อัลกออิดะฮ์

(เปลี่ยนทางจาก อัลกออิดะห์)

อัลกออิดะฮ์ (อาหรับ: القاعدة, ออกเสียง: [ælqɑːʕɪdɐ]; แปลว่า ฐาน, รากฐาน) เป็นองค์กรข้ามชาติของกลุ่มนักรบอิสลามนิกายซุนนี[38] ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่า เป็นองค์กรผู้ก่อการร้าย[38] ถูกก่อตั้งในปี ค.ศ. 1988[39] โดยอุซามะฮ์ บิน ลาดิน, อับดุลลาห์ อัซซัม (Abdullah Azzam)[40] และทหารอาสาสมัครชาวอาหรับอีกหลายคนในช่วงสงครามโซเวียต–อัฟกานิสถาน[41]

อัลกออิดะฮ์
القاعدة
มีส่วนร่วมในสงครามต่อต้านการก่อการร้าย, สงครามในอัฟกานิสถาน, สงครามทางตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถาน, สงครามกลางเมืองโซมาเลีย, ความไม่สงบในมาเกร็บ, สงครามอิรัก, ความไม่สงบในอิรัก, การก่อความไม่สงบในเยเมนของอัลกออิดะห์, สงครามกลางเมืองซีเรีย, และอาหรับสปริง
ปฏิบัติการ2531–ปัจจุบัน
แนวคิดญิฮัดซะละฟี[1][2][3]
ซะละฟี
ลัทธิกุทบิทซึม[4]
อุดมการณ์รวมกลุ่มอิสลาม[5][6][7][8][9]
ผู้นำอุซามะห์ บิน ลาดิน  (2531–2554)
อัยมัน อัซเซาะวาฮิรี  (2554–2565)
ซาอิฟ อัล-อะเดล (โดยพฤตินัย, 2565–ปัจจุบัน)
พื้นที่ปฏิบัติการทั่วโลก
  • มีอำนาจสูงสุดในตะวันออกกลาง
พันธมิตร
ปรปักษ์
การสู้รบและสงคราม

อัลกออิดะฮ์ได้ดำเนินในฐานะเครือข่ายของกลุ่มอิสลามหัวรุนแรงและกลุ่มนักรบญิฮาดิสต์ซาลาฟิสต์ องค์กรนี้ถูกกำหนดให้เป็นกลุ่มก่อการร้ายโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (เนโท) สหภาพยุโรป (อียู) สหรัฐอเมริกา จีน สหราชอาณาจักร รัสเซีย อินเดียและประเทศอื่น ๆ อีกหลายประเทศ อัลกออิดะฮ์ได้เข้าโจมตีเป้าหมายที่ไม่ใช่ทางทหารและเป้าหมายทางทหารในหลายประเทศ รวมทั้งเหตุระเบิดสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐ ค.ศ. 1998 วินาศกรรม 11 กันยายน และเหตุระเบิดที่บาหลี ค.ศ. 2002[38]

รัฐบาลสหรัฐได้ตอบสนองต่อเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายนด้วยการเปิดฉาก "สงครามต่อต้านการก่อการร้าย" ซึ่งได้พยายามที่จะบ่อนทำลายอัลกออิดะฮ์และพันธมิตร การเสียชีวิตของผู้นำคนสำคัญ รวมทั้งอุซามะฮ์ บิน ลาดิน ซึ่งได้นำปฏิบัติการของอัลกออิดะฮ์เพื่อเปลี่ยนจากการจัดระเบียบจากบน-ล่างและวางแผนการโจมตี เพื่อนำไปสู่การวางแผนโจมตีที่ดำเนินดารโดยเครือข่ายที่ดูหละหลวมของกลุ่มที่มีความเกี่ยวข้องและผู้ดำเนินปฏิบัติการอย่างหมาป่าเดียวดาย อัลกออิดะฮ์นั้นมีลักษณะโดยเฉพาะคือการจัดการการโจมตี ซึ่งรวมถึงการโจมตีแบบพลีชีพ และการวางระเบิดหลายเป้าหมายพร้อมกัน[42] อุดมการณ์ของอัลกออิดะฮ์นั้นได้คาดหวังถึงการกำจัดอิทธิพลจากต่างชาติทั้งหมดในประเทศมุสลิม[5][43][44]

