สโมสรฟุตบอลนครสวรรค์
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
สโมสรฟุตบอลจังหวัดนครสวรรค์ เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศไทยโดยเป็นทีมจากจังหวัดนครสวรรค์ โดยปัจจุบันได้เล่นอยู่ในไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก
![]() | ||||
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลจังหวัดนครสวรรค์ | |||
---|---|---|---|---|
ฉายา | สิงโตแดง (The Red Lions) | |||
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2542 | |||
สนาม | สนามกีฬาจังหวัดนครสวรรค์ | |||
ความจุ | 15,000 ที่นั่ง | |||
ประธาน | ![]() | |||
ผู้จัดการ | ![]() | |||
ผู้ฝึกสอน | ![]() | |||
ลีก | ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก | |||
2562 | อันดับ 3 กลุ่มบี รอบมินิลีก โซนภาคเหนือตอนล่าง | |||
เว็บไซต์ | เว็บไซต์สโมสร | |||
|
ประวัติสโมสรแก้ไข
ยุคก่อนระบบลีกแก้ไข
สโมสรฟุตบอลจังหวัดนครสวรรค์ เริ่มส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันในการแข่งขัน กีฬาแห่งชาติ ฟุตบอลไทยแลนด์คัพ และ กีฬาเยาวชนแห่งชาติ มาอย่างยาวนาน โดยในระดับเยาวชนจะใช้ชื่อ ทีมเยาวชนนครสวรรค์ ซึ่งเคยได้รับตำแหน่งรองชนะเลิศ ฟุตบอลเยาวชนแห่งประเทศไทย ปี 2521[1], ชนะเลิศ กีฬาฟุตบอลเยาวชนระดับภูมิภาค ปี 2526[2] และ ในระดับบุคคลทั่วไป ในช่วงที่ไม่มีระบบการแข่งขันฟุตบอลอาชีพ สโมสรฟุตบอลที่เป็นตัวแทนของจังหวัดนครสวรรค์ บางครั้งก็ส่งในนาม สมาคมกีฬาจังหวัดนครสวรรค์ หรือ ส่งร่วมกับ สมาคมสโมสรอื่นๆ ในจังหวัด โดยเฉพาะ สมาคมสโมสรถาวรฟาร์ม โดยส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันทั้งใน กีฬาแห่งชาติ, ไทยแลนด์ คัพ
โดยในสมัยก่อน ทีมที่เป็นตัวแทนของจังหวัด จะมีฉายาที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า "สิงห์เหนือ" เนื่องจากใช้โลโก้ "ไลอ้อน แมน" ติดที่หน้าอกเสื้อแข่ง[3] ซึ่งถือว่าเป็นโลโก้อย่างเป็นทางการของทีมจังหวัดที่ทำให้คนรู้จักทีมฟุตบอลของจังหวัดมากขึ้น และกลายเป็นรากฐานตราสัญลักษณ์ของทีมในการแข่งขัน โปรลีก และอีกทั้งยังมีอิทธิพลต่อการตั้งชื่อกลุ่มแฟนคลับของสโมสร คือ "สิงโตแดง แฟนคลับ"
อนึ่ง สิงโตแดง แฟนคลับยังมีวัฒนธรรมการเชียร์ฟุตบอลแบบเดิมที่สืบทอดกันมาใน แฟนฟุตบอลนครสวรรค์ นั่นคือ "เชียร์ทุกสโมสรที่เป็นสโมสรฟุตบอลตัวแทนของจังหวัดนครสวรรค์" จึงทำให้ ยังเป็นแฟนคลับของ สโมสรฟุตบอลปากน้ำโพ เอ็นเอสอาร์ยู, สมาคมสโมสรถาวรฟาร์ม, สมาคมสโมสร ส. จันทะพิงค์ ฯลฯ อีกด้วย[4]
