อำเภอเชียงตุง

อำเภอในรัฐฉาน ประเทศพม่า

อำเภอเชียงตุง (พม่า: ကျိုင်းတုံမြို့နယ်; ไทใหญ่: ၸႄႈဝဵင်းၵဵင်းတုင်; อังกฤษ: Kengtung township) เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงตุง รัฐฉาน ประเทศพม่า มีเมืองหลักคือเมืองเชียงตุง ซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของจังหวัดเชียงตุงด้วย อาณาเขตเกือบทั้งหมดของอำเภอตั้งอยู่ทางฟากตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน มีพื้นที่ประมาณ 3,500 ตารางกิโลเมตร

อำเภอเชียงตุง

ကျိုင်းတုံမြို့နယ်
ที่ตั้งของอำเภอเชียงตุงภายในจังหวัดเชียงตุงและรัฐฉาน
ที่ตั้งของอำเภอเชียงตุงภายในจังหวัดเชียงตุงและรัฐฉาน
อำเภอเชียงตุงตั้งอยู่ในประเทศพม่า
อำเภอเชียงตุง
อำเภอเชียงตุง
ที่ตั้งของอำเภอเชียงตุงในประเทศพม่า
พิกัด: 21°17′30″N 99°36′30″E / 21.29167°N 99.60833°E / 21.29167; 99.60833
ประเทศ พม่า
รัฐ รัฐฉาน
ภูมิภาคฉานตะวันออก
จังหวัดจังหวัดเชียงตุง
พื้นที่
 • ทั้งหมด3,506 ตร.กม. (1,354 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2014)[1]
 • ทั้งหมด171,620 คน
 • ความหนาแน่น48.955 คน/ตร.กม. (126.79 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+6.30 (MST)

เมื่อคราวที่ประเทศไทยส่งกำลังทหารเข้ายึดครองดินแดนบางส่วนของประเทศเมียนมาและจัดตั้งดินแดนสหรัฐไทยเดิมขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ทางราชการไทยได้กำหนดชื่อเรียกของอำเภอเชียงตุงว่า "อำเพอเมืองเชียงตุง"[2]

ประวัติ แก้

ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าเมืองเชียงตุงได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อใด แต่เชื่อกันว่าในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 17 เมืองเชียงตุงได้ถูกปกครองโดยชาวลัวะ จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 1786 จึงถูกพระญามังรายผนวกให้อยู่ภายใต้อำนาจของเมืองเชียงใหม่[3] ต่อมาในปี พ.ศ. 2107 หลังจากที่เมืองเชียงใหม่เสียให้แก่พระเจ้าบุเรงนองแล้ว เมืองเชียงตุงก็ได้เข้าสวามิภักดิ์ต่อพม่า[4] และนับจากนั้นพม่าก็ได้เข้ามามีอิทธิพลและบทบาทเหนือเมืองเชียงตุงตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

ลักษณะประชากร แก้

ประชากรหลักของเมืองเชียงตุงเป็นชาวไทกลุ่มหนึ่งซึ่งเรียกตนเองว่าไทขืน โดยภาษาของชาวไทขืนจะมีคำศัพท์แตกต่างจากภาษาของชาวไทหลวงหรือไทใหญ่ ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรหลักของรัฐฉาน อยู่ค่อนข้างมาก อีกทั้งยังมีภาษาเขียนที่แตกต่างกัน โดยภาษาเขียนของชาวไทขืน ได้ดัดแปลงมาจากอักษรธรรมล้านนาของเชียงใหม่[5]

นอกจากนี้ประชากรของเมืองเชียงตุงยังประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์อีกมากมาย เช่น ไทลื้อ ไทหลวง ไทเหนือ ลาหู่ อาข่า พม่า ว้า ลีซอ ปะหล่อง จีน กะชีน เป็นต้น[6] ชาวอำเภอเชียงตุงส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธลัทธิเถรวาท ศาสนาอื่นที่สำคัญคือ ศาสนาคริสต์ และการนับถือผี[7]

ที่ตั้งและลักษณะทางภูมิศาสตร์ แก้

อำเภอเชียงตุงตั้งอยู่บริเวณจุดกึ่งกลางของรัฐฉานภาคตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภออื่นดังนี้

  • ทิศเหนือติดต่อกับอำเภอเมืองขากและอำเภอเมืองลา จังหวัดเชียงตุง
  • ทิศตะวันออกติดต่อกับอำเภอเมืองลา จังหวัดเชียงตุง อำเภอเมืองยองและอำเภอเมืองพยาก จังหวัดท่าขี้เหล็ก
  • ทิศใต้ติดต่อกับอำเภอเมืองพยาก จังหวัดท่าขี้เหล็ก และอำเภอเมืองสาต จังหวัดเมืองสาต
  • ทิศตะวันตกติดต่อกับอำเภอเมืองเป็ง จังหวัดเชียงตุง

พื้นที่ส่วนใหญ่ของเมืองเชียงตุงเป็นพื้นที่ภูเขา มีที่แอ่งราบขนาดใหญ่อยู่บริเวณตอนกลางค่อนไปทางเหนือ มีแม่น้ำสำคัญคือแม่น้ำขืนและแม่น้ำหลวย ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขง

ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยในแต่ละปีอยู่ที่ประมาณ 1,500 มม. ในบริเวณพื้นราบ มีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยในช่วงฤดูร้อนอยู่ที่ประมาณ 38 °ซ และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยในช่วงฤดูหนาวอยู่ที่ 21 °ซ

