สุรัฐ พุกกะเวส
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
สุรัฐ พุกกะเวส หรือ สุรัสน์ พุกกะเวส (11 กันยายน 2467[1] – 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536) เป็นนักประพันธ์คำร้องเพลงไทยที่มีชื่อเสียง มีผลงานเพลงมากมาย เช่น เพลงบุพเพสันนิวาส, อุษาสวาท, ปทุมไฉไล, และที่สำคัญคือ เพลงสดุดีมหาราชา
สุรัฐ พุกกะเวส | |
---|---|
สารนิเทศภูมิหลัง | |
เกิด | 11 กันยายน พ.ศ. 2467 สุรัฐ พุกกะเวส จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 (69 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | อุษา พุกกะเวส |
บุตร | 4 คน |
อาชีพ | นักแต่งเพลง นักดนตรี ผู้กำกับภาพยนตร์ |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2486 - 2536 |
ประวัติ
แก้สุรัฐ พุกกะเวส มีนามเดิมว่า "สุรัสน์" เกิดเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2467 ที่จังหวัดสมุทรปราการ เป็นบุตรคนโต ของนายประสงค์ และ นางสาลี่ พุกกะเวส ในวัยเยาว์ ได้อยู่ในอุปการะของนายชิน พุกกะเวส ผู้เป็นญาติ เขาย้ายโรงเรียนหลายครั้ง เริ่มจาก โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ , โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม , หลังจากนั้นจึงมาเรียนต่อในกรุงเทพมหานคร ที่โรงเรียนมัธยมวัดสระเกศ , โรงเรียนพระนครวิทยาลัย , โรงเรียนมัธยมวัดราชบูรณะ แล้วกลับไปศึกษาที่โรงเรียนวัดทรงธรรม ที่จังหวัดสมุทรปราการ จนจบมัธยมศึกษาปีที่ 6 แต่ได้เข้ามาศึกษาต่อมัธยม 6 อีกครั้งที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ ปากคลองตลาดเป็นครั้งที่สอง[ต้องการอ้างอิง]
เมื่อจบมัธยม 6 แล้ว สุรัฐ คิดอยากจะเป็นนักเรียนนายเรือก่อน แต่การทดสอบเพื่อเข้าศึกษาในนั้น มีการทดสอบว่ายน้ำ โดยลอยคอ 6 นาที ซึ่งสุรัฐทำไม่ได้ จึงได้เปลี่ยนไปสมัครเป็นครูโรงเรียนประชาบาลบางบ่อ[ต้องการอ้างอิง] พักหนึ่ง เมื่อทางโรงเรียนเตรียมปริญญา มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ประกาศรับสมัครนักเรียนเข้าศึกษา สุรัฐ จึงไปสมัคร และเรียนจนจบ นับเป็นรุ่นที่ 4 ของสถาบันนี้ จากนั้นได้ไปเข้าทำงาน เป็นเลขานุการ ของ พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ และทำงานในโรงแรมรัตนโกสินทร์ ตำแหน่งเลขานุการโรงแรม ( รัตนโกสินทร์ ) และ ภาพยนตร์ ของ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์[ต้องการอ้างอิง]
สุรัฐ เป็นผู้ร่วมอยู่ในวงสุนทราภรณ์ร่วมกับเอื้อ สุนทรสนาน มาตั้งแต่ครั้งทำงานเป็นเลขานุการโรงแรมรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. 2486 และมีผลงานประพันธ์คำร้องเพลงให้กับสุนทราภรณ์หลายเพลง โดยเพลงแรกในชีวิตการประพันธ์ของสุรัฐ คือ เพลง "หาดแสนสุข" โดยสุรัฐ แต่งคำร้อง ครูเวส สุนทรจามร แต่งทำนอง มี สุปาณี พุกสมบุญ นักร้องของกรมโฆษณาการ ในขณะนั้น เป็นผู้ขับร้อง
หลังจากเพลงหาดแสนสุข ครูเอื้อ จึงเห็นความสามารถ และไว้ใจ ได้มอบทำนองเพลงมาให้สุรัฐ แต่งคำร้องอีก จนเกิดเป็นเพลงอีกมากมาย เช่น " ดอกไม้เมืองเหนือ" , "หญิงสาวกับความรัก" , กลิ่นดอกโศก" , "ห่วงอาลัย" ฯลฯ และคงประพันธ์คำร้องให้วงสุนทราภรณ์เรื่อยมา จนถึงเพลงสุดท้าย ที่ครูเอื้อ ให้ทำนองก่อนถึงแก่กรรมไม่นาน คือ เพลง "พระเจ้าทั้งห้า "
นอกจากประพันธ์เพลงให้ลงสุนทราภรณ์แล้ว สุรัฐ ยังได้มีส่วนร่วมในการประพันธ์เพลงที่สำคัญอื่นๆ อีก เช่น ร่วมกับ สมาน กาญจนผลิน และ ชาลี อินทรวิจิตร ประพันธ์เพลง " สดุดีมหาราชา" ขึ้น นับเป็นเพลงสำคัญคู่กับ "สรรเสริญพระบารมี" มาจนปัจจุบีน และประพันธ์ เพลง "หน่วยแพทย์อาสา" เพื่อบรรเลงในวันพระราชสมภพ ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อปี พ.ศ. 2522 ฯลฯ