อัลกออิดะฮ์ได้มีความเชื่อว่า ความเป็นพันธมิตรของชาวคริสเตียน-ชาวยิวกำลังสมคบคิดที่จะทำลายล้างอิสลาม[45] ในฐานะนักรบญิฮาดิสต์ซาลาฟิสต์ สมาชิกของอัลกออิดะฮ์ได้มีความเชื่อว่า การสังหารผู้ที่ไม่ใช่นักรบจะได้รับบทลงโทษทางศาสนา อัลกออิดะฮ์ยังได้คัดค้านสิ่งที่ถือว่าเป็นกฏหมายที่มนุษย์สร้างขึ้น และต้องการแทนที่ด้วยรูปแบบของกฏหมายชะรีอะฮ์ที่เข้มงวด[46]

อัลกออิดะฮ์ได้ดำเนินการโจมตีผู้คนจำนวนมากมายที่ถือว่าเป็นพวกกาฟิร (ผู้ปฏิเสธ)[47] นอกจากนี้ยังเป็นผู้รับผิดชอบในการยุยงปลุกปั่นก่อให้เกิดความรุนแรงการแบ่งแยกท่ามกลางหมู่ชาวมุสลิม[48] อัลกออิดะฮ์ได้ถือว่าชาวมุสลิมที่มีแนวคิดเสรีนิยม นิกายชีอะฮ์ นิกายศูฟี และนิกายอื่น ๆ เป็นพวกนอกรีต และสมาชิกและพวกเห็นพ้องต้องกันได้เข้าโจมตีมัสยิดและการชุมนุมของพวกเขา[49] ตัวอย่างการโจมตีต่อนิกายอื่น ๆ ได้แก่ การสังหารหมู่อาชูรออ์ ค.ศ. 2004 การวางระเบิดในเมืองซาร์ดซิตี้ ค.ศ. 2006 การวางระเบิดที่กรุงแบกแดก เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2007 และการวางระเบิดที่ชุมชนชาวยาซีดิ ค.ศ. 2007[50]

ภายหลังการเสียชีวิตของอุซามะฮ์ บิน ลาดินในปี ค.ศ. 2011 กลุ่มนี้อยู่ภายใต้การนำโดยชาวอียิปต์นามว่า อัยมัน อัซเซาะวาฮิรีจนกระทั่งเขาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 2022 และในปี ค.ศ. 2021 ได้มีรายงานว่า ได้ประสบปัญหาจากความเสื่อมโทรมของกองบัญชาการส่วนกลางในการปฏิบัติการระดับภูมิภาค[51]

ที่มาของชื่อ

แก้

คำว่าอัลกออิดะฮ์เป็นภาษาอาหรับหมายถึงมูลนิธิ ที่มั่น บิน ลาดินให้สัมภาษณ์แก่วารสาร al Jazeera ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2544 ว่าคำว่าอัลกออิดะฮ์นี้ใช้ตั้งแต่สมัยที่กลุ่มมุญาฮิดีนต่อสู้กับสหภาพโซเวียตโดยเรียกค่ายฝึกว่าอัลกออิดะฮ์ คำว่าอัลกออิดะฮ์นำมาใช้เป็นครั้งแรกโดยกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2544 ในการสอบสวนผู้ต้องหาสี่คนที่นิวยอร์กจากคดีการวางระเบิดสถานทูตสหรัฐในแอฟริกาตะวันออกเมื่อ พ.ศ. 2541 ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2545 กลุ่มนี้ปรากฏในชื่อกออิดะฮ์ อัล ญิฮาด (ที่มั่นแห่งญิฮาด)

