เขตมิสซังจันทบุรี

(เปลี่ยนทางจาก สังฆมณฑลจันทบุรี)

เขตมิสซังจันทบุรี[2] เป็นมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทยในภาคตะวันออกครอบคลุมพื้นที่เขตปกครอง 8 จังหวัด ประกอบด้วย จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา (บางส่วน) นครนายก (ยกเว้น อำเภอบ้านนา) ชลบุรี ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว มีอาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล เป็นอาสนวิหารประจำเขตมิสซัง

เขตมิสซังจันทบุรี

Dioecesis Chanthaburiensis
อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล
ที่ตั้ง
ประเทศ ไทย
ภาคกรุงเทพฯ
สำนักงานใหญ่ศูนย์สังฆมณฑลจันทบุรี
สถิติ
พื้นที่34,000 ตารางกิโลเมตร (13,000 ตารางไมล์)
ประชากร
- รวม
- คาทอลิก
(2022)
5,141,876
55,954 (0.8%)
ข้อมูล
นิกายคาทอลิก
Sui iuris churchคริสตจักรละติน
จารีตจารีตโรมัน
สถาปนา11 พฤษภาคม ค.ศ. 1944
อาสนวิหารอาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล
องค์อุปถัมภ์แม่พระปฏิสนธินิรมล
บาทหลวง99
ผู้นำปัจจุบัน
สันตะปาปาสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส
มุขนายกบาทหลวงฟิลิฟ อดิศักดิ์ พรงาม (รักษาการ)[1]
มุขนายกมหานครเกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช
อุปมุขนายกยอแซฟ ยอด เสนารักษ์
มุขนายกกิตติคุณลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต (1971-2009)
แผนที่

ตำแหน่งมุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกจันทบุรีปัจจุบันได้ว่างลงหลังจากที่พระคุณเจ้าซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี ได้รับแต่งตั้งให้ไปปกครองเขตมิสซังราชบุรีตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ.2023

ศูนย์สังฆมณฑลจันทบุรี ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ 21/3 หมู่ 1 ตำบลสุรศักดิ์ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

ประวัติ แก้

มิสซังจันทบุรีแต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งของมิสซังกรุงเทพฯ ได้แยกเป็นมิสซังใหม่ขึ้นเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1944 มีชื่อว่ามิสซังจันทบุรี มีพื้นที่ประมาณ 34,000 ตร.กม. รวม 7 จังหวัด ได้แก่ ตราด จันทบุรี ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก สระแก้ว และปราจีนบุรี สำหรับ จังหวัดฉะเชิงเทราฝั่งขวาของแม้น้ำบางปะกงเป็นของมิสซังกรุงเทพฯ และที่จังหวัดนครนายก อำเภอบ้านนาเป็นของมิสซังกรุงเทพฯ

พระคุณเจ้าเรอเน แปร์รอส ได้ทำการอภิเษกคุณพ่อยาโกเบ แจง เกิดสว่าง เป็นมุขนายกประมุขมิสซังเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 ที่โบสถ์คาทอลิกนักบุญฟิลิปและยากอบ หัวไผ่ ทั้งนี้เพราะพระคุณเจ้าเรอเน แปร์รอส ได้เป็นผู้อบรมพระคุณเจ้าแจง เกิดสว่าง ตั้งแต่สมัยเป็นเณรใหญ่ และได้รับศีลบวชเป็นบาทหลวงจากพระคุณเจ้าเองในวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1910 พระคุณเจ้าแจง เกิดสว่าง เป็นมุขนายกชาวไทยองค์แรก และมีบาทหลวงจำนวน 16 องค์ เป็นผู้ร่วมงานที่เป็นคนไทยทั้งหมด[3]

มุขนายกมิสซังจันทบุรี แก้

ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง จนถึงปัจจุบัน มีมุขนายกจำนวน 4 องค์

ลำดับที่ รายนาม ตำแหน่ง เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 ยาโกเบ แจง เกิดสว่าง ผู้แทนพระสันตะปาปา ค.ศ. 1945 ค.ศ. 1952
2 ฟรังซิสเซเวียร์ สงวน สุวรรณศรี ผู้แทนพระสันตะปาปา
มุขนายกประจำมุขมณฑล
ค.ศ. 1953
ค.ศ. 1965
ค.ศ. 1965
ค.ศ. 1970
3 ลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต มุขนายกประจำมุขมณฑล ค.ศ. 1971 ค.ศ.2009
4 ซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี มุขนายกประจำมุขมณฑล ค.ศ. 2009 ค.ศ.2023
5 ว่าง มุขนายกประจำมุขมณฑล ค.ศ. 2023 -

