ฟุตบอลทีมชาติกูราเซา

ฟุตบอลทีมชาติกูราเซา (ดัตช์: Curaçaos voetbalelftal; ปาเปียเมนตู: Selekshon di Futbòl Kòrsou) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของประเทศกูราเซา ในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศ บริหารงานและควบคุมโดยสหพันธ์ฟุตบอลกูราเซา (Federashon Futbol Korsou หรือ FFK)[2] ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 2010 ภายหลังจากการยุบดินแดนปกครองตนเองเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส โดยฟุตบอลทีมชาติเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส ได้เปลี่ยนมาเป็นทีมชาติกูราเซา และเป็นสมาชิกของฟีฟ่าและคอนคาเคฟ รวมถึงเป็นหนึ่งในสมาชิกของสหภาพฟุตบอลแคริบเบียน (CFU)

กูราเซา
Shirt badge/Association crest
ฉายาLa Familia Azul
La Pantera Negra
La Pantera Azul
สมาคมสหพันธ์ฟุตบอลกูราเซา
สมาพันธ์ย่อยCFU (แคริบเบียน)
สมาพันธ์คอนคาแคฟ (อเมริกาเหนือ)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนเรมโก บิเซนตินี
กัปตันกือโก มาร์ตินา
ติดทีมชาติสูงสุดกือโก มาร์ตินา (59)
ทำประตูสูงสุดLeandro Bacuna
Rangelo Janga (14)
สนามเหย้าสนามกีฬาเออร์จิลิโอ ฮาโต
รหัสฟีฟ่าCUW
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 87 เพิ่มขึ้น 4 (20 มิถุนายน 2024)[1]
อันดับสูงสุด68 (กรกฎาคม ค.ศ. 2017)
อันดับต่ำสุด188 (ธันวาคม ค.ศ. 2003)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
เนเธอร์แลนด์ อารูบา 0–4 Curaçao ธงชาติCuraçao and Dependencies
(อารูบา, 6 เมษายน ค.ศ. 1924)
ในฐานะ กูราเซา
ธงชาติสาธารณรัฐโดมินิกัน สาธารณรัฐโดมินิกัน 1–0 กูราเซา ธงชาติกูราเซา
(ซันกริสโตบัล สาธารณรัฐดอมินิกัน; 18 สิงหาคม ค.ศ. 2011)
ชนะสูงสุด
Flag of the Netherlands Antilles เนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส 15–0 ปวยร์โตรีโก ธงชาติปวยร์โตรีโก
(การากัส ประเทศเวเนซุเอลา; 15 มกราคม ค.ศ. 1959)
ในฐานะ กูราเซา
ธงชาติกูราเซา กูราเซา 10–0 กรีเนดา ธงชาติกรีเนดา
(วิลเลมสตัด กูราเซา; 10 กันยายน ค.ศ. 2018)
แพ้สูงสุด
ธงชาติเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ 8–0 เนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส Flag of the Netherlands Antilles
(อัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์; 5 กันยายน ค.ศ. 1962)
ธงชาติเม็กซิโก เม็กซิโก 8–0 เนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส Flag of the Netherlands Antilles
(ปอร์โตแปรงซ์ ประเทศเฮติ; 8 ธันวาคม ค.ศ. 1973)
ในฐานะ กูราเซา
ธงชาติเซนต์ลูเชีย เซนต์ลูเชีย 5–1 กูราเซา ธงชาติกูราเซา
(Gros Islet ประเทศเซนต์ลูเซีย; 21 ตุลาคม ค.ศ. 2012)
ธงชาติเซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ 4–0 กูราเซา ธงชาติกูราเซา
(Gros Islet ประเทศเซนต์ลูเซีย; 25 ตุลาคม ค.ศ. 2012)

ธงชาติบาห์เรน บาห์เรน 4–0 กูราเซา ธงชาติกูราเซา
(อัรริฟาอ์ ประเทศบาห์เรน; 6 ตุลาคม ค.ศ. 2021)

