หม่อมราชวงศ์กิติวัฒนา ปกมนตรี

หม่อมราชวงศ์กิติวัฒนา ปกมนตรี (ราชสกุลเดิม ไชยันต์; 3 กันยายน พ.ศ. 2476 – 28 ตุลาคม พ.ศ. 2561) [1] เป็นพระธิดาในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย กับหม่อมเจ้าพัฒน์คณนา ไชยันต์


กิติวัฒนา ปกมนตรี

เกิดหม่อมราชวงศ์กิติวัฒนา ไชยันต์
3 กันยายน พ.ศ. 2476
วังกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย
เสียชีวิต28 ตุลาคม พ.ศ. 2561 (85 ปี)
อาชีพนักการเมือง
คู่สมรสวุธจิระ ปกมนตรี (หย่า)
บุตรอิศร ปกมนตรี
อวัสดา ปกมนตรี
กีรดี ปกมนตรี
บิดามารดาพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย
หม่อมเจ้าพัฒน์คณนา ไชยันต์

ประวัติ แก้

หม่อมราชวงศ์กิติวัฒนา ปกมนตรี หรือ คุณหญิงแก้มพวง เป็นพระธิดาในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย กับหม่อมเจ้าพัฒน์คณนา ไชยันต์ (ราชสกุลเดิม กิติยากร) ประสูติวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2476 เป็นอดีตรองประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมป์ จบการศึกษาชั้นต้นจากโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ จบชั้นมัธยมจากโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย แล้วไปศึกษาต่อด้านภาษาและสังคมศึกษาที่ Ahridge House of Citizenship แคว้นเฮิร์ทฟอร์ดไชร์ และวิชาการละครที่Royal Academy of Dramatic Art (RADA) กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ [2]

หม่อมราชวงศ์กิติวัฒนาสมรสกับวุธจิระ ปกมนตรี[2] มีธิดาคือ อวัสดา ปกมนตรี อดีตผู้ประกาศข่าว ช่อง 9 และกีรดี ปกมนตรี[3] ต่อมาหม่อมราชวงศ์กิติวัฒนาและสามี ได้หย่ากัน[4]

หม่อมราชวงศ์กิติวัฒนา ปกมนตรี ถึงแก่อนิจกรรมด้วยอาการหลอดเลือดสมองตีบ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2561 สิริอายุ 85 ปี[5] ต่อมาวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2562 เวลา 17.30 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพหม่อมราชวงศ์กิติวัฒนา ปกมนตรี ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ในการนี้สมเด็จพระราชาธิบดีเลตซีที่ 3 แห่งเลโซโท และ สมเด็จพระราชินีมาเซเนต โมฮาโต เซเอโซ แห่งราชอาณาจักรเลโซโท เสด็จพระราชดำเนินมาทรงร่วมพิธีด้วย[6]

การทำงาน แก้

หม่อมราชวงศ์กิติวัฒนาเริ่มรับราชการที่โรงเรียนนาฏศิลป์ กรมศิลปากร แล้วลาออกมาทำธุรกิจส่วนตัว และทำงานด้านสังคมสงเคราะห์ ต่อมาในการเลือกตั้ง ส.ส. ปี พ.ศ. 2550 จึงได้เข้ามาทำงานการเมืองโดยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบสัดส่วน เขต 6 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล สังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน โดยหม่อมราชวงศ์กิติวัฒนา เป็นกลุ่มที่สนับสนุนพลตำรวจเอกประชา พรหมนอก เป็นนายกรัฐมนตรี ในการลงมติเมื่อปลายปี พ.ศ. 2551[ต้องการอ้างอิง]

ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำตัดสินให้หม่อมราชวงศ์กิติวัฒนาพ้นจากสมาชิกภาพการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากถือครองหุ้นภายหลังจากที่ กกต.ประกาศรับรองสภาพการเป็น ส.ส. แล้ว [7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. Kitivadhana Jayanta
  2. 2.0 2.1 กิติวัฒนา ปกมนตรี. ก่อนเสด็จลับเลือนหาย. กรุงเทพฯ : DMG, 2550. 216 หน้า. ISBN 978-9749-977-705
  3. กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
  4. "เปิดขุมทรัพย์ "หม่อมราชวงศ์" วงการเมือง ใครรวยอู้ฟู่-ใครแฟ่บกว่าใคร?". ประสงค์ดอตคอม. 25 สิงหาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "ข่าวทะลุคน : ม.ร.ว.กิติวัฒนา ปกมนตรี ถึงแก่อนิจกรรม". ข่าวสด. 3 พฤศจิกายน 2561. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "บุคคลในข่าว (หน้า4) 08/09/62". ไทยรัฐ. 8 กันยายน 2561. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. ศาล รธน.ตัดสิน6 ส.ส.พ้นสภาพถือหุ้นรัฐ[ลิงก์เสีย]
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑๓๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๖, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๔, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๖

แหล่งข้อมูลอื่น แก้