ประวัติ

แก้

ญิฮาดในอัฟกานิสถาน

แก้

จุดกำเนิดของกลุ่มเริ่มขึ้นภายในไม่กี่สัปดาห์หลังโซเวียตรุกรานอัฟกานิสถานใน พ.ศ. 2522 โดยการบริหารของชาวอาหรับจากต่างประเทศในชื่อมุญาฮิดีน สนับสนุนทางการเงินโดยบิน ลาดินและการบริจาคของชาวมุสลิม สหรัฐมองว่าการรุกรานอัฟกานิสถานของโซเวียตเป็นส่วนหนึ่งของสงครามเย็น หน่วยสืบราชการลับได้ให้ความช่วยเหลือกลุ่มดังกล่าวผ่านทางปากีสถาน[52][53] อัลกออิดะฮ์พัฒนาจากกลุ่ม Maktab al-Khadamat ที่เป็นส่วนหนึ่งของมุญาฮิดีน สมาชิกส่วนใหญ่เป็นทหารชาวปาเลสไตน์ และได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐเช่นเดียวกับมุญาฮิดีนกลุ่มอื่น ๆ การสู้รบดำเนินไป 9 ปี จนสหภาพโซเวียตถอนตัวออกจากอัฟกานิสถานใน พ.ศ. 2532 รัฐบาลสังคมนิยมของ โมฮัมเหม็ด นาจิบุลลอห์ ถูกมุญาฮิดีนล้มล้าง แต่เนื่องจากผู้นำกลุ่มมุญาฮิดีนไม่สามารถตกลงกันได้ ความวุ่นวายจากการแย่งชิงอำนาจจึงตามมา

การขยายตัว

แก้

หลังจากสงครามต่อต้านโซเวียตในอัฟกานิสถานสิ้นสุดลงนักรบมุญาฮิดีนบางกลุ่มต้องการขยายการต่อสู้ออกไปทั่วโลกในนามนักรบอิสลามเช่นความขัดแย้งในอิสราเอลและแคชเมียร์ หนึ่งในความพยายามนี้คือการตั้งกลุ่มอัลกออิดะฮ์โดยบิน ลาดินใน พ.ศ. 2531

สงครามอ่าวเปอร์เซียและเริ่มต้นต่อต้านสหรัฐ

แก้

เมื่อสงครามในอัฟกานิสถานสิ้นสุดลง บิน ลาดินเดินทางกลับสู่ซาอุดีอาระเบีย เมื่อเกิดการรุกรานคูเวตของอิรักใน พ.ศ. 2533 บิน ลาดินได้เสนอให้ใช้นักรบมุญาฮิดีนของเขาร่วมมือกับกษัตริย์ฟาฮัด เพื่อปกป้องซาอุดีอาระเบียจากการรุกรานของอิรักที่อาจจะเกิดขึ้น แต่ราชวงศ์ซาอุดีอาระเบียปฏิเสธและหันไปอนุญาตให้สหรัฐเข้ามาตั้งฐานทัพในซาอุดีอาระเบีย ทำให่บิน ลาดินไม่พอใจ เพราะเขาไม่ต้องการให้มีกองทหารต่างชาติในดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาอิสลาม (คือเมกกะและเมดีนา) การที่เขาออกมาต่อต้านทำให้เขาถูกบีบให้ไปซูดานและถูกถอนสัญชาติซาอุดีอาระเบีย[54]

ในซูดาน

แก้

ใน พ.ศ. 2534 แนวร่วมอิสลามแห่งชาติซูดานขึ้นมามีอำนาจและเชื้อเชิญกลุ่มอัลกออิดะฮ์ให้ย้ายเข้ามาภายในประเทศ อัลกออิดะฮ์เข้าไปประกอบธุรกิจในซูดานเป็นเวลาหลายปี และสนับสนุนเงินในการสร้างทางหลวงจากเมืองหลวงไปยังท่าเรือซูดาน พ.ศ. 2539 บิน ลาดินถูกบีบให้ออกจากซูดานเนื่องจากแรงกดดันของสหรัฐ เขาจึงย้ายกลุ่มอัลกออิดะฮ์ไปตั้งมั่นในเมืองจะลาลาบาด อัฟกานิสถาน

บอสเนีย

แก้

การประกาศเอกราชของบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนาออกจากยูโกสลาเวียในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2534 ทำให้เกิดความขัดแย้งทางเชื้อชาติและศาสนาแห่งใหม่ในยุโรปในบอสเนีย ชนส่วนใหญ่เป็นมุสลิมแต่ก็มีชาวเซิร์บที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายกรีกออร์ทอดอกซ์และชาวโครแอตนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ทำให้เกิดความขัดแย้งที่เป็นสามเส้าขึ้น โดยเซอร์เบียและโครเอเชียหนุนหลังชาวเซิร์บและชาวโครแอตที่มีเชื้อชาติเดียวกันตามลำดับ เหล่านักรบอาหรับในอัฟกานิสถานเห็นว่าสงครามในบอสเนียเป็นโอกาสอันดีที่จะปกป้องศาสนาอิสลาม ทำให้กลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้ รวมทั้งอัลกออิดะฮ์เข้าร่วมในสงคราม ตั้งเป็นกลุ่มมุญาฮิดีนบอสเนีย โดยนักรบส่วนใหญ่เป็นชาวอาหรับไม่ใช่ชาวบอสเนีย

