อัลกออิดะฮ์
อัลกออิดะฮ์ (อาหรับ: القاعدة, ออกเสียง: [ælqɑːʕɪdɐ]; แปลว่า ฐาน, รากฐาน) เป็นองค์กรข้ามชาติของกลุ่มนักรบอิสลามนิกายซุนนี[38] ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่า เป็นองค์กรผู้ก่อการร้าย[38] ถูกก่อตั้งในปี ค.ศ. 1988[39] โดยอุซามะฮ์ บิน ลาดิน, อับดุลลาห์ อัซซัม (Abdullah Azzam)[40] และทหารอาสาสมัครชาวอาหรับอีกหลายคนในช่วงสงครามโซเวียต–อัฟกานิสถาน[41]
อัลกออิดะฮ์ได้ดำเนินในฐานะเครือข่ายของกลุ่มอิสลามหัวรุนแรงและกลุ่มนักรบญิฮาดิสต์ซาลาฟิสต์ องค์กรนี้ถูกกำหนดให้เป็นกลุ่มก่อการร้ายโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (เนโท) สหภาพยุโรป (อียู) สหรัฐอเมริกา จีน สหราชอาณาจักร รัสเซีย อินเดียและประเทศอื่น ๆ อีกหลายประเทศ อัลกออิดะฮ์ได้เข้าโจมตีเป้าหมายที่ไม่ใช่ทางทหารและเป้าหมายทางทหารในหลายประเทศ รวมทั้งเหตุระเบิดสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐ ค.ศ. 1998 วินาศกรรม 11 กันยายน และเหตุระเบิดที่บาหลี ค.ศ. 2002[38]
รัฐบาลสหรัฐได้ตอบสนองต่อเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายนด้วยการเปิดฉาก "สงครามต่อต้านการก่อการร้าย" ซึ่งได้พยายามที่จะบ่อนทำลายอัลกออิดะฮ์และพันธมิตร การเสียชีวิตของผู้นำคนสำคัญ รวมทั้งอุซามะฮ์ บิน ลาดิน ซึ่งได้นำปฏิบัติการของอัลกออิดะฮ์เพื่อเปลี่ยนจากการจัดระเบียบจากบน-ล่างและวางแผนการโจมตี เพื่อนำไปสู่การวางแผนโจมตีที่ดำเนินดารโดยเครือข่ายที่ดูหละหลวมของกลุ่มที่มีความเกี่ยวข้องและผู้ดำเนินปฏิบัติการอย่างหมาป่าเดียวดาย อัลกออิดะฮ์นั้นมีลักษณะโดยเฉพาะคือการจัดการการโจมตี ซึ่งรวมถึงการโจมตีแบบพลีชีพ และการวางระเบิดหลายเป้าหมายพร้อมกัน[42] อุดมการณ์ของอัลกออิดะฮ์นั้นได้คาดหวังถึงการกำจัดอิทธิพลจากต่างชาติทั้งหมดในประเทศมุสลิม[5][43][44]
อัลกออิดะฮ์ได้มีความเชื่อว่า ความเป็นพันธมิตรของชาวคริสเตียน-ชาวยิวกำลังสมคบคิดที่จะทำลายล้างอิสลาม[45] ในฐานะนักรบญิฮาดิสต์ซาลาฟิสต์ สมาชิกของอัลกออิดะฮ์ได้มีความเชื่อว่า การสังหารผู้ที่ไม่ใช่นักรบจะได้รับบทลงโทษทางศาสนา อัลกออิดะฮ์ยังได้คัดค้านสิ่งที่ถือว่าเป็นกฏหมายที่มนุษย์สร้างขึ้น และต้องการแทนที่ด้วยรูปแบบของกฏหมายชะรีอะฮ์ที่เข้มงวด[46]
อัลกออิดะฮ์ได้ดำเนินการโจมตีผู้คนจำนวนมากมายที่ถือว่าเป็นพวกกาฟิร (ผู้ปฏิเสธ)[47] นอกจากนี้ยังเป็นผู้รับผิดชอบในการยุยงปลุกปั่นก่อให้เกิดความรุนแรงการแบ่งแยกท่ามกลางหมู่ชาวมุสลิม[48] อัลกออิดะฮ์ได้ถือว่าชาวมุสลิมที่มีแนวคิดเสรีนิยม นิกายชีอะฮ์ นิกายศูฟี และนิกายอื่น ๆ เป็นพวกนอกรีต และสมาชิกและพวกเห็นพ้องต้องกันได้เข้าโจมตีมัสยิดและการชุมนุมของพวกเขา[49] ตัวอย่างการโจมตีต่อนิกายอื่น ๆ ได้แก่ การสังหารหมู่อาชูรออ์ ค.ศ. 2004 การวางระเบิดในเมืองซาร์ดซิตี้ ค.ศ. 2006 การวางระเบิดที่กรุงแบกแดก เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2007 และการวางระเบิดที่ชุมชนชาวยาซีดิ ค.ศ. 2007[50]
