สมาคมนักเรียนเก่าเบญจมบพิตร ในพระบรมราชูปถัมภ์

สมาคมนักเรียนเก่าเบญจมบพิตร ในพระบรมราชูปถัมภ์

สมาคมนักเรียนเก่าเบญจมบพิตร ในพระบรมราชูปถัมภ์
ข้อมูล
เว็บไซต์http://www.benja5.com

ที่ตั้ง แก้

565/5 ถนนสามเสน แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300

ประวัติสมาคมนักเรียนเก่าเบญจมบพิตร ในพระบรมราชูปถัมภ์ แก้

ความเป็นมาของสมาคมนักเรียนเก่าเบญจมบพิตรในพระบรมราชูปถัมภ์ ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2475 “ เบญจมบพิตรสมาคม ” ได้รับอนุญาตจดทะเบียนตั้งเป็นสมาคมนิติบุคคลได้ โดยมีผู้ลงลายมือชื่อรวมกันขออนุญาตตั้งสมาคม 16 ท่าน ดังนี้

1.พล.อ.พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา อาชีวะรับราชการ “ ข้าหลวงประจำจังหวัดนครปฐม ” ตำแหน่งราชการครั้งสุดท้าย “ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ ” (ปัจจุบันสิ้นพระชนม์)

2.อำมาตย์เอก พระยาอาชญาจักร (บุญมา โรจนวิภาต) อาชีวะรับราชการ ผู้บังคับบัญชาการเรือนจำกลางบางขวาง (ปัจจุบันถึงแก่อนิจกรรม)

3.รอ.หลวงยุทธกิจพิลาส ร.น. (มี นาคธน) อาชีวะรับราชการ ตำแหน่งราชการครั้งสุดท้าย นาวาเอก (ปัจจุบันถึงแก่กรรม)

4.ร.ต.อ. หลวงสัมฤทธิ์สุขุมวาท (สัมฤทธิ์ สุขุมวาท) อาชีวะรับราชการ ตำแหน่งราชการครั้งสุดท้าย พลตำรวจโท (ปัจจุบันถึงแก่อนิจกรรม)

5.ร.ท.ชิต นาคธน อาชีวะรับราชการ ตำแหน่งราชการครั้งสุดท้าย พลโท

6.ร.ต.ท.อัสนี (อู๋) ยิ่งกมล อาชีวะรับราชการ ตำแหน่งราชการครั้งสุดท้ายพลตรี (ปัจจุบันถึงแก่กรรม)

7.ร.ต.อ.ฟุ้ง ระงับภัย อาชีวะรับราชการ (ปัจจุบันถึงแก่กรรม)

8.ร.ต.เนตร พูนวิวัฒน์ อาชีวะรับราชการ (ปัจจุบันถึงแก่กรรม)

9.ร.ต.อนุ ถนัดหัตถกรรม อาชีวะรับราชการ ตำแหน่งราชการครั้งสุดท้าย พลตรี (ปัจจุบันถึงแก่กรรม)

10.ร.อ.เสนาะ รักธรรม ร.น. อาชีวะรับราชการ (นักบินนาวี) ตำแหน่งราชการครั้งสุดท้าย พลเรือเอก

11.ร.ต.ท.ประชา (สว่าง) บูรณธนิต อาชีวะรับราชการ ตำแหน่งราชการครั้งสุดท้าย พลตำรวจโท

12.ร.ต.เสริม กำจัดแจ่ม อาชีวะรับราชการ ตำแหน่งราชการครั้งสุดท้าย สารวัตรกรมศุลกากร

13.นายสุรัต พรหมะเสน อาชีวะค้าขาย

14.นายแก้ว สมรรคกาญจน์ อาชีวะรับราชการ ตำแหน่งราชการครั้งสุดท้าย สารวัตรกรมศุลกากร (ปัจจุบันถึงแก่กรรม)

15.นายอยุทธ เอกจันทร์ อาชีวะรับราชการ ตำแหน่งราชการครั้งสุดท้าย สารวัตรกรมศุลกากร (ปัจจุบันถึงแก่กรรม)