เขตการปกครอง แก้

 
แผนที่แสดงที่ตั้งตำบลในอำเภอเชียงตุง

อำเภอเชียงตุงแบ่งการปกครองออกเป็น 1 เมือง (မြို့/Town) และ 31 ตำบล (เอิ่ง/ကျေးရွာအုပ်စု/Village Tract) ได้แก่

  1. เมืองเชียงตุง (ကျိုင်းတုံ)
  2. เอิ่งกาดเต่า (ကတ်တောင်)
  3. เอิ่งกาดถ้าย (ကတ်ထိုက်)
  4. เอิ่งกาดฟ้า (ကတ်ဖ)
  5. เอิ่งดอยหลวง (လွယ်လုံ)
  6. เอิ่งดอยเหมย (လွိုင်မွေ,လွယ်မွေ)
  7. เอิ่งท่าเดื่อ (တာလေ)
  8. เอิ่งนาปอ (နားပေါ်)
  9. เอิ่งน้ำขัก (နမ့်ခတ်)
  10. เอิ่งน้ำหลวง (နမ့်လုံ)
  11. เอิ่งน้ำอิง (နမ့်အင်း)
  12. เอิ่งปางจู่ (ပန်ကြူ)
  13. เอิ่งปางมาต (ပန်မတ်)
  14. เอิ่งเป็งเต้า (ပင်းတောက်)
  15. เอิ่งเมืองกาย (မိုင်းကိုင်)
  16. เอิ่งเมืองขอน (မိုင်းခွန်)
  17. เอิ่งเมืองงอม (မိုင်းငွန်း)
  18. เอิ่งเมืองเจม (မိုင်းဇင်း)
  19. เอิ่งเมืองนอ/ผาต้า (မိုင်းနော့/ဖာတ)
  20. เอิ่งเมืองปักใต้ (မိုင်းပတ် (အောက်))
  21. เอิ่งเมืองปักเหนือ (မိုင်းပတ် (အထက်))
  22. เอิ่งเมืองปันกลาง (မိုင်းပန် (လယ်))
  23. เอิ่งเมืองลัง (မိုင်းလန်း)
  24. เอิ่งเมืองลาบ (မိုင်းလပ်)
  25. เอิ่งเมืองอิน (မိုင်းအင်း)
  26. เอิ่งยางเกี๋ยง (ယန်းကျိန်)
  27. เอิ่งยางคะ (ယန်းခ)
  28. เอิ่งยางลอ (ယန်းလော)
  29. เอิ่งวัดซาว (ဝပ်ဆောင်း)
  30. เอิ่งหนองกุ้ง (နောင်ကုန်)
  31. เอิ่งหนองตอง (နောင်တောင်း)
  32. เอิ่งห้วยก๋อย (ဟွေကွယ်)

เมืองเชียงตุง มีฐานะเทียบเท่าเทศบาลนคร แบ่งเขตการปกครองย่อยลงไปเป็นแขวง (ရပ်ကွက်/Ward) โดยมีจำนวนทั้งหมด 5 แขวง[8] ส่วนตำบลต่าง ๆ จะแบ่งเขตการปกครองออกเป็นหมู่บ้าน (ကျေးရွာ/Village) ซึ่งอำเภอเชียงตุงมีจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด 718 หมู่บ้าน[9]