ภายหลังการเสียชีวิตของอุซามะฮ์ บิน ลาดินในปี ค.ศ. 2011 กลุ่มนี้อยู่ภายใต้การนำโดยชาวอียิปต์นามว่า อัยมัน อัซเซาะวาฮิรีจนกระทั่งเขาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 2022 และในปี ค.ศ. 2021 ได้มีรายงานว่า ได้ประสบปัญหาจากความเสื่อมโทรมของกองบัญชาการส่วนกลางในการปฏิบัติการระดับภูมิภาค[51]
ที่มาของชื่อ
แก้คำว่าอัลกออิดะฮ์เป็นภาษาอาหรับหมายถึงมูลนิธิ ที่มั่น บิน ลาดินให้สัมภาษณ์แก่วารสาร al Jazeera ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2544 ว่าคำว่าอัลกออิดะฮ์นี้ใช้ตั้งแต่สมัยที่กลุ่มมุญาฮิดีนต่อสู้กับสหภาพโซเวียตโดยเรียกค่ายฝึกว่าอัลกออิดะฮ์ คำว่าอัลกออิดะฮ์นำมาใช้เป็นครั้งแรกโดยกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2544 ในการสอบสวนผู้ต้องหาสี่คนที่นิวยอร์กจากคดีการวางระเบิดสถานทูตสหรัฐในแอฟริกาตะวันออกเมื่อ พ.ศ. 2541 ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2545 กลุ่มนี้ปรากฏในชื่อกออิดะฮ์ อัล ญิฮาด (ที่มั่นแห่งญิฮาด)
ประวัติ
แก้ญิฮาดในอัฟกานิสถาน
แก้จุดกำเนิดของกลุ่มเริ่มขึ้นภายในไม่กี่สัปดาห์หลังโซเวียตรุกรานอัฟกานิสถานใน พ.ศ. 2522 โดยการบริหารของชาวอาหรับจากต่างประเทศในชื่อมุญาฮิดีน สนับสนุนทางการเงินโดยบิน ลาดินและการบริจาคของชาวมุสลิม สหรัฐมองว่าการรุกรานอัฟกานิสถานของโซเวียตเป็นส่วนหนึ่งของสงครามเย็น หน่วยสืบราชการลับได้ให้ความช่วยเหลือกลุ่มดังกล่าวผ่านทางปากีสถาน[52][53] อัลกออิดะฮ์พัฒนาจากกลุ่ม Maktab al-Khadamat ที่เป็นส่วนหนึ่งของมุญาฮิดีน สมาชิกส่วนใหญ่เป็นทหารชาวปาเลสไตน์ และได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐเช่นเดียวกับมุญาฮิดีนกลุ่มอื่น ๆ การสู้รบดำเนินไป 9 ปี จนสหภาพโซเวียตถอนตัวออกจากอัฟกานิสถานใน พ.ศ. 2532 รัฐบาลสังคมนิยมของ โมฮัมเหม็ด นาจิบุลลอห์ ถูกมุญาฮิดีนล้มล้าง แต่เนื่องจากผู้นำกลุ่มมุญาฮิดีนไม่สามารถตกลงกันได้ ความวุ่นวายจากการแย่งชิงอำนาจจึงตามมา
การขยายตัว
แก้หลังจากสงครามต่อต้านโซเวียตในอัฟกานิสถานสิ้นสุดลงนักรบมุญาฮิดีนบางกลุ่มต้องการขยายการต่อสู้ออกไปทั่วโลกในนามนักรบอิสลามเช่นความขัดแย้งในอิสราเอลและแคชเมียร์ หนึ่งในความพยายามนี้คือการตั้งกลุ่มอัลกออิดะฮ์โดยบิน ลาดินใน พ.ศ. 2531
สงครามอ่าวเปอร์เซียและเริ่มต้นต่อต้านสหรัฐ