การลงนามในข้อตกลงวอชิงตันในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2537 ทำให้สงครามระหว่างบอสเนีย-โครแอตสิ้นสุดลง กลุ่มมุญาฮิดีนยังสู้รบกับชาวเซิร์บต่อไป จนกระทั่งบันทึกสันติภาพเดย์ตันในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2538 ทำให้สงครามสิ้นสุดลง และเหล่านักรบต่างชาติถูกบีบให้ออกนอกประเทศ ส่วนผู้ที่แต่งงานกับชาวบอสเนียหรือไม่มีที่กลับได้รับสัญชาติบอสเนียและอนุญาตให้อยู่ต่อไปได้

ผู้ลี้ภัยในอัฟกานิสถาน

แก้

หลังจากการถอนตัวของสหภาพโซเวียต อัฟกานิสถานอยู่ในสภาพวุ่นวายถึง 7 ปี จากการสู้รบของกลุ่มที่เคยเป็นพันธมิตรกัน ในช่วง พ.ศ. 2533 มีกลุ่มใหม่เกิดขึ้นคือกลุ่มตาลีบันหรือตอลิบาน (แปลตามตัว = นักเรียน) เป็นกลุ่มเยาวชนที่เกิดในอัฟกานิสถานยุคสงครามได้รับการศึกษาในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม (มัดรอซะ; madrassas) ในเมืองกันดะฮาร์ หรือค่ายผู้อพยพตามแนวชายแดนปากีสถาน-อัฟกานิสถาน

ผู้นำของตอลิบาน 5 คนจบการศึกษาจากโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม Darul Uloom Haqqania ใกล้กับเมืองเปศวาร์ในปากีสถาน แต่ผู้เข้าเรียนส่วนใหญ่เป็นผู้อพยพจากปากีสถาน โรงเรียนนี้สอนศาสนาตามลัทธิซาลาฟีย์ และได้รับการสนับสนุนจากชาวอาหรับโดยเฉพาะบิน ลาดิน ชาวอาหรับในอัฟกานิสถานและตอลิบานมีความเกี่ยวพันกันมาก หลังจากโซเวียตถอนตัวออกไป ตอลิบานมีอิทธิพลมากขึ้นจนสามารถก่อตั้งรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน ใน พ.ศ. 2537 ตอลิบานเข้ายึดครองพื้นที่ในเมืองกันดะฮาร์และเข้ายึดกรุงคาบูลได้เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2539

หลังจากซูดานได้บีบให้บิน ลาดินและกลุ่มของเขาออกนอกประเทศ เป็นเวลาเดียวกับที่ตอลิบานมีอำนาจในอัฟกานิสถาน บิน ลาดินจึงเข้าไปตั้งมั่นในเขตจะลาลาบาด ในเวลานั้นมีเพียงปากีสถาน ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เท่านั้นที่ยอมรับว่าตอลิบานเป็นรัฐบาลของอัฟกานิสถาน บิน ลาดินพำนักในอัฟกานิสถาน จัดตั้งค่ายฝึกนักรบมุสลิมจากทั่วโลก[55][56] จนกระทั่งรัฐบาลตอลิบานถูกขับไล่โดยกองกำลังผสมภายในประเทศร่วมกับกองทหารสหรัฐใน พ.ศ. 2544 หลังจากนั้นเชื่อกันว่า บิน ลาดินยังคงพำนักกับกลุ่มตอลิบานในบริเวณชายแดนปากีสถาน

เริ่มโจมตีพลเรือน

แก้

พ.ศ. 2536 Ramzi Yousef ผู้นำคนหนึ่งของอัลกออิดะฮ์ ใช้การวางระเบิดในรถยนต์ โจมตีตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในนิวยอร์ก แต่ไม่สำเร็จ และ Yousef ถูกจับในปากีสถาน แต่ก็เป็นแรงดลใจให้กลุ่มของบิน ลาดิน ทำสำเร็จเมื่อ 11 กันยายน พ.ศ. 2544

