วัดมณีชลขัณฑ์

วัดในจังหวัดลพบุรี
(เปลี่ยนทางจาก วัดมณีชลขันฑ์)

วัดมณีชลขัณฑ์ เป็น วัดพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่ในตำบลพรหมมาสตร์ อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี

วัดมณีชลขัณฑ์
แผนที่
ชื่อสามัญวัดมณีชลขันฑ์ วัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ที่ตั้งตำบลพรหมมาสตร์ อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ไทย ประเทศไทย
ประเภทวัดหลวง พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ
นิกายธรรมยุต
พระพุทธรูปสำคัญพระพุทธรูปที่มีความเก่าแก่
ความพิเศษเป็นวัดที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน เป็นวัดที่มีแม่น้ำลพบุรีล้อมรอบอาณาเขตของวัดจึงมีสภาพเป็นเกาะ
จุดสนใจเจดีย์หลวงพ่อหลวง
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

ที่ตั้งมีสภาพภูมิประเทศเป็นเกาะกลางท้องพรหมาสตร์ มีอาณาเขตดังนี้

ทั้งหมด 9 ไร่ 16 ตารางวา

ประวัติ แก้

 
เจดีย์พระอุโบสถ

วัดมณีชลขัณฑ์ เป็นวัดสำคัญเก่าแก่ของจังหวัดลพบุรี ที่นอกจากจะมีสิ่งสำคัญหลายประการแล้ว ยังเปรียบเสมือน ประตูเมืองลพบุรี ได้อีกด้วย กล่าวคือเป็นเส้นทางสายตรงสายเดียว ระหว่างจังหวัดลพบุรี และจังหวัดสิงห์บุรี ต้องสร้างสะพานโดยอาศัยเกาะตัววัดเป็นที่เชื่อมกลาง ผู้คนที่สัญจรไปมาจึงต้องผ่านวัดนี้ หรือชาวสิงห์บุรีที่เดินทางมาลพบุรีและชาวลพบุรีเองก็ใช้เส้นทางสายนี้ในการเดินทางไปสู่จังหวัดสิงห์บุรีและจังหวัดอื่น ๆ ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่าวัดมณีชลขัณฑ์เป็นประตูเข้าสู่ตัวเมืองลพบุรีด้านตะวันตก เช่นเดียวกับที่พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ณ วงเวียนเทพสตรี ซึ่งชาวลพบุรีส่วนใหญ่จะเรียกว่าวงเวียนพระนารายณ์ก็ยังเป็นประตูเมืองด้านตะวันออกอีกด้วย

วัดมณีชลขันฑ์ วัด พระอารามหลวง วัดมณีชลขัณฑ์* เป็นวัดเก่าแก่หลายชั่วอายุคน ไม่ปรากฏหลักฐานแน่นอนว่าใครเป็นผู้สร้าง และสร้างเมื่อใด ทราบแต่เพียงว่าแต่เดิมชื่อ วัดเกาะแก้ว และจากหลักฐานเท่าที่ปรากฏในปัจจุบัน น่าจะสันนิษฐานได้ว่าสร้างมาแต่ครั้งรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199 – 2231) เดิมมีชื่อว่า วัดเกาะแก้ว เนื่องจากเป็นวัดที่ตั้งอยู่กลางแม่น้ำลพบุรี ปัจจุบันมีการตัดถนนไปถึงตัววัดจึงไม่มีลักษณะเป็นเกาะเช่นเดิม สถานที่ที่มีชื่อเสียงของวัดนี้คือ เจดีย์หลวงพ่อแสง ผู้ที่สร้างวัดนี้คือ พระยาอภัยรณฤทธิ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ พระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดมณีชลขันฑ์ กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็น โบราณสถาน เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ นอกจากนี้ที่วัดนี้มีต้นโพธิ์ที่รัชกาลที่ 5 ทรงปลูกไว้ ปัจจุบันถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เพราะมีถนนตัดผ่าตรงกลางพอดี ทีโบราณสถานที่น่าสนใจคือ พระเจดีย์ รูปทรงแปลกตาที่ก่อเป็นรูปเหลี่ยมสูงชะลูดขึ้นไป คล้ายกับพระเจดีย์เหลี่ยมสมัยเชียงแสน แต่ตรงมุมมีการย่อไม้สิบสองทำเป็น 3 ชั้น มีชุ้มประตูยอดแหลมยู่ด้านข้างทั้ง 4 ด้าน

