วโรทัย ภิญญสาสน์
วโรทัย ภิญญสาสน์ (เกิด 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2 สมัย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดจันทบุรี 4 สมัย
วโรทัย ภิญญสาสน์ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 14 ธันวาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ดำรงตำแหน่ง 17 เมษายน – 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก สุจินดา คราประยูร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482 อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี |
คู่สมรส | ณภาภัช ภิญญสาสน์ |
ประวัติ
แก้วโรทัย เกิดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482 ที่ ตำบลพลิ้ว อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรชั้นสูง จากช่างกลปทุมวัน
การทำงาน
แก้วโรทัยเป็นเจ้าของกิจการ วโรทัยมอเตอร์ ทำธุรกิจเกี่ยวกับรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของจันทบุรี และยังมีธุรกิจอีกหลายอย่าง [1]
งานการเมือง
แก้อดีตเคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัด ในช่วง พ.ศ. 2523 ถึง พ.ศ. 2526 ก่อนที่จะลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดจันทบุรี ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2526 และได้รับเลือกติดต่อกัน จนถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 รวม 4 สมัย [2] และเป็นผู้ที่มีบทบาทในการตั้งกระทู้ถามในสภาผู้แทนราษฎรจำนวนมาก[3]
วโรทัย ภิญญสาสน์ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อปี พ.ศ. 2533[4] และในรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535[5]
นายวโรทัย ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549[6][7] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้วโรทัย ภิญญสาสน์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 4 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดจันทบุรี สังกัดพรรคประชากรไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดจันทบุรี สังกัดพรรคประชากรไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดจันทบุรี สังกัดพรรคประชากรไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดจันทบุรี สังกัดพรรคประชากรไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[8]
- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ สรุปการสัมมนาการเมืองการปกครองไทย 2555 : 80 ปี ประชาธิปไตยไทย
- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ http://161.200.145.125/bitstream/123456789/36971/5/Danai_mu_ch4.pdf
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
- ↑ ตรวจแถว"ส.ว.เลือกตั้ง"ชุดที่ 2 กลุ่มก๊วน เครือญาติ นักการเมืองใหญ่ พาเหรดเข้ายึดสภาสูง
- ↑ รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งวุฒิสมาชิกจังหวัดจันทบุรี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๓๐