แอนโทนี อีเดน
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
แอนโทนี อีเดน เอิร์ลแห่งเอวอง (อังกฤษ: Anthony Eden, 1st Earl of Avon) เป็นนักการเมืองชาวอังกฤษจากพรรคอนุรักษนิยม เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศสามสมัย รัฐมนตรีว่าการสงคราม รัฐมนตรีว่าการอาณานิคม และนายกรัฐมนตรี
เอิร์ลแห่งเอวอง | |
---|---|
นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร | |
ดำรงตำแหน่ง 6 เมษายน 1955 – 10 มกราคม 1957 | |
กษัตริย์ | สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 |
ก่อนหน้า | เซอร์ วินสตัน เชอร์ชิล |
ถัดไป | ฮาโรลด์ แมคมิลแลน |
รองนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร | |
ดำรงตำแหน่ง 26 ตุลาคม 1951 – 6 เมษายน 1955 | |
นายกรัฐมนตรี | เซอร์ วินสตัน เชอร์ชิล |
ก่อนหน้า | แฮร์เบิร์ต มอร์ริสัน |
หัวหน้าพรรคอนุรักษนิยม | |
ดำรงตำแหน่ง 6 เมษายน 1955 – 10 มกราคม 1957 | |
ก่อนหน้า | เซอร์ วินสตัน เชอร์ชิล |
ถัดไป | ฮาโรลด์ แมคมิลแลน |
ผู้นำสภาสามัญชน | |
ดำรงตำแหน่ง พฤศจิกายน 1942 – 26 กรกฎาคม 1945 | |
นายกรัฐมนตรี | วินสตัน เชอร์ชิล |
ก่อนหน้า | เซอร์ สตัฟฟอร์ด คริปส์ |
ถัดไป | แฮร์เบิร์ต มอร์ริสัน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | รอเบิร์ต แอนโทนี อีเดน 12 มิถุนายน ค.ศ. 1897 รูชีฟอร์ด, อังกฤษ |
เสียชีวิต | 14 มกราคม ค.ศ. 1977 ซอลส์บรี, อังกฤษ | (79 ปี)
ศาสนา | แองกลิคัน |
พรรคการเมือง | พรรคอนุรักษนิยม |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | กองทัพบกสหราชอาณาจักร |
ประจำการ | 1915–1919, 1920–1923, 1939[1] |
ยศ | พันตรี |
ผ่านศึก | สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง |
เขาได้เข้าเป็นสมาชิกรัฐสภาตั้งแต่อายุยังน้อย โดยได้เป็นรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศขณะมีอายุเพียง 38 ปี ก่อนที่จะลาออกเพื่อเป็นการประท้วงนายกรัฐมนตรีเนวิล เชมเบอร์ลิน จากนโยบายโอนอ่อนผ่อนปรณต่อมุสโสลินี ผู้นำอิตาลีขณะนั้น[2][3] ต่อมาเขาได้กลับมารับตำแหน่งนี้อีกครั้งในรัฐบาลของวินสตัน เชอร์ชิล และอยู่ในตำแหน่งนี้ตลอดช่วงเวลาของสงครามโลกครั้งที่สอง เขายังเป็นผู้นำอันดับสองในรัฐบาลของเชอร์ชิลยาวนานกว่า 15 ปี ก่อนที่เขาจะได้สืบต่อตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจากเชอร์ชิลในปี ค.ศ. 1955 และชนะการเลือกตั้งทั่วไปในอีกหนึ่งเดือนถัดมา
อีเดนมีกิตติศัพท์ในระดับโลกจากการดำเนินนโยบายจำยอมสละ เขาพยายามหลีกเลี่ยงสงครามโดยการโอนอ่อนผ่อนปรณให้แก่ชาติก้าวร้าวอย่างนาซีเยอรมนี นั่นทำให้เขาได้รีบการยกย่องเป็น "บุรุษแห่งสันติภาพ" อย่างไรก็ตาม ทักษะด้านการทูตของเขาดูจะด้อยลงในปี 1956 เมื่อสหรัฐอเมริกาได้ปฏิเสธให้ความสนับสนุนอังกฤษและฝรั่งเศสในวิกฤตการณ์สุเอซ กลายเป็นข้อวิพากษ์วิจารณ์ในหมู่สมาชิกสภาถึงความเสื่อมถอยด้านนโยบายต่างประเทศของสหราชอาณาจักร และเป็นการส่งสัญญาติของอิทธิพลของอังกฤษที่กำลังจะสิ้นสุดลงในตะวันออกกลาง[4] และจากผลการสำรวจนายกรัฐมนตรีที่ประสบความสำเร็จที่สุดในศตวรรษที่ 20 นั้น อีเดนเป็นที่โหล่จากนายกรัฐมนตรี 20 คน[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ As Territorial, pre-outbreak of World War II.
- ↑ Robert Mallett, "The Anglo‐Italian war trade negotiations, contraband control and the failure to appease Mussolini, 1939–40." Diplomacy and Statecraft 8.1 (1997): 137–167.
- ↑ Churchill 1948
- ↑ David Dutton: Anthony Eden. A Life and Reputation (London, Arnold, 1997).
- ↑ "Churchill 'greatest PM of 20th Century'". bbc.co.uk.