ภาษาซุนดา (ซุนดา: basa Sunda, ออกเสียง: [basa sʊnda]; อักษรซุนดา: ᮘᮞ ᮞᮥᮔ᮪ᮓ; อักษรเปโกน: بَاسَا سُوْندَا‎) เป็นภาษากลุ่มมลายู-พอลินีเชียที่พูดโดยชาวซุนดา มีผู้พูดภาษานี้เป็นภาษาแม่ประมาณ 40 ล้านคนในบริเวณทางตะวันตกของเกาะชวา ซึ่งเทียบเท่ากับประมาณร้อยละ 15 ของประชากรทั้งหมดในประเทศอินโดนีเซีย

ภาษาซุนดา
basa Sunda
ᮘᮞ ᮞᮥᮔ᮪ᮓ
بَاسَا سُوْندَا
ออกเสียง[basa sʊnda]
ประเทศที่มีการพูดประเทศอินโดนีเซีย
ภูมิภาคจังหวัดชวาตะวันตก, จังหวัดบันเติน, จาการ์ตา, จังหวัดชวากลางฝั่งตะวันตกบางส่วน, จังหวัดลัมปุงตอนใต้ และชาวซุนดาพลัดถิ่นทั่วอินโดนีเซียและทั้งโลก
ชาติพันธุ์
จำนวนผู้พูด42 ล้านคน  (2016)[1]
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
รูปแบบมาตรฐาน
ภาษาถิ่น
ระบบการเขียนอักษรละติน (ปัจจุบัน)
อักษรซุนดา (ปัจจุบัน; ทางเลือก)
อักษรเปโกนซุนดา (คริสต์ศตวรรษที่ 17–20, ปัจจุบัน; ใช้ในโรงเรียนสอนศาสนาเท่านั้น)
อักษรซุนดาเก่า (คริสต์ศตวรรษที่ 14–18, ปัจจุบัน; ทางเลือก)
อักษรจาจารากันซุนดา (คริสต์ศตวรรษที่ 17–19 ปัจจุบันพบในบางพื้นที่)
อักษรบูดา (คริสต์ศตวรรษที่ 13–15, ปัจจุบัน; ทางเลือก)
อักษรกวิ (อดีต)
อักษรปัลลวะ (อดีต)
ปรานาการี (อดีต)
วัตเตลุตตุ (อดีต)
สถานภาพทางการ
ผู้วางระเบียบสถาบันภาษาและวรรณกรรมซุนดา
รหัสภาษา
ISO 639-1su
ISO 639-2sun
ISO 639-3มีหลากหลาย:
sun – Sundanese
bac – Baduy Sundanese
osn – ซุนดาเก่า
Linguasphere31-MFN-a
  บริเวณที่ภาษาซุนดาเป็นภาษาแม่
  บริเวณที่ภาษาซุนดาเป็นภาษาชนกลุ่มน้อยที่มีผู้พูด >100,000 คน
  บริเวณที่ภาษาซุนดาเป็นภาษาชนกลุ่มน้อยที่มีผู้พูด <100,000 คน
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด
บริเวณที่มีผู้พูดภาษาซุนดา
ผู้พูดภาษาซุนดา บันทึกในประเทศอินโดนีเซีย

การจำแนก

แก้

รอเบิร์ต บลัสต์ นักภาษาศาสตร์ชาวอเมริกัน รายงานว่า ภาษาซุนดามีความใกล้ชิดกับกลุ่มภาษามาเลย์อิก เช่นเดียวกันกับกลุ่มของภาษาที่มีผู้พูดบนเกาะบอร์เนียว เช่น กลุ่มภาษาดายักบกหรือกลุ่มภาษากายัน–มูริก โดยอิงตามความคล้ายคลึงกันของคำศัพท์ระหว่างภาษาเหล่านี้ในระดับสูง[2][3]

สัทวิทยา

แก้

ตัวอักษรซุนดามีความสอดคล้องกับหน่วยเสียงในระดับสูง

สระ

แก้

ภาษาซุนดามีเสียงสระ 7 เสียง ได้แก่ a /a/, é /ɛ/, i /i/, o /ɔ/, u /u/, e /ə/ และ eu /ɨ/[4]