ธงชาติแคนาดา แคนาดา 4–0 กูราเซา ธงชาติกูราเซา
(แวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา; 9 มิถุนายน ค.ศ. 2022)
โกลด์คัพ
เข้าร่วม6 (ครั้งแรกใน 1963)
ผลงานดีที่สุดอันดับที่ 3 (1963, 1969)

โดยฟุตบอลทีมชาติกูราเซา มีผลงานชนะเลิศในการแข่งขันฟุตบอลแคริบเบียนคัพ 1 สมัย ในแคริบเบียนคัพ 2017 ที่มาร์ตีนิก ส่วนในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โซนคอนคาแคฟ ทีมชาติกูราเซา ตกรอบคัดเลือกรอบ 3

ประวัติ

แก้

ยุคดินแดนกูราเซาในอาณัติของเนเธอร์แลนด์ (ค.ศ. 1921–1954)

แก้

ฟุตบอลทีมชาติกูราเซา เริ่มมาจากการก่อตั้งสมาคมฟุตบอลกูราเซา (Curaçaose Voetbalbond) หรือ CVB ขึ้นในปี ค.ศ. 1921 ในขณะที่ยังเป็นอาณานิคมกูราเซาและเขตสังกัดของเนเธอร์แลนด์ (Territory Of Curaçao) เพื่อควบคุมและบริหารงานด้านฟุตบอลของทีมชาติกูราเซาในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างชาติ

ดินแดนกูราเซาได้มีโอกาสเล่นในกีฬาโอลิมปิก 1 ครั้ง ในโอลิมปิกฤดูร้อน 1952 ที่ประเทศฟินแลนด์ โดยเปลี่ยนมาใช้ชื่อในการแข่งขันโอลิมปิกว่าทีมชาติเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส

ยุคทีมชาติเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส (ค.ศ. 1954–2010)

แก้

เดือนธันวาคม ค.ศ. 1954 กูราเซาได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส ซึ่งเป็นดินแดนปกครองตนเองที่ตั้งขึ้นมาใหม่ภายใต้ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ พร้อมกับอารูบา, โบแนเรอ, ซินต์เอิสตาซียึส, ซาบา และซินต์มาร์เติน โดยในวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 1954 กูราเซาได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อว่า เนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส อย่างเป็นทางการ และอยู่ภายใต้การควบคุมของสหภาพฟุตบอลเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส (Nederlands Antilliaanse Voetbal Unie, NAVU) พร้อมกันนี้ได้มีธงทีมชาติเป็นของตัวเองครั้งแรก จากที่เคยใช้ธงแข่งขันในระดับชาติแบบเดียวกับราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์

ทีมชาติเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส ได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก ตั้งแต่ฟุตบอลโลก 1958 จนถึงฟุตบอลโลก 2010 แต่ยังไม่เคยผ่านเข้าไปแข่งขันในรอบสุดท้าย และได้เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลระดับทวีปอย่างคอนคาเคฟ แชมเปียนชิพ เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1963 ที่เอลซัลวาดอร์ โดยการเข้าร่วมแข่งขันครั้งแรกก็สามารถคว้าอันดับสาม มาครองได้สำเร็จ และมาได้อันดับสามอีกครั้งในปี ค.ศ. 1969 ที่คอสตาริกา

ปี ค.ศ. 1986 อารูบาได้แยกตัวออกจากเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส ไปเป็นดินแดนปกครองตนเองที่ขึ้นกับราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์โดยตรง และมีทีมชาติของตัวเองแยกต่างหาก

ในส่วนของทัวร์นาเมนต์ระดับท้องถิ่นอย่าง แคริบเบียนคัพ ทีมชาติเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส ผ่านเข้าไปแข่งขันรายการนี้ 2 ครั้ง โดยผ่านเข้าไปแข่งขันครั้งแรกใน แคริบเบียนคัพ 1989 ที่บาร์เบโดส โดยสามารถเข้าไปถึงรอบรองชนะเลิศ และใน แคริบเบียนคัพ 1998 ที่จาเมกา เนเธอร์แลนด์แอนทิลลีสตกรอบแรก

