สโมสรฟุตบอลไทยฮอนด้า
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
สโมสรฟุตบอลไทยฮอนด้า หรือเดิมคือ สมาคมกีฬาไทยฮอนด้า เป็นอดีตสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร และใช้สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา เขตมีนบุรี เป็นสนามเหย้า โดยทางบอร์ดบริหารสโมสรได้ประกาศพักทีมตั้งแต่ฤดูกาล 2563 เป็นต้นไป
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลไทยฮอนด้า | |||
---|---|---|---|---|
ฉายา | อินทรีอัคนี พญาอินทรี สิงห์นักบิด | |||
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2543 ในนาม สมาคมกีฬาไทยฮอนด้า | |||
ยุบ | พ.ศ. 2562 | |||
สนาม | สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร (ความจุ:8,000 คน) | |||
เจ้าของ | บริษัท พญาอินทรี ลาดกระบัง จำกัด | |||
ประธาน | มนนเทพ พรประภา | |||
ผู้ฝึกสอน | วรชัย สุรินทร์ศิริรัฐ | |||
เว็บไซต์ | http://www.thaihondafc.com | |||
|
ประวัติสโมสร
แก้สโมสรฟุตบอลไทยฮอนด้า ลาดกระบัง นับเป็นสโมสรฟุตบอลแรกในกลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เคยลงแข่งขันในระดับไทยพรีเมียร์ลีก ดำเนินกิจการโดยบริษัท พญาอินทรี ลาดกระบัง จำกัด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริง ที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง โดยมีฐานแฟนบอลอยู่ในกลุ่มพนักงานของบริษัทไทยฮอนด้า และในเขตนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง
บริษัท ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ได้เริ่มส่งทีมฟุตบอลเข้าร่วมแข่งขันชิงถ้วยฟุตบอลอุตสาหกรรมสมุทรปราการ ครั้งแรก เมื่อปี 2514 โดยเริ่มจากการรวมตัวกันของพนักงานเอง และ ในปี 2543 จึงได้จัดตั้งเป็นชมรมฟุตบอลไทยฮอนด้าอย่างเป็นทางการ ชมรมฟุตบอลไทยฮอนด้า มีกิจกรรมหลัก 2 ประการ คือ
- จัดแข่งขันฟุตบอลภายใน โดยมีทีมเข้าร่วมแข่งขันประมาณ 20 ทีม - 400 คนต่อปี
- ส่งทีมฟุตบอลเข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลอุตสาหกรรมสมุทรปราการอย่างต่อเนื่องผลงานในแข่งขันฟุตบอลอุตสาหกรรมสมุทรปราการ
และในปี 2543 จึงได้จัดตั้งเป็นชมรมฟุตบอลไทยฮอนด้าอย่างเป็นทางการ และเริ่มต้นส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันของ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขัน ถ้วย ง และได้จัดตั้งเป็น สมาคมกีฬาไทยฮอนด้า โดยมีวัตถุประสงค์คือ
- เป็นองค์กรที่สังคมให้ดำรงอยู่โดยช่วยเหลือกิจกรรมสังคมด้านกีฬา
- เป็นแหล่งที่ทำให้พนักงานเป็นหนึ่งเดียวกัน มีมุมมองแนวคิดร่วมกัน โดยพัฒนาจากการแข่งขันด้านกีฬาฟุตบอลและกีฬาประเภทอื่น
2545 - 2548
แก้สโมสรทำผลงานเลื่อนชั้น 4 ครั้งติดต่อกัน ในช่วงปี พ.ศ. 2545-2548 สโมสรทำผลงานเลื่อนชั้น 4 ครั้งติดต่อกัน โดยเริ่มจากการได้ตำแหน่งรองแชมป์ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ง. ประจำปี 2545 , แชมป์ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ค. ประจำปี 2546 , แชมป์ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ข. ประจำปี 2547 ก่อนจะคว้าตำแหน่งรองแชมป์ไทยลีก ดิวิชัน 1 ในฤดูกาล 2548 ได้สำเร็จ ทำให้ได้ลงแข่งขันในระดับลีกสูงสุดของประเทศไทยอย่างไทยพรีเมียร์ลีก 1
ไทยฮอนด้า ลงแข่งขันในลีกสูงสุดของประเทศไทยเป็นเวลา 2 ฤดูกาล ในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2549 และไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2550 ก่อนจะตกชั้นกลับลงไปเล่นในไทยลีก ดิวิชัน 1และลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2
ดิวิชั่น 1
แก้ในช่วงสองปีแรกหลังการตกชั้นจากลีกสูงสุด ผลงานของสโมสรไม่ดีหนัก โดยใน ดิวิชั่น 1 ปี 2551 สโมสรจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 13 จาก 16 ซึ่งตกชั้น แต่ในปีถัดมา (ฤดูกาล 2552) ทางสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ มีมติหาสโมสรแทน สโมสรธนาคารกรุงเทพ ที่ไม่ได้ส่งทีมเข้าแข่งขัน สโมสรเลยได้สิทธิอีกครั้งในการอยู่รอด ซึ่งก็เพลย์ออฟ ชนะ สโมสรนครสวรรค์ เอฟซี แต่ผลงานของสโมสรก็ยังไม่ดีขึ้น จนตกชั้นใน ดิวิชั่น 1 ปี 2554 ซึ่งในระหว่างนั้น มีนักฟุตบอลหลายๆคน ได้ลงเล่นให้กับสโมสร เช่น ปกเกล้า อนันต์
ขณะเดียวกัน ในปี 2553 ทางสโมสรก็ได้มีการเปลื่ยนแปลงตราสัญลักษณ์ของสโมสรที่ใช้มาตั้งแต่ก่อตั้ง เป็นรูป "วิงมาร์ค" มาสื่อความหมายถึงแบรนด์ฮอนด้า ซึ่งนำมารวมกับรูป "วิหคเพลิง" เป็นการสื่อความหมายถึงความมีพลังอันกล้าแกร่ง เป็นอมตะ นิรันดร ไม่มีวันตาย รวมไปถึงเปลื่ยนฉายาของสโมสรเป็น "พญาอินทรี"
ดิวิชั่น 2 และเลื่อนชั้นสู่ไทยลีก
แก้หลังจากที่ตกชั้นลงมาสู่ ไทยลีก ดิวิชัน 2 ในปี พ.ศ. 2554 ไทยฮอนด้าต้องใช้เวลาถึง 3 ปี ก็สามารถกลับมาเลื่อนชั้นขึ้นสู่ ไทยลีก ดิวิชัน 1 ภายใต้การคุมทีมของ Masami Taki โดยมีประธานสโมสรคือ วิน บุญห้อย และ อดิเรก ไกรเทพ เป็นผู้จัดการทีม ทำให้ปีต่อมา ในวันที่ 22 มกราคม 2558 ทางบริษัท ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ได้จดทะเบียนกับกรมธุรกิจการค้าจัดตั้งบริษัทนิติบุคคลเพื่อทำหน้าที่บริหารสโมสรฟุตบอลไทยฮอนด้าในนาม บริษัท พญาอินทรี ลาดกระบัง จำกัด และได้แต่งตั้ง ศิริศักดิ์ ยอดญาติไทย มาเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนแทน Masami Taki ที่จะทำหน้าที่เป็น ผู้อำนวยการเทคนิคของสโมสร และ สโมสรในปีนั้น สามารถเลื่อนชั้นสู่ ไทยลีกได้สำเร็จ และ ได้ตำแหน่งชนะเลิศ ใน ฤดูกาล 2559
-
2543-2553
-
2553
-
2554-2560
-
2560
-
2561
ที่ตั้งสโมสรและสนามเหย้า
แก้พิกัด | ที่ตั้ง | สนามเหย้า | ปี |
---|---|---|---|
13°48′07″N 100°47′27″E / 13.801944°N 100.790833°E | มีนบุรี | สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา | 2550-2553, 2555, 2558-ปัจจุบัน |
13°43′49″N 100°46′20″E / 13.730347°N 100.772122°E | ลาดกระบัง | สนามกีฬาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง | 2554, 2556-2557 |
ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล
แก้ฤดูกาล | ลีก[1] | เอฟเอ คัพ | ลีก คัพ | ผู้ทำประตูสูงสุด | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลีก | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ประตูได้ | ประตูเสีย | คะแนน | อันดับ | ชื่อ | ประตู | |||
2548 | ดิวิชั่น 1 | 22 | 13 | 2 | 7 | 38 | 15 | 46 | รองชนะเลิศ | ||||
2549 | ไทยลีก | 22 | 4 | 9 | 9 | 23 | 26 | 21 | อันดับ 11 | Coulibaly Cheick Ismael | 3 | ||
2550 | ไทยลีก | 30 | 7 | 8 | 15 | 26 | 38 | 29 | อันดับ 14 | Ismail Faday Kamara | 6 | ||
2551 | ดิวิชั่น 1 | 30 | 9 | 7 | 14 | 29 | 38 | 34 | อันดับ 13 | ||||
2552 | ดิวิชั่น 1 | 30 | 8 | 12 | 10 | 30 | 35 | 36 | อันดับ 11 | รอบสอง | สุทิน อนุกูล | 8 | |
