มุขนายกประจำมุขมณฑล
(เปลี่ยนทางจาก มุขนายกมิสซัง)
มุขนายกประจำมุขมณฑล[1] (อังกฤษ: diocesan bishop) ในประเทศไทยกรมการศาสนาให้เรียกว่ามุขนายกมิสซัง[2] ชาวคาทอลิกในประเทศไทยเรียกว่าพระสังฆราชประจำสังฆมณฑล คือมุขนายกที่พระสันตะปาปาทรงแต่งตั้งให้เป็นประมุขปกครองมุขมณฑลหนึ่ง
นิกายโรมันคาทอลิก
แก้ประเภท
แก้มุขนายกประจำมุขมณฑล แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
- มุขนายกมหานคร คือมุขนายกที่เป็นนอกจากจะเป็นประมุขปกครองมุขมณฑลแล้ว ยังเป็นประมุขภาคคริสตจักรด้วย ทำให้มีอำนาจมากกว่ามุขนายกประจำมุขมณฑลอื่น ๆ ที่อยู่ในภาคคริสตจักรเดียวกัน มุขนายกมหานครจึงมีตำแหน่งเป็นอัครมุขนายก และเรียกมุขมณฑลที่ตนปกครองและประจำการอยู่นั้นว่าอัครมุขมณฑล
- มุขนายกปริมุขมณฑล คือมุขนายกที่ปกครองเฉพาะมุขมณฑลของตน ไม่ได้ปกครองภาคคริสตจักร จึงมีฐานะเป็นบริวารของมุขนายกมหานคร มุขมณฑลที่มุขนายกประเภทนี้ปกครองเรียกว่าปริมุขมณฑลหรือมุขมณฑล
ตำแหน่งที่เทียบเท่า
แก้ในบางเขตปกครองในนิกายโรมันคาทอลิก ยังเป็นเขตปกครองขนาดเล็กหรือเพิ่งเริ่มตั้งคริสตจักร จึงยังไมมีมุขนายกประจำมุขมณฑล แต่พระสันตะปาปาก็ตั้งตำแหน่งอื่นมาทำหน้าที่ปกครองแทน ในประมวลกฎหมายพระศาสนจักรกำหนดให้ตำแหน่งเหล่านี้มีอำนาจเท่ามุขนายกประจำมุขมณฑลได้ในบางกรณี ตำแหน่งเหล่านี้ได้แก่[3]
- พรีเลตประจำดินแดน (territorial prelate)
- อธิการอารามประจำดินแดน (territorial abbot) คือนักพรตที่เป็นผู้ปกครองอารามหรือแอบบีย์
- ผู้แทนพระสันตะปาปา (apostolic vicar) คือบาทหลวงที่เป็นประมุขมิสซัง
- พรีเฟกต์จากสันตะสำนัก (apostolic prefect)
- นักปกครองจากสันตะสำนัก (apostolic administrator)
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 433, 462
- ↑ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ แยกศัพท์พุทธ-คริสต์, 10 พฤษภาคม 2543
- ↑ Code of Canon Law, Can. 368