# ตำบล/แขวง พื้นที่
(ตร.กม.)
ข้อมูลจากการสำรวจ
เมื่อ พ.ศ. 2562
เพื่อเตรียมการเลือกตั้ง[10]
ข้อมูลจาก
การสำมะโนประชากร
เมื่อ พ.ศ. 2557[11]
ภาษาไทย ภาษาพม่า ชาย หญิง รวม หลังคา
เรือน
ชาย หญิง รวม
1 แขวงหมายเลข 1 အမှတ် (၁) 2.93 5,884 6,333 12,217 2,924 6,937 6,927 13,864
2 แขวงหมายเลข 2 အမှတ် (၂) 3.52 2,352 2,724 5,076 1,314 3,126 3,067 6,193
3 แขวงหมายเลข 3 အမှတ် (၃) 1.04 3,878 4,203 8,081 1,522 3,744 3,837 7,581
4 แขวงหมายเลข 4 အမှတ် (၄) 2.25 4,936 5,568 10,504 2,027 4,505 4,823 9,328
5 แขวงหมายเลข 5 အမှတ် (၅) 2.12 3,367 3,805 7,172 1,315 3,900 3,423 7,323
6 ยางลอ ယန်းလေ 40.53 3,723 3,978 7,701 1,575 3,830 3,729 7,559
7 หนองกุ้ง နောင်ကုန် 6.24 1,230 1,348 2,578 805 2,131 1,869 4,000
8 ดอยหลวง လွယ်လုံ 44.00 2,380 2,367 4,747 739 1,859 1,781 3,640
9 กาดถ้าย ကတ်ထိုက် 56.93 4,376 4,478 8,854 1,521 3,655 3,601 7,256
10 ปางมาต ပန်မတ် 289.61 1,414 1,382 2,796 608 1,717 1,675 3,392
11 เมืองปันกลาง မိုင်းပန် (လယ်) 187.59 1,810 1,717 3,527 918 2,367 2,225 4,592
12 ปางจู่ ပန်ကြူ 114.01 2,740 2,706 5,446 1,003 2,985 2,710 5,695
13 น้ำขัก နမ့်ခတ် 221.13 1,441 1,509 2,950 493 1,541 1,483 3,024
14 เมืองอิน မိုင်းအင်း 224.63 1,552 1,521 3,073 479 1,419 1,394 2,813
15 หนองตอง နောင်တောင် 182.34 873 831 1,704 341 940 917 1,857
16 น้ำอิง နမ့်အင် 91.56 1,196 1,124 2,320 405 1,239 1,122 2,361
17 นาปอ နားပေါ် 117.97 1,027 993 2,020 295 892 868 1,760
18 เมืองขอน မိုင်းဒခွန် 91.04 3,306 3,330 6,636 1,251 3,487 3,007 6,494
19 ห้วยก๋อย ဟွေကွယ် 56.85 1,414 1,435 2,849 573 1,596 1,471 3,067
20 เมืองเจม မိုင်းဇင် 86.58 6,220 6,541 12,761 3,271 8,215 8,093 16,308
21 เมืองลาบ မိုင်းလပ် 27.01 2,131 2,034 4,165 1,185 2,959 2,725 5,684
22 เมืองลัง မိုင်းလန် 125.38 1,888 1,805 3,693 928 2,616 2,043 4,659
23 กาดเต่า ကတ်တောင် 70.19 2,603 2,769 5,372 1,168 2,566 2,579 5,145
24 วัดซาว ဝပ်ဆောင် 19.32 1,186 1,130 2,316 534 1,315 1,298 2,613
25 เป็งเต้า ပင်းတောက် 252.58 2,600 2,590 5,190 912 2,617 2,535 5,152
26 ยางเกี๋ยง ယန်းကျိန် 33.31 1,311 1,378 2,689 476 1,016 1,037 2,053
27 กาดฟ้า ကတ်ဖ 147.32 3,136 3,242 6,378 1,432 3,549 3,585 7,134
28 ดอยเหมย လွိုင်မွေ 96.30 3,506 3,503 7,009 1,268 3,445 3,051 6,496
29 ยางคะ ယန်းခ 27.95 1,634 1,740 3,374 579 1,431 1,367 2,798
30 น้ำหลวง နမ့်လုံ 135.43 775 744 1,519 277 781 769 1,550
31 เมืองกาย မိုင်းကိုင် 323.36 418 386 804 169 427 389 816
32 เมืองนอร์/ผาต้า မိုင်းနော့/ဖာတ 135.43 1,292 1,196 2,488 507 1,421 1,272 2,693
33 เมืองงอม မိုင်းငွန် 195.00 477 460 937 225 686 604 1,290
34 เมืองปักใต้ မိုင်းပတ် (အောက်) 124.42 1,233 1,078 2,311 520 1,398 1,249 2,647
35 เมืองปักเหนือ မိုင်းပတ် (အထက်) 99.17 1,379 1,290 2,669 462 1,293 1,160 2,453
36 ท่าเดื่อ တာလေ 21.34 172 155 327 75 174 156 330
รวมทั้งสิ้น 3,656.39 80,860 83,393 164,253 34,096 87,779 83,841 171,620

การสาธารณสุข แก้

อำเภอเมืองเชียงตุง มีโรงพยาบาล 6 แห่ง[12] ดังนี้

  1. โรงพยาบาลเชียงตุง — เป็นโรงพยาบาลรัฐบาล ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเจม มีขนาด 200 เตียง เป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดเชียงตุง
  2. โรงพยาบาลทหาร (หมายเลข 3/300) — เป็นโรงพยาบาลรัฐบาล ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเจม มีขนาด 300 เตียง
  3. โรงพยาบาลดอยเหมย — เป็นโรงพยาบาลรัฐบาล ตั้งอยู่ที่ตำบลดอยเหมย มีขนาด 16 เตียง
  4. โรงพยาบาลเมืองขอน — เป็นโรงพยาบาลรัฐบาล ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองขอน มีขนาด 16 เตียง
  5. โรงพยาบาลเมืองกาย — เป็นโรงพยาบาลรัฐบาล ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองกาย มีขนาด 16 เตียง
  6. โรงพยาบาลเจตนา (စေတနာဆေးရုံ) — เป็นโรงพยาบาลเอกชน ตั้งอยู่ที่แขวง 3 เวียงเชียงตุง มีขนาด 25 เตียง

นอกจากนี้ภายในอำเภอเชียงตุงยังมีสถานบริการพยาบาลของเอกชน (คลินิก) อีกประมาณ 40 แห่ง ซึ่งเกือบทั้งหมดตั้งอยู่ในเวียงเชียงตุง และยังมีสถานบริการรัฐบาลระดับตำบลกระจายอยูในตำบลต่าง ๆ อย่างน้อยตำบลละหนึ่งแห่ง

การศึกษา แก้

ระดับอุดมศึกษา แก้

อำเภอเชียงตุงมีมหาวิทยาลัย 3 แห่ง[13] ได้แก่

# ชื่อ ที่ตั้ง จำนวน
อาจารย์
จำนวน
นักศึกษา
1 มหาวิทยาลัยเชียงตุง บ้านนาขาม ตำบลยางลอ 139 4,167
2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเชียงตุง บ้านใหม่ ตำบลเมืองลัง 62 742
3 มหาวิทยาลัยคอมพิวเตอร์เชียงตุง บ้านยางละ ตำบลกาดฟ้า 33 230

