หัวหน้าแมวจับหนูประจำสำนักคณะรัฐมนตรี

หัวหน้าแมวจับหนูประจำสำนักคณะรัฐมนตรี (อังกฤษ: Chief Mouser to the Cabinet Office)[a] เป็นชื่อตำแหน่งของแมวที่อาศัยอยู่ในบ้านเลขที่ 10 ถนนดาวนิง ซึ่งเป็นที่พักอาศัยและที่ทำการของนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรในลอนดอน โดยมีการเลี้ยงแมวอยู่ในอาคารสำนักงานของรัฐบาลอังกฤษไว้เพื่อจับหนูมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 แต่มีหลักฐานยืนยันอย่างแน่ชัดกลับไปถึงทศวรรษปี 1920 เท่านั้น แม้ว่ามีแมวตัวอื่น ๆ เคยประจำในบ้านถนนดาวนิง แต่แมวตัวแรกที่ได้รับตำแหน่งหัวหน้าแมวจับหนูอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลอังกฤษก็คือแลร์รีใน ค.ศ. 2011 โดยแมวตัวอื่น ๆ ได้รับการตั้งชื่อตำแหน่งนี้ในแวดวงนักข่าวสื่ออังกฤษอย่างไม่เป็นทางการเท่านั้น ในค.ศ. 2004 การศึกษาวิจัยพบว่ามุมมองของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีต่อหัวหน้าแมวจับหนูไม่ขาดจากการแบ่งฝ่ายทางการเมือง

หัวหน้าแมวจับหนูประจำสำนักคณะรัฐมนตรี
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
แลร์รี
ตั้งแต่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011
รัฐบาลสหราชอาณาจักร
สำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักคณะรัฐมนตรี
จวนเลขที่ 10 ถนนดาวนิง
ผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร
วาระไม่กำหนด วาระสิ้นสุดลงเมื่อตายหรือเกษียณ
ผู้ประเดิมตำแหน่งแมวของพระคาร์ดินัลโวลซีย์
สถาปนาป. 1515
เริ่มใช้ชื่อตำแหน่งประมาณ ค.ศ. 1997[1]
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ

ประวัติ

แก้

มีหลักฐานว่ามีแมวอาศัยอยู่ในอาคารสำนักงานของรัฐบาลอังกฤษตั้งแต่สมัยพระเจ้าเฮนรีที่ 8[5] เมื่อพระคาร์ดินัลโธมัส โวลซีย์ วางแมวไว้ข้างตัวขณะทำหน้าที่ตุลาการในฐานะประธานฝ่ายตุลาการอังกฤษ[6] หากเปิดดูเอกสารบันทึกย้อนหลังไปถึงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2472[7][8] เป็นช่วงเวลาที่เอ.อี. บานแฮมประจำการอยู่ที่กระทรวงการคลังอนุญาตให้ผู้ดูแลสำนักงาน "เบิกเงินสดย่อย 1 เพนนี[b] ต่อวันเพื่อเลี้ยงแมวที่มีประสิทธิภาพ"[9] ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2475 เพิ่มเงินเป็น 1 ชิลลิง 6 เพนนี[c] (18 เพนนี) ต่อสัปดาห์ (ประมาณ 2.57 เพนนีต่อวัน) เมื่อถึงศตวรรษที่ 21 มีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับแมวจับหนู 100 ปอนด์ต่อปี[10] แมวไม่จำเป็นต้องเป็นของนายกรัฐมนตรีที่กำลังดำรงตำแหน่ง และมีโอกาสน้อยมากที่แมวจับหนูใด ๆ จะเริ่มวาระการดำรงตำแหน่งพร้อมกับการเริ่มวาระของนายกรัฐมนตรี[11] แมวที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดในบ้านเลขที่ 10 คือปีเตอร์ที่ 3 ซึ่งดำรงตำแหน่งมานานกว่า 16 ปีภายใต้นายกรัฐมนตรี 5 คน ได้แก่เคลเมนต์ แอตต์ลี วินสตัน เชอร์ชิล แอนโทนี อีเดน ฮาโรลด์ แมคมิลแลน และ อเล็ก ดักลัส-ฮิวม์[7]