แก้เมื่อสงครามในอัฟกานิสถานสิ้นสุดลง บิน ลาดินเดินทางกลับสู่ซาอุดีอาระเบีย เมื่อเกิดการรุกรานคูเวตของอิรักใน พ.ศ. 2533 บิน ลาดินได้เสนอให้ใช้นักรบมุญาฮิดีนของเขาร่วมมือกับกษัตริย์ฟาฮัด เพื่อปกป้องซาอุดีอาระเบียจากการรุกรานของอิรักที่อาจจะเกิดขึ้น แต่ราชวงศ์ซาอุดีอาระเบียปฏิเสธและหันไปอนุญาตให้สหรัฐเข้ามาตั้งฐานทัพในซาอุดีอาระเบีย ทำให่บิน ลาดินไม่พอใจ เพราะเขาไม่ต้องการให้มีกองทหารต่างชาติในดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาอิสลาม (คือเมกกะและเมดีนา) การที่เขาออกมาต่อต้านทำให้เขาถูกบีบให้ไปซูดานและถูกถอนสัญชาติซาอุดีอาระเบีย[54]
ในซูดาน
แก้ใน พ.ศ. 2534 แนวร่วมอิสลามแห่งชาติซูดานขึ้นมามีอำนาจและเชื้อเชิญกลุ่มอัลกออิดะฮ์ให้ย้ายเข้ามาภายในประเทศ อัลกออิดะฮ์เข้าไปประกอบธุรกิจในซูดานเป็นเวลาหลายปี และสนับสนุนเงินในการสร้างทางหลวงจากเมืองหลวงไปยังท่าเรือซูดาน พ.ศ. 2539 บิน ลาดินถูกบีบให้ออกจากซูดานเนื่องจากแรงกดดันของสหรัฐ เขาจึงย้ายกลุ่มอัลกออิดะฮ์ไปตั้งมั่นในเมืองจะลาลาบาด อัฟกานิสถาน
บอสเนีย
แก้การประกาศเอกราชของบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนาออกจากยูโกสลาเวียในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2534 ทำให้เกิดความขัดแย้งทางเชื้อชาติและศาสนาแห่งใหม่ในยุโรปในบอสเนีย ชนส่วนใหญ่เป็นมุสลิมแต่ก็มีชาวเซิร์บที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายกรีกออร์ทอดอกซ์และชาวโครแอตนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ทำให้เกิดความขัดแย้งที่เป็นสามเส้าขึ้น โดยเซอร์เบียและโครเอเชียหนุนหลังชาวเซิร์บและชาวโครแอตที่มีเชื้อชาติเดียวกันตามลำดับ เหล่านักรบอาหรับในอัฟกานิสถานเห็นว่าสงครามในบอสเนียเป็นโอกาสอันดีที่จะปกป้องศาสนาอิสลาม ทำให้กลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้ รวมทั้งอัลกออิดะฮ์เข้าร่วมในสงคราม ตั้งเป็นกลุ่มมุญาฮิดีนบอสเนีย โดยนักรบส่วนใหญ่เป็นชาวอาหรับไม่ใช่ชาวบอสเนีย
การลงนามในข้อตกลงวอชิงตันในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2537 ทำให้สงครามระหว่างบอสเนีย-โครแอตสิ้นสุดลง กลุ่มมุญาฮิดีนยังสู้รบกับชาวเซิร์บต่อไป จนกระทั่งบันทึกสันติภาพเดย์ตันในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2538 ทำให้สงครามสิ้นสุดลง และเหล่านักรบต่างชาติถูกบีบให้ออกนอกประเทศ ส่วนผู้ที่แต่งงานกับชาวบอสเนียหรือไม่มีที่กลับได้รับสัญชาติบอสเนียและอนุญาตให้อยู่ต่อไปได้
ผู้ลี้ภัยในอัฟกานิสถาน
แก้หลังจากการถอนตัวของสหภาพโซเวียต อัฟกานิสถานอยู่ในสภาพวุ่นวายถึง 7 ปี จากการสู้รบของกลุ่มที่เคยเป็นพันธมิตรกัน ในช่วง พ.ศ. 2533 มีกลุ่มใหม่เกิดขึ้นคือกลุ่มตาลีบันหรือตอลิบาน (แปลตามตัว = นักเรียน) เป็นกลุ่มเยาวชนที่เกิดในอัฟกานิสถานยุคสงครามได้รับการศึกษาในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม (มัดรอซะ; madrassas) ในเมืองกันดะฮาร์ หรือค่ายผู้อพยพตามแนวชายแดนปากีสถาน-อัฟกานิสถาน