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แก้

อำเภอเชียงตุงมีโรงเรียนที่เปิดสอนในระดับมัธยมปลาย 15 แห่ง[14] ได้แก่

# ชื่อ ที่ตั้ง จำนวน
ครู/อาจารย์
จำนวน
นักเรียน
1 โรงเรียนการศึกษาพื้นฐานระดับมัธยมปลาย 1 เมืองเชียงตุง 34 967
2 โรงเรียนการศึกษาพื้นฐานระดับมัธยมปลาย 2 เมืองเชียงตุง 63 1,834
3 โรงเรียนการศึกษาพื้นฐานระดับมัธยมปลาย 3 เมืองเชียงตุง 49 1,665
4 โรงเรียนการศึกษาพื้นฐานระดับมัธยมปลาย 4 เมืองเชียงตุง 62 1,748
5 โรงเรียนการศึกษาพื้นฐานระดับมัธยมปลาย 5 หนองกุ้ง 43 2,083
6 โรงเรียนการศึกษาพื้นฐานระดับมัธยมปลาย 7 เมืองเชียงตุง 29 770
7 โรงเรียนการศึกษาพื้นฐานระดับมัธยมปลายกาดเต่า กาดเต่า 21 617
8 โรงเรียนการศึกษาพื้นฐานระดับมัธยมปลายบ้านอ้อ เมืองขอน 18 621
9 โรงเรียนการศึกษาพื้นฐานระดับมัธยมปลายดอยเหมย ดอยเหมย 19 579
10 โรงเรียนการศึกษาพื้นฐานระดับมัธยมปลายยางลู เมืองเจม 35 757
11 โรงเรียนการศึกษาพื้นฐานระดับมัธยมปลาย (สาขา) และมัธยมต้น 3 เมืองเชียงตุง 26 620
12 โรงเรียนการศึกษาพื้นฐานระดับมัธยมปลาย (สาขา) เมืองเจม เมืองเจม 18 523
13 โรงเรียนการศึกษาพื้นฐานระดับมัธยมปลาย (สาขา) ปางลีออ เมืองขอน 19 451
14 โรงเรียนการศึกษาพื้นฐานระดับมัธยมปลาย (สาขา) กาดฟ้า กาดฟ้า 9 377
15 โรงเรียนการศึกษาพื้นฐานระดับมัธยมปลาย (สาขา) กาดถ้าย กาดถ้าย 12 318

การคมนาคม แก้

ทางอากาศ แก้

อำเภอเชียงตุงมีสนามบินพลเรือน 1 แห่ง ตั้งอยู่ในเขตตำบลหนองกุ้ง เป็นสนามบินภายในประเทศ

ทางบก แก้

ถนนติดต่อระหว่างเมือง แก้

อำเภอเชียงตุงมีถนนติดต่อระหว่างเมืองที่สำคัญดังนี้[15]

  1. ถนนมิถิลา-ตองจี-เชียงตุง-ท่าขี้เหล็ก — คือทางหลวงแห่งชาติหมายเลข 4 และเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 2 มีระยะทางของถนนอยู่ในเขตอำเภอเชียงตุงประมาณ 57 กิโลเมตร เป็นเส้นทางหลักในการเดินทางไปเมืองตองจีและเมืองท่าขึ้เหล็ก โดยเส้นทางของถนนจะผ่านเข้ามาในเขตอำเภอเชียงตุงทางทิศตะวันตกที่ตำบลเมืองปันกลาง ผ่านตำบลปางจู่ ตำบลยางลอ เข้าสู่เขตเมืองเชียงตุง (ในเวียง) แล้วหักลงไปทางทิศใต้ ผ่านเขตตำบลเมืองเจม ตำบลดอยเหมย และออกจากเขตอำเภอเชียงตุงที่ตำบลยางคะ
  2. ถนนเชียงตุง-เมืองลา — เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 3 ส่วนใต้ มีระยะทางของถนนอยู่ในเขตอำเภอเชียงตุงประมาณ 48 กิโลเมตร เป็นเส้นทางหลักในการเดินทางไปยังเมืองลา จุดเริ่มต้นของถนนสายนี้อยู่ที่วัดพระเจ้าหลวง เมืองเชียงตุง (ในเวียง) ผ่านตำบลหนองกุ้ง ตำบลกาดฟ้า และออกจากเขตอำเภอเชียงตุงที่ตำบลยางเกี๋ยง
  3. ถนนเชียงตุง-เมืองขาก-เมืองยาง — มีระยะทางของถนนอยู่ในเขตอำเภอเชียงตุงประมาณ 33 กิโลเมตร เป็นเส้นทางหลักที่ใช้ในการเดินนทางไปยังเมืองขากและเมืองยาง จุดเริ่มต้นของถนนสายนี้อยู่ที่วัดพระเจ้าหลวง เมืองเชียงตุง (ในเวียง) ผ่านตำบลยางลอ ตำบลวัดซาว ตำบลกาดเต่า และออกจากเขตอำเภอเชียงตุงที่ตำบลเป็งเต้า
  4. ถนนเชียงตุง-เมืองขอน-เมืองขก — มีระยะทางของถนนอยู่ในเขตอำเภอเชียงตุงประมาณ 32 กิโลเมตร เป็นเส้นทางหลักที่ใช้ในการเดินทางไปยังเมือขก จังหวัดเมืองสาด จุดเริ่มต้นของถนนสายนี้แยกออกจากถนนมิถิลา-ตองจี-เชียงตุง-ท่าขี้เหล็ก ที่บริเวณใกล้ด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางบ้านยางลู ตำบลเมืองเจม เส้นทางผ่านตำบลห้วยก๋อย ตำบลน้ำอิง และออกจากเขตอำเภอเชียงตุงที่ตำบลหนองตอง