แลร์รีคือแมวที่กำลังดำรงตำแหน่งอยู่ในปัจจุบัน ตั้งแต่ ค.ศ. 2011[12] และเป็นแมวตัวแรกที่ได้รับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ[13] ผู้ดำรงตำแหน่งคนก่อนคือซีบิล หยุดดำรงตำแหน่งในเดือนมกราคม ค.ศ. 2009 ซีบิลซึ่งเริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2007 ถือเป็นแมวจับหนูตัวแรกในรอบสิบปีหลังจากการเกษียณอายุของฮัมฟรีย์ แมวดำรงตำแหน่งตัวก่อนในปี ค.ศ. 1997 ซีบิลมีเจ้าของคือ อลิสแตร์ ดาร์ลิง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้น ซึ่งรัฐมนตรีคลังอาศัยอยู่เลขที่ 10 ถนนดาวนิง ในขณะที่นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น กอร์ดอน บราวน์ อาศัยอยู่ที่ เลขที่ 11 ถนนดาวนิง ซึ่งมีพื้นที่มากกว่า[14][15] มีรายงานว่าซีบิลไม่ได้อาศัยอยู่ต่อในลอนดอนเป็นเวลานาน และถูกส่งกลับไปยังสกอตแลนด์เพื่ออาศัยอยู่กับเพื่อนของครอบครัวดาร์ลิง ซีบิลเสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 2009[16][17]

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2011 มีรายงานพบเห็นหนู "วิ่งหน้าบ้านเลขที่ 10 ถนนดาวนิงเป็นครั้งที่สองระหว่างการรายงานข่าวทางทีวี" ตามรายงานของช่องไอทีเอ็น[18] เนื่องจากในขณะนั้นบ้านเลขที่ 10 ไม่มีแมวดำรงตำแหน่งหัวหน้าแมวจับหนู โฆษกของนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า "ไม่มีแผน" ที่จะนำแมวตัวใหม่เข้ามาแก้ไขปัญหานี้[19] ในวันรุ่งขึ้น หนังสือพิมพ์รายงานว่าโฆษกกล่าวว่ามี "ฝ่ายสนับสนุนการมีแมว" ภายในทำเนียบรัฐบาล ซึ่งนำไปสู่การคาดเดาว่าอาจมีการนำแมวตัวใหม่เข้ามาเพื่อจัดการกับปัญหานี้จริง ๆ[19] เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 มีรายงานว่าได้มีการนำแมวชื่อ "แลร์รี" มาเลี้ยงภายในบ้านเลขที่ 10[20] ลอนดอนอีฟนิงสแตนดาร์ด รายงานว่า เดวิด แคเมอรอน และครอบครัวของเขาเลือกแมวตัวนี้จากบ้านแมวและสุนัขแบทเทอร์ซี[20]

ในอดีตมักมีแมวดำรงตำแหน่งหัวหน้าแมวจับหนูทับซ้อนกันหรือถูกแบ่งเข้ามา และตำแหน่งดังกล่าวมักว่างอยู่เป็นระยะเวลานาน แลร์รีเป็นหัวหน้าแมวจับหนูเพียงตัวเดียวที่มีรายชื่ออยู่ในเว็บไซต์อย่างเป็นทางการสำหรับบ้านเลขที่ 10[13]

งานศึกษาวิจัยการแบ่งฝ่ายทางการเมือง

แก้

ในปี พ.ศ. 2547 โรเบิร์ต ฟอร์ด นักรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ รายงานผลการสำรวจยูกอฟเกี่ยวกับปฏิกิริยาเอนเอียงทางการเมืองต่อแมวที่อาศัยในบ้านเลขที่ 10 โดยนักสำรวจแสดงรูปภาพของฮัมฟรีย์ หัวหน้าแมวจับหนูที่ได้รับการแต่งตั้งโดยมาร์กาเรต แทตเชอร์ และบอกว่าเขาเป็นแมวของแทตเชอร์หรือแมวของโทนี แบลร์ ผลสำรวจปรากฎว่าผู้คนชื่นชอบแมวแบ่งตามพรรคการเมืองที่ตนสนับสนุน โดยผู้ที่ลงคะแนนเสียงให้พรรคอนุรักษนิยม ชอบแมวมากกว่ามากเมื่อบอกว่าเป็นแมวของแทตเชอร์ และผู้ที่ลงคะแนนเสียงให้พรรคแรงงาน ชอบแมวมากกว่ามากเมื่อบอกว่าเป็นแมวของแบลร์ ฟอร์ดสรุปว่าการแบ่งพรรคแบ่งพวกเป็นตัวกำหนดปฏิกิริยาต่อทุกสิ่งที่นักการเมืองทำ ไม่ว่าจะเล็กน้อยแค่ไหนก็ตาม คล้ายกับกระบวนการคิดเชิงเทิดทูน (และ "ปรากฎการณ์หางแฉก" แบบย้อนกลับ (forked tail effect)) ที่นักจิตวิทยาสังเกตได้[21]