จากที่กล่าวข้างต้นนี้ แสดงให้เห็นว่าวัดมณีฯ เป็นวัดที่มีความสำคัญ ด้วยเป็นวัดหลวง ที่ได้รับพระบรมราชูปถัมภ์จากพระมหากษัตริย์ และพระราชวงศ์และด้วยเหตุที่สภาพภูมิประเทศเป็นเกาะ มีน้ำล้อมรอบ เหมาะแก่การเสด็จประพาสประทับพักผ่อนพระอิริยาบถ จึงทำให้มีเจ้านายชั้นผู้ใหญ่หลายพระองค์เสด็จมาบำเพ็ญพระราชกุศล และเสด็จมาประทับพักผ่อนหลายพระองค์ ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (เคยเสด็จท้องพรหมาสตร์เล่นสักวาเมื่อวันขึ้นสิบค่ำ เดือนสิบสอง ปีวอก ตรงกับ พ.ศ. 2415) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จพระราชทานกฐิน 2 ครั้ง คือเมื่อ พ.ศ. 2458 และ พ.ศ. 2469 การเสด็จแต่ละครั้งก็จะประทับ ณ พระตำหนักแพ กลางท้องพรหมาสตร์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เคยเสด็จเมื่อตอนลาผนวชก่อนขึ้นเสวยราชย์ หรือมีพระบรมวงศานุวงศ์ ได้แก่ เจ้าฟ้ากรมพระยาภานุพันธุ์วงศ์วรเดช และ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็เคยเสด็จถวายพระกฐิน ณ วัดนี้เช่นกัน

ถาวรวัตถุที่สำคัญของวัด แก้

วัดมณีชลขัณฑ์ ตั้งอยู่บนเกาะด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวเมืองลพบุรี ปัจจุบันมีสะพานและถนนสายลพบุรีสิงห์บุรี เชื่อมจนไม่รู้สึกว่าเป็นเกาะ วัดนี้เดิมชื่อว่า " วัดเกาะแก้ว " เพราะเป็นวัดตั้งอยู่บนเกาะกลางน้ำสภาพปัจจุบันถูกถมดินจนไม่เห็นร่องรอยเดิม สิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้ คือ พระพุทธรูปปางนาคปรกที่มีความงดงาม ต้นศรีมหาโพธิ์ พระอุโบสถ พระวิหาร และพระพุทธรูปใหญ่ริมน้ำซึ่งมีลักษณะงดงามมาก ในหน้าเทศกาลเดือนสิบสอง วัดนี้เป็นแหล่งชุมนุมของประชาชนมาแข่งเรือและลอยกระทงกันเป็นประจำทุกปี และจุดเด่นที่สำคัญของพระอารามหลวงแห่งนี้ก็คือ เจดีย์หลวงพ่อแสง

