สมเด็จพระวันรัต (จับ ฐิตธมฺโม)

สมเด็จพระวันรัต นามเดิม จับ สุนทรมาศ ฉายา ฐิตธมฺโม เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญในคณะสงฆ์ไทย เช่น เจ้าอาวาสวัดโสมนัสราชวรวิหาร เจ้าคณะภาค 16-17-18 (ธรรมยุต) และกรรมการมหาเถรสมาคม

สมเด็จพระวันรัต

(จับ ฐิตธมฺโม)
คำนำหน้าชื่อท่านเจ้าประคุณ
ส่วนบุคคล
เกิด20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2450 (88 ปี 362 วัน ปี)
มรณภาพ17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรุงเทพมหานคร
นิกายธรรมยุติกนิกาย
การศึกษาเปรียญธรรม 9 ประโยค
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดโสมนัสราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
บรรพชามิถุนายน พ.ศ. 2466
อุปสมบท2 มิถุนายน พ.ศ. 2469
พรรษา70
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดโสมนัสราชวรวิหาร
เจ้าคณะภาค 16-17-18 (ธรรมยุต)

ประวัติ

แก้

กำเนิด

แก้

สมเด็จพระวันรัต มีนามเดิมว่า จับ สุนทรมาศ เกิดเมื่อวันพุธ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2450 (นับแบบใหม่) เป็นบุตรคนที่สามของนายผุดและนางร่ม ภูมิลำเนาอยู่ตำบลตะเครียะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เมื่อโตขึ้นได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนประชาบาลวัดตะเครียะ (ปัจจุบันคือโรงเรียนเกษตรชลธี) จนจบชั้นประถมศึกษา

อุปสมบท

แก้

เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2466 ขณะอายุได้ 17 ปี ได้บบวชเป็นสามเณรที่วัดตะเครียะ โดยมีพระครูธรรมจักการาม (เทพ  ตญาโณ) เจ้าอาวาสวัดประดู่หอม เจ้าคณะจังหวัดพัทลุงในขณะนั้น เป็นพระอุปัชฌาย์ ศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม จนสอบได้นักธรรมชั้นตรีในปี พ.ศ. 2467 และได้นักธรรมชั้นโทในปีถัดมา[1]

วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2469 ได้บวชเป็นพระภิกษุที่วัดศาลาหลวงล่าง โดยมีพระราชเมธี (จู อิสฺสรญาโณ) เจ้าอาวาสวัดมัชฌิมาวาส เจ้าคณะจังหวัดสงขลาในขณะนั้น เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวิจารณ์ศีลคุณ (แดง ปุปฺผโก) เจ้าอาวาสวัดตะเครียะ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้ฉายาว่า  ตธมฺโม[1]

พ.ศ. 2471 ได้ย้ายมาอยู่วัดเขมาภิรตาราม แล้วย้ายไปอยู่วัดพระยายัง เพื่อให้สะดวกต่อการเดินทางไปศึกษาที่วัดเทพศิรินทราวาส ศึกษาอยู่ 2 ปี ก็สอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค และสอบได้ต่อเนื่องมาจนกระทั่งปี พ.ศ. 2474 จึงสอบได้นักธรรมชั้นเอกและเปรียญธรรม 5 ประโยค ปีต่อมาพระครูวิจารณ์ธุรกิจ (แต้ม โฆสโก) ได้นำท่านไปฝากอยู่วัดโสมนัสวิหาร ท่านเล่าเรียนต่อมาจนสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยคในปี พ.ศ. 2485[2]

ศาสนกิจ

แก้

วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2479 ขณะยั้งเป็นพระเปรียญ 7 ประโยค ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นพระคณาจารย์ตรีในทางรจนา[3] หลังจากจบการศึกษาแล้ว ท่านได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ เช่น กรรมการตรวจประโยคบาลีสนามหลวง กรรมการนักธรรมสนามหลวง[2] เจ้าหน้าที่กองตำรามหามกุฏราชวิทยาลัย

เมื่อตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดโสมนัสราชวรวิหารว่างลง สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ได้เสด็จมาที่วัดและประกาศแต่งตั้งพระมหาจับเป็นผู้รักษาการแทนในหน้าที่เจ้าอาวาสตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489[4] ครั้นถึงวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2491 จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส นอกจากนี้ยังได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะภาค 16-17-18 (ธรรมยุต) ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2507 ได้เป็นกรรมการมหาเถรสมาคมตั้งแต่ พ.ศ. 2512 และเป็นกรรมการเถรสมาคมคณะธรรมยุตในปี พ.ศ. 2536 ตามลำดับ[5]

เมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ) ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชในขณะนั้น เดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 13-18 เมษายน พ.ศ. 2532 สมเด็จพระวันรัต (จับ ฐิตธมฺโม) ในฐานะสมเด็จพระราชาคณะผู้อาวุโสสูงสุดโดยพรรษาในขณะนั้น จึงเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชตั้งแต่วันที่ 13 เมษายาน พ.ศ. 2532 จนสมเด็จพระพุฒาจารย์กลับจากปฏิบัติศาสนกิจ[6]

ลำดับสมณศักดิ์

แก้
  • 1 มีนาคม พ.ศ. 2489 ตั้งเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระอมรมุนี[7]
  • พ.ศ. 2494 เลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นราชในราชทินนามเดิม[8]
  • พ.ศ. 2496 เลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นเทพในราชทินนามเดิม[8]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2500 เลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมวราลังการ วิสุทธิญาณนายก ตรีปิฎกธรรมประสาธน์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[9]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ได้รับสถาปนาเป็นรองสมเด็จพระราชาคณะที่ พระธรรมปัญญาจารย์ ปริยัติญาณโสภณ วิมลศีลาจารวัตร พุทธปริษัทปสาทกร สุนทรธรรมวินยวาที ตรีปิฎกวิภูสิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[10]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2520 ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระวันรัต ปริยัติพิพัฒนพงศ์ วิสุทธิสงฆปริณายก ตรีปิฎกโกศล วิมลคัมภีรญาณสุนทร ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี[11]
  • พ.ศ. 2535 รัฐบาลพม่าถวายสมณศักดิ์ อัครมหาบัณฑิต

มรณภาพ

แก้

สมเด็จพระวันรัต มรณภาพด้วยโรคหัวใจล้มเหลว เมื่อวันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 เวลา 06.30 น. ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า สิริอายุได้ 88 ปี 362 วัน พรรษา 70 ตั้งศพบำเพ็ญกุศล ณ ศาลาสมเด็จ 80 ปี วัดโสมนัสราชวรวิหาร พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระราชทานโกศไม้สิบสองประกอบศพ และรับศพอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์โดยตลอด มีพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมเวลากลางคืน กำหนด 7 คืน[12]

อ้างอิง

แก้
เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 มหาเถรประวัติ, หน้า 17
  2. 2.0 2.1 มหาเถรประวัติ, หน้า 19
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกกรมธรรมการ, เล่ม 53, ตอน 0 ง, 10 มกราคม 2479, หน้า 2589
  4. ความรู้เรื่องวัดโสมนัสวิหารในแง่มุมต่าง ๆ ที่ควรทราบ, หน้า 188
  5. ความรู้เรื่องวัดโสมนัสวิหารในแง่มุมต่าง ๆ ที่ควรทราบ, หน้า 191
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช, เล่ม 106, ตอนที่ 67 ง, 27 เมษายน 2532, หน้า 2,996
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์, เล่ม 63, ตอน 15 ง, 19 มีนาคม 2489, หน้า 356
  8. 8.0 8.1 มหาเถรประวัติ, หน้า 21
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 74, ตอน 107 ง, 17 ธันวาคม 2500, หน้า 2,946
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 84, ตอน 128 ก ฉบับพิเศษ, 30 ธันวาคม 2510, หน้า 1-6
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 95, ตอน 34 ก ฉบับพิเศษ, 27 มีนาคม 2521, หน้า 1-4
  12. ประวัติและผลงานสมเด็จพระวันรัต (จับ ฐิตธมฺมมหาเถร), หน้า 89-94
บรรณานุกรม
  • กรมศิลปากรเรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 450 หน้า. ISBN 974-417-530-3
  • พระธรรมวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ). ประวัติและผลงานสมเด็จพระวันรัต (จับ ฐิตธมฺมมหาเถร). กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2550. 260 หน้า.
  • พระสาสนโสภณ (พิจิตร ฐิตวณฺโณ)ความรู้เรื่องวัดโสมนัสวิหารในแง่มุมต่าง ๆ ที่ควรทราบ. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557. 223 หน้า.
  • วัดโสมนัส ราชวรวิหาร. มหาเถรประวัติ: สมุดภาพ ประวัติ และคำสอนของสมเด็จพระวันรัต (จับ  ตธมฺโม สุนทรมาศ ป.ธ. ๙). กรุงเทพฯ : วัดโสมนัส ราชวรวิหาร, 2558. 179 หน้า. หน้า 16-23.