รายชื่อหัวหน้าแมวจับหนู

แก้
 
แลร์รี่ใน ค.ศ. 2011 อยูกับนายกรัฐมนตรี เดวิด แคเมอรอน และประธานาธิบดีสหรัฐ บารัก โอบามา
ชื่อ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ นายกรัฐมนตรี อ้างอิง
รูฟัสแห่งอังกฤษ (ได้ชื่อเล่นว่า "เทรเชอรี บิลล์")[22][23] 1924 ป. 1930[23] แรมซีย์ แมกดอนัลด์ [24]
ปีเตอร์ 1929[d] 1946[7] สแตนลีย์ บอลดวิน, แรมซีย์ แมกดอนัลด์, เนวิล เชมเบอร์ลิน, วินสตัน เชอร์ชิล, เคลเมนต์ แอตต์ลี [7][11]
มิวนิก เมาเซอร์ 1937–40 1943 เนวิล เชมเบอร์ลิน, วินสตัน เชอร์ชิล [25][26]
เนลสัน ทศวรรษ 1940 วินสตัน เชอร์ชิล [26][27]
ปีเตอร์ที่ 2 1946 1947 เคลเมนต์ แอตต์ลี [7]
ปีเตอร์ที่ 3 1947 1964 เคลเมนต์ แอตต์ลี, วินสตัน เชอร์ชิล, แอนโทนี อีเดน, ฮาโรลด์ แมคมิลแลน, อเล็ก ดักลัส-ฮิวม์ [7]
พีตา 1964 ป. 1976 อเล็ก ดักลัส-ฮิวม์, ฮาโรลด์ วิลสัน, เอ็ดเวิร์ด ฮีธ [7]
วิลเบอร์ฟอร์ซ 1973 1987 เอ็ดเวิร์ด ฮีธ, ฮาโรลด์ วิลสัน, จิม คัลลาฮาน, มาร์กาเรต แทตเชอร์ [28][29]
ฮัมฟรีย์ 1989 1997 มาร์กาเรต แทตเชอร์, จอห์น เมเจอร์, โทนี แบลร์ [30]
ซีบิล 2007 2009 กอร์ดอน บราวน์ [15][16][31]
แลร์รี 2011 ปัจจุบัน เดวิด แคเมอรอน, เทรีซา เมย์, บอริส จอห์นสัน, ลิซ ทรัสส์, ริชี ซูแน็ก [32]
เฟรยา 2012 2014 เดวิด แคเมอรอน [33]

เส้นเวลา

แก้
Freya (cat)แลร์รี (แมว)ซีบิล (แมว)Humphrey (cat)Wilberforce (cat)Peta (cat)Peter III (cat)Peter II (cat)Nelson (cat)Munich MouserPeter (chief mouser)Treasury Bill (cat)

เชิงอรรถ

แก้
  1. อดีตชื่อตำแหน่ง แมวประจำกระทรวงมหาดไทย (อังกฤษ: Home Office cat)[2][3][4]
  2. 1 เพนนี, เท่ากับ £0.27 ในปี 2021
  3. 1 ชิลลิง และ 6 เพนนี, เท่ากับ £5.54 ในปี 2021
  4. According to the Sunday Mail article Treasury Bill/Rufus (Peter's predecessor) was apparently still on duty in 1930.

