หยางเหมย์

(เปลี่ยนทางจาก หยางเหมย)
หยางเหมย์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Fagales
วงศ์: Myricaceae
สกุล: Myrica
สปีชีส์: M.  rubra
ชื่อทวินาม
Myrica rubra
ชื่อพ้อง
รายการ
  • Morella rubra Lour.
  • Morella rubra f. alba (Makino) Yonek.
  • Myrica rubra var. alba Makino
ภาพประกอบพฤกษศาสตร์ของ หยางเหมย์ (Myrica rubra) และ ดอกตัวเมีย
ผล หยางเหมย์ (Myrica rubra)

หยางเหมย์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Myrica rubra) (จีนตัวย่อ: 杨梅; จีนตัวเต็ม: 楊梅; พินอิน: yángméi; อังกฤษ: Yangmei) ชื่ออื่น: เบย์เบอร์รีจีน (Chinese bayberry), เบย์เบอร์รีแดง (red bayberry), ยัมเบอร์รี (yumberry), แวกซ์เบอร์รี (waxberry) หรือ สตรอเบอร์รีจีน (Chinese strawberry ซึ่งมักสับสนกับ strawberry tree (Arbutus unedo) ที่เป็นผลไม้ในแถบเมดิเตอเรเนียน) หยางเหมย์เป็นไม้ยืนต้นในเขตอบอุ่นกึ่งร้อน มีถิ่นกำเนิดจากประเทศจีน จึงเรียกกันตามชื่อภาษาจีน ปัจจุบันเพาะปลูกเพื่อเป็นไม้ผล ผลหยางเหมย์มีสีแดงเข้ม ฉ่ำน้ำ มีรสหวานและเปรี้ยว ใช้ กินสด สำหรับคั้นเป็นน้ำผลไม้ ทำผลไม้แห้ง หรือ หมักเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณทางยา และใช้สกัดทำสีย้อมสีเหลือง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

แก้

หยางเหมย์ (Myrica rubra) เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ ขนาดกลาง แตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม เรือนยอดกลมถึงครึ่งวงกลม มีความสูงได้ถึง 5 - 15 เมตร[1] ลำต้นที่อายุมากมีเส้นผ่านศูนย์กลางได้ถึง 60 ซม เปลือกสีเทาผิวเรียบ เป็นพืชที่มี 2 เพศแยกกันคนละต้น[2]

ราก เป็นระบบรากแก้วแต่ไม่ชัดเจน รากลึก 5 - 60 ซม. ลักษณะกลม มีรากแขนงและรากฝอยเล็กๆ ออกตามแนวราบ สีน้ำตาล[3][4]

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับเป็นช่อ เหนียว ไม่มีขน รูปไข่ทรงยาวรีถึงรูปใบหอกกว้าง โคนใบสอบเข้า และปลายใบมนหรืออาจมีปลายแหลม โดยทั่วไปขอบใบเรียบ แต่อาจพบขอบใบหยัก (serrate) เฉพาะส่วนปลายใบ ใบยาว 5 - 14 ซม. และกว้าง 1 - 4 ซม. มีก้านใบและใบย่อย ก้านใบยาว 2 -10 มม. ผิวใบด้านล่างมีสีเขียวซีดและมีจุดสีเหลืองประปราย ผิวใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้มเป็นมัน[5]

ดอก แยกเพศ (dioecious) ดอกตัวผู้ ช่อดอกตัวผู้เป็นพวงยาวรูปโคน ยาว 1 - 4 ซม. อาจเป็นช่อเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มช่อดอกตัวผู้ 2 - 6 ช่อ งอกจากซอกใบในส่วนปลายกิ่ง แต่ละดอกยาว 0.2 - 0.4 ซม. เรียงรอบก้านช่อดอกค่อนข้างเป็นระเบียบ เรียบง่ายไม่มีกลีบดอก (ดอกเปลือย) ทรงเกือบเป็นวงกลมมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.1 - 0.2 ซม. และมีปุ่มสีทองอยู่ด้านล่าง แต่ละดอกมีเกสรตัวผู้ 4 - 6 ตุ่ม (เป็นตุ่มติดฐานดอก ไม่เป็นเส้น) มีอับเรณูรูปไข่สีแดงแสดถึงแดงเข้ม[6][1] ดอกตัวเมีย ช่อดอกตัวเมียเป็นดอกเดี่ยวมีฐานรองดอกแหลม ทรงรียาว มีขนาดเล็กกว่าช่อดอกตัวผู้มาก ยาว 0.5 - 1.5 ซม. ช่อดอกตัวเมียออกที่ซอกใบในส่วนปลายกิ่ง ก้านดอกมีตุ่มและอาจมีขน กลีบดอกทับซ้อนกันเป็นแผ่น ๆ คล้ายเกล็ดตามแนวยาวของดอก ไม่มีขน รังไข่ด้านบนแต่ละเกล็ดมีขนยื่นออกมา (ุคล้ายกลีบขนาดเล็กมาก กว้างประมาณ 0.5 มิลลิเมตร) แยกปลายเป็นสองแฉก ทรงเรียวปลายแหลม สีแดงสด[6][7] ออกดอกตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน (ในประเทศจีน)

ผล เป็นผลเดี่ยว ทรงกลม โดยทั่วไปมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5–2.5 เซนติเมตร (0.59–0.98 นิ้ว) และมากที่สุดไม่เกิน 3 เซนติเมตร ก้านผลสั้น พื้นผิวเป็นปุ่มปม เมื่อผ่าครึ่งเนื้อผลเป็นลักษณะคล้ายเสี้ยนอัดรวมกัน ผลดิบสีเขียว ผลสุกผิวหนาสีแดงเลือดหมู หรือสีแสดแดง แต่อาจพบความหลากหลายของสีได้ตั้งแต่สีขาวไปจนถึงสีม่วงดำ โดยมีสีเนื้อนอกในใกล้เคียงกันทั้งลูก สีเนื้อข้างในอาจอ่อนกว่า ผลจากต้นเดียวกันอาจมีสีต่างกันขึ้นอยู่ความสุกและปริมาณน้ำตาลในแต่ละลูก ผลที่แก่กว่าจะมีสีเข้ม เนื้อนุ่มฉ่ำน้ำ กลิ่นหอมหวานและเปรี้ยวมาก เมล็ดเดี่ยว แข็ง สีน้ำตาล มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณครึ่งหนึ่งของผล ออกผลตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน

อนุกรมวิธาน

แก้

หยางเหมย์ (Myrica rubra) เป็นไม้ผลใน วงศ์เอี้ยบ๊วย (Myricaceae) ได้รับการอธิบายครั้งแรกโดย João de Loureiro ใน Flora Cochinchinensis ในปี 1790 ในชื่อ (basionym) Morella rubra[8] ต่อมาถูกย้ายไปยังสกุล Myricaในชื่อ Myrica rubra โดย Philipp Franz von Siebold และ Joseph Gerhard von Zuccarini ในบทความของ Bavarian Academy of Sciences

หยางเหมย์ (จีนตัวย่อ: 杨梅; จีนตัวเต็ม: 楊梅; พินอิน: yángméi; กวางตุ้ง: yeung4 mui4; เซี่ยงไฮ้: [jɑ̃.mɛ]) ชื่ออื่น: เอี่ยบ๊วย (ภาษาจีนแต้จิ๋ว), เบย์เบอร์รี่จีน (Chinese bayberry), เบย์เบอร์รี่ญี่ปุ่น (Japanese bayberry), เบย์เบอร์รี่แดง (red bayberry), ยัมเบอร์รี่ (yumberry), แว๊กซ์เบอร์รี่ (waxberry), สตรอเบอร์รี่จีน (Chinese strawberry) หรือ ยามาโมโมะ (yamamomo) (Japanese: ヤマモモ - พีชภูเขา)