16.นายไสว คงสายสินธุ อาชีวะค้าขาย

วัตถุประสงค์ในข้อบังคับ

1. เพื่อส่งเสริม และธำรงรักษาไว้ซึ่ง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2. บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ การกุศล และส่งเสริมการศึกษานักเรียนโรงเรียนเบญจมบพิตร หรือโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร

3. พบปะสังสรรค์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และให้ความช่วยเหลือต่อกัน ในระหว่างสมาชิกสมาคม

พล.อ.พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ทรงดำรงตำแหน่งนายกสมาคมติดต่อกัน 5 สมัย สมัยละ 1 ปี เมื่อทรงพิจารณาเห็นว่า สมาคมสามารถดำเนินกิจการได้แล้วจึงทรงลาออก

  • พ.ศ. 2480

พระยาอาชญาจักร ดำรงตำแหน่งนายกสมาคม 3 สมัย ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2483 จึงลาออก

  • พ.ศ. 2483

น.อ.หลวงยุทธกิจพิลาส ร.น. (มี นาคธน) ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมจนถึงสงครามมหาเอเซียบูรพา 8 ธันวาคม พ.ศ. 2483

  • พ.ศ. 2493

พล.ต.ต. หลวงสัมฤทธิ์ สุขุมวาท (สัมฤทธิ์ สุขุมวาท) ยศขณะนั้น ดำรงตำแหน่งนายกสมาคม จนเป็น พล.ต.ท. และถึงแก่อนิจกรรม ในพ.ศ. ๒๕๐๐ในการดำรงตำแหน่งนายกสมาคมของ พล.ต.ต. หลวงสัมฤทธิ์ สุขุมวาทนี้ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในสมัยนั้น ได้ให้การสนับสนุนสมาคมเป็นอันมาก ในยุคนี้ได้ปฏิรูปข้อบังคับสมาคม พ.ศ. 2475 และตราข้อบังคับสมาคม พ.ศ. 2495 เพื่อให้เหมาะสมแก่กาลสมัย

  • พ.ศ. 2507

พ.อ.ชิต นาคธน (ยศขณะนั้น) ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมจนถึงพลโท จึงขอถอนตัว

  • พ.ศ. 2507

นายพจน์ ศังขะฤกษ์ ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมหลายสมัย ต่อมายกเลิกข้อบังคับสมาคม พ.ศ. 2495 ตราข้อบังคับสมาคม พ.ศ. 2510

  • พ.ศ. 2513

พล.ท.แสวง เสนาณรงค์ ดำรงตำแหน่งนายกสมาคม 1 สมัย “ ไม่เคยมาประชุม ” กรรมการบริหารปราศจากผู้นำ ไม่กล้าตัดสินใจทำอะไรเริ่มระส่ำระสาย กรรมการบริหารประชุมไม่ครบองค์ ในที่สุดสมาชิกทราบเรื่องไม่พอใจ วิพากษ์วิจารณ์กันว่ากรรมการบริหารหย่อนสมรรถภาพ และเริ่มมีปฏิกิริยาโต้ตอบ ไม่สนับสนุนสมาคม สภาพของสมาคมอยู่ในแนวโน้มเชิงทรุด ปราศจากรายได้นอกจากเอาดอกเบี้ยธนาคารมาช่วยเหลือโรงเรียน

  • พ.ศ. 2515

พล.ต.เฉลิม สุทธิรักษ์ ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมหลายสมัยจนเป็น พล.ท. และถึงแก่อนิจกรรม ทราบถึงปัญหาสมาชิกไม่ให้ความช่วยเหลือสมาคม พยายามช่วยเหลือกันประคับประคองลดค่าใช้จ่าย และช่วยเหลือโรงเรียนน้อยลงจะช่วยเฉพาะแต่สิ่งที่จำเป็น