ทีมชาติกูราเซายุคปัจจุบัน (ค.ศ. 2010–ปัจจุบัน)

แก้

วันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 2010 ดินแดนปกครองตนเองเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีสได้ถูกยุบ กูราเซาและซินต์มาร์เตินกลายเป็นดินแดนปกครองตนเองเช่นเดียวกับอารูบาที่แยกออกไปก่อนหน้านี้ และกลับไปก่อตั้งทีมฟุตบอลของตนเองขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ส่วนดินแดนที่เหลือของแคว้นเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีสที่ยุบไป ได้ถูกผนวกเข้ากับราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ และมีสภาพเป็นเทศบาลเมือง

ทีมชาติกูราเซาที่ก่อตั้งขึ้นใหม่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของสหพันธ์ฟุตบอลกูราเซา (Federashon Futbol Korsou, FFK) ได้รับช่วงต่อจากทีมชาติเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส โดยเป็นสมาชิกของฟีฟ่าและคอนคาเคฟ ส่วนทีมชาติซินต์มาร์เตินเป็นสมาชิกของคอนคาเคฟ แต่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกของฟีฟ่า

อย่างไรก็ตามดินแดนอย่างโบแนเรอที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส แม้ในปัจจุบันจะมีฐานะเป็นเทศบาลเมืองของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ แต่ก็มีทีมฟุตบอลเป็นของตนเอง โดยได้เป็นสมาชิกของคอนคาเคฟ ในปี ค.ศ. 2013 แต่ไม่ได้เป็นสมาชิกของฟีฟ่า

ทีมชาติกูราเซาในยุคที่ก่อตั้งขึ้นใหม่เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกเป็นครั้งแรกในฟุตบอลโลก 2014 รอบคัดเลือก โซนคอนคาแคฟ โดยตกรอบคัดเลือกรอบ 2

ส่วนในการแข่งขันฟุตบอลระดับภูมิภาค กือเราเซาสามารถผ่านเข้าไปแข่งขันในรายการ แคริบเบียนคัพ 2014 รอบสุดท้าย ที่จาเมกา ได้สำเร็จ หลังจากเคยแข่งขันในรายการนี้มาแล้ว 2 ครั้ง เมื่อครั้งยังเป็นทีมชาติเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส โดยถึงแม้ในแคริบเบียนคัพ 2014 ทีมชาติกูราเซา จะตกรอบแรก แต่ในแคริบเบียนคัพ ครั้งต่อมา กูราเซากลับสามารถทำผลงานได้อย่างเหนือความคาดหมายโดยในแคริบเบียนคัพ 2017 ที่เกาะมาร์ตีนิก กูราเซาเข้าไปถึงรอบชิงชนะเลิศ และสามารถเอาชนะแชมป์เก่าอย่างทีมชาติจาเมกา คว้าแชมป์ได้เป็นสมัยแรก

ผู้เล่น

แก้

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

แก้
  • รายชื่อผู้เล่นที่ถูกเรียกมาเล่นให้กับทีมชาติ ในการแข่งขันนัดกระชับมิตร
  • วันที่: 10 ตุลาคม 2017
  • คู่แข่งขัน:   กาตาร์
  • สนาม: ญาสซิม บิน ฮาหมัด สเตเดียม (เมืองโดฮา ,ประเทศกาตาร์)
  • ผลการแข่งขัน: ชนะ 2–1
  • จำนวนนัดที่ลงเล่นให้ทีมชาติและจำนวนประตูที่ยิงได้นับถึงวันที่ 10 ตุลาคม 2017 หลังแข่งกับ   กาตาร์
0#0 ตำแหน่ง ผู้เล่น วันเกิด (อายุ) ลงเล่น ประตู สโมสร
1 1GK อีลอย รูม (1989-02-06) 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1989 (35 ปี) 19 0   เปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน
16 1GK จาร์ซินโญ่ ปีเตอร์ (1987-11-11) 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1987 (36 ปี) 12 0   เซนโทร โดมินกีโต