ในการศึกษาเชื้อพันธุ์พืช พบว่าหยางเหมย์ (M. rubra) มีความแตกต่างอย่างชัดเจนจากต้นแวกซ์ไมร์เทิลแม้มีชื่อสามัญเดียวกัน (ในภาษาอังกฤษ: bayberry) และหยางเหมย์ยังสามารถแบ่งย่อยได้เป็นสองกลุ่มตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ในประเทศจีน ซึ่งความหนาแน่นของจำนวนพันธุ์ที่แตกต่างกันไปตามภูมิภาคบ่งชี้ถึงการผสมยีน ขยายเพาะพันธุ์ยีนอย่างกว้างขวางในประเทศจีนเพียงแห่งเดียวมีเกือบ 100 สายพันธุ์ปลูก[9] มณฑลเจ้อเจียง เป็นศูนย์กลางความหลากหลายของหยางเหมย์ในประเทศจีน[10]

จำนวนโครโมโซมคือ 2n = 16 [11]

การแพร่กระจายและถิ่นกำเนิด

แก้

มีถิ่นกำเนิดใน เอเชียตะวันออก ในทางใต้ของแม่น้ำแยงซีของ จีน ได้แก่ มณฑล ฝูเจี้ยน กวางตุ้ง กวางสี กุ้ยโจว ไห่ หนานหูหนาน เจียงซู เจียงซี เสฉวน ยูนนาน และ เจ้อเจียง โดยเฉพาะบริเวณภูเขาที่ใกล้กับฝั่งทะเล รวมทั้งญี่ปุ่น เกาหลี และฟิลิปปินส์ในป่าตรงจุดที่มีความลาดชันของเนินเขาและหุบเขา ที่ระดับความสูง 100–1,500 เมตร (330–4,920 ฟุต)[5][12][13] เมล็ดพันธุ์อาจถูกกระจายตามธรรมชาติโดย ลิงแสมญี่ปุ่น[14] และ ลิงกังยากุชิมะ[15]

หยางเหมย์เติบโตได้ดีในดินร่วนน้ำไม่ขัง พื้นที่ที่มีอากาศเย็น ทนต่อสภาพดินเลวที่เป็นกรด

การเพาะปลูก

แก้
 
ภาพวาดหยางเหมย์ จากสวนอเมริกัน ปี 2416 (มุมซ้ายล่าง) แสดงภายในของผลหยางเหมย์ที่เนื้อผลคล้ายเสี้ยนอัดกันแน่นมีปลายเหมือนปุ่มปมที่ผิวด้านนอก
 
M. rubra เติบโตในฟรีมอนต์ แคลิฟอร์เนีย

การเพาะปลูกหยางเหมย์ (M. rubra) ของจีนกระจุกตัวอยู่ทางตอนใต้ของ แม่น้ำแยงซี ภูมิภาคที่ซึ่งหยางเหมย์เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญ และมีประวัติย้อนไปได้อย่างน้อย 2,000 ปี [16] ในพื้นที่ติดชายทะเลฝั่งตะวันออกของประเทศจีน มักเรียกช่วงฤดูมรสุม ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายนที่หยางเหมย์ออกผล และอากาศอับชื้นมากมีแสงแดดน้อย ว่า ฤดูหยางเหมย์ ฤดูฝนเหมย หรือ ฤดูฝนพลัม [17][18]

ในประเทศไทย มีปลูกกันมากในภาคเหนือ[19]

หยางเหมย์ (M. rubra) ถูกแนะนำเป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา โดย Frank Nicholas Meyer จากเมล็ดพันธุ์ที่ซื้อจาก Yokohama Nursery Co. ในญี่ปุ่น และได้รับการตีพิมพ์ใน Bulletin of Foreign Plant Introduction ในปี พ.ศ. 2461[20] พืชจากการนำเข้าครั้งนี้ปลูกและออกผลในเมืองชิโก รัฐแคลิฟอร์เนีย และในเมืองบรุกส์วิลล์ รัฐฟลอริดา โดย เดวิด แฟร์ไชลด์ ปัจจุบัน หยางเหมย์กำลังได้รับการทำการตลาดในแคลิฟอร์เนียโดยบริษัท Calmei[21] [22] หยางเหมย์เป็นไม้ผลที่ให้ผลผลิตสูงโดยหนึ่งต้นให้ผลผลิตประมาณ 100 กิโลกรัม (220 ปอนด์) ของน้ำหนักผลไม้[23] ในปี 2550 มี พื้นที่ 865,000 เอเคอร์ สำหรับการผลิตหยางเหมย์ใน ประเทศจีน ซึ่งเป็นสองเท่าของพื้นที่ที่ใช้ในการปลูก แอปเปิ้ล ใน สหรัฐอเมริกา[24]