สถานที่ท่องเที่ยว แก้

สถานที่ท่องเที่ยวทั่วไป แก้

  • หนองตุง — เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ พื้นที่ประมาณ 80 ไร่ ตั้งอยู่ภายในเขตเมืองเชียงตุง (ในเวียง) เป็นจุดที่มีทัศนียภาพโล่งกว้าง มีสถานที่สำคัญทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมตั้งอยู่ใกล้เคียงเป็นจำนวนมาก
  • กาดหลวง — เป็นตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใหญ่ที่สุดของเมือง ตั้งอยู่ภายในเขตเมืองเชียงตุง (ในเวียง)
  • น้ำตกเชียงตุง — ตั้งอยู่บริเวณบ้านหัวยาง ตำบลกาดเต่า อยู่ห่างจากเมืองเชียงตุงประมาณ 16 กิโลเมตร
  • ดอยเหมย — เป็นดอยสูง อยู่ห่างจากเมืองเชียงตุงประมาณ 20 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในเขตตำบลดอยเหมย มีภูมิอากาศเย็นสบาย มีสถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่หลายแห่ง ในช่วงฤดูหนาวต้นหมอกก๋อมที่ขึ้นในพื้นที่จะออกดอกจำนวนมาก เพิ่มความงามด้านทัศนียภาพในพื้นที่
  • ดอยปางควาย - เป็นตอยสูง อยู่ใกล้ดอยเหมย ตั้งอยู่ในเขตตำบลดอยเหมย เป็นที่ตั้งของพุทธมณฑลนครเชียงตุง มีจุดชมวิว รีสอร์ท และร้านกาแฟ หลายแห่ง
  • บ่อน้ำพุร้อนบ้านหล้าว — ตั้งอยู่ใกล้บ้านปุ่งและบ้านหล้าว ตำบลดอยหลวง อยู่ห่างจากเมืองเชียงตุงประมาณ 8 กิโลเมตร
  • 13 หลัก — เป็นชายหาดริมฝั่งแม่น้ำขืน ตั้งอยู่ในเขตตำบลกาดเต่า อยู่ห่างจากเมืองเชียงตุงประมาณ 20 กิโลเมตร หรือ 13 ไมล์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมในฤดูร้อน
  • 19 หลัก — เป็นจุดชมทัศนียภาพบนภูเขาสูง ตั้งอยู่ในเขตตำบลนาปอ บนถนนเชียงตุง-เมืองขอน-เมืองขก ห่างจากเมืองเชียงตุงราว 37 กิโลเมตร หรือ 19 ไมล์นับจากจุดเริ่มต้นของถนนเชียงตุง-เมืองขอน-เมืองขก

สถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม แก้

ในเขตเมืองเชียงตุง (ในเวียง) แก้

  • วัดพระเจ้าหลวง
  • วัดราชฐานหลวงหัวข่วง
  • วัดพระธาตุหลวงจอมคำ
  • วัดพระธาตุจอมมน และต้นไม้หมายเมือง
  • กู่เจ้าฟ้าเชียงตุง — สุสานบรรจุพระอัฐิของเจ้าฟ้าเมืองเชียงตุงเก้าพระองค์ นับตั้งแต่เจ้าฟ้ามหาสิงหบวรสุธรรมราชา หรือเจ้าฟ้ามหาขนานดวงแสง จนถึงอัฐิของเจ้าจายหลวง ซึ่งเป็นเจ้าฟ้าเมืองเชียงตุงองค์สุดท้าย ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวง 3 (ရပ်ကွက် ၃ / Ward 3) ติดถนนเซตานหลวง ใกล้ประตูป่าแดง และเนื่องจากกู่เจ้าฟ้าเชียงตุงนี้ตั้งอยู่ในบริเวณกาดหลวงเก่า จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “หอเจ้าหลวงกาด” โดยสำหรับกู่บรรจุพระอัฐิของเจ้าฟ้าทั้งเก้าพระองค์นั้น ประดิษฐานเรียงตามลำดับจากด้านทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตกดังนี้
    1. องค์ที่ 1 — บรรจุพระอัฐิของเจ้าฟ้ามหาสิงหบวรสุธรรมราชา หรือเจ้าฟ้ามหาขนานดวงแสง
    2. องค์ที่ 2 — บรรจุพระอัฐิของเจ้าหนานมหาพรหม พระโอรสของเจ้าฟ้ามหาขนานดวงแสง
    3. องค์ที่ 3 — บรรจุพระอัฐิของเจ้าน้อยคำแสง พระโอรสของเจ้าฟ้ามหาขนานดวงแสง
    4. องค์ที่ 4 — บรรจุพระอัฐิของเจ้าโชติกองไท หรือเจ้าฟ้าเชียงแขง พระโอรสของเจ้าฟ้ามหาขนานดวงแสง
    5. องค์ที่ 5 — บรรจุพระอัฐิของเจ้ากองคำฟู พระโอรสของเจ้าโชติกองไท
    6. องค์ที่ 6 — บรรจุพระอัฐิของเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง พระโอรสของเจ้าฟ้าโชติกองไท และเป็นพระอนุชาของเจ้ากองคำฟู
    7. องค์ที่ 7 — บรรจุพระอัฐิของเจ้าฟ้ากองไท พระโอรสของเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง
    8. องค์ที่ 8 — บรรจุพระอัฐิของเจ้าพรหมลือ พระโอรสของเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง และเป็นพระอนุชาของเจ้ากองไท
    9. องค์ที่ 9 — บรรจุพระอัฐิของเจ้าจายหลวง พระโอรสของเจ้ากองไท และเป็นเจ้าฟ้าเชียงตุงองค์สุดท้าย
  • อนุสาวรีย์เจ้าฟ้ามหาขนาน — พระราชานุสาวรีย์ของเจ้าฟ้ามหาสิงหบวรสุธรรมราชา หรือเจ้าฟ้ามหาขนานดวงแสง เจ้าฟ้าเชียงตุงองค์ที่ 35 ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวง 3 (ရပ်ကွက် ၃ / Ward 3) ติดถนนเซตานหลวง ตรงข้ามกู่เจ้าฟ้าเชียงตุง โดยมีการประกอบพิธีประดิษฐานพระราชานุสาวรีย์เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
  • ประตูป่าแดง — เป็นประตูเมืองหนึ่งในสิบสองประตูของเมืองเชียงตุง เป็นประตูเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่ ปัจจุบันได้ปิดการจราจรผ่านประตูไปตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 และได้ปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์โดยรอบให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว

นอกเขตเมืองเชียงตุง (นอกเวียง) แก้

  • วัดพระธาตุจอมหมอก
  • วัดพระธาตุป้านเมือง
  • พระธาตุจุ๊กเป็งฟ้า — ตั้งอยู่ห่างจากเมืองเชียงตุงไปทางทิศเหนือประมาณ 21 กิโลเมตร ใกล้น้ำตกหัวยาง
  • พระธาตุจอมแก้ว — ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านเดื่อลอเหนือ ตำบลกาดฟ้า ห่างจากเมืองเชียงตุงไปทางทิศเหนือประมาณ 16 กิโลเมตร
  • วัดพระธาตุเวียงไชย — ตั้งอยู่ใกล้หมู่บ้านป่าขาม ตำบลกาดฟ้า ห่างจากเมืองเชียงตุงไปทางทิศเหนือประมาณ 12 กิโลเมตร
  • หมู่บ้านหนองเงิน — ตั้งอยู่ในเขตตำบลกาดฟ้า เป็นหมู่บ้านของชาวไทเหนือ มีลักษณะพิเศษที่สถาปัตยกรรมของบ้านเรือนซึ่งทำด้วยดิน ตั้งอยู่ในเขตตำบลกาดฟ้า ห่างจากเมืองเชียงตุงประมาณ 6 กิโลเมตร กำลังได้รับการปรับปรุงให้เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์

วัฒนธรรมประเพณี แก้

เทศกาลประจำปี แก้

  • เทศกาลอาบน้ำร้อน — ช่วงต้นเดือนมกราคม ที่น้ำพุร้อนบ้านหล้าว
  • เทศกาลดอกซากูระบานดอยเหมย — จัดขึ้นในช่วงต้นเดือนมกราคม ที่อุทยานแห่งชาติดอยเหมย จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อระหว่างวันที่ 6-10 มกราคม พ.ศ. 2565
  • เทศกาลวัดกาดเก่า — จัดขึ้น ณ บริเวณที่ตั้งของกาดหลวงเดิม ซึ่งตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดเชียงจันทร์ ใกล้กู่เจ้าฟ้าเชียงตุง โดยหัวตลาดอยู่ที่วัดหัวกาด และท้ายตลาอดยู่ที่วัดราชฐานหลวงหัวข่วง แต่แรกจัดขึ้นราว 2-3 วันก่อนเทศกาลสงกรานต์ แต่ในปัจจุบันมักเลือกจัดในวันแรมเลขคี่ เดือนห้า ตามปฏิทินไทขืน ก่อนเทศกาลสงกรานต์ และตรงกับวันกาดเต่า ซึ่งจะตรงกับช่วงกลางถึงปลายของเดือนมีนาคมในแต่ละปี โดยจะมีการจัดพิธีสักการะหอเจ้าหลวงกาดพร้อมกันไปด้วย วันกาดเก่านี้จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “วันกาดเจ้าฟ้า
กำหนดการจัดงานวันกาดเก่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556
ปี พ.ศ. วันจัดงาน วันตามปฏิทินไทขืน วันเม็ง วันไท วัดกาด หมายเหตุ
2556 3 มีนาคม แรม 7 ค่ำ เดือน 5 อาทิตย์ เปิกสี วันกาดเต่า
2557 18 มีนาคม แรม 3 ค่ำ เดือน 5 อังคาร เปิกใจ วันกาดเต่า
2558 8 มีนาคม แรม 4 ค่ำ เดือน 5 อาทิตย์ ก่าเม็ด วันกาดเต่า
2559 1 เมษายน แรม 10 ค่ำ เดือน 5 ศุกร์ ก่าเป้า วันกาดเต่า
2560 17 มีนาคม แรม 5 ค่ำ เดือน 5 ศุกร์ ก่าเหม้า วันกาดเต่า
2561 2 มีนาคม แรม 1 ค่ำ เดือน 5 ศุกร์ ก่าใส้ วันกาดเต่า
2562 27 มีนาคม แรม 7 ค่ำ เดือน 5 พุธ ก่าใค้ วันกาดเต่า
2563 16 มีนาคม แรม 8 ค่ำ เดือน 5 (วันศีล) จันทร์ เปิกสะง้า วันกาดเต่า เป็นงานที่จัดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ
2564 ไม่มีการจัดงาน เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19
2565 26 มีนาคม แรม 9 ค่ำ เดือน 5 เสาร์ เปิกยี วันกาดเต่า
2566 11 มีนาคม แรม 5 ค่ำ เดือน 5 เสาร์ เปิกสี วันกาดเต่า
2567 5 มีนาคม แรม 11 ค่ำ เดือน 5 อังคาร เปิกสี วัดกาดเต่า