หน้า กลาง หลัง
ปิด i ɨ u
กลาง ɛ ə ɔ
เปิด a

พยัญชนะ

แก้

Müller-Gotama (2001) รายงานว่ามีเสียงพยัญชนะ 18 เสียงในระบบเสียงภาษาซุนดา ได้แก่ /b/, /t͡ʃ/, /d/, /ɡ/, /h/, /d͡ʒ/, /k/, /l/, /m/, /n/, /p/, /r/, /s/, /ŋ/, /t/, /ɲ/, /w/, /j/ อย่างไรก็ตาม อิทธิพลจากภาษาต่างชาติทำให้มีหน่วยเสียงใหม่เพิ่มเข้ามา เช่น /f/, /v/, /z/ (เช่นในคำ fonem, qur'an, xerox, zakat) หน่วยเสียงพยัญชนะเขียนแทนด้วยตัวอักษรดังต่อไปนี้ p, b, t, d, k, g, c /t͡ʃ/, j /d͡ʒ/, h, ng (/ŋ/), ny /ɲ/, m, n, s /s/, w, l, r /r~ɾ/ และ y /j/ พยัญชนะอื่น ๆ ที่ปรากฏในคำยืมจากภาษาอินโดนีเซียส่วนใหญ่ถูกรวมเข้ากับพยัญชนะที่มีอยู่เดิมในภาษาซุนดา ได้แก่ f/v /f/p; sy /ʃ/s; z /z/j; และ kh /x/h

ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง
นาสิก m n ɲ ŋ
หยุด/
กักเสียดแทรก
ไม่ก้อง p t t͡ʃ k
ก้อง b d d͡ʒ ɡ
เสียดแทรก s h
ข้างลิ้น l
รัว r
เปิด w j

สระเรียงที่ประกอบด้วยสระสูงตามด้วยสระอื่น เมื่อออกเสียงจะแทรกเสียงกึ่งสระ /w/ หรือ /j/ เข้าไประหว่างสระเรียงนั้น เช่นในคำต่อไปนี้

  • kuéh - /kuwɛh/
  • muih - /muwih/
  • béar - /bejar/
  • miang - /mijaŋ/

ตัวเลข

แก้
เลข อักษรซุนดา ภาษาซุนดา
1 || hiji
2 || dua
3 || tilu
4 || opat
5 || lima
6 || genep
7 || tujuh
8 || dalapan
9 || salapan
10 |᮱᮰| sapuluh
11 |᮱᮱| sabelas
12 |᮱᮲| dua belas
20 |᮲᮰| dua puluh
21 |᮲᮱| dua puluh hiji
30 |᮳᮰| tilu puluh
31 |᮳᮱| tilu puluh hiji
40 |᮴᮰| opat puluh
50 |᮵᮰| lima puluh
60 |᮶᮰| genep puluh
70 |᮷᮰| tujuh puluh
80 |᮸᮰| dalapan puluh
90 |᮹᮰| salapan puluh
100 |᮱᮰᮰| saratus
ร้อย ratusan
1000 |᮱᮰᮰᮰| sarébu
พัน rébu

ไวยากรณ์

แก้

คำบุพบท

แก้

สถานที่

แก้

ภาษาซุนดามีคำบุพบททั่วไปสำหรับนิพจน์เชิงพื้นที่ 3 แบบ:[5]

  • di: 'ใน', 'ที่' ฯลฯ, ระบุตำแหน่ง
  • dina/na: 'บน', 'ที่' ฯลฯ., ระบุตำแหน่งจำเพาะ
  • ka: 'ถึง', ระบุทิศทาง
  • kana: 'ถึง', ระบุทิศทางจำเพาะ
  • ti: 'จาก', ระบุความเป็นมา
  • tina: 'จาก', ระบุความเป็นมาจำเพาะ

ในการระบุนิพจน์เชิงพื้นที่จำเพาะกว่า (เช่น 'ข้างใน', 'ข้างใต้' ฯลฯ) จะมีการนำคำบุพบทเหล่านี้ไปประสมกับคำนามเฉพาะที่:[6]

ทางการ สุภาพ ไทย
di jero di lebet ข้างใน
di luar di luar ข้างนอก
di gigir di gédéng ด้านข้าง
di luhur di luhur ข้างบน
di handap di handap ข้างล่าง
di tukang di pengker ข้างหลัง
di hareup di payun ข้างหน้า

