สุดจิตต์ พันธ์สังข์

สุดจิตต์ พันธ์สังข์ (Mr. Soodjit Phunsang) เป็นศิลปินกรมศิลปากร และเป็นผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทยของกรมศิลปากร มีผลงานที่สำคัญเป็นผู้ที่ได้รับพระราชทานครอบและการต่อกระบวนรำเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพ ณ ศาลาดุสิดาลัย พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ในวันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2527

ไฟล์:MKogo-headerSilpakorn.gif
ศิลปินสำนักการสังคีตกรมศิลปากร
กระทรวงวัฒนธรรม
สถานที่จัดการแสดงในสังกัด
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
บทความที่เกี่ยวข้อง
ศิลปินสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
กระทรวงวัฒนธรรม
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ประวัติ แก้

เกิด วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 บิดาชื่อนายสวัสดิ์ พันธ์สังข์ มารดา ชื่อนางเจรียง พันธ์สังข์

สมรสกับนางมาลีนี พันธ์สังข์ มีบุตรสาวด้วยกัน 2 คน คือ นางสาวนนทรส พันธ์สังข์ และ นางสาวธิตาภา พันธ์สังข์

การศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพนาฎศิลปชั้นสูง และปริญญาครุศาสตร์บัณฑิต

ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่ แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร

เกียรติยศที่ภาคภูมิใจ แก้

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้กรมศิลปากร ทำการคัดเลือกศิลปินที่มีความสามารถฝ่ายพระ 5 คนคือ นาย ธีรยุทธ ยวงศรี [1] นายธงไชย โพธยารมย์[2] [3][4] นายทองสุข ทองหลิม นายอุดม อังศุธร และนาย สมบัติ แก้วสุจริต

และศิลปินโขนฝ่ายยักษ์ 7 คนคือนายราฆพ โพธิเวส[5][6] นายไชยยศ คุ้มมณี นายจตุพร รัตนวราหะ นาย จุมพล โชติทัตต์ นาย สุดจิตต์ พันธ์สังข์ นาย สมศักดิ์ ทัดติ[4][ลิงก์เสีย] และ นาย ศิริพันธ์ อัฏฏะวัชระ [5][ลิงก์เสีย] รวมทั้งสิ้น 12 คน เข้ารับพระราชทานครอบประธานพิธีใหว้ครูโขนละคร และการต่อกระบวนรำเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพ ณ.ศาลาดุสิดาลัย พระตำหนัก จิตรลดารโหฐาน ในวันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2527

การรับราชการในกรมศิลปากร แก้

เริ่มเข้ารับราชการเมื่อ 11 มกราคม พุทธศักราช 2511 ตำแหน่งศิลปินจัตวา กองการสังคีต กรม ศิลปากร ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญทางด้านนาฏศิลปไทยสาขาโขนยักษ์ สำนักการสังคีต

ประสบการณ์ด้านศิลปการแสดง แก้

การฝึกหัด แก้

เริ่มฝึกหัดโขนเป็นตัวยักษ์ กับครูอร่าม อินทรนัฏ ครูหยัด ช้างทอง ครูราฆพ โพธิเวสครูจตุพร รัตนวราหะ ครูชิน สีปู่ ต่อมาได้รับการฝึกหัดละครเพิ่มเติมจากท่านผู้หญิง แผ้ว สนิทวงศ์เสนี ครู สุวรรณี ชลานุเคราะห์ ครูอบเชย ทิพย์โกมุท ผลงานด้านการแสดง เป็นผู้แสดงโขน – ละคร ให้ประชาชนชม ณ. โรงละครแห่งชาติ ทำเนียบรัฐบาล และ ตามหน่วย ราชการต่าง ๆ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ด้านการแสดงโขน เป็นตัวเอกในเรื่องรามเกียรติ์ เช่น พระพิราพ ทศกัณฐ์ สหัสะเดชะ กุมภกรรณ มังกรกัณฐ์ เป็นต้น ด้านการแสดงละคร แสดงเป็นชาละวันตัวมนุษย์ ในละครนอกเรื่องไกรทอง แสดงเป็นพระยาเดโช ในเรื่องพระร่วง แสดงเป็นพระเจ้าอชาติศัตรู ในละครเรื่องสามัคคีเภท แสดงเป็นพระเจ้ากูโลตน ในละครเรื่องศรีธรรมาโศกราช แสดงเป็นเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ในละครเรื่องศึกเก้าทัพ ฯลฯ

รูปผลงานการแสดง แก้

การเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ในต่างประเทศ แก้

นอกจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการในประเทศทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ยังได้รับมอบหมายให้เดินทางไปเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ณ ต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น จีน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ลาว พม่า เกาหลี สวีเดน เดนมาร์ค อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี เนเธอแลนด์ เบลเยี่ยม เยอรมัน ออสเตรีย ฮังการี ยูโกสลาเวีย รัสเซีย สหรัฐอเมริกา

ผลงานด้านวิชาการ แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

อ้างอิง แก้

  1. [1][ลิงก์เสีย]
  2. [2][ลิงก์เสีย]
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-16. สืบค้นเมื่อ 2008-03-27.
  4. [3][ลิงก์เสีย]
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2008-03-27.
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2008-03-27.
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๘๑, ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๖
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๖๘, ๒๙ มกราคม ๒๕๔๒
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๔๓๒, ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗
  • จดหมายเหตุพระราชพิธีพระราชทานครอบประธานประกอบพิธีไหว้ครูโขน-ละครและพิธีต่อท่ารำเพลงหน้าพาทย์ องค์พระพิราพ ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พุทธศักราช 2527 โดยกรมศิลปากรในหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พ่อครู หยัด ช้างทอง ศิลปินแห่งชาติ ปี พุทธศักราช 2532 สาขาศิลปการแสดง ( นาฏศิลป์-โขน )ณ.ฌาปนสถานวัดพระศรีมหาธาตุวรวิหาร วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน 2539 .กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ สุรวัฒน์ , 2539
  • ความเป็นมาของท่ารำองค์พระพิราพ โดย นาย ประเมษฐ์ บุณยะชัย ตีพิมพ์ในนิตยสารศิลปากร ปีที่ 53 ฉบับที่ 4 ( กรกฎาคม-สิงหาคม 2543 )
  • [10] เก็บถาวร 2010-03-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน/หน้าพาทย์องค์พระ