การใช้ประโยชน์

แก้

หยางเหมย์ถูกใช้เป็น ไม้ประดับ ตามสวนสาธารณะและถนน และยังเป็นไม้ประดับที่ใช้ในการแต่งสวนจีนแบบดั้งเดิม

ผลิตภัณฑ์

แก้

บางพันธุ์มีผลขนาดใหญ่ถึง 4 เซนติเมตร (1.6 นิ้ว) ซึ่งได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ นอกจากการบริโภคสดแล้วผลไม้ยังสามารถตากแห้งบรรจุกระป๋อง ดองในเหล้าขาวจีน (白酒 - ไป๋จิ่ว) หรือหมักเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น ไวน์ เบียร์ หรือ ค็อกเทล ยังสามารถดองเกลือตากแห้งในลักษณะแบบเดียวกับ บ๊วยเค็ม และในสหภาพยุโรปเครื่องดื่มคั้นน้ำจากผลหยางเหมย์ได้รับการจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ภายใต้ชื่อแบรนด์ "Yumberry" ในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน แบ่งหยางเหมย์เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทเปรี้ยวใช้ทำผลไม้แห้งและประเภทหวานใช้สำหรับคั้นน้ำและ กินสด

การบริโภคสด ผลหยางเหมย์สุกที่เก็บได้เมื่อนำมาใส่ในภาชนะที่อากาศถ่ายเท จะเก็บไว้ได้นาน และผลที่สุกเร็วและช้ำง่ายทำให้เกิดการหมักเน่าได้ง่าย น้ำสีจากผลหยางเหมย์ที่เปื้อนเสื้อผ้าจะซักออกได้ยาก ชาวจีนเชื่อว่าต้องรอให้ถึงหมดฤดูหยางเหมย์ สีที่เปื้อนจะจางอ่อนไปเอง

การใช้ประโยชน์อื่น ๆ ได้แก่

ความสำคัญทางวัฒนธรรม

แก้

หลักฐานทางโบราณคดีและลายลักษณ์อักษรบ่งชี้ว่าการเพาะปลูกหยางเหมย์เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศจีนเมื่อ 2,000 ปีก่อนในช่วงราชวงศ์ฮั่น[23] หยางเหมย์ได้รับการกล่าวถึงใน วรรณกรรมจีน รวมทั้งบทกวีของ หลี่ ไป๋ [25]

ในญี่ปุ่นเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดโคจิ และต้นไม้ประจำจังหวัดโทกูชิมะ ชื่อหยางเหมย์ปรากฏในบทกวีเก่าของญี่ปุ่นหลายเล่ม