อัลกออิดะฮ์เริ่มสงครามครูเสดใน พ.ศ. 2539 เพื่อขับไล่กองทหารต่างชาติออกไปจากดินแดนอิสลามโดยต่อต้านสหรัฐและพันธมิตร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 บิน ลาดินและ Ayman al-Zawahiri ผู้นำของกลุ่มญิฮาดอียิปต์และผู้นำศาสนาอิสลามอีกสามคน ร่วมลงนามใน “ฟัตวาห์”,[57] หรือคำตัดสินภายใต้ชื่อแนวร่วมอิสลามโลกเพื่อญิฮาดต่อต้านยิวและครูเสด (World Islamic Front for Jihad Against the Jews and Crusaders; ภาษาอาหรับ: al-Jabhah al-Islamiyya al-'Alamiyya li-Qital al-Yahud wal-Salibiyyin)โดยประกาศว่าเป็นหน้าที่ของชาวมุสลิมทุกประเทศในการสังหารชาวสหรัฐและพันธมิตรทั้งทหารและพลเรือนเพื่อปลดปล่อยมัสยิดอัลอักซาในเยรูซาเลมและมัสยิดศักดิ์สิทธิ์ในเมกกะ[58] หลังจากนั้นได้เกิดการวางระเบิดสถานทูตสหรัฐในแอฟริกาตะวันออกภายในปีเดียวกัน มีผู้เสียชีวิต 300 คน ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2543 เกิดระเบิดพลีชีพในกองทัพเรือสหรัฐในเยเมน[59]

วินาศกรรม 11 กันยายน และปฏิกิริยาของสหรัฐ

แก้
 
ความสูญเสียจากการก่อวินาศกรรม 11 กันยายน

การก่อวินาศกรรม 11 กันยายน ทำให้สหรัฐและเนโทออกมาต่อต้านอัลกออิดะฮ์ และฟัตวาห์ พ.ศ. 2541 การโจมตีครั้งนี้ถือเป็นวินาศภัยครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา มีผู้เสียชีวิตเกือบ 3,000 คน รวมทั้งความเสียหายจากการพังทลายของตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์และตึกเพนตากอนถูกทำลายลงไปบางส่วน หลังจากนั้น สหรัฐได้มีปฏิบัติการทางทหารโต้ตอบเรียกร้องให้ มุลลาห์ โอมาร์ ผู้นำตอลิบานส่งตัวบิน ลาดินมาให้ แต่ตอลิบานเลือกที่จะส่งตัวบิน ลาดินให้ประเทศที่เป็นกลาง สหรัฐจึงส่งกองทัพอากาศทิ้งระเบิดทำลายที่มั่นที่เชื่อว่าเป็นแหล่งกบดานของอัลกออิดะฮ์ และส่งปฏิบัติการทางทหารภาคพื้นดินร่วมกับพันธมิตรฝ่ายเหนือเพื่อล้มล้างรัฐบาลตอลิบาน

 
ทหารสหรัฐในอัฟกานิสถาน

หลังจากถูกกวาดล้าง กลุ่มอัลกออิดะฮ์พยายามรวมตัวอีกครั้งในเขต Gardez แต่ยังคงถูกโจมตีจากฝ่ายสหรัฐ ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2545 กองทัพอัลกออิดะฮ์ถูกทำลายจนลดประสิทธิภาพลงมาก ซึ่งเป็นความสำเร็จในขั้นต้นของการรุกรานอัฟกานิสถาน อย่างไรก็ตาม ตอลิบานยังมีอิทธิพลอยู่ในอัฟกานิสถาน และผู้นำคนสำคัญของอัลกออิดะฮ์ยังไม่ถูกจับ ใน พ.ศ. 2547 สหรัฐกล่าวอ้างว่าจับตัวผู้นำของอัลกออิดะฮ์ได้ 2 – 3 คน แต่อัลกออิดะฮ์ก็ยังดำเนินกิจกรรมต่อไปได้