ผู้นำของตอลิบาน 5 คนจบการศึกษาจากโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม Darul Uloom Haqqania ใกล้กับเมืองเปศวาร์ในปากีสถาน แต่ผู้เข้าเรียนส่วนใหญ่เป็นผู้อพยพจากปากีสถาน โรงเรียนนี้สอนศาสนาตามลัทธิซาลาฟีย์ และได้รับการสนับสนุนจากชาวอาหรับโดยเฉพาะบิน ลาดิน ชาวอาหรับในอัฟกานิสถานและตอลิบานมีความเกี่ยวพันกันมาก หลังจากโซเวียตถอนตัวออกไป ตอลิบานมีอิทธิพลมากขึ้นจนสามารถก่อตั้งรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน ใน พ.ศ. 2537 ตอลิบานเข้ายึดครองพื้นที่ในเมืองกันดะฮาร์และเข้ายึดกรุงคาบูลได้เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2539
หลังจากซูดานได้บีบให้บิน ลาดินและกลุ่มของเขาออกนอกประเทศ เป็นเวลาเดียวกับที่ตอลิบานมีอำนาจในอัฟกานิสถาน บิน ลาดินจึงเข้าไปตั้งมั่นในเขตจะลาลาบาด ในเวลานั้นมีเพียงปากีสถาน ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เท่านั้นที่ยอมรับว่าตอลิบานเป็นรัฐบาลของอัฟกานิสถาน บิน ลาดินพำนักในอัฟกานิสถาน จัดตั้งค่ายฝึกนักรบมุสลิมจากทั่วโลก[55][56] จนกระทั่งรัฐบาลตอลิบานถูกขับไล่โดยกองกำลังผสมภายในประเทศร่วมกับกองทหารสหรัฐใน พ.ศ. 2544 หลังจากนั้นเชื่อกันว่า บิน ลาดินยังคงพำนักกับกลุ่มตอลิบานในบริเวณชายแดนปากีสถาน
เริ่มโจมตีพลเรือน
แก้พ.ศ. 2536 Ramzi Yousef ผู้นำคนหนึ่งของอัลกออิดะฮ์ ใช้การวางระเบิดในรถยนต์ โจมตีตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในนิวยอร์ก แต่ไม่สำเร็จ และ Yousef ถูกจับในปากีสถาน แต่ก็เป็นแรงดลใจให้กลุ่มของบิน ลาดิน ทำสำเร็จเมื่อ 11 กันยายน พ.ศ. 2544
อัลกออิดะฮ์เริ่มสงครามครูเสดใน พ.ศ. 2539 เพื่อขับไล่กองทหารต่างชาติออกไปจากดินแดนอิสลามโดยต่อต้านสหรัฐและพันธมิตร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 บิน ลาดินและ Ayman al-Zawahiri ผู้นำของกลุ่มญิฮาดอียิปต์และผู้นำศาสนาอิสลามอีกสามคน ร่วมลงนามใน “ฟัตวาห์”,[57] หรือคำตัดสินภายใต้ชื่อแนวร่วมอิสลามโลกเพื่อญิฮาดต่อต้านยิวและครูเสด (World Islamic Front for Jihad Against the Jews and Crusaders; ภาษาอาหรับ: al-Jabhah al-Islamiyya al-'Alamiyya li-Qital al-Yahud wal-Salibiyyin)โดยประกาศว่าเป็นหน้าที่ของชาวมุสลิมทุกประเทศในการสังหารชาวสหรัฐและพันธมิตรทั้งทหารและพลเรือนเพื่อปลดปล่อยมัสยิดอัลอักซาในเยรูซาเลมและมัสยิดศักดิ์สิทธิ์ในเมกกะ[58] หลังจากนั้นได้เกิดการวางระเบิดสถานทูตสหรัฐในแอฟริกาตะวันออกภายในปีเดียวกัน มีผู้เสียชีวิต 300 คน ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2543 เกิดระเบิดพลีชีพในกองทัพเรือสหรัฐในเยเมน[59]