โรงเรียนคาทอลิกในเขตมิสซังจันทบุรี [4] แก้

ชื่อสถาบัน จังหวัด ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.
1. โรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ จันทบุรี 2443
2. โรงเรียนประชาสงเคราะห์ ชลบุรี 2448
3. โรงเรียนคริสตสงเคราะห์ นครนายก 2454
4. โรงเรียนวัฒนานุศาสน์ ชลบุรี 2462
5. โรงเรียนปรีชานุศาสน์ ชลบุรี 2474
6. โรงเรียนดาราสมุทร ชลบุรี 2475
7. โรงเรียนสันติภาพ ฉะเชิงเทรา 2480
8. โรงเรียนยอแซฟวิทยา จันทบุรี 2484
9. โรงเรียนดาราจรัส ฉะเชิงเทรา 2490
10. โรงเรียนศรีหฤทัย จันทบุรี 2490
11. โรงเรียนเทวรักษ์ ปราจีนบุรี 2490
12. โรงเรียนมารีย์วิทยา ปราจีนบุรี 2493
13. โรงเรียนปัญจทรัพย์ มีนบุรี กรุงเทพฯ 2496
14. โรงเรียนมารดานุสรณ์ ตราด 2507
14. โรงเรียนชุมชนพัฒนา สระแก้ว 2521
15. โรงเรียนอนุบาลโสตพัฒนา ชลบุรี 2524
16. บ้านยอแซฟพิทักษ์ จันทบุรี 2532
17. มารีย์ เนอสเซอรี่ ระยอง 2535
18. โรงเรียนดาราสมุทรบริหารธุรกิจ ชลบุรี 2541
19. อันตนเนอสเซอรี่ ฉะเชิงเทรา 2541
20. อันตนเนอสเซอรี่ ฉะเชิงเทรา 2541
21. โรงเรียนลัมแบรต์พิชญาลัย จันทบุรี 2547

สถิติ แก้

สถิติมิสซังโรมันคาทอลิกจันทบุรี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 - 2566 มีดังนี้

ข้อมูล พ.ศ. 2556[5] พ.ศ. 2557[6] พ.ศ. 2558[7] พ.ศ. 2559[8] พ.ศ. 2560[9] พ.ศ. 2561[10] พ.ศ. 2562[11] พ.ศ. 2563[12] พ.ศ. 2565[13]
ชาวคาทอลิก 43,228 44,070 45,831 47,030 50,594 54,846 55,520 55,520 55,954
บาทหลวงมิสซัง 85 88 86 90 91 88 90 90 91
บาทหลวงนักบวช 17 17 17 19 17 17 17 17 18
ภราดา 17 13 14 18 20 15 18 18 18
ภคินี 163 168 157 154 161 158 148 148 145
โบสถ์ 40 40 40 40 40 40 41 41 41

อ้างอิง แก้

  1. ศูนย์สังฆมณฑลจันทบุรี (August 8, 2023). ผลการเลือกตั้งผู้รักษาการสังฆมณฑล (The Diacosean Administrator) โดยคณะที่ปรึกษาพระสังฆราช. Chanthaburi Diocese Thailand. สืบค้นเมื่อ October 11, 2023.
  2. "เอกสารกรมการศาสนา หน้า 161" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2011-12-14.
  3. http://www.chandiocese.org/main/history.htm
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-18. สืบค้นเมื่อ 2020-05-19.
  5. ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2558/2015, กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, หน้า 3
  6. ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2559/2016, กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, หน้า 3
  7. ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2560/2017, กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, หน้า 3
  8. ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2561/2018, กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, หน้า 3
  9. ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2019/2562, กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, หน้า 3
  10. ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2020/2563, กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, หน้า 3
  11. ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2021/2564, กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, หน้า 3
  12. ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2022/2565, กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, หน้า 3
  13. ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2023/2566, กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, หน้า 3