หม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก โสณกุล

ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก โสณกุล (16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2435 — 5 กันยายน พ.ศ. 2492) อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา ประสูติแต่หม่อมเอม โสณกุล ณ อยุธยา

หม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก โสณกุล
หม่อมเจ้า ชั้น 4
ประสูติ16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2435
สิ้นชีพิตักษัย5 กันยายน พ.ศ. 2492 (57 ปี)
ชายาหม่อมเจ้าพิมพ์รำไพ รพีพัฒน์
พระบุตรหม่อมราชวงศ์ปรียา โสณกุล
ราชสกุลโสณกุล
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา
พระมารดาหม่อมเอม โสณกุล ณ อยุธยา

พระประวัติ แก้

ในปีที่หม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก ประสูตินั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉลองสิริราชสมบัติครบ 25 ปี[1] จึงมีเจ้านายทูลขอพระราชทานพระนาม ซึ่งพระองค์ได้รับพระราชทานพระนาม "รัชฎาภิเศก" สำหรับพระโอรส-ธิดาพระองค์อื่นที่ได้รับพระราชทานพระนามพร้อมกัน คือ หม่อมเจ้าเฉลิมเขตรมงคล และหม่อมเจ้ารัชลาภจีระฐิต[1]

หม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก เสกสมรสกับหม่อมเจ้าพิมพ์รำไพ รพีพัฒน์ ทรงสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรชั้นสูงจากโรงเรียนเอาน์เดิล ประเทศอังกฤษ แล้วทรงศึกษาต่อระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยซิตีแอนด์กิลด์ มหาวิทยาลัยลอนดอน จนสำเร็จการศึกษาระดับวิทยาศาสตรบัณฑิต และวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาฟิสิกส์จาก ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยลอนดอน โดยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

ทรงรับราชการที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตำแหน่งอธิบดีกรมวิชาการ อธิบดีกรมมหาวิทยาลัย อธิบดีกรมอาชีวะศึกษา[2] อธิบดีกรมศึกษาธิการ[3] อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[4] กรรมการอำนวยการคุรุสภา ศาสตราจารย์ในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นศาสตราจารย์องค์แรกของประเทศไทย อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ระหว่างปี พ.ศ. 2485 - พ.ศ. 2488 และ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ระหว่างปี พ.ศ.2488 - พ.ศ. 2489

หม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก โสณกุล สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2492 สิริชันษา 57 ปี

พระยศ แก้

  • 31 มีนาคม พ.ศ. 2466 รองอำมาตย์เอก[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

พงศาวลี แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 สัจธรรม. อาทิตย์อุไทย. กรุงเทพฯ:ดีเอ็มจี. 2551, หน้า 188
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2485/D/014/356_1.PDF
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2478/D/1409.PDF
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3 กันยายน 2489.
  5. พระราชทานยศ
  6. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 49 เล่ม 60 วันที่ 18 กันยายน 2486
ก่อนหน้า หม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก โสณกุล ถัดไป
จอมพล แปลก พิบูลสงคราม    
อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(1 กันยายน พ.ศ. 2487 - 5 กันยายน พ.ศ. 2492)
  จอมพล แปลก พิบูลสงคราม