วินาศกรรม 11 กันยายน และปฏิกิริยาของสหรัฐ
แก้การก่อวินาศกรรม 11 กันยายน ทำให้สหรัฐและเนโทออกมาต่อต้านอัลกออิดะฮ์ และฟัตวาห์ พ.ศ. 2541 การโจมตีครั้งนี้ถือเป็นวินาศภัยครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา มีผู้เสียชีวิตเกือบ 3,000 คน รวมทั้งความเสียหายจากการพังทลายของตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์และตึกเพนตากอนถูกทำลายลงไปบางส่วน หลังจากนั้น สหรัฐได้มีปฏิบัติการทางทหารโต้ตอบเรียกร้องให้ มุลลาห์ โอมาร์ ผู้นำตอลิบานส่งตัวบิน ลาดินมาให้ แต่ตอลิบานเลือกที่จะส่งตัวบิน ลาดินให้ประเทศที่เป็นกลาง สหรัฐจึงส่งกองทัพอากาศทิ้งระเบิดทำลายที่มั่นที่เชื่อว่าเป็นแหล่งกบดานของอัลกออิดะฮ์ และส่งปฏิบัติการทางทหารภาคพื้นดินร่วมกับพันธมิตรฝ่ายเหนือเพื่อล้มล้างรัฐบาลตอลิบาน
หลังจากถูกกวาดล้าง กลุ่มอัลกออิดะฮ์พยายามรวมตัวอีกครั้งในเขต Gardez แต่ยังคงถูกโจมตีจากฝ่ายสหรัฐ ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2545 กองทัพอัลกออิดะฮ์ถูกทำลายจนลดประสิทธิภาพลงมาก ซึ่งเป็นความสำเร็จในขั้นต้นของการรุกรานอัฟกานิสถาน อย่างไรก็ตาม ตอลิบานยังมีอิทธิพลอยู่ในอัฟกานิสถาน และผู้นำคนสำคัญของอัลกออิดะฮ์ยังไม่ถูกจับ ใน พ.ศ. 2547 สหรัฐกล่าวอ้างว่าจับตัวผู้นำของอัลกออิดะฮ์ได้ 2 – 3 คน แต่อัลกออิดะฮ์ก็ยังดำเนินกิจกรรมต่อไปได้
กิจกรรมในอิรัก
แก้บิน ลาดิน เริ่มให้ความสนใจอิรักตั้งแต่สงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2533 อัลกออิดะฮ์ติดต่อกับกลุ่มมุสลิมชาวเคิร์ด Ansar al-islam ใน พ.ศ. 2542 ระหว่างการรุกรานอิรักใน พ.ศ. 2546 อัลกออิดะฮ์ให้ความสนใจเป็นพิเศษ หน่วยทหารของอัลกออิดะฮ์เริ่มวางระเบิดกองบัญชาการของสหประชาชาติและกาชาดสากล พ.ศ. 2547 ฐานที่มั่นของอัลกออิดะฮ์ในเมืองฟาลูยะห์ ถูกโจมตีและปิดล้อมด้วยกองทหารสหรัฐ แต่อัลกออิดะฮ์ยังคงโจมตีทั่วอิรัก แม้จะสูญเสียกำลังคนไปมาก ในระหว่างการเลือกตั้งในอิรัก พ.ศ. 2548 กลุ่มอัลกออิดะฮ์ออกมาประกาศความรับผิดชอบระเบิดพลีชีพ 9 ครั้งในแบกแดด
Abu Musab al-Zarqawi ทหารชาวจอร์แดนเป็นผู้จัดตั้งองค์กร "Jama'at al-Tawhid wal-Jihad" เมื่อ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2547 และประกาศเป็นตัวแทนของอัลกออิดะฮ์ในอิรัก หลังจากเขาถูกฆ่าจากการโจมตีทางอากาศโดยสหรัฐเมื่อ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ที่ Baqubah เชื่อกันว่า Abu Ayyub al-Masri ขึ้นเป็นผู้นำอัลกออิดะฮ์ในอิรักแทน แม้ว่าการต่อสู้ของอัลกออิดะฮ์ในอิรักยังไม่ประสบผลในการขับไล่กองทหารอังกฤษและสหรัฐ รวมทั้งล้มล้างรัฐบาลของผู้นับถือนิกายชีอะฮ์ แต่ก็ได้สร้างความรุนแรงกระจายไปทั่วประเทศ