  • พ.ศ. 2523

พล.ต.อาทิตย์ กำลังเอก (ยศขณะนั้น)ดำรงตำแหน่งนายกสมาคม มวลสมาชิกของสมาคมพากันชื่นชมยินดี และยกย่องกิตติคุณให้สมญานามว่า “ เพชรน้ำหนึ่งฝ่ายทหารของเบญจม ” พล.ต.อาทิตย์ กำลังเอก ดำรงตำแหน่งได้ไม่กี่เดือนก็ขอลาออกโดยมิได้มีเวลาเตรียมการบริหารและแก้ไขให้สมาคม เพราะในช่วงนั้นสถานการณ์ในตำแหน่งหน้าที่อันสำคัญยิ่งที่ต้องรักษาความมั่นคงและความปลอดภัยของประชาชนทั้งประเทศชาติ ไม่เอื้ออำนวยให้สละเวลามาช่วยสมาคมได้เลย

  • พ.ศ. 2525

นายอังกูร พลางกูร ในตำแหน่งอุปนายกสมาคม 27 กันยายน พ.ศ. 2525 จึงได้มีหนังสือเชิญสมาชิกประชุมใหญ่ สมัยสามัญประจำปี โดยกำหนดวันประชุมใหญ่สมันสามัญประจำปีในวันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525

ผลของการเลือกตั้ง นายมนัส สุขสมาน ดำรงตำแหน่งนายกสมาคม คนที่ 10 โดยข้าพเจ้าเป็นผู้เสนอ

ผลการเสนอญัตติ ข้อบังคับสมาคม พ.ศ. 2525 และระเบียบว่าด้วยการประชุมใหญ่ พ.ศ. 2526

ที่ประชุม มีมติรับรองและเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ และแปรญัตติวาระเดียวแล้วให้นำไปจดทะเบียนได้

นโยบายและการบริหาร กำหนดนโยบาย โดยกระจายเป็นโครงการต่างๆ ดังนี้

1.จดทะเบียนข้อบังคับสมาคมนักเรียนเก่าเบญจมบพิตร พ.ศ. 2525และระเบียบว่าด้วยการประชุม ใหญ่ พ.ศ. 2525 ได้รับอนุญาตตามเอกสารลำดับที่ จ.๔๐๔ เมื่อ 12 เมษายน พ.ศ. 2526

2.จัดงาน “ วันรำลึกพระคุณครู ” ที่ห้องประดิพัทธ์ภูบาล ราชตฤณมัยสมาคม แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ความมุ่งหมายของการจัดงานเพื่อให้ศิษย์ได้มีโอกาสแสดงกตเวทีต่อครูอาจารย์ นักเรียนเก่ารุ่นต่างๆ ได้มีโอกาสพบปะสังสรรค์กัน ในการจัดงานนี้คณะกรรมการบริหานมิได้นำเงินของสมาคมมาใช้จ่ายเลย แต่ได้รับการสนับสนุนจากบุคคลภายนอกและนักเรียนเก่ารุ่นต่างๆ บริจาคเงินบำรุงกิจการสมาคมประมาณ 9๐,๐๐๐ บาท (เก้าหมื่นบาท)

3.ให้ความช่วยเหลือโรงเรียน เกี่ยวกับการเรียนการสอน โดยตั้งร้านจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องเขียนเพื่อ อำนวยความสะดวกให้แก่นักเรียน

4.ตั้งวงดนตรีไทยให้โรงเรียน ตามที่โรงเรียนมีความประสงค์

5.สนับสนุนกิจกรรมนอกและในหลักสูตรของโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร

6.ได้นำความกราบบังคมทูลขอพระบรมฉายาลักษณ์ พระบรมฉายาลักษณ์สี พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในขนาด 10 นิ้ว คูณ 12 นิ้ว จำนวน 2 พระรูป เพื่อมาประดิษฐาน ณ ที่ทำการสมาคม และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ ตามหนังสือราชเลขาธิการพระบรมมหาราชวัง กทม.๑๐๒๐๐ ที่ รล. ๑๐๐๔/๙๓๒๘ ลง 10 สิงหาคม พ.ศ. 2527