หมายเหตุ — ในปี พ.ศ. 2563 แต่เดิมได้กำหนดให้มีการจัดงานวันกาดเก่าขึ้นในวันที่ 16 มีนาคม แต่เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่รุนแรงขึ้น ทำให้มีประกาศยกเลิกการจัดงานในวันที่ 14 มีนาคม อย่างไรก็ตามเมื่อถึงวันที่ 16 มีนาคม ก็ยังมีผู้ค้ามาตั้งร้านขายของและมีประชาชนเข้ามาร่วมงาน ร่วมถึงมีการเปิดให้ประชาชนเข้าสักการะกู่เจ้าหลวงได้ตามปกติ แต่จำนวนผู้ค้าและประชาชนที่มาร่วมงานมีน้อยกว่าในปีที่ผ่านๆ มา

  • เทศกาลตั้งธรรม — จัดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม
  • เทศกาลสงกรานต์ — จัดขึ้นในช่วงเดือนเมษายน
  • เทศกาลเข้าพรรษา — จัดขึ้นในช่วงวันเข้าพรรษา
  • เทศกาลออกพรรษา — จัดขึ้นในช่วงวันออกพรรษา
  • เทศกาลกินเจ — จัดขึ้นในช่วงเดือนตุลาคม
  • เทศกาลปีใหม่ไท — จัดขึ้นในช่วงปลายเดือนธันวาคม

วันกาด แก้

วันกาดคือวันที่กำหนดให้มีการจัดตลาดนัดขึ้นภายในเวียงเชียงตุง ซึ่งเชื่อว่าเป็นธรรมเนียมที่รับมาจากจีน โดยตั้งแต่ในสมัยโบราณได้กำหนดให้มีการจัดตลาดนัดใหญ่ 5 วันต่อครั้ง ณ บริเวณกาดหลวงเดิม หรือกาดเก่า เรียกวันที่จัดตลาดนัดนี้ขึ้นว่า "วันกาดหลวง" ซึ่งมาจากคำว่า "กาด" ที่แปลว่าตลาด กับคำว่า "หลวง" ที่แปลว่าใหญ่ ส่วนอีกสี่วันที่เหลือ แม้จะไม่มีการจัดตลาดนัดใหญ่เหมือนในวันกาดหลวง แต่ก็จะยังมีผู้นำสินค้ามาขายอยู่บ้าง โดยจะมีการนับรอบวันในการจัดให้มีตลาดนัดหมุมเวียนไปดังนี้[16]

  1. วันกาดหลวง — เป็นวันที่กำหนดให้จัดตลาดนัดใหญ่ บริเวณกาดตุ๋ง ซึ่งตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดเชียงจันทร์ ใกล้สุสานเจ้าฟ้าเชียงตุง กินพื้นที่ตั้งแต่วัดหัวกาดยาวไปตามถนนจนถึงวัดหัวข่วง วันนี้จะมีผู้ค้านำสินค้ามาขายมากที่สุด และเป็นวันที่คึกคักที่สุด
  2. วันวายกาดหลวง — เป็นวันที่ไม่มีการจัดตลาดนัด แต่ยังมีผู้ค้าจำนวนเล็กน้อยที่นำสินค้ามาขาย
  3. วันกาดลี — เป็นวันที่มีการจัดตลานัด แต่จะไม่คึกคักนัก
  4. วันวายกาดลี — เป็นวันที่ไม่มีการจัดตลาดนัด แต่ยังมีผู้ค้าจำนวนเล็กน้อยที่นำสินค้ามาขาย เช่นเดียวกับวันวายกาดหลวง
  5. วันกาดข่วง — เป็นวันที่ผู้ค้าที่เตรียมตัวจะมาขายสินค้าในวันกาดหลวง ซึ่งเป็นวันถัดไป มาตั้งร้านขาย โดยจะไปกระจุกตัวตั้งร้านกันที่บริเวณวัดราชฐานหลวงหัวข่วง

ต่อมาในรัชสมัยของเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง พระองค์ทรงพัฒนาปรับปรุงเมืองเชียงตุงในหลายด้าน โดยใน พ.ศ. 2478 ทรงโปรดให้สร้างกาดหลวงแห่งใหม่ คือกาดหลวงในปัจจุบัน[17] และยกเลิกการจัดตลาดนัดใหญ่ในบริเวณเดิม กาดหลวงใหม่มีลักษณะเป็นตลาดถาวรที่เปิดจำหน่ายสินค้าทุกวัน ทำให้การจัดตลาดนัดภายในเมืองเชียงตุงมีความสำคัญลดลง จนเหลือวันที่มีการจัดตลาดนัดตามธรรมเนียมนี้อยู่เพียงวันเดียว คือในวันกาดหลวง การนับวันกาดหมุมเวียนแบบเดิมจึงไม่ถูกนำมาใช้อีก แต่ก็ได้มีการสืบทอดดัดแปลงนำไปใช้งาน โดยได้มีการจัดตลาดนัดขึ้นในชุมชนใหญ่ทางทิศเหนือของเชียงตุง 4 แห่ง หมุนเวียนกันไปในช่วงที่ไม่ใช่วันกาดหลวง จนทำให้เกิดการนับรอบวันของการจัดให้มีตลาดแบบใหม่ขึ้น อันประกอบด้วย