อัลกออิดะฮ์ในแคชเมียร์
แก้เมื่อ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ชายลึกลับอ้างตัวเป็นสมาชิกอัลกออิดะฮ์โทรศัพท์ไปที่นักข่าวท้องถิ่นในศรีนคร ประกาศว่าขณะนี้อัลกออิดะฮ์เข้ามาในแคชเมียร์แล้ว เพื่อปกป้องชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมที่ถูกรัฐบาลอินเดียกดขี่ อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า กลุ่มอัลกออิดะฮ์แทรกซึมเข้ามาในบริเวณนี้ตั้งแต่ก่อนการรุกรานอัฟกานิสถานของสหรัฐ และน่าจะมีความสัมพันธ์กับกลุ่มก่อการร้ายในปากีสถาน
กิจกรรม
แก้กิจกรรมทางอินเทอร์เน็ต
แก้กลุ่มอัลกออิดะฮ์ใช้อินเทอร์เน็ตในการสร้างเครือข่ายและประชาสัมพันธ์ผลงาน
กิจกรรมทางการเงิน
แก้การโอนเงินจากบัญชีของบิน ลาดินจากธนาคารแห่งชาติบาห์เรน จะถูกส่งต่อยังบัญชีผิดกฎหมายที่ไม่แสดงข้อมูลใน Clearstream ซึ่งเป็นแหล่งฟอกเงิน
ในอิสราเอล
แก้อัลกออิดะฮ์ไม่ค่อยมีบทบาทในการต่อต้านอิสราเอล ทฤษฎีหนึ่งคือ อัลกออิดะฮ์ไม่ยอมร่วมมือกับกลุ่มนิกายชีอะฮ์ เช่น ฮิซบุลลอฮ์ ซึ่งสนับสนุนการต่อต้านอิสราเอลของปาเลสไตน์ หรือมิฉะนั้น ชาวปาเลสไตน์ไม่ต้องการต่อสู้ภายใต้หลักการของอัลกออิดะฮ์ แต่ต้องการต่อสู้ด้วยหลักการของตนเอง อัลกออิดะฮ์เคยถูกตั้งข้อสงสัยว่าน่าจะมีส่วนในการโจมตีพลเรือนอิสราเอลเมื่อ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ที่เคนยา เช่น การวางระเบิดโรงแรมที่มีชาวอิสราเอลเข้าพัก หรือพยายามโจมตีเครื่องบิน
อ้างอิง
แก้- ↑ Moghadam, Assaf (2008). The Globalization of Martyrdom: Al Qaeda, Salafi Jihad, and the Diffusion of Suicide Attacks. Johns Hopkins University. p. 48. ISBN 978-0-8018-9055-0.
- ↑ Livesey, Bruce (January 25, 2005). "Special Reports – The Salafist Movement: Al Qaeda's New Front". PBS Frontline. WGBH educational foundation. สืบค้นเมื่อ October 18, 2011.
- ↑ Geltzer, Joshua A. (2011). US Counter-Terrorism Strategy and al-Qaeda: Signalling and the Terrorist World-View (Reprint ed.). Routledge. p. 83. ISBN 978-0415664523.
- ↑ Wright, Looming Tower, 2006, p. 79
- ↑ 5.0 5.1 "The Future of Terrorism: What al-Qaida Really Wants". Der Spiegel. September 11, 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-07. สืบค้นเมื่อ October 18, 2011.
- ↑ "Al-Qaeda seeks global dominance". The Daily Telegraph. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-12. สืบค้นเมื่อ 2015-03-15.
- ↑ "Jihadists Want Global Caliphate". ThePolitic.com. July 27, 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-30. สืบค้นเมื่อ October 18, 2011.
