รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (สหราชอาณาจักร)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (อังกฤษ: Chancellor of the Exchequer) เป็นตำแหน่งในรัฐบาลสหราชอาณาจักร ถือเป็นตำแหน่งรองหัวหน้าของกระทรวงการคลังสหราชอาณาจักร และถือเป็นหนึ่งในสี่ตำแหน่งอำมาตย์นายกของรัฐบาล ในบางเวลาเป็นตำแหน่งมีอำนาจรองจากนายกรัฐมนตรี

สมุหพระคลังและขุนคลังโท
ตราแผ่นดินรัฐบาลในสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
เจเรมี ฮันต์

ตั้งแต่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 2022
ธนารักษ์ในสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน
การเรียกขาน
สมาชิกของคณะรัฐมนตรี
คณะองคมนตรี
สภาความมั่นคงแห่งชาติ
รายงานต่อขุนคลังเอก
จวนบ้านเลขที่ 11 ถนนดาวนิง กรุงลอนดอน
ที่ว่าการเวสต์มินสเตอร์
ผู้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์
วาระตามพระราชอัธยาศัย
โดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอซื่อ
ผู้ประเดิมตำแหน่งเฮอร์เวย์ เดอ สเตนตัน
ในประเทศอังกฤษ
สถาปนา22 มิถุนายน ค.ศ. 1316
รองจอห์น เกล็น
(เลขาธิการใหญ่ประจำพระคลัง)
เงินตอบแทน153,022 ปอนด์ต่อปี (รวมรายได้จากการเป็นสมาชิกรัฐสภา 81,932 ปอนด์ต่อปี)
เว็บไซต์GOV.uk

ตำแหน่งนี้มีชื่อเต็มอย่างเป็นทางการว่า สมุหพระคลังและธนารักษ์น้อยในสมเด็จฯ[1][2][3] (Chancellor and Under-Treasurer of His Majesty's Exchequer) ผู้ดำรงตำแหน่งสมุหพระคลังจะได้ควบตำแหน่งธนารักษ์น้อย (Under-Treasurer) ในไทยนิยมเรียกว่าขุนคลังโท[ต้องการอ้างอิง]

ตำแหน่งนี้มีความเก่าแก่เป็นอันดับที่สามในอังกฤษและสหราชอาณาจักร[ต้องการอ้างอิง] เดิมที ตำแหน่งนี้มีหน้าที่รับผิดชอบนโยบายการเงินและนโยบายการคลังของชาติ จนกระทั่งปีค.ศ. 1997 เมื่อธนาคารแห่งประเทศอังกฤษได้รับอิสระในการกำหนดอัตราดอกเบี้ย ตั้งแต่นั้นมา รัฐมนตรีจึงรับผิดชอบเพียงแค่การกำหนดนโยบายการคลังเท่านั้น

โดยรัฐมนตรีว่าการคนปัจจุบันคือ เจเรมี่ ฮันท์ สมาชิกสภาสามัญชน เขตเซาท์เวสท์เซอร์เรย์จากพรรคอนุรักษนิยม

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "รมว.คลังสหราชอาณาจักรหวั่น "วิกฤตเศรษฐกิจ" ลากยาวถึงปี 2022". ประชาชาติธุรกิจ. 27 November 2020. สืบค้นเมื่อ 22 April 2023.
  2. "อังกฤษทุ่มเงินเพิ่ม 1.8 แสนล้านบาท ชดเชยธุรกิจค้าปลีก-ท่องเที่ยว-บันเทิง". ประชาชาติธุรกิจ. 5 January 2021. สืบค้นเมื่อ 22 April 2023.
  3. "สมุหพระคลังสหราชอาณาจักรเตือน ภาวะเศรษฐกิจถดถอยรุนแรง". Xinhua Thai News Service. สำนักข่าวซินหัว. 10 July 2020. สืบค้นเมื่อ 22 April 2023.