  1. วันกาดตุง — มีการจัดตลาดนัดที่กาดหลวง ในเมืองเชียงตุง
  2. วันกาดบุ้ง — มีการจัดตลาดนัดที่บ้านกาดบุ้ง ตำบลกาดถ้าย
  3. วันกาดเต่า — มีการจัดตลาดนัดที่บ้านกาดเต่า ตำบลกาดเต่า
  4. วันกาดถ้าย — มีการจัดตลาดนัดที่บ้านกาดถ้าย ตำบลกาดถ้าย
  5. วันกาดฟ้า — มีการจัดตลาดนัดที่บ้านกาดฟ้า ตำบลกาดฟ้า
วันกาดของวันที่ 1 มกราคม ของแต่ละปี
ปี พ.ศ. วันกาด ปี พ.ศ. วันกาด ปี พ.ศ. วันกาด ปี พ.ศ. วันกาด ปี พ.ศ. วันกาด
2560 วันกาดเต่า 2564 วันกาดถ้าย 2568 วันกาดฟ้า 2572 วันกาดตุง 2576 วันกาดบุ้ง
2561 วันกาดเต่า 2565 วันกาดถ้าย 2569 วันกาดฟ้า 2573 วันกาดตุง 2577 วันกาดบุ้ง
2562 วันกาดเต่า 2566 วันกาดถ้าย 2570 วันกาดฟ้า 2574 วันกาดตุง 2578 วันกาดบุ้ง
2563 วันกาดเต่า 2567 วันกาดถ้าย 2571 วันกาดฟ้า 2575 วันกาดตุง 2579 วันกาดบุ้ง

อ้างอิง แก้

  1. Myanmar City Population
  2. "ประกาสกองบันชาการทหานสูงสุด เรื่องการจัดการปกครองสหรัถไทยเดิม" (PDF). ราชกิจจานุเบกสา. 60 (55ง): 3272. 15 มิถุนายน พ.ศ. 2486. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-02-05. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  3. ทวี สว่างปัญญางกูร. "พงศาวดารเมืองเชียงตุง." หน้า 33.
  4. ทวี สว่างปัญญางกูร. "พงศาวดารเมืองเชียงตุง." หน้า 48.
  5. สรัสวดี อ๋องสกุล (2555). "ประวัติศาสตร์ล้านนา (พิมพ์ครั้งที่ 9)". กรุงเทพ:อัมรินทร์. หน้า 230.
  6. ကျိုင်းတုံခရိုင်. မြို့နယ်ဆထွေထွေဆုပ်ချုပ်ရေးဦးစီးဌာန. "ကျိုင်းတုံမျို့နယ် ဒေသဆိုင်ရာအချက်အလက်များ", หน้า 12. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1]
  7. ကျိုင်းတုံခရိုင်. မြို့နယ်ဆထွေထွေဆုပ်ချုပ်ရေးဦးစီးဌာန. "ကျိုင်းတုံမျို့နယ် ဒေသဆိုင်ရာအချက်အလက်များ", หน้า 18. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2]
  8. Department of Population. Ministry of Labour, Immigration and Population. Kengtung Township Report, หน้า 7. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3]
  9. http://themimu.info/sites/themimu.info/files/documents/TspProfiles_GAD_Kengtung_2019_MMR.pdf
  10. ကျိုင်းတုံခရိုင်. မြို့နယ်ဆထွေထွေဆုပ်ချုပ်ရေးဦးစီးဌာန. ကျိုင်းတုံမျို့နယ် ဒေသဆိုင်ရာအချက်အလက်များ, หน้า 49. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4]
  11. Department of Population. Ministry of Labour, Immigration and Population. Kengtung Township Report, หน้า 8. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [5]
  12. ကျိုင်းတုံခရိုင်. မြို့နယ်ဆထွေထွေဆုပ်ချုပ်ရေးဦးစီးဌာန. ကျိုင်းတုံမျို့နယ် ဒေသဆိုင်ရာအချက်အလက်များ, หน้า 49. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [6]
  13. ကျိုင်းတုံခရိုင်. မြို့နယ်ဆထွေထွေဆုပ်ချုပ်ရေးဦးစီးဌာန. ကျိုင်းတုံမျို့နယ် ဒေသဆိုင်ရာအချက်အလက်များ, หน้า 45. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [7]
  14. ကျိုင်းတုံခရိုင်. မြို့နယ်ဆထွေထွေဆုပ်ချုပ်ရေးဦးစီးဌာန. ကျိုင်းတုံမျို့နယ် ဒေသဆိုင်ရာအချက်အလက်များ, หน้า 45-46. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [8]
  15. ကျိုင်းတုံခရိုင်. မြို့နယ်ဆထွေထွေဆုပ်ချုပ်ရေးဦးစီးဌာန. ကျိုင်းတုံမျို့နယ် ဒေသဆိုင်ရာအချက်အလက်များ, หน้า 47. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [9]
  16. เกรียงไกร เกิดศิริ. "ภูมิทัศน์เมืองโบราณและองค์ประกอบของเมือง กรณีศึกษาเมืองเชียงตุงและเมืองเชียงใหม่", วารสารหน้าจั่ว, ปีที่ 3 ฉบับที่ 4, (กันยายน 2549): หน้า 78-80.
  17. ดุจฤดี คงสุวรรณ์. " 'กาดเมืองเชียงตุง': ความหลากหลายและพลวัตชาติพันธุ์บนเวทีเศรษฐกิจ". (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสหวิทยาการ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2560), หน้า 84.