- ↑ Pike, John. "Al-Qaida". Globalsecurity.org. สืบค้นเมื่อ October 18, 2011.
- ↑ Burke, Jason (March 21, 2004). "What exactly does al-Qaeda want?". The Guardian. London.
- ↑ "Security Council Resolutions Related to the Work of the Committee Established Pursuant to Resolution 1267 (1999) Concerning Al-Qaida and the Taliban and Associated Individuals and Entities". United Nations Security Council. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 12, 2007. สืบค้นเมื่อ January 9, 2007.
- ↑ United States Department of State. "Foreign Terrorist Organizations (FTOs)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 28, 2006. สืบค้นเมื่อ July 3, 2006.
- ↑ United Kingdom Home Office. "Proscribed terrorist groups" (PDF). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 30, 2006. สืบค้นเมื่อ July 3, 2006.
- ↑ Australian Government. "Listing of Terrorist Organisations". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-04. สืบค้นเมื่อ July 3, 2006.
- ↑ "La France face au terrorisme" (PDF) (ภาษาฝรั่งเศส). Secrétariat général de la défense nationale (France). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-08-07. สืบค้นเมื่อ August 6, 2009.
- ↑ General Intelligence and Security Service. "Annual Report 2004" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ June 14, 2007. สืบค้นเมื่อ June 11, 2007.
- ↑ ""Türkiye'de halen faaliyetlerine devam eden başlıca terör örgütleri listesi" (Emniyet Genel Müdürlügü)". Egm.gov.tr. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-14. สืบค้นเมื่อ March 22, 2010.
- ↑ Commission of the European Communities (October 20, 2004). "Communication from the Commission to the Council and the European Parliament" (DOC). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 14, 2007. สืบค้นเมื่อ June 11, 2007.
- ↑ "Criminal Justice (Terrorist Offences) Act 2005". 2005. Department of Justice Ireland. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-27. สืบค้นเมื่อ May 26, 2014.
- ↑ Ministry for Foreign Affairs Sweden (March–June 2006). "Radical Islamist Movements in the Middle East" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ June 14, 2007. สืบค้นเมื่อ June 11, 2007.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Bill Roggio (September 4, 2011). "How many al Qaeda fighters are in Afghanistan again? – Threat Matrix". Longwarjournal.org. สืบค้นเมื่อ August 18, 2014.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อThe Sunday Guardian
- ↑ "The Hindu : Centre bans Al-Qaeda". Hinduonnet.com. April 9, 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-27. สืบค้นเมื่อ March 22, 2010.
- ↑ 23.0 23.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อThe Washington Times
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อJenkins 2014
- ↑ Slackman, Michael (28 August 2009), "Would-Be Killer Linked to Al Qaeda, Saudis Say", The New York Times, สืบค้นเมื่อ 14 August 2014
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อtelegraph.co.uk
- ↑ Chonghaile, Clar (28 September 2012), "Kenyan troops launch beach assault on Somali city of Kismayo", The Guardian, สืบค้นเมื่อ 17 January 2015
- ↑ "Estimated to number 5,000 to 7,000 fighters" เก็บถาวร 2014-09-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Daily Star, September 8, 2014 ()
- ↑ "Russia Outlaws 17 Terror Groups; Hamas, Hezbollah Not Included". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 14, 2006.
- ↑ Alfredo Sirkis. "O Brasil e o terrorismo internacional". สืบค้นเมื่อ February 22, 2014.
- ↑ Diplomatic Bluebook (2002). "B. Terrorist Attacks in the United States and the Fight Against Terrorism" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ June 14, 2007. สืบค้นเมื่อ June 11, 2007.
- ↑ Korean Foreign Ministry (August 14, 2007). "Seoul confirms release of two Korean hostages in Afghanistan". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 15, 2007. สืบค้นเมื่อ September 16, 2007.
- ↑ "Summary of indictments against Al-Qaeda terrorists in Samaria". Israel Ministry of Foreign Affairs. March 21, 2006. สืบค้นเมื่อ May 4, 2011.
- ↑ http://www.justice.gov.il/NR/rdonlyres/9C960928-70AB-428A-BCCC-2E6091F2BDE3/40880/impa_terror_eng_17012013.doc
- ↑ Mortada, Radwan (May 19, 2014). "Hezbollah fighters and the "jihadis:" Mad, drugged, homicidal, and hungry". al-Akhbar English. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-07. สืบค้นเมื่อ June 9, 2014.
