อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล
อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล (อังกฤษ: Cathedral of the Immaculate Conception) เป็นอาสนวิหารประจำมิสซังโรมันคาทอลิกจันทบุรี ตั้งอยู่บริเวณริมคลองจันทบุรี ตรงข้ามชุมชนเก่าแก่จันทบูร ตำบลจันทนิมิต อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี วิหารปัจจุบันนี้เป็นหลังที่ 5 ซึ่งบาทหลวงเอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์ ชาวฝรั่งเศส ได้ทำพิธีเสกขึ้นในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2452[2]และก่อสร้างขึ้นโดยคุณพ่อเปรีกาล เดิมวิหารติดยอดแหลมบริเวณหอระฆังทั้ง 2 หอ แต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปี พ.ศ. 2483[4] ทางรัฐบาลได้มีคำสั่งให้ทำการรื้อออกด้วยเหตุผลว่าจะเป็นเป้าทิ้งระเบิดจากเครื่องบินรบ[1] จนภายหลังสงครามยุติก็ได้นำมาติดตั้งอีกครั้งในวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2552 วิหารแห่งนี้มีอายุรวมแล้วกว่า 112 ปี
อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล | |
Cathedral of the Immaculate Conception | |
![]() บริเวณด้านหน้าอาสนวิหาร มุมหันออกสู่คลองจันทบุรี (ชุมชนจันทบูร) | |
สิ่งก่อสร้าง | |
---|---|
ฐานะ | อาสนวิหาร |
นิกาย | โรมันคาทอลิก |
เสก | 10 มกราคม พ.ศ. 2452 (หลังปัจจุบัน) |
ที่ตั้ง | 110 หมู่ 5 ถนนสันติสุข ตำบลจันทนิมิต อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี[1] |
ประเทศ | ![]() |
เจ้าของ | สำนักมิสซังคาทอลิกจันทบุรี |
การก่อสร้าง | |
แรกสุด | พ.ศ. 2237[2] |
ผู้สร้างแรก | บาทหลวงฮิ้ต โตแลนติโน คริสตชนชาวญวน[3] |
ปีบูรณะ | |
สร้างเสร็จ | |
ผู้สร้างปัจจุบัน | บาทหลวงเปรีกาล |
แบบสถาปัตยกรรม | กอทิก |
ขนาด | ยาว 60 เมตร กว้าง 20 เมตร |
ผู้ออกแบบ/ตกแต่ง | |
ภายใน | เพดานแผ่นไม้คล้ายคลึงกับท้องเรือโนอาห์[2] ช่องกระจกแบบกอทิกตกแต่งงานกระจกสี[3] |
รางวัล | รางวัลอนุรักษ์อาคารดีเด่น ประจำปี 2542[3] |
ข้อมูลด้านการท่องเที่ยว | |
สิ่งที่น่าสนใจ | เป็นหนึ่งในอาสนวิหารที่สวยที่สุดในประเทศไทย |
เว็บไซต์ | http://www.cathedralchan.or.th/ |
อาสนวิหารนับเป็นวิหารที่อยู่คู่ชุมชนชาวจันทบูรมาช้านาน นับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 วิหารแห่งแรกได้ถูกสร้างขึ้นโดยกลุ่มชาวญวน 130 คน ที่หนีการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนในประเทศเวียดนาม เข้ามาตั้งรกรากในปี พ.ศ. 2254 โดยมีบาทหลวงเฮิ้ต โตแลนติโน เป็นผู้ดูแลกลุ่มชาวญวนเหล่านี้ และได้ทำการก่อสร้างวิหารหลังแรกขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. 2273-2295 ต่อมาได้เกิดเหตุไม่สงบในหมู่บ้านทำให้คริสตชนบางส่วนเดินทางออกจากหมู่บ้าน ทิ้งวิหารจนเสื่อมโทรม จนมีการสร้างวิหารใหม่เป็นหลังที่ 2 ในปี พ.ศ. 2295 โดยบาทหลวงเดอกัวนา ในสมัยคุณพ่อมัทเทียโดเป็นอธิการโบสถ์ ได้ทำการสร้างวิหารอีกครั้งเป็นหลังที่ 3 โดยได้ทำการย้ายมาตั้งในบริเวณที่ตั้งปัจจุบัน (ฝั่งตะวันออก) ในปี พ.ศ. 2377[5] ในสมัยคุณพ่อรังแฟงเป็นเจ้าอาวาสได้ทำการสร้างวิหารใหม่เป็นหลังที่ 4 ในปี พ.ศ. 2398 และวิหารหลังปัจจุบันได้ทำการสร้างขึ้นโดยคุณพ่อเปรีกาล โดยได้พิธีเสกศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2449
อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล นับเป็นหนึ่งในวิหารที่มีสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย และเป็นโบสถ์ระดับชั้นอาสนวิหารแห่งเดียวในฝั่งตะวันออกของไทย มีจุดเด่นที่เด่นชัดคือยอดแหลมบนหอระฆัง 2 หลัง ภายในวิหารมีการตกแต่งเพดานเป็นท้องเรือไม้โนอาห์ ช่องบานกระจกแบบกอทิก และกระจกงานกระจกสี นอกจากนี้ภายในยังมีแม่พระที่มีความล้ำค่า ซึ่งตกแต่งด้วยพลอยกว่า 200,000 เม็ด หรือกว่า 2 หมื่นกะรัต[6] และฐานซึ่งหล่อขึ้นด้วยเงินบริสุทธิ์ ประดับองค์ด้วยทองคำและพลอยชนิดต่างๆ[4] วิหารแห่งนี้ได้รับรางวัลอนุรักษ์อาคารดีเด่น ประจำปี 2542 จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์อีกด้วย[3]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 รายละเอียดสถานที่ท่องเที่ยว, amazing Thailand .สืบค้นเมื่อ 05/06/2559
- ↑ 2.0 2.1 2.2 ประวัติความเป็นมา อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล จันทบุรี, ที่เที่ยวไทย .สืบค้นเมื่อ 05/06/2559
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล ,ท่องเที่ยวสะดุดตา .สืบค้นเมื่อ 05/06/2559
- ↑ 4.0 4.1 เที่ยวเมืองจันท์ “สัมผัสชุมชนริมน้ำฯ-ตระการตางานมรรคาศักดิ์สิทธิ์” ที่โบสถ์คาทอลิก, ผู้จัดการ .สืบค้นเมื่อ 05/06/2559
- ↑ วัดคาทอลิกจันทบุรี อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล, ตะลอนไทย .สืบค้นเมื่อ 06/05/2559
- ↑ แม่พระประดับพลอย 20000 กะรัต อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล จันทบุรี, Bloggang .สืบค้นเมื่อ 05/06/2559
ดูเพิ่มแก้ไข
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล |
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล
- ภาพถ่ายดาวเทียมจาก36′ 36″ N,102° 7′ 12″ E&spn=0.008592,0.005932&t=h วิกิแมเปีย หรือ36′ 36″ N,102° 7′ 12″ E&spn=0.008592,0.005932&q=12° 36′ 36″ N,102° 7′ 12″ E&t=k กูเกิลแมปส์
- แผนที่จาก36′ 36″ N&lon=102° 7′ 12″ E&scale=10000&icon=x มัลติแมป หรือ36′ 36″ N&long=102° 7′ 12″ E&zoom=2&name=%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A5&wiki=0&title=%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A5 โกลบอลไกด์
- ภาพถ่ายทางอากาศจาก7′ 12″ E&cpy=12° 36′ 36″ N&res=8&provider_id=310&t=pan&dat= เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: Coordinates: Unable to parse latitude as a number:12° 36′ 36″ N
{{#coordinates:}}: ละติจูดไม่ถูกต้อง