2553 | ดิวิชั่น 1 | 30 | 11 | 7 | 12 | 32 | 32 | 40 | อันดับ 8 | รอบสอง | รอบสาม | Nana Yaw Asamoah | 6 |
2554 | ดิวิชั่น 1 | 34 | 6 | 6 | 22 | 33 | 69 | 24 | อันดับ 18 | ไม่ได้ส่งแข่งขัน | รอบสอง | Nana Yaw Asamoah | 8 |
2555 | ดิวิชั่น 2 โซนกรุงเทพฯ | 34 | 21 | 8 | 5 | 57 | 33 | 71 | ชนะเลิศ | รอบสอง | รอบแรก | ||
2556 | ดิวิชั่น 2 โซนกรุงเทพฯ | 26 | 11 | 6 | 9 | 57 | 34 | 39 | อันดับ 5 | ||||
2557 | ดิวิชั่น 2 โซนกรุงเทพฯ | 26 | 21 | 4 | 1 | 63 | 16 | 67 | ชนะเลิศ | รอบสาม | รอบคัดเลือก รอบแรก | โรโดลจุ๊บ พาอูโนวิช | 25+7 |
2558 | ดิวิชั่น 1 | 38 | 16 | 9 | 13 | 62 | 46 | 57 | อันดับ 6 | รอบสี่ | รอบสอง | แกสตัน ราอูล รามิเรซ | 17 |
2559 | ดิวิชั่น 1 | 26 | 14 | 10 | 2 | 46 | 23 | 52 | ชนะเลิศ | รอบแรก | รอบสอง | รีการ์ดู ชีซุซ | 13 |
2560 | ไทยลีก | 34 | 8 | 4 | 22 | 43 | 68 | 28 | อันดับ 16 | รอบสอง | รอบแรก | รีการ์ดู ชีซุซ | 9 |
2561 | ไทยลีก 2 | 28 | 8 | 8 | 12 | 32 | 39 | 32 | อันดับ 12 | รอบแรก | รอบคัดเลือก | ถวิล บุตรสมบัติ | 11 |
2562 | ไทยลีก 2 | 33 | 12 | 12 | 9 | 49 | 40 | 48 | อันดับ 6 | รอบก่อนรองชนะเลิศ | รอบเพลย์ออฟ | วัลโดมิโร ซัวเรส | 17 |
ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | เลื่อนชั้น | ตกชั้น |
สถิติที่สุดของสโมสร
- ผู้เล่นที่ยิงประตูมากสุด โรโดลจุ๊บ พาอูโนวิช 30 ประตู (2557)
- แมตช์ที่มีการทำประตูมากที่สุด ไทยฮอนด้า 11-1 ปลวกแดง ระยอง ยูไนเต็ด (2557)
- แมตช์ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุด ไทยฮอนด้า 2-1 สุโขทัย ผู้เข้าชม 13,000 คน (2557)
- ไม่แพ้ใครติดต่อกันนานสุด 23 นัด (29 มี.ค. - 8 พ.ย. 2557)
- ชนะติดต่อกันนานสุด 13 นัด (12 เม.ย. - 16 ส.ค. 2557)
- ทำแต้มเยอะสุด 87 แต้ม (2557 - ลีกโซนกรุงเทพ 67 แต้ม, ชปล 20 แต้ม)
หัวหน้าผู้ฝึกสอน
แก้วันที่ | ชื่อ | สัญชาติ |
---|---|---|
2545-2551 | เฉลิมวุฒิ สง่าพล | ไทย |
2552 | เสนอ ไชยยงค์ | ไทย |
2553 | มาซามิ ทากิ | ญี่ปุ่น |
2553 | คมสันต์ ตุ้มนนชัย | ไทย |
2554 | พิชัย คงศรี | ไทย |
2554 | ครองพล ดาวเรือง | ไทย |
2555 | อภิรักษ์ ศรีอรุณ | ไทย |
2556 | สุรชัย จิระศิริโชติ | ไทย |
2557-2559 | มาซามิ ทากิ | ญี่ปุ่น |
2559-2560 | ศิริศักดิ์ ยอดญาติไทย | ไทย |
2560-2561 | อัคถภรณ์ ชลิตาภรณ์ | ไทย |
2561 | วรชัย สุรินทร์ศิริรัฐ | ไทย |
ผู้เล่น
แก้ผู้เล่นชุดฤดูกาล 2562
แก้หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
เกียรติประวัติ
แก้- ชนะเลิศ (1) : 2547[2]
- ชนะเลิศ (1) : 2546[2]
- รองชนะเลิศ (1): 2545[2]
- รองชนะเลิศ (1) : 2557
- ไทยลีก 4 โซนกรุงเทพและปริมณฑล
อ้างอิง
แก้- ↑ King, Ian; Schöggl, Hans & Stokkermans, Karel (20 March 2014). "Thailand – List of Champions". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 29 October 2014. Select link to season required from chronological list.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 https://www.thaihondafc.com/club-proifle/[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- http://www.thaihondafc.com เก็บถาวร 2011-06-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Facebook Thai Honda FC