วิหาร คืออาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคล้ายเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า คู่กับอุโบสถ แต่ไม่มีวิสุงคามสีมาเหมือนอุโบสถ ไม่มีใบเสมา[1]

วิหาร

ความหมาย แก้

วิหารตามความหมายในทางพุทธศาสนา หมายถึง ที่พักอาศัยในป่า กระท่อม ที่อยู่อาศัย ที่พัก กุฏิ (สำหรับพระภิกษุ) สถานที่ประชุมของภิกษุ ตึกใหญ่สำหรับภิกษุทั้งหลายอยู่อาศัย วิหาร และวัด เป็นต้น

คำว่า วิหาร แต่เดิมใช้ในความหมายว่า วัด เช่นเดียวกับคำว่า อาราม อาวาส เช่น เวฬุวัน วิหาร เชตวันมหาวิหาร

คำว่า "วิหาร" ยังกำหนดใช้เป็นคำลงท้ายสร้อยนามพระอารามหลวงต่างๆ เพื่อแสดงให้รู้ว่าวัดที่มีสร้อยนามอย่างนี้เป็นพระอารามหลวงสำคัญ

จากหนังสือ ไตรภูมิโลกวินิจฉัยกถา ระบุเนื้อความในพุทธประวัติ ตอนที่พญานาคเข้าปรกกันพายุฝนให้พุทธองค์ จากหนังสือที่ยกมานี้อธิบายอย่างชัดเจนว่านาคนั้นแปลงปรกเป็นอาคาร โดยมีการ "ผกพังพานเป็นเพดานบังปิดเบื้องบน" จึงอาจสันนิษฐานว่า วิหารคือคือนาคที่แปลงมาเป็นอาคาร[2]

ที่มา แก้

วิหารแห่งแรก ได้ปรากฏในพุทธประวัติ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงกล่าวอนุญาต เสนาสนะ คือ ที่นอน ที่พำนัก 5 ชนิด หนึ่งในนั้น ได้แก่ วิหาร ซึ่งหมายถึงกุฏิมีหลังคา มีชายคา สองข้าง เป็นลักษณะของสิ่งปลูกสร้างเพื่อเป็นที่สำหรับพระภิกษุสงฆ์เป็นที่เร้น เพื่อความ สำราญ เพื่อบำเพ็ญสมถวิปัสนา ยังประโยชน์แก่พระศาสนา[3]

ประเภท แก้

วิหารมีหลายแบบ เช่น[4]

  • วิหารคด คือวิหารที่มีลักษณะคดอยู่ตรงมุมกำแพงแก้วของอุโบสถ อาจมีหลังเดียวก็ได้ โดยมากจะมี 4 มุม และประดิษฐานพระพุทธรูปไว้ภายใน
  • วิหารทิศ คือวิหารที่สร้างออกทั้ง 4 ด้านของพระสถูปเจดีย์ อาจอยู่ตรงมุมหรือด้านข้าง
  • วิหารยอด คือวิหารที่มียอดเป็นรูปทรงต่างๆ เช่นวิหารยอดเจดีย์ อาจอยู่ตรงมุมหรือด้านข้าง
  • วิหารหลวง คือวิหารที่ด้านท้ายเชื่อมต่อกับพระสถูปเจดีย์หรือพระปรางค์

อ้างอิง แก้

  1. "โบสถ์และวิหารแตกต่างกันอย่างไร".
  2. "วิหารคือนาคปรก". ศิลปวัฒนธรรม.
  3. "วิหาร". ล้านนาคดีศึกษา : ด้านที่ 2 ประวัติศาสตร์และโบราณคดี.
  4. "ศัพท์ธรรมคำวัด : โบสถ์-วิหาร ศาลาการเปรียญ". ผู้จัดการออนไลน์.

บรรณานุกรม แก้