ต่อมา ในฤดูกาล 2555 สโมสรปากน้ำโพ เอ็นเอสอาร์ยู ได้ย้ายจาก โซนกรุงเทพฯและปริมณฑล มาแข่งขันใน โซนภาคเหนือ แฟนคลับกลุ่มหนึ่งจึงได้แยกตัวออกไปสร้างกลุ่มแฟนคลับของสโมสรอย่างเป็นเอกเทศ
ยุค โปรลีกแก้ไข
ต่อมาทาง การกีฬาแห่งประเทศไทย และ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มีการจัดการแข่งขัน โปรวินเชียลลีก และทางทีมจังหวัด ก็ได้รับเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน ร่วมกับ ทีมจังหวัดเชียงใหม่ โดยเข้าร่วมการแข่งขันตั้งแต่ ฤดูกาล 2542/43 โดยได้รับความร่วมมือจาก สมาคมกีฬาจังหวัดนครสวรรค์ และ สมาคมสโมสรถาวรฟาร์ม โดยใช้ชื่อ ทีมสมาคมกีฬาจังหวัดนครสวรรค์[5]
ต่อมาเมื่อฝ่ายจัดการแข่งขันฯ มีดำริในการสร้างอัตลักษณ์และปรับปรุงทีมให้มีความเป็นสากลมากขึ้น[6]ใน ฤดูกาล 2546 ทางฝ่ายจัดการแข่งขันฯ เลยให้ชื่อทีมว่า นครสวรรค์ ไลออนส์ มีตราสัญลักษณ์สโมสรอย่างเป็นทางการ และมีฉายาว่า สิงโตแดง (Red Lions) เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อสโมสร โดยในระหว่างที่เข้าร่วมการแข่งขัน ทีมถือเป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จสูงสุดทีมหนึ่ง โดยชนะเลิศการแข่งขัน ถึง 2 ครั้งใน ฤดูกาล 2543/44 และ ฤดูกาล 2546 นอกจากนี้ยังได้รับตำแหน่งรองชนะเลิศใน ฤดูกาล 2547
ยุคปัจจุบันแก้ไข
ต่อมาทาง สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ การกีฬาแห่งประเทศไทย ได้มีนโยบายในการรวมลีกเข้าด้วยกัน โดยที่ทีมซึ่งจบอันดับ 4 ได้ถูกจัดให้แข่งในระดับ ดิวิชั่น 1 2550 สโมสรจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น สโมสรฟุตบอลจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อเป็นรากฐานในการยกระดับสโมสรสู่ระดับอาชีพ นอกจากนี้ยังออกแบบโลโก้สโมสรให้มีความสวยงามมากขึ้น แต่ผลงานกลับตกต่ำลงอย่างมาก โดย ฤดูกาล 2550 สโมสรจบในอันดับ 7 ของสาย บี จาก 12 สโมสร รอดการตกชั้นอย่างหวุดหวิด และเมื่อจบ ฤดูกาล 2551 สโมสรจบอันดับ 15 จาก 16 สโมสร จึงตกชั้นสู่ดิวิชั่น 2 แต่ก็ยังได้สิทธิ์ลงทำการแข่งขันต่อ เหตุเพราะ สโมสรกรมสวัสดิการทหารบก ได้ตัดสินใจถอนทีมออกแต่สโมสรกลับทำผลงานได้ไม่ดีนัก โดยจบอันดับที่ 16 ซึ่งเป็นอันดับสุดท้าย และ และเสียประตูถึง 122 ประตู มีเพียง 9 คะแนนจากการแข่งขัน 30 นัด และตกสู่ ดิวิชั่น 2 ในที่สุด