2 2DF ซูเอนท์ลี อัลเบอร์โต (1996-06-09) 9 มิถุนายน ค.ศ. 1996 (28 ปี) 1 0   เอ็นเอซี เบรดา
3 2DF กือโก มาร์ตินา (c) (1989-09-25) 25 กันยายน ค.ศ. 1989 (34 ปี) 31 0   เอฟเวอร์ตัน
4 2DF จูเรียน การิ (1993-12-03) 3 ธันวาคม ค.ศ. 1993 (30 ปี) 5 0   โคแซคเคน บอยส์
5 2DF เออร์ตัน สตาตี (1994-07-22) 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1994 (30 ปี) 7 0   ซาเบล เอฟเค
12 2DF ชานอน คาร์มิเลีย (1989-03-20) 20 มีนาคม ค.ศ. 1989 (35 ปี) 31 0   เอสเซลเมอร์โวเกลส์
17 2DF จิลเลียน จัสเตียน่า (1991-03-05) 5 มีนาคม ค.ศ. 1991 (33 ปี) 14 0   เอสเซลเมอร์โวเกลส์

6 3MF เยเรมี เดอ นอยเยอร์ (1992-03-15) 15 มีนาคม ค.ศ. 1992 (32 ปี) 7 1   เชอร์ริฟฟ์
7 3MF ลีแอนโดร บาคูนา (1991-08-21) 21 สิงหาคม ค.ศ. 1991 (33 ปี) 14 5   เรดิง
8 3MF จาร์ชินิโอ อันโตเนีย (1990-12-27) 27 ธันวาคม ค.ศ. 1990 (33 ปี) 14 0   โอโมเนีย นิโคเซีย
11 3MF เกบาโร นีโปมูเซโน (1992-11-10) 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1992 (31 ปี) 30 4   โอลดัม แอทเลติก
13 3MF เอลสัน ฮอย (1991-10-01) 1 ตุลาคม ค.ศ. 1991 (32 ปี) 12 3   เอดีโอ เดนฮาก
15 3MF เควนเตน มาร์ตินัส (1991-03-07) 7 มีนาคม ค.ศ. 1991 (33 ปี) 6 0   อุระวะ เรดไดมอนส์

9 4FW จิโน ฟัน เคสเซิล (1993-03-09) 9 มีนาคม ค.ศ. 1993 (31 ปี) 17 7   ออกซฟอร์ด ยูไนเต็ด
10 4FW ชาร์ลิสัน เบนช็อพ (1989-08-21) 21 สิงหาคม ค.ศ. 1989 (35 ปี) 1 0   ฮันโนเฟอร์ 96
14 4FW แรนเจโล แยนกา (1992-04-16) 16 เมษายน ค.ศ. 1992 (32 ปี) 11 4   เตรนชิน
19 4FW เฟลิตเซียโน ซูสเซิน (1992-01-24) 24 มกราคม ค.ศ. 1992 (32 ปี) 13 9   อินเวอร์เนส

ทำเนียบผู้จัดการทีม

แก้
รักษาการผู้จัดการทีมอยู่ในตัวเอียง

เกียรติประวัติ

แก้

รายการอื่น

แก้


อ้างอิง

แก้
  1. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 20 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2024.
  2. "Curazao pierde a su capitán para el juego ante la Selecta | elsalvador.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-14.
  3. 3.0 3.1 3.2 "Bilches moet Curaçao naar WK leiden". Curaçao Sport. 8 August 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2014. สืบค้นเมื่อ 8 November 2014.
  4. "Soca Warriors Win Caribbean Cup Opener". Jamaica Gleamer. 12 November 2014. สืบค้นเมื่อ 15 November 2014.
  5. "Internationals Curaçao dolblij met komst Kluivert". Metro Nieuws. 5 March 2015. สืบค้นเมื่อ 24 March 2015.
  6. "Remko Bicentini, Rihairo Meulens i Partido di Fogeo pa Selekshon di Futbol di Korsou". deporteawe.com. 24 August 2016. สืบค้นเมื่อ 22 March 2017.
  7. FOX Sports (21 August 2020). "Guus Hiddink nieuwe bondscoach Curaçao". foxsports.nl. สืบค้นเมื่อ 21 August 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้