เจดีย์หลวงพ่อแสง แก้

เจดีย์หลวงพ่อแสง วัดมณีชลขัณฑ์ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันสั้น ๆ ในปัจจุบันว่า วัดมณี มีปูชนียวัตถุสถานที่สำคัญประการหนึ่ง คือ เจดีย์หลวงพ่อแสง เป็นเจดีย์ฐานเล็กแต่ทรงสูง อยู่ทางด้านใต้ของวัด สามารถมองเห็นได้แต่ไกล และถือเป็นสัญลักษณ์ตราประจำวัดด้วย เจดีย์นี้มีลักษณะองค์เจดีย์เป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองทรงสูงชลูด ฐานขนาด 15.40 เมตร ทำเป็น 3 ชั้น มีซุ้มประตูยอดแหลมอยู่ด้านข้างทั้ง 4 ด้าน ชั้นที่ 4 ตอนบนเป็นองค์ระฆัง ส่วนยอดทำเป็นแท่นบัลลังก์ และปล้องไฉนขึ้นไป เจดีย์หลวงพ่อแสงนี้เป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดลพบุรีและใกล้เคียงเป็นอันมากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย ได้เขียนถึงเจดีย์หลวงพ่อแสงว่าผู้สร้าง คือ พระอาจารย์แสง ดังปรากฏในตำนานเมืองลพบุรีว่า ที่ท้องทุ่งพรหมาศอยู่ใกล้เมือง มีพระเจดีย์สูงที่วัดมณีชลขัณฑ์ องค์ 1แลเห็นได้แต่ไกล ชวนให้สำคัญว่าเป็นของสร้างไว้แต่โบราณ แต่แท้จริงเป็นของพระภิกษุองค์ 1 ชื่อพระอาจารย์แสง เป็นผู้คิดแบบสร้างขึ้นเมื่อรัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองทรงชลูด กำลังเอนไปทางทิศใต้จนมีผุ้ให้สมญานามว่า หอเอนเมืองลพบุรี เล่ากันว่า หลวงพ่อแสงผู้สร้างวัดนี้ สร้างเจดีย์ความสูงขนาด 5-6 ชั้น โดยไม่ใช้นั่งร้าน สร้างเสร็จแล้วก็กระโดดลงมาแล้วหายตัวไป เมื่อคราวฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี จังหวัดลพบุรีและผู้รักในศิลปะโบราณสถาน ได้ช่วยกันบูรณะบริเวณรอบพระเจดีย์ ให้เป็นสวนสาธารณะ ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ทำให้บริเวณนั้นร่มรื่น น่าดูยิ่งขึ้นต่อมามีการสร้างวิหารเพื่อประดิษฐานรูปหล่อหลวงพ่อแสง และสมเด็จพุฒาจารย (โต) พรหมรังสี โดยร่วมใจกันบูรณะเจดีย์ครั้งใหญ่เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เจริญพระชนมายุ ครบ 48 พรรษา ในพ.ศ. 2546 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลอีกด้วย

โบราณวัตถุที่สำคัญ แก้

จารึกบนแผ่นไม้บุษบกธรรมาสน์ วัดมณีชลขัณฑ์ เป็นไม้สร้างในปีพุทธศักราช ๒๒๒๕ เป็นภาษาไทย จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๑๑ บรรทัดวัตถุจารึก เป็นรูปสี่เหลี่ยมกว้าง ๔๘ ซม. สูง ๖๗ ซม. หนา ๑๔ มม.เนื้อหากล่าวถึงประวัติการสร้างบุษบกธรรมาสน์หลังนี้เมื่อ พ.ศ. ๒๒๒๕ และรายละเอียดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายผู้สร้างคือ ขุนศรีเทพบาลราช รักษาและแม่ออกบัน อายุจากศักราชที่ปรากฏในจารึก คือ พ.ศ. ๒๒๒๕ ตรงกับสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๑๙๙ - ๒๒๓๑) เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี ได้ขอรับมอบชิ้นส่วนธรรมาสน์ ที่เก็บรักษาอยู่ในศาลาวัดมณีชลขัณฑ์ มาจัดแสดง ลักษณะเป็นหลังคาซ้อนกันเป็นชั้นๆ เรียวเล็กขึ้นไปจนถึงปลายสุดเป็นยอดแหลม ตัวเรือนโปร่งสำหรับภิกษุนั่งแสดงธรรม มีบันไดทางขึ้นข้างบุษบก อนึ่ง ในสมัยอยุธยามีความนิยมในการสร้างบุษบกธรรมาสน์เพื่อถวายวัด เนื่องด้วยความศรัทธาหรือเพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้ลดความนิยมลงไป เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลาในการสร้างนาน เพราะต้องใช้ไม้เนื้อดี และช่างต้องมีความประณีตสูง ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์

ประเพณีที่เกี่ยวข้อง แก้

  1. ตักบาตรดอกไม้ ประเพณีการตักบาตรดอกไม้ คือ การนำดอกไม้ ธูป เทียน ถวายพระก่อนที่พระจะเข้าโบสถ์ในวันเข้าพรรษา
  2. ประเพณีลอยกระทงบริเวณริมแม่น้ำลพบุรี
 
ภาพวัดมณีชลขัณฑ์ถูกน้ำท่วมหนักใน พ.ศ. 2554

ดูเพิ่ม แก้

  1. รายชื่อวัดในจังหวัดลพบุรี
  2. รายชื่อพระอารามหลวงในประเทศไทย
  3. รายชื่อสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดลพบุรี

อ้างอิง แก้