กิจกรรมในอิรัก

แก้

บิน ลาดิน เริ่มให้ความสนใจอิรักตั้งแต่สงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2533 อัลกออิดะฮ์ติดต่อกับกลุ่มมุสลิมชาวเคิร์ด Ansar al-islam ใน พ.ศ. 2542 ระหว่างการรุกรานอิรักใน พ.ศ. 2546 อัลกออิดะฮ์ให้ความสนใจเป็นพิเศษ หน่วยทหารของอัลกออิดะฮ์เริ่มวางระเบิดกองบัญชาการของสหประชาชาติและกาชาดสากล พ.ศ. 2547 ฐานที่มั่นของอัลกออิดะฮ์ในเมืองฟาลูยะห์ ถูกโจมตีและปิดล้อมด้วยกองทหารสหรัฐ แต่อัลกออิดะฮ์ยังคงโจมตีทั่วอิรัก แม้จะสูญเสียกำลังคนไปมาก ในระหว่างการเลือกตั้งในอิรัก พ.ศ. 2548 กลุ่มอัลกออิดะฮ์ออกมาประกาศความรับผิดชอบระเบิดพลีชีพ 9 ครั้งในแบกแดด

Abu Musab al-Zarqawi ทหารชาวจอร์แดนเป็นผู้จัดตั้งองค์กร "Jama'at al-Tawhid wal-Jihad" เมื่อ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2547 และประกาศเป็นตัวแทนของอัลกออิดะฮ์ในอิรัก หลังจากเขาถูกฆ่าจากการโจมตีทางอากาศโดยสหรัฐเมื่อ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ที่ Baqubah เชื่อกันว่า Abu Ayyub al-Masri ขึ้นเป็นผู้นำอัลกออิดะฮ์ในอิรักแทน แม้ว่าการต่อสู้ของอัลกออิดะฮ์ในอิรักยังไม่ประสบผลในการขับไล่กองทหารอังกฤษและสหรัฐ รวมทั้งล้มล้างรัฐบาลของผู้นับถือนิกายชีอะฮ์ แต่ก็ได้สร้างความรุนแรงกระจายไปทั่วประเทศ

อัลกออิดะฮ์ในแคชเมียร์

แก้

เมื่อ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ชายลึกลับอ้างตัวเป็นสมาชิกอัลกออิดะฮ์โทรศัพท์ไปที่นักข่าวท้องถิ่นในศรีนคร ประกาศว่าขณะนี้อัลกออิดะฮ์เข้ามาในแคชเมียร์แล้ว เพื่อปกป้องชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมที่ถูกรัฐบาลอินเดียกดขี่ อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า กลุ่มอัลกออิดะฮ์แทรกซึมเข้ามาในบริเวณนี้ตั้งแต่ก่อนการรุกรานอัฟกานิสถานของสหรัฐ และน่าจะมีความสัมพันธ์กับกลุ่มก่อการร้ายในปากีสถาน

กิจกรรม

แก้

กิจกรรมทางอินเทอร์เน็ต

แก้

กลุ่มอัลกออิดะฮ์ใช้อินเทอร์เน็ตในการสร้างเครือข่ายและประชาสัมพันธ์ผลงาน

กิจกรรมทางการเงิน

แก้

การโอนเงินจากบัญชีของบิน ลาดินจากธนาคารแห่งชาติบาห์เรน จะถูกส่งต่อยังบัญชีผิดกฎหมายที่ไม่แสดงข้อมูลใน Clearstream ซึ่งเป็นแหล่งฟอกเงิน

ในอิสราเอล

แก้

อัลกออิดะฮ์ไม่ค่อยมีบทบาทในการต่อต้านอิสราเอล ทฤษฎีหนึ่งคือ อัลกออิดะฮ์ไม่ยอมร่วมมือกับกลุ่มนิกายชีอะฮ์ เช่น ฮิซบุลลอฮ์ ซึ่งสนับสนุนการต่อต้านอิสราเอลของปาเลสไตน์ หรือมิฉะนั้น ชาวปาเลสไตน์ไม่ต้องการต่อสู้ภายใต้หลักการของอัลกออิดะฮ์ แต่ต้องการต่อสู้ด้วยหลักการของตนเอง อัลกออิดะฮ์เคยถูกตั้งข้อสงสัยว่าน่าจะมีส่วนในการโจมตีพลเรือนอิสราเอลเมื่อ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ที่เคนยา เช่น การวางระเบิดโรงแรมที่มีชาวอิสราเอลเข้าพัก หรือพยายามโจมตีเครื่องบิน