จากความล้มเหลวในฤดูกาล 2552 ในฤดูกาล พ.ศ. 2553 นครสวรรค์ เอฟซีจึงปฏิรูปสโมสรอีกครั้ง โดยการสร้างระบบการจัดการแบบมืออาชีพขึ้นใหม่ มีการประสานงานกับกลุ่มสิงโตแดง แฟนคลับมากขึ้น และยังเปลี่ยนโลโก้สโมสรให้มีความน่าเกรงขามมากขึ้นตามความเชื่อของคนจีน[7][8] ในปัจจุบันทีมนครสวรรค์ เอฟซียังเป็นสโมสรฟุตบอลกึ่งอาชีพ
- ประวัติตราสโมสรนครสวรรค์
สี่แควดาร์บี้แก้ไข
ตั้งแต่มีระบบลีกอาชีพใน พ.ศ. 2542 สโมสรฟุตบอลจังหวัดนครสวรรค์ และสโมสรฟุตบอลปากน้ำโพ เอ็นเอสอาร์ยูไม่เคยแข่งขันในลีกเดียวกันเลย จนกระทั่งในฤดูกาล 2555 สโมสรฟุตบอลปากน้ำโพ เอ็นเอสอาร์ยู ได้ย้ายเข้ามาแข่งขันในลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 กลุ่มภาคเหนือ จึงทำให้เกิดการแข่งขันดาร์บี้แมทช์ขึ้นเป็นครั้งแรก ในวันที่ 4 มีนาคม 2555 โดยการแข่งขันนี้ยังไม่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ แต่ว่ามีการเรียกขานกันในหมู่แฟนคลับว่า "สี่แควดาร์บี้" แต่ก็มีอีกส่วนหนึ่งเรียกว่า เจ้าพระยาดาร์บี้[9] ด้วย ในฤดูกาล 2556 สโมสรฟุตบอลปากน้ำโพ เอ็นเอสอาร์ยูย้ายไปแข่งขันในกรุงเทพฯ และภาคกลาง ดาร์บี้แมชท์ในการแข่งขันที่เป็นทางการจึงยุติลง
ครั้งที่ | วัน/เดือน/ปี | การแข่งขัน | สโมสรเหย้า | สโมสรเยือน | ผลการแข่งขัน | ผู้ทำประตู |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | 4 มีนาคม 2555 | ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 | นครสวรรค์ | ปากน้ำโพ | 1 - 0 | 1 - 0 ปิยะพงษ์ ภูฆัง [10] [11] |
2 | 1 กรกฎาคม 2555 | ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 | ปากน้ำโพ | นครสวรรค์ | 1 - 0 | 1 - 0 ฌิอัทชู จูลส์ 'บรีซ' [12] |
ผู้เล่นชุดปัจจุบัน (ชุด ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 ฤดูกาล 2556 เลก 1)แก้ไข
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
รายชื่อหัวหน้าผู้ฝึกสอนจากอดีต - ปัจจุบันแก้ไข
อดีดผู้เล่นคนสำคัญแก้ไข
ยุคก่อนระบบลีกอาชีพ
ผู้เล่น | ผลงานในอดีตที่โดดเด่น | สถานะปัจจุบัน |
---|---|---|
ประทีป ปานขาว |
|
|
สะสม พบประเสริฐ |
|
|
วิฑูรย์ กิจมงคลศักดิ์ |
|
|
ประทีป ศรีวารี |
|
|
วิทยา วาจาบัณฑิต |
|
|
ยุคระบบลีกอาชีพ
ผู้เล่น | ผลงานในอดีตที่โดดเด่น | สถานะปัจจุบัน |
---|---|---|
เสนาะ โล่งสว่าง |
|
|
ทนงศักดิ์ พรมดาด |
|
|
สมภพ นิลวงษ์ |
|
|