อ้างอิง

แก้
  1. "Purr-fect ending fur Humphrey!". BBC News. 25 November 1997. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 September 2018. สืบค้นเมื่อ 30 October 2011.
  2. "Home Office cat history revealed". BBC News. 4 January 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2023. สืบค้นเมื่อ 17 February 2021.
  3. "100 p.c. income rise for Home Office cat—and it's official". Liverpool Daily Post. 6 May 1964. p. 6. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2023. สืบค้นเมื่อ 30 June 2023.
  4. "No mice attend: British bury 'Home Office' cat". The Decatur Daily Review. Associated Press. 14 March 1964. p. 8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2023. สืบค้นเมื่อ 5 July 2023.
  5. Davies, Caroline (24 November 1997). "More questions over how No 10 handled the kitty". The Telegraph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2007. สืบค้นเมื่อ 30 October 2011.
  6. Van Vechten, Carl (1922). "The Cat and the Law". The Tiger in the House. Alfred A. Knopf. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 December 2022. สืบค้นเมื่อ 12 December 2022 – โดยทาง Bartleby.com.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 7.6 "Home Office cat history revealed". BBC News. 4 January 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 January 2018. สืบค้นเมื่อ 30 October 2011.
  8. "The official Home Office cat". The National Archives. 1929–1976. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2011. สืบค้นเมื่อ 30 October 2011.
  9. "Tale of Home Office cat". Metro. Associated Newspapers. 4 January 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 July 2022. สืบค้นเมื่อ 25 July 2019.
  10. Millward, David (15 March 2005). "Humphrey... the Downing Street dossier". The Daily Telegraph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2005. สืบค้นเมื่อ 30 October 2011.
  11. 11.0 11.1 Fenton, Ben (4 January 2005). "Cats that left a mark in the corridors of power". The Daily Telegraph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2005. สืบค้นเมื่อ 30 October 2011.
  12. Kraemer, Daniel; Sleator, Laurence (July 24, 2019). "The new PM's first job: Impress the cat". BBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 24, 2019. สืบค้นเมื่อ July 24, 2019.
  13. 13.0 13.1 "Larry, Chief Mouser to the Cabinet Office". 10 Downing Street. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2013. สืบค้นเมื่อ 31 December 2012.
  14. "No. 10 has its first cat since Humphrey". Reuters. 12 September 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 October 2022. สืบค้นเมื่อ 30 October 2011.
  15. 15.0 15.1 Nick, Assinder (12 September 2007). "No 10 gets new feline first lady". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2017. สืบค้นเมื่อ 30 October 2011.
  16. 16.0 16.1 Crichton, Torcuil (29 July 2009). "Darling's cat Sybil dies after a short illness". The Herald. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 August 2009. สืบค้นเมื่อ 30 October 2011.
  17. McSmith, Andy (29 July 2009). "Farewell to the original New Labour cat". The Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 January 2011. สืบค้นเมื่อ 30 October 2011.
  18. "Another rat spotted on steps of Number 10". ITN. MSN. 24 January 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2012. สืบค้นเมื่อ 30 October 2011.
  19. 19.0 19.1 ""Pro-cat faction" urges Downing Street rat rethink". BBC News. 25 January 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 November 2022. สืบค้นเมื่อ 30 October 2011.
  20. 20.0 20.1 Woodhouse, Craig (14 February 2011). "Larry the tabby lands No10 job as rat catcher". London Evening Standard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 May 2011. สืบค้นเมื่อ 30 October 2011.
  21. Ford, Robert (2004). "Of mousers and men: how politics colours everything we see". Sex, Lies and the Ballot Box: 50 Things You Need To Know About British Elections. London: Biteback Publishing. ISBN 1849548250.
  22. "Larry the cat joins David Cameron in Downing Street". BBC.com. 15 February 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 November 2022. สืบค้นเมื่อ 6 July 2019. During the 1920s, Labour Prime Minister Ramsay MacDonald's cat - a renowned rat-catcher - had the rather regal title of Rufus of England, but was nicknamed "Treasury Bill".
  23. 23.0 23.1 "The Cat that Looked at a Chancellor". National Library of Australia. Sunday Mail (Adelaide). 5 July 1930. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 November 2022. สืบค้นเมื่อ 6 July 2019.
  24. Campbell, Mel (19 May 2010). "'Miaow, Prime Minister': the bureaucats of Downing Street". Crikey. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 October 2020. สืบค้นเมื่อ 25 January 2011.(ต้องรับบริการ)
  25. Irving, David (2001). Churchill's War Volume II: Triumph in Adversity. Focal Point Publications. p. 833. ISBN 1-872197-15-9.
  26. 26.0 26.1 "Riddles, Mysteries, Enigmas". Finest Hour. The Churchill Centre (110). Spring 2001.
  27. "Riddles, Mysteries, Enigmas". Finest Hour. The Churchill Centre (109). Winter 2000–2001.
  28. Roberts, Patrick. "Wilberforce". Purr 'n' Fur: Famous Felines. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2020. สืบค้นเมื่อ July 7, 2019.
  29. Associated Press (May 20, 1988). "Wilberforce the Cat, Mouser to 4 British Leaders, Dead at 15". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 November 2022. สืบค้นเมื่อ July 7, 2019.
  30. "Humphrey the Cat" (PDF). Cabinet Office. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 7 October 2007. สืบค้นเมื่อ 12 March 2008.
  31. "Morning press briefing from 11 September 2007". 10 Downing Street, Government of the United Kingdom. 11 September 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2008. สืบค้นเมื่อ 30 October 2011.
  32. "History of 10 Downing Street". UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 กันยายน 2013. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2017.
  33. Dearden, Lizzie (9 November 2014). "George Osborne's family cat Freya sent away from Downing Street to Kent". The Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 November 2014. สืบค้นเมื่อ 7 February 2015.