อารีเฟน ฮะซานี ในนามปากกา เฟน สตูดิโอ (17 มิถุนายน พ.ศ. 2500 – ) เป็นนักเขียนการ์ตูนชาวไทย ประจำสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น ในหนังสือการ์ตูนมหาสนุก สาวดอกไม้กะนายกล้วยไข่ รามาวตาร และศึกมหาภารตะ

อารีเฟน ฮะซานี
เกิด17 มิถุนายน พ.ศ. 2500 (67 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
นามปากกาเฟน สตูดิโอ
อาชีพนักเขียน จิตรกร
สัญชาติไทย ไทย
ช่วงปีที่ทำงานพ.ศ. 2520 - ปัจจุบัน

ประวัติ

แก้

อารีเฟนเกิดเมื่อ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2500 ที่ อ.บางกะปิ กรุงเทพมหานคร และไปเติบโตที่จังหวัดยะลา เป็นชาวมุสลิม สำเร็จการศึกษาระดับม.ศ.3 ที่โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง ยะลา จังหวัดยะลา และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะออกแบบพาณิชย์ศิลป์ (โฆษณา) ที่วิทยาเขตเพาะช่างกรุงเทพฯ

งานเขียนการ์ตูน

แก้
 
ตัวอย่างผลงานการ์ตูนชุด รามาวตาร

เขียนการ์ตูนครั้งแรกในขณะเรียนอยู่ชั้น ปวช. ที่ วิทยาลัยเพาะช่าง เมื่อปี พ.ศ. 2520 จากความตั้งใจที่อยากเป็นนักเขียนการ์ตูนและอยากมีรายได้ใช้จ่ายเป็นค่าเล่าเรียน จึงลองเขียนการ์ตูนตลก 3ช่อง ไปเสนอที่สำนักพิมพ์อุดมศึกษา ซึ่งเขาก็รับต้นฉบับไว้ เริ่มต้นได้ค่าต้นฉบับแผ่นละ 15 บาท แต่เนื่องจากขณะนั้นทางสำนักพิมพ์ได้พิมพ์การ์ตูนแนวนิทานพื้นบ้าน จักร ๆ วงศ์ ๆ ชื่อหนังสือการ์ตูนทวีปัญญา และการ์ตูนนิทานไทย ซึ่งต้องการนักเขียนไปเสริมทีมงานของคุณอิศวร จึงได้มีโอกาสเข้าไปเขียนการ์ตูนเป็นรายได้พิเศษ หลังโรงเรียนเลิกแล้วในช่วงเย็น

ปี พ.ศ. 2521 การ์ตูนเล่มละบาท กำลังเป็นที่นิยมในตลาดการ์ตูน เขาจึงลองเขียนการ์ตูนเล่มละบาท แล้วนำไปเสนอขายให้สำนักพิมพ์ ศิริสาส์น ได้ค่าต้นฉบับ 500 บาทต่อหนึ่งเล่มมี 24 หน้า แล้วย้ายมาเขียนให้กับสำนักพิมพ์สามดาว ค่าต้นฉบับก็ค่อยๆขยับขึ้นมาเรื่อยจนมาอยู่ที่ 1,200 บาทต่อเล่ม เนื้อเรื่องที่เขียนก็เป็นแนวชีวิตบ้าง แนวนิทานพื้นบ้านจักร ๆ วงศ์ ๆ ซึ่งแต่งขึ้นเองทุกเรื่องโดยอารีเฟน ฮะซานี

จนกลางปีพ.ศ. 2523 มีความคิดว่าอยากเขียนการ์ตูนกับสำนักพิมพ์ ที่พิมพ์การ์ตูน หนูจ๋าและ เบบี้ ที่ตนเองติดตามอ่านมาตั้งแต่เด็ก ๆ และใฝ่ฝันไว้ว่าอยากจะเขียนร่วมกับสำนักพิมพ์เดียวกันกับอาจุ๋มจิ๋ม และอาวัฒน์ จึงได้ลองเอาการ์ตูนของตัวเองไปเสนอที่สำนักพิมพ์บรรลือสาส์น ซึ่งทางสำนักพิมพ์ก็ได้รับต้นฉบับไว้ และได้ลงผลงานในหนังสือการ์ตูน เยาวชน เป็นนิยายภาพเรื่องยาว เรื่องสวัสดีโรงเรียน และเลิกเขียนการ์ตูนเล่มละบาทนับตั้งแต่นั้นมา