อ้างอิง

แก้
  1. Moghadam, Assaf (2008). The Globalization of Martyrdom: Al Qaeda, Salafi Jihad, and the Diffusion of Suicide Attacks. Johns Hopkins University. p. 48. ISBN 978-0-8018-9055-0.
  2. Livesey, Bruce (January 25, 2005). "Special Reports – The Salafist Movement: Al Qaeda's New Front". PBS Frontline. WGBH educational foundation. สืบค้นเมื่อ October 18, 2011.
  3. Geltzer, Joshua A. (2011). US Counter-Terrorism Strategy and al-Qaeda: Signalling and the Terrorist World-View (Reprint ed.). Routledge. p. 83. ISBN 978-0415664523.
  4. Wright, Looming Tower, 2006, p. 79
  5. 5.0 5.1 "The Future of Terrorism: What al-Qaida Really Wants". Der Spiegel. September 11, 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-07. สืบค้นเมื่อ October 18, 2011.
  6. "Al-Qaeda seeks global dominance". The Daily Telegraph. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-12. สืบค้นเมื่อ 2015-03-15.
  7. "Jihadists Want Global Caliphate". ThePolitic.com. July 27, 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-30. สืบค้นเมื่อ October 18, 2011.
  8. Pike, John. "Al-Qaida". Globalsecurity.org. สืบค้นเมื่อ October 18, 2011.
  9. Burke, Jason (March 21, 2004). "What exactly does al-Qaeda want?". The Guardian. London.
  10. United States Department of State. "Foreign Terrorist Organizations (FTOs)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 28, 2006. สืบค้นเมื่อ July 3, 2006.
  11. United Kingdom Home Office. "Proscribed terrorist groups" (PDF). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 30, 2006. สืบค้นเมื่อ July 3, 2006.
  12. Australian Government. "Listing of Terrorist Organisations". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-04. สืบค้นเมื่อ July 3, 2006.
  13. "La France face au terrorisme" (PDF) (ภาษาฝรั่งเศส). Secrétariat général de la défense nationale (France). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-08-07. สืบค้นเมื่อ August 6, 2009.
  14. General Intelligence and Security Service. "Annual Report 2004" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ June 14, 2007. สืบค้นเมื่อ June 11, 2007.
  15. ""Türkiye'de halen faaliyetlerine devam eden başlıca terör örgütleri listesi" (Emniyet Genel Müdürlügü)". Egm.gov.tr. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-14. สืบค้นเมื่อ March 22, 2010.
  16. Commission of the European Communities (October 20, 2004). "Communication from the Commission to the Council and the European Parliament" (DOC). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 14, 2007. สืบค้นเมื่อ June 11, 2007.
  17. "Criminal Justice (Terrorist Offences) Act 2005". 2005. Department of Justice Ireland. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-27. สืบค้นเมื่อ May 26, 2014.
  18. Ministry for Foreign Affairs Sweden (March–June 2006). "Radical Islamist Movements in the Middle East" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ June 14, 2007. สืบค้นเมื่อ June 11, 2007.[ลิงก์เสีย]
  19. Bill Roggio (September 4, 2011). "How many al Qaeda fighters are in Afghanistan again? – Threat Matrix". Longwarjournal.org. สืบค้นเมื่อ August 18, 2014.
  20. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ The Sunday Guardian
  21. "The Hindu : Centre bans Al-Qaeda". Hinduonnet.com. April 9, 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-27. สืบค้นเมื่อ March 22, 2010.
  22. 23.0 23.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ The Washington Times
  23. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Jenkins 2014
  24. Slackman, Michael (28 August 2009), "Would-Be Killer Linked to Al Qaeda, Saudis Say", The New York Times, สืบค้นเมื่อ 14 August 2014
  25. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ telegraph.co.uk
  26. Chonghaile, Clar (28 September 2012), "Kenyan troops launch beach assault on Somali city of Kismayo", The Guardian, สืบค้นเมื่อ 17 January 2015
  27. "Estimated to number 5,000 to 7,000 fighters" เก็บถาวร 2014-09-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Daily Star, September 8, 2014 ()
  28. "Russia Outlaws 17 Terror Groups; Hamas, Hezbollah Not Included". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 14, 2006.
