ศาสนาฮินดูในประเทศญี่ปุ่น
ศาสนาฮินดูในประเทศญี่ปุ่น เป็นศาสนาชนกลุ่มน้อยในประเทศญี่ปุ่น โดยส่งผ่านจากศาสนาพุทธที่ได้รับจากเกาหลีและจีนอีกทอดหนึ่ง ปัจจุบันความเชื่อของศาสนาฮินดูยังแฝงตัวในสังคมญี่ปุ่น ทั้งการบูชาเทพเจ้า พิธีกรรม และอักษรสิทธัม[1] ชาวญี่ปุ่นนับถือเทพเจ้าของฮินดูในฐานะเทพธรรมบาลในศาสนาพุทธแบบมหายานและวัชรยาน
ประวัติ
แก้ประเทศญี่ปุ่นได้รับศาสนาฮินดูผ่านวรรณกรรมและกรอบวัฒนธรรมทางพุทธศาสนา และรับศาสนาพุทธผ่านจีนและคาบสมุทรเกาหลีอีกทอดหนึ่งช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 6 เทพเจ้าฮินดูที่ปรากฏใน สุวรรณประภาสสูตร (Suvarṇa-prabhāsa Sūtra, 金光明経) และ สัทธรรมปุณฑรีกสูตร (Saddharma Puṇḍarīka Sūtra, 妙法蓮華経) ซึ่งเป็นคัมภีร์ในพุทธศาสนา ถูกแผลงให้เป็นญี่ปุ่น เช่นเทพแห่งโชคลาภทั้งเจ็ด[2] และสี่ราชาสวรรค์ตามคติศาสนาพุทธแบบญี่ปุ่น บ้างได้รับการนับถือเป็น คามิ ในคติลัทธิชินโต[3] สามารถพบเทพเจ้าฮินดูที่มีอย่างดาษดื่นตามศาสนสถานต่าง ๆ[4] และยังมีพิธีโกมาโด (護摩堂) ซึ่งเป็นพิธีกรรมบูชาไฟ ซึ่งใกล้เคียงกับพิธีโหมะของฮินดู[1][5][6]
ปัจจุบันมีการจำหน่ายหนังสือเกี่ยวกับการบูชาเทพฮินดูในญี่ปุ่น[7] และมีการอ้างว่าญี่ปุ่นสนับสนุนการศึกษาเรื่องเทพฮินดูอย่างลึกซึ้ง[8]
ประชากรศาสตร์
แก้พ.ศ. 2559 ประเทศญี่ปุ่นมีชาวอินเดียอาศัยอยู่ 30,048 คน ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู นอกจากนี้เทพฮินดูยังได้รับการเคารพนับถือจากพุทธศาสนิกชนนิกายชิงงง
รายชื่อเทพเจ้าฮินดูในคติญี่ปุ่น
แก้รูปภาพ | ชื่อญี่ปุ่น | ชื่อสันสกฤต | ชื่อไทย |
---|---|---|---|
กัตเต็ง 月天 |
จนฺทร चन्द्र |
พระจันทร์ | |
คาเต็ง 火天 |
อคฺนิ अग्नि |
พระอัคนี | |
คังงิเต็ง 歓喜天 |
คเณศ गणेश |
พระพิฆเนศวร | |
คารูระ 迦楼羅 |
ครุฑ गरुड़ |
ครุฑ | |
คิชโชเต็ง 吉祥天 |
ลกฺษมี लक्ष्मी |
พระลักษมี | |
โคโมกุเต็ง 広目天 |
วิรูปากฺษ विरूपाक्ष |
ท้าววิรูปักษ์ | |
จิโกกุเต็ง 持国天 |
ธฤตราษฺฏฺร धृतराष्ट्र |
ท้าวธตรฐ | |
จิเต็ง 地天 |
ปฤถวี पृथ्वी |
พระปฤถวี | |
ซุยเต็ง 水天 |
วรุณ वरुण |
พระพิรุณ | |
โซโจเต็ง 増長天 |
วิรูฒก विरूढक |
ท้าววิรุฬหก | |
ดากินิเต็ง 荼枳尼天 |
ฑากิณี डाकिणी |
ฑากิณี | |
ไดโกกุเต็ง 大黑天 |
มหากาล महाकाल |
มหากาฬ | |
เท็นนิง 天人 |
อปฺสรา अप्सरा |
อัปสร | |
ไทชากุเต็ง 帝釈天 |
ศกฺร शक्र |
ท้าวสักกะ | |
นิตเต็ง 日天 |
สูรฺย सूर्य |
พระอาทิตย์ | |
บนเต็ง 梵天 |
พฺรหฺมา ब्रह्मा |
พระพรหม | |
บิชามนเต็ง 毘沙門天 |
ไวศฺรวณ वैश्रवण |
ท้าวเวสวัณ | |
เบ็นไซเต็ง 弁才天 |
สรสฺวตี सरस्वती |
พระสุรัสวดี | |
ฟูเต็ง 風天 |
วายุ वायु |
พระพาย | |
ราโง 羅睺 |
ราหุ राहु |
พระราหู | |
ราเซ็ตสึเต็ง 羅刹天 |
รากฺษส राक्षस |
รากษส | |
อิซานะเต็ง 伊舎那天 |
อีศาน ईशान |
พระอีศาน | |
อิดะเต็ง 韋駄天 |
สกนฺท स्कन्द |
พระเวทโพธิสัตว์ | |
เอ็มมะเต็ง 閻魔天 |
ยาม याम |
พระยม |
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 "Hindu Contributions to Japanese Religion" (PDF). Hindu Education (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-21. สืบค้นเมื่อ May 14, 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Butsuzōzui (Illustrated Compendium of Buddhist Images)" (ภาษาญี่ปุ่น). Ehime University Library. 1796. p. (059.jpg). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (digital photos)เมื่อ 2018-10-10. สืบค้นเมื่อ 2020-05-14.
- ↑ Bocking, Brian (1997). A Popular Dictionary of Shinto - 'Benzaiten'. Routledge. ISBN 978-0-7007-1051-5.
- ↑ Krishnendu Bandyopadhyay (January 11, 2016). "Hindu gods forgotten in India revered in Japan". The Times of India (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ May 14, 2020.
- ↑ Richard Payne (2015). Michael Witzel (บ.ก.). Homa Variations: The Study of Ritual Change Across the Longue Durée. Oxford University Press. pp. 30, 51, 341–342. ISBN 978-0-19-935158-9.
- ↑ Timothy Lubin (2015). Michael Witzel (บ.ก.). Homa Variations: The Study of Ritual Change Across the Longue Durée. Oxford University Press. pp. 143–166. ISBN 978-0-19-935158-9.
- ↑ Chaudhuri, Saroj Kumar. Hindu Gods and Goddesses in Japan. (New Delhi, 2003) ISBN 81-7936-009-1.
- ↑ "Japan wants to encourage studies of Hindu gods" Satyen Mohapatra เก็บถาวร 2020-03-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน