อักษรชวา (ภาษาชวา: ꦲꦏ꧀ꦱꦫꦗꦮ อักซาราจาวา) หรือ ฮานาจารากา () เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาชวา โดยก่อนหน้าที่จะใช้อักษรชวาเขียน ราว พ.ศ. 1900 ภาษาชวาเขียนด้วยอักษรปัลลวะ อีก 200 ปีถัดมาเขียนด้วยอักษรกวิ จนราว พ.ศ. 2200 อักษรชวาหรือจารากันจึงพัฒนาขึ้นมา อักษรนี้ถูกห้ามใช้ในช่วงที่ญี่ปุ่นยึดครองอินโดนีเซียระหว่าง พ.ศ. 2483 -2488 ราวพ.ศ. 2000 มีการเขียนภาษาชวาด้วยอักษรอาหรับเช่นกัน เรียกว่าเปกอลหรือกันดิล ตั้งแต่เนเธอร์แลนด์นำการเขียนด้วยอักษรละตินเข้ามาเผยแพร่ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2300 ทั้งอักษรชวาและอักษรอาหรับจึงถูกแทนที่ด้วยอักษรละติน ปัจจุบันอักษรชวาใช้ทางวิชาการและการประดับตกแต่ง ผู้ที่อ่านได้จะได้รับการยกย่องมากอักษรนี้เคยใช้เขียนภาษาบาหลีและภาษาซุนดา แต่ถูกแทนที่ด้วยอักษรละตินหมดแล้ว

อักษรชวา
ชนิดอักษรสระประกอบ
ภาษาพูดภาษาชวา, ซุนดา, ซาซะก์, มาดูรา, อินโดนีเซีย, กวิ, สันสกฤต
ช่วงยุคประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึงปัจจุบัน
ระบบแม่
ระบบพี่น้องอักษรบาหลี
อักษรบาตัก
อักษรบายบายิน
อักษรบูฮิด
อักษรฮานูโนโอ
อักษรลนตารา
อักษรซุนดา
อักษรเรินกง
อักษรเรชัง
อักษรตักบันวา
ช่วงยูนิโคดU+A980–U+A9DF
ISO 15924Java
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทศาสตร์สัทอักษรสากล หากไม่มีการสนับสนุนเร็นเดอร์ที่เหมาะสม คุณอาจเห็นเครื่องหมายคำถาม กล่อง หรือสัญลักษณ์อื่นแทนอักขระยูนิโค้ด

ประวัติ แก้

อักษรชวาและอักษรบาหลีเป็นอักษรรุ่นใหม่ของอักษรกวิซึ่งสืบทอดมาจากอักษรพราหมี พัฒนาขึ้นในชวาเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 14 ใช้ในการเขียนเอกสารทางศาสนาในใบลาน อักษรกวิได้พัฒนามาเป็นอักษรชวาเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 22 อักษรชวาใช้ในศาลในสุรการ์ตาและยอร์กยาการ์ตา และแพร่หลายในเกาะชวาและหมู่เกาะซุนดาน้อย ใช้เขียนเอกสารทางประวัติศาสตร์ และอื่นๆ

ตัวอักษรโลหะสำหรับอักษรชวาผลิตขึ้นครั้งแรกเมื่อราว พ.ศ. 2373 โดยชาวดัตช์ อักษรแบบตัวเขียนผลิตขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 25 ใน พ.ศ. 2469 ได้จัดมาตรฐานการสะกดคำภาษาชวา อย่างไรก็ตาม การใช้อักษรชวาถูกห้ามในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อญี่ปุ่นเข้ามายึดครอง ในปัจจุบันไม่มีหนังสือพิมพ์หรือวารสารตีพิมพ์ด้วยอักษรชวา และใช้ในงานวิชาการเท่านั้น การใช้ในชีวิตประจำวันถูกแทนที่ด้วยภาษาอินโดนีเซียซึ่งใช้สอนในโรงเรียน และสอนอักษรนี้เป็นรายวิชาหนึ่ง รัฐบาลท้องถิ่นในชวากลางใช้อักษรชวาในป้ายคู่กับภาษาอินโดนีเซียตั้งแต่ พ.ศ. 2555

ลักษณะ แก้

อักษรชวามีอักษร 35 ตัว แต่แทนหน่วยเสียงต่างกันขึ้นกับว่าใช้เขียนภาษาใด พยัญชนะมีเสียงอะหรือออเป็นพื้นเสียง ซึ่งเสียงสระนี้จะเปลี่ยนไปตามเครื่องหมายสระ เครื่องหมายวรรคตอน เช่น จุลภาค มหภาค และเครื่องหมายคำพูดใช้ในบทกวี เขียนจากซ้ายไปขวาและเขียนโดยไม่เว้นระหว่างคำ พยัญชนะมี 2 แบบ คือ ตัวเต็ม (อักษรา) และตัวเชิง (ปาซางัน) มีอักษรพิเศษเรียก อักษรา มุรทา หรือ อักษรา เกเท ใช้เขียนชื่อบุคคลที่เป็นที่เคารพ สระมีสองชุดคือสระจมและสระลอย