  29. Alfredo Sirkis. "O Brasil e o terrorismo internacional". สืบค้นเมื่อ February 22, 2014.
  30. Diplomatic Bluebook (2002). "B. Terrorist Attacks in the United States and the Fight Against Terrorism" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ June 14, 2007. สืบค้นเมื่อ June 11, 2007.
  31. Korean Foreign Ministry (August 14, 2007). "Seoul confirms release of two Korean hostages in Afghanistan". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 15, 2007. สืบค้นเมื่อ September 16, 2007.
  32. "Summary of indictments against Al-Qaeda terrorists in Samaria". Israel Ministry of Foreign Affairs. March 21, 2006. สืบค้นเมื่อ May 4, 2011.
  33. http://www.justice.gov.il/NR/rdonlyres/9C960928-70AB-428A-BCCC-2E6091F2BDE3/40880/impa_terror_eng_17012013.doc
  34. Mortada, Radwan (May 19, 2014). "Hezbollah fighters and the "jihadis:" Mad, drugged, homicidal, and hungry". al-Akhbar English. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-07. สืบค้นเมื่อ June 9, 2014.
  35. "Houthis gain ground against Yemen's al-Qaeda". November 2014. สืบค้นเมื่อ 2015. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  36. "The Islamic State vs. al Qaeda". September 2014. สืบค้นเมื่อ 2015. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  37. 38.0 38.1 38.2 Dalacoura 2012, pp. 40–48
  38. Bergen 2006, p. 75.
  39. "Bill Moyers Journal. A Brief History of Al Qaeda". PBS.com. July 27, 2007. สืบค้นเมื่อ March 31, 2012.
  40. United States v. Usama bin Laden et al., Cr. 1023, Testimony of Jamal Ahmed Mohamed al-Fadl (SDNY February 6, 2001)."Al-Qaeda's origins and links". BBC News. July 20, 2004. สืบค้นเมื่อ June 3, 2014.Cooley, John K. (Spring 2003). Unholy Wars: Afghanistan, America and International Terrorism.
  41. Wright 2006, pp. 107–108, 185, 270–271
  42. "al Qaida's Ideology". MI5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 28, 2009. สืบค้นเมื่อ May 19, 2012.
  43. "Dreaming of a caliphate". The Economist. August 6, 2011. สืบค้นเมื่อ May 19, 2012.
  44. Fu'ad Husayn 'Al-Zarqawi, "The Second Generation of al-Qa'ida, Part Fourteen," Al-Quds al-Arabi, July 13, 2005
  45. Wright 2006, p. 246
  46. Jihadi Terrorism and the Radicalisation Challenge: p.219, Rik Coolsaet – 2011
  47. Dragons and Tigers: A Geography of South, East, and Southeast Asia – (2011) – Barbara A. Weightman
  48. Security strategy and transatlantic relations (2006) Roland Dannreuther
  49. Jihad and Just War in the War on Terror (2011) Alia Brahimi
  50. Zakaria, Fareed (29 April 2021). "Opinion: Ten years later, Islamist terrorism isn't the threat it used to be". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 4 May 2021.
  51. "How the CIA created Osama bin Laden". Green Left Weekly. 2001-09-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-03. สืบค้นเมื่อ 2007-01-09.
  52. "1986-1992: CIA and British Recruit and Train Militants Worldwide to Help Fight Afghan War". Cooperative Research History Commons. สืบค้นเมื่อ 2007-01-09.
  53. "Osama bin Laden: A Chronology of His Political Life". PBS. สืบค้นเมื่อ 2007-01-12.
  54. "Islamist Militancy in the Pakistan-Afghanistan Border Region and U.S. Policy" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-23. สืบค้นเมื่อ 2010-07-23.
  55. Denmark: Danish Muslims training in al-Qaeda camps, planning attack against Denmark
  56. "Bin Laden's Fatwa". Al Quds Al Arabi. August 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 2007-01-09.
  57. สรุปจากการสัมภาษณ์บิน ลาดิน เมื่อ 26 พ.ค. 2541 โดย John Miller Most recently broadcast in the documentary Age of Terror, part 4, with translations checked by Barry Purkis (archive researcher).
  58. Weir, Shelagh (July/September 1997), A Clash of Fundamentalisms: Wahhabism in Yemen, Middle East Report, Middle East Research and Information Project, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-03, สืบค้นเมื่อ 2009-01-19 {{citation}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |publication-date= (help); cited in Burke, Jason (2003). Al-Qaeda: Casting a Shadow of Terror. New York: I.B. Tauris. pp. 128–129. ISBN 1850433968.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้