สหภาพฟุตบอลแคริบเบียน

สหภาพฟุตบอลแคริบเบียน (อังกฤษ: Caribbean Football Union) หรือ ซีเอฟยู (CFU) คือองค์กรฟุตบอลประจำภูมิภาคแคริบเบียน เกิดจากการรวมตัวกันของสมาคมฟุตบอลในกลุ่มประเทศแถบทะเลแคริบเบียน รวมถึง 3 สมาคมฟุตบอลที่ตั้งอยู่ทางชายฝั่งตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้อย่างกายอานา, ซูรินาม และ เฟรนช์เกียนา มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงคิงส์ตัน ประเทศจาเมกา

สหภาพฟุตบอลแคริบเบียน
Caribbean Football Union
ชื่อย่อCFU
ก่อตั้ง28 มกราคม 1978
ประเภทองค์กรกีฬาระหว่างประเทศ
สํานักงานใหญ่ธงของประเทศจาเมกา จาเมกา
สมาชิก
31 สมาคม
ประธาน
บาร์เบโดส แรนดอล์ฟ แฮร์ริส
เลขาธิการ
ตรินิแดดและโตเบโก กามารา เดวิด
องค์กรปกครอง
คอนคาแคฟ
เว็บไซต์http://www.cfufootball.org
*สมาชิกของสหภาพฟุตบอลแคริบเบียนอยู่ในบริเวณสีส้มเข้ม
*สมาชิกทั้งหมดของคอนคาแคฟ อยู่ในบริเวณสีส้มเข้มและสีส้มอิฐ

สหภาพฟุตบอลแคริบเบียนได้เริ่มก่อตั้งขึ้นในเดือนมกราคม ค.ศ.1978 และจัดการแข่งขันในระดับภูมิภาคโดยอยู่ภายใต้การควบคุมของคอนคาแคฟ ในปัจจุบันมีสมาชิก 31 สมาคมฟุตบอล โดยในจำนวนนี้มี 25 สมาคมฟุตบอลที่เป็นสมาชิกของฟีฟ่า และมี 6 สมาคมฟุตบอลจากดินแดนอาณานิคมที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกของฟีฟ่า

การจัดการแข่งขันฟุตบอลในภูมิภาคที่จัดขึ้นโดยสหภาพฟุตบอลแคริบเบียนคือการแข่งขัน แคริบเบียน คัพ ที่เป็นการแข่งขันระดับทีมชาติ และ ซีเอฟยู คลับ แชมเปียนชิป ที่เป็นการแข่งขันระดับสโมสร โดยสโมสรที่ได้แชมป์ ,รองแชมป์ และอันดับ 3 ของรายการซีเอฟยู คลับ แชมเปียนชิป จะได้สิทธิแข่งขันในรายการ คอนคาแคฟแชมเปียนส์ลีก[1]

ในปี ค.ศ. 2011 สหภาพฟุตบอลแคริบเบียนตกเป็นข่าวดังไปทั่วโลกเมื่อเข้าไปมีส่วนเกี่ยวพันกับการทุจริตในการเลือกตั้งประธานฟีฟ่า โดยโมฮัมเหม็ด บิน ฮัมมัม ประธานสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียชาวกาตาร์ ที่เป็นหนึ่งในผู้สมัครชิงตำแหน่งในขณะนั้น ถูกกล่าวหาว่าติดสินบนสมาชิกในสหภาพฟุตบอลแคริบเบียน เพื่อให้ลงคะแนนสนับสนุนตนเป็นประธานฟีฟ่า ในการประชุมที่ประเทศตรินิแดดและโตเบโก ทำให้มีการสอบสวนและดำเนินคดีอาญาในเวลาต่อมา ผลจากคดีดังกล่าวทำให้บิน ฮัมมัม และ แจ็ค วอร์เนอร์ ประธานสหภาพฟุตบอลแคริบเบียนในขณะนั้นถูกฟีฟ่าแบนจากวงการฟุตบอลตลอดชีวิต [2][3]