เวลา

แก้
ไทย ซุนดา
(ทางการ)
ซุนดา
(สุภาพ)
ก่อน saacan/saméméh sateuacan
หลัง sanggeus saparantos
ระหว่าง basa nalika
อดีต baheula kapungkur

อื่นๆ

แก้
ไทย ซุนดา
(ทางการ)
ซุนดา
(สุภาพ)
จาก tina/ti tina/ti
สำหรับ jang, paragi kanggo/kanggé

ตัวอย่าง

แก้

ข้อความข้างล่างนำมาจากคำแปลหัวข้อที่ 1 ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในภาษาซุนดา และของต้นฉบับในภาษาอังกฤษ (กับคำแปลในภาษาไทย)

  • ตัวอย่างข้อความภาษาซุนดา:
อักษรละติน[7]
"Sakumna jalma gubrag ka alam dunya téh sipatna merdika jeung boga martabat katut hak-hak anu sarua. Maranéhna dibéré akal jeung haté nurani, campur-gaul jeung sasamana aya dina sumanget duduluran."
อักษรเปโกน (อาหรับ)
«ساكومنا جالما ڮوبراڮ كا عالم دنيا تَيه سيپاتنا مَيرديكا جۤڠ بَوڮا مارتابات كاتوت حق۲ أنو سارووا. مارانَيهنا ديبَيرَي أكال جۤڠ هاتَي نورانی، چامڤور-ڮأول جۤڠ ساسامانا أيا دينا سوماڠَيت دودولوران.»
อักษรซุนดา (ดั้งเดิม)
ᮞᮊᮥᮙ᮪ᮔ ᮏᮜ᮪ᮙ ᮌᮥᮘᮢᮌ᮪ ᮊ ᮃᮜᮙ᮪ ᮓᮥᮑ ᮒᮦᮂ ᮞᮤᮕᮒ᮪ᮔ ᮙᮨᮁᮓᮤᮊ ᮏᮩᮀ ᮘᮧᮌ ᮙᮁᮒᮘᮒ᮪ ᮊᮒᮥᮒ᮪ ᮠᮊ᮪-ᮠᮊ᮪ ᮃᮔᮥ ᮞᮛᮥᮃ. ᮙᮛᮔᮦᮂᮔ ᮓᮤᮘᮦᮛᮦ ᮃᮊᮜ᮪ ᮏᮩᮀ ᮠᮒᮦ ᮔᮥᮛᮔᮤ, ᮎᮙ᮪ᮕᮥᮁ-ᮌᮅᮜ᮪ ᮏᮩᮀ ᮞᮞᮙᮔ ᮃᮚ ᮓᮤᮔ ᮞᮥᮙᮍᮨᮒ᮪ ᮓᮥᮓᮥᮜᮥᮛᮔ᮪.
  • ฉบับแปลภาษาอังกฤษ:[8]
"All human beings are born free and equal in dignity and rights. They are endowed with reason and conscience and should act towards one another in a spirit of brotherhood."
  • ฉบับแปลภาษาไทย จากองค์กรแอมเนสตี้:[9]
"มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรี และสิทธิ ต่างในตนมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยจิตวิญญาณแห่งภราดรภาพ"

อ้างอิง

แก้
  1. Muamar, Aam (2016-08-08). "Mempertahankan Eksistensi Bahasa Sunda" [Maintaining the existence of Sundanese Language]. Pikiran Rakyat (ภาษาอินโดนีเซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 June 2019. สืบค้นเมื่อ 2018-09-27.
  2. Blust 2010.
  3. Blust 2013.
  4. Müller-Gotama, Franz (2001). Sundanese. Languages of the World. Materials. Vol. 369. Munich: LINCOM Europa.
  5. Hardjadibrata (1985), p. 30.
  6. Hardjadibrata (1985), p. 72–74.
  7. "Pernyataan Umum Ngeunaan Hak-hak Asasi Manusa" [Universal Declaration of Human Rights]. OHCHR (ภาษาซุนดา).
  8. "Universal Declaration of Human Rights: English". OHCHR.
  9. "ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน". แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้