พ.ศ. 2524 สำนักพิมพ์บรรลือสาส์น ออกการ์ตูนมาอีกเล่มคือการ์ตูนหลายรส โดยมีนักเขียนฝีมือเยี่ยมสองคนคือเตรียม ชาชุมพร และโอม รัชเวทย์ เป็นนักเขียนชูโรง โดยมีนักเขียนรุ่นใหม่หลายคนได้มีโอกาสร่วมเขียน นิยายภาพสลับสับเปลี่ยนกันไป ซึ่งเขาก็ได้เขียนนิยายภาพ ชุดมิติชีวิต เป็นเรื่องสั้นจบเป็นตอน ๆ ด้วยหลายฉบับ

พ.ศ. 2525 หลังจากที่ศึกษาจบวิทยาเขตเพาะช่าง ได้วุฒิด้านศึกษาศาสตร์บัณฑิตแล้ว ก็ถือโอกาสใช้วิชาความรู้ ไปเป็นครูอยู่ที่ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สอนศิลปะให้กับนักเรียนชั้นประถมปลายเป็นเวลา 3 ปี และยังคงใช้เวลาว่างเขียนการ์ตูนส่งสำนักพิมพ์เป็นระยะ ๆ อยู่เช่นเดิม

จนปีพ.ศ. 2529 เพื่อนชวนไปทำงานกับบริษัทโฆษณาเล็กๆแห่งหนึ่ง เป็นเวลา 2 ปี และยังคงใช้เวลาว่างเขียนการ์ตูนส่งสำนักพิมพ์เช่นเดิม

ช่วงนี้เองที่ บก.วิธิต ให้เขียนนิยายภาพลงในการ์ตูนเบบี้ และให้เขียนลงในหนังสือการ์ตูนขายหัวเราะ และมหาสนุก เล่มใหญ่ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ได้เปลี่ยนแนวการเขียน จากนิยายภาพมาเป็นการ์ตูนที่ลายเส้นเรียบง่าย และมีเนื้อหาตลกหรรษา กับการ์ตูนเรื่องสั้นชุด พ่อแม่..ลูก ซึ่งเป็นที่รู้จักของนักอ่านการ์ตูนมหาสนุกพอสมควร

ในปี พ.ศ. 2530 เพื่อนได้ชักชวนให้ไปทำงานด้านดีไซน์และออกแบบลายผ้าให้กับบริษัท ในเครือ GQ GROUP อยู่ 3 ปี และยังคงใช้เวลาหลังเลิกงานเขียนการ์ตูนอยู่เหมือนเดิม

ในช่วงนี้เองได้เขียนการ์ตูนตลกชุด บ้าครบสูตร ลงในหนังสือ มหาสนุก และเขียนนิยายภาพเรื่องยาวเรื่อง สิงห์สยาม ลงใน หนังสือการ์ตูนหนูจ๋า

กลางปี พ.ศ. 2533 นี่เอง ได้ลาออกจากงานประจำ มานั่งเขียนการ์ตูนเป็นอาชีพอย่างจริงจังให้กับสำนักพิมพ์บรรลือสาส์นเป็นต้นมา ทำให้มีเวลาเขียนการ์ตูนชุดต่าง ๆ ลงในหนังสือ มหาสนุกฉบับกระเป๋า มีทั้งการ์ตูนชุด สาวดอกไม้กะนายกล้วยไข่ ก๊องจอมเทพบ้าครบสูตร ก๊อง191 บริษัทอัดผี เป็นต้น

กระทั่งปี พ.ศ. 2537 ทางบก. วิธิต อุตสาหจิต เห็นว่า การ์ตูนชุด สาวดอกไม้กะนายกล้วยไข่ มีแฟนประจำติดตามอ่านจำนวนหนึ่ง จึงได้ออกหนังสือการ์ตูนเล่มใหม่ คือ สาวดอกไม้กะนายกล้วยไข่ เป็นรายเดือน

ต่อมาได้มีการรวมเล่มการ์ตูนชุดต่าง ๆ ขึ้นมาเช่น เปาปุ้นจี้ บริษัทอัดผี รวมพลคนละคร รามาวตาร (รามเกียรติ์) และศึกมหาภารตะ