ประวัติ แก้

สหภาพฟุตบอลแคริบเบียน เริ่มก่อตั้งขึ้นจากการที่ แพทริก เรย์มอนด์ นักฟุตบอลทีมชาติตรินิแดดและโตเบโก ได้หารือกับ ฟิล วูสแนม ที่เป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริหารของ นอร์ท อเมริกัน ซอกเกอร์ลีก (เอ็นเอเอสแอล) โดยวูสแนมเป็นอดีตกองหน้าทีมชาติเวลส์ ที่เคยโด่งดังกับสโมสรเวสต์แฮม ยูไนเต็ดและแอสตันวิลลา และได้ใช้ชีวิตในช่วงท้ายของอาชีพนักฟุตบอลด้วยการเล่นให้กับสโมสรแอตแลนตา ชิฟส์ ในนอร์ท อเมริกัน ซอกเกอร์ลีก โดยหลังจากเลิกเล่นฟุตบอล วูสแนมได้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริหารของเอ็นเอเอสแอล

แพทริก เรย์มอนด์ ได้หารือกับวูสแนม ในเรื่องของกรรมสิทธิ์และสิทธิประโยชน์ของทีมจากแถบแคริบเบียนใน เอ็นเอเอสแอล วูสแนมจึงมีความคิดในการก่อตั้ง คาริบเบียน โปรเฟสชันนัลลีก ที่เป็นการแข่งขันกันระหว่างทีมในภูมิภาคแคริบเบียน แยกต่างหากจาก เอ็นเอเอสแอล ประกอบกับ เซอร์ สแตน เราส์ อดีตประธานของฟีฟ่า มีข้อเสนอแนะให้มีองค์กรฟุตบอลที่ดูแลสิทธิประโยชน์ทางธุรกิจของทีมในแถบแคริบเบียน โดยให้เป็นองค์กรย่อยภายใต้การควบคุมของคอนคาแคฟ

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1977 แพทริก เรย์มอนด์ จึงได้เริ่มต้นประชาสัมพันธ์ถึงข้อมูลและก่อตั้งสหภาพฟุตบอลแคริบเบียน หรือ ซีเอฟยู ขึ้นที่กรุงพอร์ต-ออฟ-สเปน, สาธารณรัฐตรินิแดดและโตเบโก จนเป็นรูปธรรมแล้วเสร็จในเดือนมกราคม ค.ศ. 1978 ที่กรุงปอร์โตแปรงซ์, สาธารณรัฐเฮติ โดยมีฐานะเป็นองค์กรฟุตบอลในภูมิภาคแถบแคริบเบียน และเป็นองค์กรย่อยในคอนคาแคฟ

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2013 สหภาพฟุตบอลแคริบเบียน ได้ย้ายสำนักงานใหญ่จากตรินิแดดและโตเบโก ไปยังกรุงคิงส์ตัน, ประเทศจาเมกา[4]

ประธาน แก้

  •   อันเดร คัมเพอร์วีน (1978–1982)
  •   แจ็ค วอร์เนอร์ (1983–2011) (ลาออกจากการถูกสอบสวนทุจริต)
  •   ลิสเล ออสติน (2011) (ภายหลังถูกฟีฟ่าแบน)
  •   อีลฟ์ ฌอง-บาร์ต (2011–12)
  •   กอร์ดอน เดอร์ริก (2012–17)
  •   แรนดอล์ฟ แฮ์ริส (2017–18), ชั่วคราว
  •   แรนดอล์ฟ แฮ์ริส (2018–ปัจจุบัน), เป็นทางการ