ใหญ่ นิลวงษ์ |
|
|
อานนท์ บุษผา |
|
|
สัญญา พวงจันทร์ |
|
|
ศราวุธ มาสุข |
|
ผลงานแก้ไข
ยุคก่อนระบบลีก
ฤดูกาล/พ.ศ. | การแข่งขัน | ผลงาน |
---|---|---|
2527 | ไทยแลนด์ คัพ
ถ้วยพระราชทาน ประเภท ค. |
ชนะเลิศ
รองชนะเลิศ |
2528 | ถ้วยพระราชทาน ประเภท ค. | ชนะเลิศ |
2529 | กีฬาแห่งชาติ | รองชนะเลิศ |
2532 | ไทยแลนด์ คัพ | ชนะเลิศ |
ยุคโปรลีก
ฤดูกาล/พ.ศ. | การแข่งขัน | ผลงาน |
---|---|---|
2542/43 | โปรวินเชียล ลีก | อันดับ 5 |
2544 | โปรวินเชียล ลีก | ชนะเลิศ |
2545 | โปรวินเชียล ลีก | อันดับ 3 รอบสุดท้าย (ชนะเลิศรอบแรก สาย เอ) |
2546 | โปรวินเชียล ลีก | ชนะเลิศ |
2547 | โปรวินเชียล ลีก | รองชนะเลิศ |
2548 | โปรวินเชียล ลีก | อันดับ 4 |
2549 | โปรเฟสชันนัล ลีก | อันดับ 4 |
ยุคระบบลีกอาชีพ
ฤดูกาล/พ.ศ. | การแข่งขัน | ผลงาน |
---|---|---|
2550 |
| |
2551 |
| |
2552 |
| |
2553 |
| |
2554 |
| |
2555 |
| |
2556 |
| |
2561 |
| |
2562 |
|
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ภาพแห่งความทรงจำ..คอนหวันมหาอำนาจลูกหนังภาคเหนือ ( ภาค 1 )
- ↑ ภาพแห่งความทรงจำ..คอนหวันมหาอำนาจลูกหนังภาคเหนือ ( ภาค 2)
- ↑ ภาพแห่งความทรงจำ..คอนหวันมหาอำนาจลูกหนังภาคเหนือ ( ภาค 5 )</
- ↑ ทีมไหนก็ได้? บทความจากไทยลีก ออนไลน์ โดยต้นกล้า
- ↑ ภาพแห่งความทรงจำ..คอนหวันมหาอำนาจลูกหนังภาคเหนือ ( ภาค 10 )
- ↑ ย้อนอดีตโปรลีกไทย คลังข้อมูลจากสตูล ยูไนเต็ด
- ↑ กระทู้ชี้แจงเรื่องการเปลี่ยนโลโก้
- ↑ โลโก้ ของแฟนคลับ และของสโมสร
- ↑ กระทู้เรื่องเรื่องผ้าพันคอดาร์บี้แมตลิมิเต็ดเอดีชัน
- ↑ นัดที่ 3 วันอาทิตย์ที่ 4 มี.ค.2555 นครสวรรค์ เอฟซี พบ ปากน้ำโพ NSRU FC
- ↑ ภาพบรรยากาศ นครสวรรค์ เอฟซี 1-0 ปากน้ำโพ เอนเอสอาร์ยู เอฟซี
- ↑ http://www.thailandsusu.com/webboard/index.php?topic=247290.0 ผลการแข่งขันฟุตบอล AIS ลีกภูมิภาค "ดิวิชั่น 2" 2012 ภาคเหนือ วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม 2555
- ↑ ภาพแห่งความทรงจำ..คอนหวันมหาอำนาจลูกหนังภาคเหนือ ( ภาค 1 )
- ↑ สมภพ หวังเล่นคู่ นิเวศ ช่วยช้างศึกพร้อมลั่นไม่ทำให้ผิดหวังแน่
- ↑ ศราวุธ มาสุข เขาคือใคร!
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- เว็บไซต์เชียร์ทีมสโมสรฟุตบอลนครสวรรค์
- เฟซบุ๊คทีมนครสวรรค์ เอฟซี
- โยเล็ก, "ขอคืนอดีตที่ยิ่งใหญ่ "สิงโตแดง" นครสวรรค์ เอฟซี," (28/01/2010)