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 https://landscapeplants.oregonstate.edu/plants/myrica-rubra
  2. http://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=Morella+rubra&redir=Myrica+rubra
  3. "Myrica rubra in Flora of China @ efloras.org". eFloras.org Home. 2000-06-09. Retrieved 2020-07-30. http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=200006094
  4. http://www.premiumseedshop.com/article/17/%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%A2-yangmei-%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A-%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81
  5. 5.0 5.1 "Myrica rubra in Flora of China @ efloras.org". eFloras.org Home. 2000-06-09. สืบค้นเมื่อ 2020-07-30.
  6. 6.0 6.1 6.2 https://www.researchgate.net/figure/Flower-morphology-of-Chinese-bayberry-a-female-b-male_fig3_277028420
  7. https://www.flickr.com/photos/jim-sf/4410299707/in/photostream/
  8. Loureiro, João de; Lisboa., Academia das Ciências de. "Flora cochinchinensis". Biodiversity Heritage Library. สืบค้นเมื่อ 2020-07-30.
  9. Zhang, Shuiming; Gao, Zhongshan; Xu, Changjie; Chen, Kunsong; Wang, Guoyun; Zheng, Jintu; Lu, Ting (2009). "Genetic diversity of Chinese bayberry (Myrica rubra Sieb. et Zucc.) accessions revealed by amplified fragment length polymorphism". HortScience. 44 (2): 487–491. doi:10.21273/hortsci.44.2.487. ISSN 0018-5345. https://journals.ashs.org/hortsci/view/journals/hortsci/44/2/article-p487.xml
  10. Jia, Hui-min; Jiao, Yun; Wang, Guo-yun; Li, Ying-hui; Jia, Hui-juan; Wu, Hong-xia; Chai, Chun-yan; Dong, Xiao; Guo, Yanping; Zhang, Liping; Gao, Qi-kang; Chen, Wei; Song, Li-juan; van de Weg, Eric; Gao, Zhong-shan (19 May 2015). "Genetic diversity of male and female Chinese bayberry (Myrica rubra) populations and identification of sex-associated markers". BMC Genomics. 16 (1): 394. doi:10.1186/s12864-015-1602-5. ISSN 1471-2164. PMC 4436740. PMID 25986380. https://bmcgenomics.biomedcentral.com/articles/10.1186/s12864-015-1602-5
  11. "Name - Myrica rubra (Lour.) Siebold & Zucc". Tropicos. 2020-07-30. สืบค้นเมื่อ 2020-07-30.
  12. https://www.gbif.org/species/5565430
  13. http://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:585602-1
  14. Terakawa, Mari; Isagi, Yuji; Matsui, Kiyoshi; Yumoto, Takakazu (2008-08-26). "Microsatellite analysis of the maternal origin of Myrica rubra seeds in the feces of Japanese macaques". Ecological Research. Wiley. 24 (3): 663–670. doi:10.1007/s11284-008-0537-6. ISSN 0912-3814. S2CID 40025805. https://esj-journals.onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/10.1007/s11284-008-0537-6[ลิงก์เสีย]
  15. Agetsuma, Naoki; Noma, Naohiko (1995). "Rapid shifting of foraging pattern by Yakushima macaques (Macaca fuscata yakui) in response to heavy fruiting ofMyrica rubra". International Journal of Primatology. Springer Science and Business Media LLC. 16 (2): 247–260. doi:10.1007/bf02735480. ISSN 0164-0291. S2CID 1265349. https://link.springer.com/article/10.1007%2FBF02735480
  16. Sun, C; Huang, H; Xu, C; Li, X; Chen, K (2013). "Biological activities of extracts from Chinese bayberry (Myrica rubra Sieb. Et Zucc.): A review". Plant Foods for Human Nutrition. 68 (2): 97–106. doi:10.1007/s11130-013-0349-x. PMID 23605674. S2CID 44569467. https://link.springer.com/article/10.1007/s11130-013-0349-x
  17. Lu Dian's Piya (published in the Song dynasty). Cited in [1] Archived 2006-04-27 at the Wayback Machine ISBN 978-90-04-15711-8
  18. https://www.thatsmags.com/shanghai/post/5540/why-does-it-always-rain-on-me-the-plum-rain-explained
  19. [1][ลิงก์เสีย]
  20. Bulletin of Foreign Plant Introductions. 1918. p. 1522-IA2. Retrieved 2020-07-30. https://books.google.co.th/books?id=rjsCAAAAYAAJ&pg=PA1522-IA2&redir_esc=y#v=onepage&q&f=false
  21. "Calmei". Calmei.
  22. "Yum's the word". California Bountiful. 2012-03-27. สืบค้นเมื่อ 2020-07-30.
  23. 23.0 23.1 Joyce, Daryl; Tahir Khurshid; Shiming Liu; Graeme McGregor; Jianrong Li; Yeuming Jiang (December 2005). Red bayberry – a new and exciting crop for Australia?. Barton, Australian Capital Territory: Rural Industries Research and Development Corporation. ISBN 978-1-74151-144-4 OCLC 223913003. Retrieved 23 June 2009.
  24. Karp, David (12 December 2007). "From China, Only in a Bottle, a Berry With an Alluring Name". The New York Times. Retrieved 14 September 2018. https://www.nytimes.com/2007/12/12/dining/12yumb.html
  25. Wende, Meng Meng. "Ancient and Modern Yangmei Poems". Douban. สืบค้นเมื่อ 14 September 2018.