สมาชิก แก้

สมาชิกปัจจุบัน แก้

ประเทศ สมาคม ทีมชาติ ปีที่เข้าร่วม [5] สถานะฟีฟ่า หมู่เกาะ ทวีป
  แองกวิลลา สมาคมฟุตบอลแองกวิลลา แองกวิลลา 1996 เป็นสมาชิก ลีเวิร์ด
  แอนติกาและบาร์บูดา สมาคมฟุตบอลแอนติกาและบาร์บูดา แอนติกาและบาร์บูดา 1978 เป็นสมาชิก ลีเวิร์ด
  อารูบา สมาคมฟุตบอลอารูบา อารูบา 1988 เป็นสมาชิก ลีเวิร์ด แอนทิลลิส
  เครือรัฐบาฮามาส สมาคมฟุตบอลบาฮามาส บาฮามาส 1968 เป็นสมาชิก กลุ่มเกาะลูคายาน
  บาร์เบโดส สมาคมฟุตบอลบาร์เบโดส บาร์เบโดส 1978 เป็นสมาชิก วินด์เวิร์ด
  เบอร์มิวดา สมาคมฟุตบอลเบอร์มิวดา เบอร์มิวดา 1962 เป็นสมาชิก อเมริกาเหนือ
  โบแนเรอ สหพันธ์ฟุตบอลโบแนเรอ โบแนเรอ 2013 ไม่ได้เป็นสมาชิก ลีเวิร์ด แอนทิลลิส
  หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน สมาคมฟุตบอลหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน 1996 เป็นสมาชิก ลีเวิร์ด
  หมู่เกาะเคย์แมน สมาคมฟุตบอลหมู่เกาะเคย์แมน หมู่เกาะเคย์แมน 1992 เป็นสมาชิก เกรตเตอร์แอนทิลลีส
  คิวบา สมาคมฟุตบอลคิวบา ทีมชาติคิวบา 1978 เป็นสมาชิก เกรตเตอร์แอนทิลลีส
  กือราเซา สหพันธ์ฟุตบอลกือราเซา ทีมชาติกือราเซา 1978 เป็นสมาชิก ลีเวิร์ด แอนทิลลิส
  ดอมินีกา สมาคมฟุตบอลดอมินีกา ดอมินีกา 1994 เป็นสมาชิก วินด์เวิร์ด
  สาธารณรัฐโดมินิกัน สหพันธ์ฟุตบอลโดมินิกัน สาธารณรัฐโดมินิกัน 1978 เป็นสมาชิก เกรตเตอร์แอนทิลลีส
  เฟรนช์เกียนา องค์กรฟุตบอลแห่งแคว้นกุยยาน ทีมชาติเฟรนช์เกียนา 1978 ไม่ได้เป็นสมาชิก อเมริกาใต้
  เกรนาดา สมาคมฟุตบอลเกรนาดา เกรนาดา 1978 เป็นสมาชิก วินด์เวิร์ด
  กัวเดอลุป สมาคมฟุตบอลกัวเดอลุป กัวเดอลุป 1978 ไม่ได้เป็นสมาชิก ลีเวิร์ด
  กายอานา สหพันธ์ฟุตบอลกายอานา กายอานา 1978 เป็นสมาชิก อเมริกาใต้
  เฮติ สหพันธ์ฟุตบอลเฮติ เฮติ 1978 เป็นสมาชิก เกรตเตอร์แอนทิลลีส
  จาเมกา สหพันธ์ฟุตบอลจาเมกา ทีมชาติจาเมกา 1978 เป็นสมาชิก เกรตเตอร์แอนทิลลีส
  มาร์ตีนิก สมาคมฟุตบอลมาร์ตีนิก มาร์ตีนิก 1978 ไม่ได้เป็นสมาชิก วินด์เวิร์ด
  มอนต์เซอร์รัต สมาคมฟุตบอลมอนต์เซอร์รัต มอนต์เซอร์รัต 1996 เป็นสมาชิก ลีเวิร์ด
  ปวยร์โตรีโก สมาพันธ์ฟุตบอลปวยร์โตรีโก ปวยร์โตรีโก 1978 เป็นสมาชิก เกรตเตอร์แอนทิลลีส
  เซนต์คิตส์และเนวิส สมาคมฟุตบอลเซนต์คิตส์และเนวิส ทีมชาติเซนต์คิตส์และเนวิส 1992 เป็นสมาชิก ลีเวิร์ด
  เซนต์ลูเชีย สมาคมฟุตบอลเซนต์ลูเชีย เซนต์ลูเชีย 1988 เป็นสมาชิก วินด์เวิร์ด
  แซ็งมาร์แต็ง คณะกรรมการกีฬาฟุตบอลแห่งเกาะแซ็งมาร์แต็ง แซ็งมาร์แต็ง ไม่ได้เป็นสมาชิก ลีเวิร์ด
  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ สหพันธ์ฟุตบอลเซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ 1988 เป็นสมาชิก วินด์เวิร์ด
  ซินต์มาร์เติน สมาคมฟุตบอลซินต์มาร์เติน ซินต์มาร์เติน ไม่ได้เป็นสมาชิก ลีเวิร์ด
  ซูรินาม สมาคมฟุตบอลซูรินาม ซูรินาม 1978 เป็นสมาชิก อเมริกาใต้
  ตรินิแดดและโตเบโก สมาคมฟุตบอลตรินิแดดและโตเบโก ทีมชาติตรินิแดดและโตเบโก 1978 เป็นสมาชิก วินด์เวิร์ด
  หมู่เกาะเติกส์และเคคอส สมาคมฟุตบอลหมู่เกาะเติกส์และเคคอส หมู่เกาะเติกส์และเคคอส 1998 เป็นสมาชิก กลุ่มเกาะลูคายาน
  หมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐอเมริกา สมาพันธ์ฟุตบอลหมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐอเมริก หมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐอเมริก 1998 เป็นสมาชิก ลีเวิร์ด