7.ได้นำความกราบบังคมทูล ขอพระบารมีปกเกล้าฯ ให้ทรงแผ่เมตตาจิต สมาคมนักเรียนเก่าเบญจมบพิตรเพื่อพระราชทานตราแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นตราประจำแผ่นดินให้เป็นตราสมาคมนักเรียนเก่าเบญจมบพิตรและขอพระเมตตาบารมีโปรดเกล้าฯ ให้สมาคมได้อยู่ “ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้ทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ ตามหนังสือราชเลขาธิการ สำนักพระบรมมหาราชวังที่ รล.๐๐๐๓/๑๔๖๕๒ ลงวันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527

อาจกล่าวได้ว่า การที่สมาคมนักเรียนเก่าเบญจมบพิตรได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ ในครั้งนี้เป็นการได้รับพระราชทานที่ยิ่งใหญ่ที่สุด หาที่เสมอเหมือนมิได้ ในประวัติศาสตร์ขององค์กรอื่นใดที่เคยมีมาแล้วทั้งหมด

ทั้งนี้ เพราะได้รับการอนุเคราะห์เป็นอย่างสูงยิ่ง จาก ม.ล.ทวีสันต์ ลดาวัลย์ ราชเลขาธิการ และ นายเสริมวงศ์ ประโคมสิน ผู้อำนวยการสำนักพระบรมมหาราชวังให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่

ในนามสมาคมนักเรียนเก่าเบญจมบพิตร ขอกราบเรียนว่าจะไม่ลืมพระคุณของท่านทั้งสองไว้ ณ ที่นี้

8.เสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2527สมาคมได้จัดงาน “ ราตรี ๘๔ ปี เบญจมบพิตร ” ณ สวนอัมพร โดยมี พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก นายกกิตติมศักดิ์ เป็นประธานเปิดงาน นายมนัส สุขสมาน นายกสมาคมเป็นประธานอำนวยการ วัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อให้นักเรียนเก่าทุกรุ่นได้มีโอกาสพบปะสังสรรค์กัน และถ้าหากมีรายได้จากการจัดงานนี้จะได้นำสมทบทุนช่วยเหลือบำรุงการศึกษาของโรงเรียน

ต่อจากนั้นนายฐัตย์ ชูศิลป์ เป็นนายกสมาคมอีก 1 สมัย และนายมนัส สุขสมาน ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคม สมัยที่ 14 และสมัยที่ 15 จนถึงปัจจุบัน โดยนายกสมาคมมีวาระ 3 ปี

รายพระนามและนาม นายกสมาคมนักเรียนเก่าเบญจมบพิตร ในพระบรมราชูปถัมภ์ แก้

 
โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร

รายพระนาม และนาม นายกสมาคมนักเรียนเก่าเบญจมบพิตร ในพระบรมราชูปถัมภ์ตั้งแต่อดีจจนปัจจุบัน

ลำดับ พระรูปและรูป รายพระนามและนาม
1 นายนาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา
2   พล.อ.พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพยอาภา
3 น.อ.หลวงยุทธกิจพิลาส ร.น. (มี ปัทมะนาวิน)
4 พล.ต.ต. หลวงสัมฤทธิ์ สุขุมวาท
5 พ.อ.ชิต นาคธน
6 นายพจน์ ศังขะฤกษ์
7 พล.ท.แสวง เสนาณรงค์
8 พล.ต.เฉลิม สุทธิรักษ์
9   พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก
10 นายอังกูร พลางกูร (รักษาการแทน)
11 นายมนัส สุขสมาน
12 นายมนัส สุขสมาน
13 นายฐัตย์ ชูศิลป์
14 นายมนัส สุขสมาน
15 นายมนัส สุขสมาน
16 นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ
17 นายอรรถพล ใหญ่สว่าง

*ยศ ตำแหน่งตามวันที่ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนักเรียนเก่าเบญจมบพิตร ในพระบรมราชูปถัมภ์

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

เว็บไซต์สมาคมนักเรียนเก่าเบญจมบพิตร ในพระบรมราชูปถัมภ์

แหล่งข้อมูลอื่น แก้