อักษรตัวเต็มพื้นฐานมี 20 ตัวได้แก่

ha na ca ra ka
         
da ta sa wa la
         
pa dha ja ya nya
         
ma ga ba tha nga
         

อักษรตัวเชิง แก้

ha na ca ra ka
         
da ta sa wa la
         
pa dha ja ya nya
         
ma ga ba tha nga
         

เครื่องหมายตัวสะกด แก้

Panyangga Cêcak Wingyan Layar Pangkon
       
kaṃ kang kah kar -k

พยัญชนะตัวควบกล้ำ แก้

Cakra Kêrêt Pengkal
     
kra krê kya

อักษรส่วนเพิ่ม แก้

เป็นอักษรที่เรียกอักษรมุรทาและมหาปรานา ใช้เขียนคำขึ้นต้นของชื่อบุคคลที่เป็นที่เคารพ โดยการใช้คล้ายกับการใช้อักษรตัวใหญ่ของอักษรละตินที่ใช้เขียนภาษาชวาในปัจจุบัน

อักษรมุรทา
ตัวเต็ม ตัวเชิง ชื่อ
    Na murda
    Ca Murda
    Ka murda
    Ta murda
    Sa murda
    Pa murda
    Nya murda
    Ga murda
    Ba murda
อักษรมหาปรานา
ตัวเต็ม ตัวเชิง ชื่อ
    Da mahaprana
    Sa mahaprana
    Ja mahaprana
    Tha mahaprana
อักษรพิเศษ
ตัวเต็ม ตัวเชิง ชื่อ
    Ra agung
    Pa cêrêk
    Nga lêlêt

อักษรสำหรับถ่ายเสียงภาษาอื่น แก้

การถ่ายเสียงอักษรละติน
       
fa qa va za
fa qa va d͡ʒa
ถ่ายเสียงอักษรอาหรับ
                         
tsa ḥa kha dza za ṣa ḍa ṭa ẓa a' gha fa qa
θa ħa xa ða d͡ʒa sˤa ðˤa tˤa dˤa ʔ ɣa fa qa
ถ่ายเสียงภาษาซุนดา
     
nya rêu lêu
ɳa
ถ่ายเสียงภาษาจีน
           
the se nie hwe yo syo

สระพื้นฐาน แก้

a i u e o ě
         
- Wulu Suku Taling Taling-tarung Pěpět
           

สระส่วนเพิ่ม แก้

aa ii uu ai au ěu o (ซุนดา) i (กวิ)
           
Tarung Wulu mělik Suku měndut Dirga mure Dirga mure-tarung Pěpět-tarung Tolong -
             

ตัวเลข แก้

1 2 3 4 5 6 7 8 9 0
                   

การเรียงลำดับ แก้

อักษรชวามีการเรียงลำดับที่มีเอกลักษณ์ เพราะจะเป็นบทกวีในตัวของมันเองด้วย คือ "Hana caraka, data sawala, paḍa jayanya, maga baṭanga," ซึ่งมาจากนิทานพื้นบ้านเรื่องอายี ซากา[1] ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับกษัตริย์องค์แรกของชวา อักษรชวานี้จะเรียงลำดับตามแบบของภาษาสันสกฤตก็ได้

การใช้งานในปัจจุบัน แก้

ใช้เขียนภาษาซุนดา แก้

ชาวซุนดาบางส่วนใช้อักษรชวาในการเขียนภาษาซุนดา แต่ได้ดัดแปลงตัวอักษรและเปลี่ยนชื่อเรียกขากจากจารากันในภาษาชวาเป็นจาจารากัน มี 18 ตัวโดยตัดตัว dha และ tha ออกไป

ความคล้ายคลึงกับอักษรบาหลี แก้

รูปลักษณ์ของอักษรชวาและอักษรบาหลีคล้ายคลึงกัน แต่ใช้ยูนิโคดต่างกัน

 
Javanese Script
 
Balinese Script
อักษรชวา อักษรบาหลี
 
อาคารที่มีป้ายเขียนด้วยอักษรชวา


อ้างอิง แก้

  1. Soemarmo, Marmo. "Javanese Script." Ohio Working Papers in Linguistics and Language Teaching 14.Winter (1995): 69-103.