ดินแดนที่อาจเป็นสมาชิกในอนาคต แก้

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.2007 เขตชุมชนแซ็ง-บาร์เตเลมี ได้มีสภาพเป็นอาณานิคมโพ้นทะเลของประเทศฝรั่งเศส ทำให้สมาคมฟุตบอลแซ็ง-บาร์เตเลมี อาจเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหภาพฟุตบอลแคริบเบียนได้ โดยมีสถานะเทียบเท่ากับอาณานิคมโพ้นทะเลอย่างเกาะเซนต์มาร์ติน (แซ็ง-มาร์แต็ง)

ภายหลังจากที่ดินแดนเนเธอร์แลนด์แอนทิลลิสถูกยุบไปในปี ค.ศ.2010 ทำให้ทบวงการเมืองอย่างซาบาและซินต์เอิสตาซียึส สามารถเข้าร่วมเป็นสมาชิกได้ โดยมีฐานะทางการปกครองเทียบเท่ากับโบแนเรอ

อันดับ แก้

สหภาพฟุตบอลแคริบเบียน ฟีฟ่า ทีมชาติ คะแนน +/−
1 47   จาเมกา 1435  
2 76   กูราเซา 1320  
3 86   เฮติ 1277  
4 100   ตรินิแดดและโตเบโก 1226  
5 126   แอนติกาและบาร์บูดา 1137  
6 136   เซนต์คิตส์และเนวิส 1081  
7 142   ซูรินาม 1069  
8 155   สาธารณรัฐโดมินิกัน 1032  
9 160   เกรเนดา 973  
10 167   เบอร์มิวดา 987  
11 170   บาร์เบโดส 981  
12 174   เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ 969  
  เซนต์ลูเชีย 969  
14 176   กายอานา 960  
15 178   คิวบา 940  
16 180   ดอมินีกา 932  
17 181   ปวยร์โตรีโก 929  
18 187   มอนต์เซอร์รัต 912  
19 193   หมู่เกาะเคย์แมน 895  
20 195   อารูบา 890  
21 201   หมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐ 875  
22 203   หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน 867  
23 205   หมู่เกาะเติกส์และเคคอส 862  
24 208   บาฮามาส 855  
25 209   แองกวิลลา 849  

ข้อมูลล่าสุด กันยายน 2562

อ้างอิง แก้

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-24. สืบค้นเมื่อ 2016-01-06.
  2. http://www.thairath.co.th/content/313949
  3. http://www.siamsport.co.th/Sport_Football/111015_126.html
  4. Walker, Howard (27 May 2013). "Latoya DaCosta seeks to take CFU to next level". Jamaica Observer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-26. สืบค้นเมื่อ 24 June 2013.
  5. http://www.cfufootball.org/index.php/member-associations