ผลงาน

แก้
  • สวัสดีโรงเรียน (2523)
  • มิติชีวิต (2524)
  • อภินิหารต๊อกแต๊ก (2525)
  • เทพสลาตัน (2531)
  • ปักษ์ใต้บ้านเรา (2529)
  • บ้าครบสูตร (2532 - 2535)
  • สิงห์สยาม (2533) (10ตอน)
  • ก๊อง จอมเทพบ้าครบสูตร (2538 - 2539)
  • ก๊อง 191 (2539 - 2540)
  • พ่อแม่ลูก FAMILY (2530 - 2537)
  • ปอมปอม กิ้งก่าเทวดา (2539-2544) (61ตอน)
  • เปาบุ้นจี้ (2538-2546) (24ตอน)
  • บริษัทอัดผี (2537-ปัจจุบัน) (144ตอน)
  • ซูเปอร์โคโรนา (2538) (5ตอน)
  • สาวดอกไม้กะนายกล้วยไข่ (2534 - ปัจจุบัน)
  • รวมพลคนละคร (2548 - 2549)
  • รามาวตาร (2544-2548) (84ตอน)
  • ศึกมหาภารตะ (2547-2551) (54ตอน)
  • รามเกียรติ์ มินิ แอนนิเมชัน (2550 - 2551)
  • ห้องสมุดมหัศจรรย์ (2551 - ปัจจุบัน)
  • มโหสถ อัจฉริยะสมองเพชร (2549) (14ตอน)
  • เทพอภินิหารตำนานกรีก (2551 - 2556)(68ตอน)
  • แก้วหน้าม้า (2556) (10ตอน)
  • สังข์ทอง (2552)(14ตอน)
  • สินสมุทร สุดสาคร (2557) (22ตอน)
  • พิฆเณศ เทพแห่งสวรรค์ (2561) (9ตอน)
  • ไซอิ๋ว เทพวานร (2563) (32ตอน)
  • Love Always รัก108-1009 (2562-ปัจจุบัน)
  • เชอร์ล็อกโฮล์มส์ ( 2565-ปัจจุบัน )

คาแรคเตอร์ของเฟน สตูดิโอในการ์ตูน

แก้

คาแรคเตอร์ของเฟนมีลักษณะเค้าหน้าคล้ายหน้าจริงและอ้วนลงพุง

 
ตัวละครของเฟน (วาดโดยตนเอง)

ประสบการณ์ทำงานอื่น

แก้

รางวัลและผลงานพิเศษ

แก้
  • ประกวดภาพถ่ายนักศึกษาทั่วประเทศ ครั้งที่15 (2523)

-ได้รับรางวัลที่3 โล่พระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ชื่อภาพ 2ต่อ50 และได้รับรางวัลประกาศนียบัตร ชื่อภาพ สินในน้ำ

  • ประกวดภาพถ่ายทั่วประเทศ ครั้งที่10 (2524)

- ได้รับรางวัลเหรียญสัมฤทธิ์ ประเภทสไลด์สีทั่วไป ชื่อภาพ ฉีดๆถูๆ

  • ประกวดภาพถ่าย NIKON PHOTO CONTEST INTERNATIONEL 1982/83 ประเทศญี่ปุ่น

- ได้รับรางวัลที่2 เหรียญเงินและกล้องNikon ชื่อภาพ 2:50

  • แต่งเพลง"จากบ้าน" ให้วงแฮมเมอร์(ชุดแฮมเมอร์ 29)
  • ได้รับโล่รางวัลประกวดแต่งเพลงสำหรับเด็กของ ส.ย.ช.และ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก พ.ศ 2527( ที่ 1 เพลงดวงดาวแห่งความดี และ ที่ 3 เพลงตะปู )
  • ออกเทปเพลงสำหรับเยาวชน ชุดวงแมลงปอ พ.ศ 2528
  • ได้รับโล่รางวัลหนังสือดีเด่น(การ์ตูนหรือนิยายภาพสำหรับเด็ก)ในการประกวดหนังสือดีเด่น ปี2562 จากเรื่อง สิบภพสยบอสูร NARAI AVATAR
  • ได้รับโล่รางวัลชมเชย(การ์ตูนหรือนิยายภาพทั่วไป)ในการประกวดหนังสือดีเด่น ปี2566 จากเรื่อง เชอร์ล็อกโฮล์มส์ ตอนแค้นพยาบาท

อ้างอิง

แก้