 โดยเนื้อหาในสนธิสัญญาจะอนุญาตให้ฮาวายสามารถส่งน้ำตาลและข้าวเข้าสหรัฐอเมริกาได้โดยไม่มีภาษี

ในช่วงแรกของรัชสมัย พระองค์ได้ใช้อำนาจสูงสุดเท่าที่พระองค์มีในการแต่งตั้งและถอดถอนคณะรัฐมนตรีบ่อยครั้ง โดยพระเจ้าคาลาคาอัวเชื่อว่าชนชั้นสูงมีสิทธิอันชอบธรรมในการปกครอง การกระทำเช่นนี้ของพระองค์ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากกลุ่มมิชชันนารีซึ่งต้องการเห็นการปฏิรูปการปกครองของฮาวาย โดยใช้พื้นฐานราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญของสหราชอาณาจักรซึ่งลดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ กลุ่มคณะมิชชันนารีกลุ่มนี้ยังเชื่อว่าผู้ที่จะควบคุมคณะรัฐบาลควรเป็นรัฐสภาไม่ใช่พระมหากษัตริย์ การถอดถอนและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีได้ดำเนินการต่อไปตลอดรัชสมัยของพระองค์

ในปี ค.ศ. 1881 พระองค์ก็ได้เสด็จเยือนประเทศต่าง ๆ เพื่อนำแนวทางมาพัฒนาฮาวาย พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและเรียนรู้วิธีการปกครองของแต่ละประเทศ เมื่อพระเจ้าคาลาคาอัวได้เสด็จออกจากฮาวาย พระองค์ได้มอบหมายให้เจ้าฟ้าหญิงลีลีโอกาลานีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (แทนเจ้าชายเลเลอีโอโฮกูที่ 2 ที่สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1877) พระองค์เริ่มการเสด็จเยือนต่างประเทศของพระองค์ที่ซานฟรานซิสโกซึ่งพระองค์ได้รับการต้อนรับที่ดี จากนั้นพระองค์เสด็จพระราชดำเนินเยือนจักรวรรดิญี่ปุ่นและเข้าพบจักรพรรดิเมจิ หลังจากนั้นพระองค์ได้เสด็จเยือนจักรวรรดิชิง สยามในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พม่า บริติชราช อียิปต์ อิตาลี เบลเยียม จักรวรรดิเยอรมัน จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 สเปน โปรตุเกส สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ และเดินทางไปต่อที่สหรัฐอเมริกาเพื่อจะเดินทางกลับฮาวาย ในการเดินทางครั้งนี้ทำให้พระองค์มีโอกาสพบผู้นำประเทศหลายพระองค์และคน เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 13 สมเด็จพระเจ้าอุมแบร์โตที่ 1 แห่งอิตาลี เตาฟิก ปาชา อุปราชแห่งอียิปต์ จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 1 แห่งเยอรมนี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เชสเตอร์ เอ. อาเทอร์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาและสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย การเดินทางในครั้งนี้ส่งผลให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่เดินทางรอบโลก[7] [8]วิลเลียม อาร์มสตรองได้เขียนบันทึกการเดินทางในครั้งนี้ไว้ในหนังสือ Around the World With a King[9][10]

 
พระบรมราชานุเสาวรีย์พระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 1 มหาราช

พระเจ้าคาลาคาอัวได้สร้างพระราชวังอิโอลานี ซึ่งเป็นพระราชวังเพียงแห่งเดียวที่มีอยู่ในสหรัฐอเมริกาปัจจุบัน โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 300,000 ดอลลาร์ สิ่งของตบแต่งในพระราชวังมาจากการสั่งซื้อของพระเจ้าคาลาคาอัวระหว่างเดินทางในทวีปยุโรป นอกจากนี้พระเจ้าคาลาคาอัวได้ตัดสินพระทัยที่จะสร้างพระบรมราชานุเสาวรีย์ของพระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 1 แห่งฮาวาย พระมหากษัตริย์พระองค์แรกของราชอาณาจักร โดยพระบรมราชานุเสาวรีย์แรกเริ่มนั้นจมลงไปพร้อมกับเรือที่บรรทุกมาบริเวณหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ ดังนั้นพระองค์จึงมีพระราชโองการสร้างทดแทนในปี ค.ศ. 1883 ในปี ค.ศ. 1912 ได้มีการส่งพระบรมราชานุเสาวรีย์เดิมที่จมลงไปและซ่อมแซมแล้วสู่ฮาวาย ในปี ค.ศ. 1969 ได้มีการสั่งสร้างพระบรมราชานุเสาวรีย์เพิ่มเติม ซึ่งพระบรมราชานุเสาวรีย์เหล่านี้กลายเป็นสิ่งที่ระลึกถึงเอกราชของฮาวาย

พระเจ้าคาลาคาอัวได้มีแนวความคิดในการสร้างจักรวรรดิโพลินีเซีย ในปี ค.ศ. 1886 รัฐสภาได้ผ่านงบประมาณ 30,000 ดอลลาร์ (787,000 ดอลลาร์ในปัจจุบัน) สำหรับการสถาปนาสหพันธรัฐโพลินีเซีย พระเจ้าคาลาคาอัวได้ส่งผู้แทนไปซามัวเพื่อเข้าเฝ้ามาลีเอตัว เลาเปปา ซึ่งมาลีเอตัวได้ตกลงที่จะร่วมสหพันธรัฐ อย่างไรก็ตามสหพันธรัฐนี้ต้องสิ้นสภาพลงไป เนื่องจากพระองค์สูญเสียพระราชอำนาจจากการผ่านรัฐธรรมนูญบาโยเนต์และพรรครีฟอร์มขึ้นมามีอำนาจในรัฐบาล ซึ่งรัฐธรรมนูญบาโยเนต์เกิดจากกลุ่มมิชชันารีได้วิพากษ์วิจารณ์พระองค์เกี่ยวกับหนื้สินของราชอาณาจักรและความสุรุ่ยสุร่ายของพระองค์ ในช่วงเวลานั้นมีชาวต่าวชาติกลุ่มหนึ่งต้องการบีบบังคับให้พระองค์สละราชสมบัติและสถาปนาเจ้าฟ้าหญิงลีลีโอกาลานีขึ้นครองราชสมบัติ ในขณะที่บางกลุ่มต้องการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์และเปิดทางให้สหรัฐอเมริกาเข้ามาผนวกเข้าเป็นดินแดนของสหรัฐ กลุ่มบุคคลที่ต้องการให้สหรัฐอเมริกาผนวกดินแดนได้ก่อตั้ง สันนิบาตฮาวาย โดยสมาชิกของกลุ่มนี้ได้นำกำลังพร้อมอาวุธบังคับพระเจ้าคาลาคาอัวให้ลงพระนามในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยธรรมนูญบาโยเนต์นี้เป็นรัฐธรรมนูญที่ลดพระราชอำนาจส่วนใหญ่ของพระมหากษัตริย์และริดรอนสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งของชนพื้นเมืองชาวฮาวาย ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ทำให้ 75 % ของชาวฮาวายไม่สามารถลงคะแนนเลือกตั้งได้ ด้วยเกิดจากข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญทางด้านเพศ การรู้หนังสือ ทรัพย์สินและอายุ อย่างไรก็ตามได้มีความพยายามก่อการเพื่อฟื้นฟูพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ภายใต้การนำของโรเบิร์ต วิลคอกแต่ล้มเหลว

สวรรคต แก้

ในปี ค.ศ. 1890 พระพลานามัยของพระองค์เริ่มแย่ลง พระองค์จึงเดินทางไปรักษาที่ซานฟรานซิสโกตามคำแนะนำของแพทย์ และเสด็จสวรรคตที่นั่นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 1891 พระราชดำรัสสุดท้ายของพระองค์คือ "Aue, he kanaka au, eia i loko o ke kukonukonu o ka maʻi!," หรือ "ฉันเป็นคนที่ป่วยหนัก" คำคมที่มีชื่อเสียงของพระองค์ "บอกประชาชนของฉันว่าฉันพยายามแล้ว" เป็นคำที่คิดค้นขึ้นโดยยูจัน เบิร์นในงานเขียนเกี่ยวกับพระราชประวัติของพระเจ้าคาลาคาอัวของเขาเมื่อปี ค.ศ. 1952 The last king of Paradise[11] พระราชดำรัสของพระองค์ก่อนสิ้นพระชนม์ได้รับการบันทึกไว้ใน phonograph cylinder ซึ่งปัจจุบันเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์บิชอป[12]

พระบรมศพของพระองค์ได้ส่งกลับมาฮาวายโดยเรือของสหรัฐอเมริกา ด้วยเหตุที่พระองค์ไม่มีพระราชโอรสและพระราชธิดา ส่งผลให้ เจ้าฟ้าหญิงลีลีโอกาลานี พระขนิษฐาของพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์