- ↑ "Houthis gain ground against Yemen's al-Qaeda". November 2014. สืบค้นเมื่อ 2015.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "The Islamic State vs. al Qaeda". September 2014. สืบค้นเมื่อ 2015.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 38.0 38.1 38.2 Dalacoura 2012, pp. 40–48
- ↑ Bergen 2006, p. 75 .
- ↑ "Bill Moyers Journal. A Brief History of Al Qaeda". PBS.com. July 27, 2007. สืบค้นเมื่อ March 31, 2012.
- ↑ United States v. Usama bin Laden et al., Cr. 1023, Testimony of Jamal Ahmed Mohamed al-Fadl (SDNY February 6, 2001)."Al-Qaeda's origins and links". BBC News. July 20, 2004. สืบค้นเมื่อ June 3, 2014.Cooley, John K. (Spring 2003). Unholy Wars: Afghanistan, America and International Terrorism.
- ↑ Wright 2006, pp. 107–108, 185, 270–271
- ↑ "al Qaida's Ideology". MI5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 28, 2009. สืบค้นเมื่อ May 19, 2012.
- ↑ "Dreaming of a caliphate". The Economist. August 6, 2011. สืบค้นเมื่อ May 19, 2012.
- ↑ Fu'ad Husayn 'Al-Zarqawi, "The Second Generation of al-Qa'ida, Part Fourteen," Al-Quds al-Arabi, July 13, 2005
- ↑ Wright 2006, p. 246
- ↑ Jihadi Terrorism and the Radicalisation Challenge: p.219, Rik Coolsaet – 2011
- ↑ Dragons and Tigers: A Geography of South, East, and Southeast Asia – (2011) – Barbara A. Weightman
- ↑ Security strategy and transatlantic relations (2006) Roland Dannreuther
- ↑ Jihad and Just War in the War on Terror (2011) Alia Brahimi
- ↑ Zakaria, Fareed (29 April 2021). "Opinion: Ten years later, Islamist terrorism isn't the threat it used to be". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 4 May 2021.
- ↑ "How the CIA created Osama bin Laden". Green Left Weekly. 2001-09-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-03. สืบค้นเมื่อ 2007-01-09.
- ↑ "1986-1992: CIA and British Recruit and Train Militants Worldwide to Help Fight Afghan War". Cooperative Research History Commons. สืบค้นเมื่อ 2007-01-09.
- ↑ "Osama bin Laden: A Chronology of His Political Life". PBS. สืบค้นเมื่อ 2007-01-12.
- ↑ "Islamist Militancy in the Pakistan-Afghanistan Border Region and U.S. Policy" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-23. สืบค้นเมื่อ 2010-07-23.
- ↑ Denmark: Danish Muslims training in al-Qaeda camps, planning attack against Denmark
- ↑ "Bin Laden's Fatwa". Al Quds Al Arabi. August 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 2007-01-09.
- ↑ สรุปจากการสัมภาษณ์บิน ลาดิน เมื่อ 26 พ.ค. 2541 โดย John Miller Most recently broadcast in the documentary Age of Terror, part 4, with translations checked by Barry Purkis (archive researcher).
- ↑ Weir, Shelagh (July/September 1997), A Clash of Fundamentalisms: Wahhabism in Yemen, Middle East Report, Middle East Research and Information Project, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-03, สืบค้นเมื่อ 2009-01-19
{{citation}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|publication-date=
(help); cited in Burke, Jason (2003). Al-Qaeda: Casting a Shadow of Terror. New York: I.B. Tauris. pp. 128–129. ISBN 1850433968.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- การก่อการร้ายคืออะไร ? เก็บถาวร 2009-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก กรมข่าวทหารอากาศ
- Jihad Watch
- U.S. Dept. of Justice, Al Qaeda Training Manual.
- The Pakistan Security Research Unit (PSRU) เก็บถาวร 2012-09-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- PBS FRONTLINE "Al Qaeda's New Front" January 2005
- Al-Qaedaism: The Threat To Islam, The Threat To The World เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Book Review
- Al-Qaeda - fact file at Ynetnews