ในปี พ.ศ. 2497 ก่อตั้งโรงพิมพ์ "สุรัสน์การพิมพ์" เพื่อรับงานใบปลิวและโฆษณาภาพยนตร์ และตีพิมพ์นิตยสารรายปักษ์เกี่ยวกับภาพยนตร์บันเทิง ชื่อนิตยสาร "ดาราไทย" แต่ปัจจุบันไม่ได้ตีพิมพ์แล้ว และโรงพิมพ์สุรัตน์การพิมพ์ ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น "บริษัท สยามออฟเซ็ท จำกัด"
เมือ่ พ.ศ. 2501 สุรัฐ สร้างภาพยนตร์เรื่อง "สาวน้อย" จากนวนิยายของ "อาษา" กำกับการแสดงโดย ส. อาสนจินดา มีเพลงประกอบที่มีชื่อคือ เพลงสีชัง ประพันธ์โดย สง่า อารัมภีร ขับร้องโดยหม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์
พ.ศ. 2503 สุรัฐมีผลงานกำกับภาพยนตร์เรื่อง ดวงชีวัน นำแสดงโดย อาคม มกรานนท์, อมรา อัศวนนท์, สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์, ทรงศรี เทวะคุปต์, สมจิตต์ ทรัพย์สำรวย, ประกอบ ไชยพิพัฒน์
นอกจากนี้ ยังเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนในการก่อตั้ง "สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย" โดยได้รับเลือกให้เป็นนายกสมาคม ถึง 2 สมัย
ด้านชีวิตครอบครัว ได้สมรสกับ คุณอุษา บุณยรักษ์ บุตรี ร้อยเอกสุวิทย์ บุณยรักษ์ มีบุตร-ธิดา 4 คน คือ
- พันตำรวจตรี นพ.บุณยรัสน์ พุกกะเวส
- นายอภิรัฐ พุกกะเวส
- นางสาวสุริษา พุกกะเวส
- นางสาวขนิษ พุกกะเวส
และมีบุตร-ธิดา กับภรรยาท่านก่อน คือ
- นายเสาวรัสน์ พุกกะเวส
- นายอนุรัสน์ พุกกะเวส
- นางสุรัสวดี พุกกะเวส
- นายสิริรัฐ พุกกะเวส
สุรัฐ พุกกะเวส เริ่มป่วยด้วยอาการต่อมลูกหมากโต ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2526 จึงทำการผ่าตัดในเดือนสิงหาคมปีนั้น ภายหลังตรวจพบว่ามีโรคแทรกซ้อนอีกหลายโรค ได้ทำการรักษาเรื่อยมา แต่อาการไม่ดีขึ้น ท้ายที่สุดเกิดอาการไตวาย จนถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ รวมอายุได้ 69 ปี 2 เดือน 7 วัน [ต้องการอ้างอิง]
ได้บริจาคร่างให้แก่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ต่อมามีพิธีพระราชทานเพลิง ( เป็นกรณีพิเศษ ) ณ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2539[ต้องการอ้างอิง]
ตัวอย่างผลงานเพลง
แก้กิเลสคน, หาดแสนสุข, ดาวล้อมเดือน, คะนองรัก, เด่นดวงดาว, ธนูรัก, ใต้ร่มไทร, เจ้าชู้ประตูดิน, บุพเพสันนิวาส, สัญญาที่เธอลืม, อะไรนะชาย, สิ้นแสงจันทร์, คูหาสวรรค์, เรือมนุษย์, เรือเพลง, ลมรัก, เพลงราตรี, งอนแต่งาม, น้ำตาลใกล้มด, ปทุมไฉไล, รักไม่ลง, ผู้ชายนะเออ, ดาวเด่นฟ้า, พระเจ้าทั้งห้า, คืบทะเล (เพลงนำภาพยนตร์ เกาะสวาท หาดสวรรค์), นานแล้วไม่พบกัน, แรกเจอ, ชายไร้คู่, เกาะในฝัน, เพลินลีลาศ, กลิ่นดอกโศก, การะเกด, กุหลาบเชียงใหม่, เกล็ดแก้ว, คำรักคำขวัญ, ดวงชีวัน, ดอกไม้เมืองเหนือ, ทางชีวิต, นาวาทิพย์, บุหลันดั้นเมฆ, ปางหลัง, ฝากใจกับจันทร์, พรานรัก, เพลินลีลาศ, ไฟสุมขอน, มองยิ่งงาม, มาลีรุ่งอรุณ, ยอดยาใจ, ยูงกระสันเมฆ, รอยบุญรอยกรรม, รักเธอด้วยใจ, ราตรีสวรรค์, แรกพบสบรัก, แว่วเสียงเธอ, ศึกในอก, สดุดีมหาราชา, สาวน้อย, เสียงเพลงรัก, หญิงสาวกับความรัก, ห่วงรักห่วงอาลัย, ห่วงอาลัย, เหนือเกล้า, อารมณ์รัก, อุษาสวาท, อกหัก, ดอกฟ้าร่วง, คำรำพัน, ถูกมนต์รัก, นอนฝันไป, ศึกในอก, รอยยุญรอยกรรม, ชีวิตกับความสุข เป็นต้น
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประวัติ สุรัฐ พุกกะเวส". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-12. สืบค้นเมื่อ 2008-03-12.