ตราประจำพระองค์ แก้

 
ตราแผ่นดินราชอาณาจักรฮาวาย
 
พระปรมาภิไธยย่อของพระเจ้าคาลาคาอัว
 
พระปรมาภิไธยย่อของพระเจ้าคาลาคาอัว

พระราชพงศาวลี แก้

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. คาเมเออิอาโมกู
 
 
 
 
 
 
 
8. เคปูคาลานี่
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. คามาคาเอเฮอิคูลี
 
 
 
 
 
 
 
4. คามานาวาที่ 2
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. คาลานินูอิอามามาโอ
 
 
 
 
 
 
 
9. อลาปาอิวาฮิเน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. คาโอลานิอาลิอิ
 
 
 
 
 
 
 
2. คาเอซาร์ คาปาเคอา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. คาลิโลอาโมกู
 
 
 
 
 
 
 
10. คาเนปาวาเล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. คาฮูนา
 
 
 
 
 
 
 
5. คาโมคูอิคิ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. อาฮูนูลาคาโลเว
 
 
 
 
 
 
 
11. อูอาอูอา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. คาลิโออาโมคู
 
 
 
 
 
 
 
1. พระเจ้าคาลาคาอัวแห่งฮาวาย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. คาเมเออิอาโมกู
 
 
 
 
 
 
 
12. เคปูคาลานี่
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. คามาคาเอเฮอิคูลี
 
 
 
 
 
 
 
6. อาอิคานาคา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
26. เคอาวา อา เฮอูลู
 
 
 
 
 
 
 
13. เคโอโฮฮิวา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
27. อูลูลานี่
 
 
 
 
 
 
 
3. อานาเลอา เคโอโฮคาโลเล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
28. คาโออิโออา
 
 
 
 
 
 
 
14. มาลาเออากินี่
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
29. เคโคฮิโมกู
 
 
 
 
 
 
 
7. คามาเอโอคาลานี่
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
30. คาโอ
 
 
 
 
 
 
 
15. คาอูฮิโนคาคา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
31. อาวิลี
 
 
 
 
 
 

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Christopher Buyers. "Kauai Genealogy". Royal Ark web site. สืบค้นเมื่อ March 1, 2010.
  2. Niklaus Rudolf Schweizer (2005). Turning tide: the ebb and flow of Hawaiian nationality. Peter Lang. p. 249. ISBN 0-8204-7030-9.
  3. Kingdom of Hawaii (1875). Treaties and conventions concluded between the Hawaiian Kingdom and other powers, since 1825. Pacific Commercial Advertiser Print. p. vii.
  4. 4.0 4.1 Darlene E. Kelley (January 1, 2001). "Kalakaua Part 2". Keepers of the Culture: A study in time of the Hawaiian Islands As told by the ancients. สืบค้นเมื่อ January 28, 2010.
  5. Supreme Court of Hawaii (1866). Reports of a portion of the decisions rendered by the Supreme Court of the Hawaiian Islands in law, equity, admiralty, and probate. Govt. Press. pp. 82–86.
  6. Sheldon Dibble (1843). History of the Sandwich Islands. Lahainaluna: Press of the Mission Seminary. p. 330.
  7. Ka Momi เก็บถาวร 2010-06-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Huapala.org. Retrieved on 2011-07-28.
  8. "KING KALAKAUA". Kalakaua Middle School. 10 December 2013.
  9. William N. Armstrong (May 1995). "About the Author: William N. Armstrong (Hardcover edition)". Editorial Reviews (Mass Market Paperback ed.). Amazon.com. ISBN 1-56647-017-X.
  10. Armstrong, William N. and Grant, Glen (May 1995). Around the World With a King. Mutual Pub Co. ISBN 1-56647-017-X.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  11. Thompson, David (February 2013). "Kalakaua's Famous Last Words?". Honolulu Magazine. PacificBasin Communications.
  12. Bishop Museum Tries To Revive Past King's Voice เก็บถาวร 2012-03-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Kitv.com (2009-11-24). Retrieved on 2011-07-28.
  13. พระราชทานเครื่องราชอิสริยยศ (หน้า ๕๔๒)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ก่อนหน้า พระเจ้าคาลาคาอัวแห่งฮาวาย ถัดไป
พระเจ้าลูนาลิโลแห่งฮาวาย    
พระมหากษัตริย์ฮาวาย
(12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1874 - 20 มกราคม ค.ศ. 1891)
  สมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานีแห่งฮาวาย