ฤดูหนาวในประเทศไทย พ.ศ. 2561–2562

ในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูหนาวตามประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของทิศทางลมชั้นบนระดับล่าง ได้เปลี่ยนเป็นลมตะวันออกหรือตะวันออกเฉียงเหนือ และลมชั้นบนระดับบนได้เปลี่ยนเป็นลมตะวันตก รวมถึงเกณฑ์ของอุณหภูมิและปริมาณฝนในตอนบนของประเทศได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง[1]

ฤดูหนาวในประเทศไทย พ.ศ. 2561–2562
ฤดูหนาวทางดาราศาสตร์21 ธันวาคม – 20 มีนาคม
ฤดูหนาวทางอุตุนิยมวิทยา27 ตุลาคม – 21 กุมภาพันธ์

สำหรับฤดูหนาวทางดาราศาสตร์ เป็นฤดูกาลทางดาราศาสตร์ เมื่อตำแหน่งของวงโคจรโลกรอบดวงอาทิตย์ เคลื่อนเข้าสู่จุดอายัน (จุดหยุด กล่าวคือจุดที่ดวงอาทิตย์โคจรไปถึงใต้สุดหรือเหนือสุด) และจุดวิษุวัต (กลางคืนและกลางวันมีเวลาเท่ากัน)[2][3] สำหรับปีนี้ ฤดูหนาวทางดาราศาสตร์เริ่มต้นในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2561 (วันอายันเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561) และไปสิ้นสุดในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2562 (วันวิษุวัตเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562)[2]

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศการเข้าสู่ฤดูร้อน ทำให้ฤดูหนาว พ.ศ. 2561–2562 สิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการ[4]

ภูมิหลัง แก้

ฤดูของประเทศไทยแบ่งเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน (กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม), ฤดูฝน (กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม) และฤดูหนาว (กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์) ซึ่งฤดูหนาวเริ่มขึ้นเมื่อมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดเข้าปกคลุมประเทศไทย โดยเริ่มต้นอากาศจะแปรปรวน ไม่แน่นอน อาจมีอากาศเย็น หรือฝนฟ้าคะนอง โดยเฉพาะภาคกลางตอนล่าง[5]

มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีแหล่งกำเนิดจะบริเวณความกดอากาศสูงในซีกโลกเหนือแถบประเทศมองโกเลียและจีน ซึ่งจะพัดพาเอามวลอากาศเย็นและแห้งเข้ามาในประเทศไทย ทำให้ท้องฟ้าปลอดโปร่ง อากาศจะหนาวเย็นและแห้งโดยทั่วไปในประเทศไทยตอนบน แต่จะทำให้ภาคใต้มีฝนตกชุกเนื่องจากนำเอาความชื้นจากอ่าวไทยเข้าไปในพื้นที่[6]

ในภาคกลาง, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ อุณหภูมิจะแตกต่างกันมากในช่วงฤดูร้อนและฤดูหนาว ซึ่งในฤดูหนาวอุณหภูมิต่ำสุดในตอนเช้าจะอยู่เกณฑ์หนาวถึงหนาวจัดในเดือนธันวาคมถึงมกราคม ซึ่งอุณหภูมิอาจลดลงได้จนต่ำกว่าจุดเยือกแข็งในพื้นที่ที่มีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาหรือยอดเขาสูงของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลมพื้นผิวโดยมากเป็นลมฝ่ายเหนือและลมตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนความชื้นสัมพัทธ์จะลดลงอย่างชัดเจน[6]

อุณหภูมิต่ำที่สุดในประเทศไทยที่เคยวัดได้ในระหว่างปี พ.ศ. 2494 ถึง พ.ศ. 2558 คือ -1.4 องศาเซลเซียส ที่สถานีอากาศเกษตร (สกษ.) สกลนคร จังหวัดสกลนคร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2517[6]

ส่วนอุณหภูมิต่ำสุดของภาคอื่น ๆ มีดังนี้

ส่วนกรุงเทพมหานครวัดได้ 9.9 องศาเซลเซียส ที่สถานีตรวจอากาศเฉลิมพระเกียรติ แขวงคลองเตย เขตคลองเตย เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2498[6][7][8]

การพยากรณ์ฤดูกาล แก้

การแบ่งอุณหภูมิของกรมอุตุนิยมวิทยา
ประเภทอากาศหนาว
อุณหภูมิ ความหมาย
18.0–22.9 อากาศเย็น
16.0–17.9 อากาศค่อนข้างหนาว
8.0–15.9 อากาศหนาว
≤7.9 อากาศหนาวจัด
ประเภทอากาศร้อน
อุณหภูมิ ความหมาย
35.0–39.9 อากาศร้อน
≥40.0 อากาศร้อนจัด

วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2561 กรมอุตุนิยมวิทยาได้ออกประกาศ การคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย พ.ศ. 2561–2562 โดยกรมอุตุนิยมวิทยาคาดหมายว่า อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยจะสูงกว่าค่าปกติ 0.1 ถึง 1.1°ซ (ที่ประมาณ 20–21°ซ) ซึ่งใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ตอนบนของภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือจะมีอุณหภูมิต่ำสุดจะอยู่ที่ 6–7°ซ ส่วนอุณหภูมิต่ำสุดของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะอยู่ที่ 15–16°ซ โดยช่วงที่หนาวเย็นที่สุดจะอยู่ในช่วงครึ่งหลังของเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 ถึงช่วงปลายเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 สำหรับภาคใต้ตอนบนอาจมีอากาศเย็นบางวัน และจะมีฝนตกชุกตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป[9]

ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงปลายเดือนพฤศจิกายน จะมีอากาศเย็นเกือบทั่วไป บางแห่งมีอากาศหนาวได้ในบางวัน มีหมอกในตอนเช้า และยังจะมีฝนฟ้าคะนองอยู่เล็กน้อย ต่อมาในเดือนธันวาคมถึงปลายเดือนมกราคม จะมีอากาศหนาวเย็นทั่วไป มีอากาศหนาวจัดได้บางแห่งแถบจังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา จังหวัดน่าน จังหวัดเลย จังหวัดสกลนครและจังหวัดนครพนม บางพื้นที่อาจมีหมอกหนา และบนยอดเขาสามารถเกิดน้ำค้างแข็งได้[9] ซึ่งต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ อากาศจะอุ่นขึ้นและเริ่มมีอากาศร้อน[9]

ในภาคกลางและภาคตะวันออก ปลายเดือนตุลาคมถึงปลายเดือนพฤศจิกายน หลายพื้นที่ในตอนบนของภาคจะมีอากาศเย็น มีหมอกในตอนเช้า รวมถึงยังมีฝนฟ้าคะนองเล็กน้อยอยู่ ต่อมาในเดือนธันวาคมถึงมกราคม อากาศจะเย็นเกือบทั่วไป มีอากาศหนาวได้ในบางพื้นที่ในตอนบนของภาคและตามภูเขา โดยในเดือนกุมภาพันธ์ อากาศจะอุ่นขึ้น หลายพื้นที่มีอากาศร้อน แต่ตอนบนจะยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้าอยู่[9] ส่วนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน จะมีอากาศเย็นบางแห่งบางวัน และมีฝนได้ถึงร้อยละ 30 เดือนธันวาคมถึงมกราคม อากาศจะเย็นในหลายพื้นที่ มีอากาศหนาวได้บางแห่งบางวัน ส่วนในเดือนกุมภาพันธ์ อากาศจะแปรปรวน อุณหภูมิอุ่นขึ้น อาจมีอากาศเย็นตอนเช้าในบางวัน ในตอนกลางวันอากาศร้อน[9]

ส่วนภาคใต้ จะมีฝนชุกหนาแน่น อาจมีฝนได้ถึงร้อยละ 80 ในภาคใต้ฝั่งตะวันออก ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป และร้อยละ 60 สำหรับภาคใต้ฝั่งตะวันตก โดยตั้งแต่ช่วงประมาณปลายเดือนมกราคม ภาคใต้ฝั่งตะวันออกฝนจะลดลง ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันตกฝนจะลดลงในช่วงเดือนธันวาคม[9] โดยในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม มักมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ก่อตัวในทะเลจีนใต้ และทวีกำลังขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อน และเคลื่อนตัวเข้ามาใกล้ หรือเคลื่อนลงสู่อ่าวไทย ซึ่งอาจทำให้มีฝนตกเป็นบริเวณกว้างได้[9]

ตารางการคาดหมายอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย[9]
ภาค พฤศจิกายน 2561 ธันวาคม 2561 มกราคม 2562 กุมภาพันธ์ 2562
ครึ่งแรก ครึ่งหลัง
ภาคเหนือ ตอนบน 18–20°ซ 14–16°ซ 14–16°ซ 15–17°ซ 17–19°ซ
ตอนล่าง 20–22°ซ 16–18°ซ 16-18°ซ 17–19°ซ 19–21°ซ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบน 19–21°ซ 16–18°ซ 16–18°ซ 16–18°ซ 18-20°ซ
ตอนล่าง 21–23°ซ 18–20°ซ 18–20°ซ 18–20°ซ 20–22°ซ
ภาคกลาง 22–24°ซ 20–22°ซ 20–22°ซ 22–24°ซ 23–25°ซ
ภาคตะวันออก 23–25°ซ 21–23°ซ 21–23°ซ 22–24°ซ 23–25°ซ
ภาคใต้ ฝั่งตะวันออก 23–25°ซ 22–24°ซ 21–23°ซ 22–24°ซ
ฝั่งตะวันตก 23–25°ซ 22–24°ซ 22–24°ซ 22–24°ซ
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 23–25°ซ 21–23°ซ 21–23°ซ 23–25°ซ 24–26°ซ
ตารางการคาดหมายอุณหภูมิต่ำสุดเดือนธันวาคมและมกราคม[9]
ภาคและจังหวัด อุณหภูมิต่ำสุดคาดหมาย อุณหภูมิต่ำสุดฤดูกาลก่อน
ธันวาคม 2561 มกราคม 2562 ธันวาคม 2560 มกราคม 2561
ภาคเหนือ เชียงราย 6–8°ซ 7–9°ซ 6.0°ซ 9.7°ซ
เชียงใหม่ 9–11°ซ 10–12°ซ 9.6°ซ 12.5°ซ
พิษณุโลก 12–14°ซ 15–17°ซ 12.5°ซ 16.6°ซ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เลย 6–8°ซ 7–9°ซ 6.7°ซ 12.0°ซ
นครพนม 6–8°ซ 7–9°ซ 6.0°ซ 9.6°ซ
นครราชสีมา 12–14°ซ 13–15°ซ 12.8°ซ 14.9°ซ
อุบลราชธานี 12–14°ซ 13–15°ซ 12.2°ซ 14.1°ซ
ภาคกลาง นครสวรรค์ 12–14°ซ 14–16°ซ 11.5°ซ 15.9°ซ
สุพรรณบุรี 14–16°ซ 15–17°ซ 14.4°ซ 16.4°ซ
กาญจนบุรี 13–15°ซ 15–17°ซ 13.9°ซ 16.9°ซ
กรุงเทพมหานคร 15–17°ซ 15–17°ซ 14.8°ซ 18.0°ซ
ภาคตะวันออก สระแก้ว 12–14°ซ 14–16°ซ 12.9°ซ 15.6°ซ
ชลบุรี 15–17°ซ 15–17°ซ 15.9°ซ 18.5°ซ
ภาคใต้ ประจวบคีรีขันธ์ 17–19°ซ 18–20°ซ 17.8°ซ 19.0°ซ
ภูเก็ต 20–22°ซ 19–21°ซ 20.5°ซ 19.5°ซ

เหตุการณ์ แก้

เดือนตุลาคม แก้

เดือนธันวาคม แก้

ความกดอากาศสูงกำลังแรง 13-17 ธันวาคม แก้

วันที่ 13 ธันวาคม กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศว่าในบริเวณภาคเหนืออุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ส่วนบริเวณเทือกเขาสูงในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด โดยมีอุณหภูมิต่ำสุด 5-11 องศาเซลเซียส ส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อุณหภูมิอาจลดลงได้ 1-3 องศาเซลเซียส[10]

ความกดอากาศสูงกำลังแรง 27 ธันวาคม-2 มกราคม แก้

วันที่ 24 ธันวาคม กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศว่า วันที่ 27 ธันวาคมถึง 2 มกราคม บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงจะลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน รวมถึงจะมีคลิ่นกระแสลมตะวันตกปกคลุมภาคเหนือ ทำให้จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงเกิดขึ้น จากนั้นอุณหภูมิจะลดลงได้ 5-7 องศาเซลเซียส เริ่มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อนและตามด้วยบริเวณอื่นของประเทศไทยตอนบน[11]

วันที่ 25 ธันวาคม ภาคเหนือมีอากาศเย็นลง โดยอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์มีเหมยขาบเกิดขึ้น มีอุณหภูมิต่ำสุดบริเวณยอดดอย 6 องศาเซลเซียส ส่วนที่จุดชมวิวกิ่วแม่ปานมีอุณหภูมิ 2 องศาเซลเซียส[12]

วันที่ 27 ธันวาคม บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงลงมาปกคลุมถึงตอนบนของประเทศเวียดนาม โดยกรมอุตุนิยมวิทยาคาดว่าบริเวณความกดอากาศสูงจะลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงกลางคืน และจะปกคลุมประเทศไทยตอนบนตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม และอากาศหนาวเย็นลงในวันที่ 29 ธันวาคม[13]


สถิติอุณหภูมิต่ำที่สุด แก้

ตารางสถิติอุณหภูมิต่ำสุด
ภาคและจังหวัด อุณหภูมิต่ำที่สุดระหว่าง พ.ศ. 2494 ถึง 2560 อุณหภูมิต่ำสุดฤดูกาลนี้
พฤศจิกายน ธันวาคม มกราคม กุมภาพันธ์ พฤศจิกายน 2561 ธันวาคม 2561 มกราคม 2562 กุมภาพันธ์ 2562
อุณหภูมิ วันที่ ปี อุณหภูมิ วันที่ ปี อุณหภูมิ วันที่ ปี อุณหภูมิ วันที่ ปี อุณหภูมิ วันที่ อุณหภูมิ วันที่ อุณหภูมิ วันที่ อุณหภูมิ วันที่
ภาคเหนือ เชียงราย 5.0°ซ 21 2514 1.5°ซ 25 2542 1.5°ซ 2 2517 6.5°ซ 11 2506 12.5°ซ 27 11.2°ซ 26/27 10.5°ซ 26 9.3°ซ 6
เชียงใหม่ 6.0°ซ 21 2514 3.8°ซ 25 2542 3.7°ซ 2 2517 7.3°ซ 3 2517 16.8°ซ 27/28 14.9°ซ 27/28 15.6°ซ 3/4/20 14.3°ซ 8/9
พิษณุโลก 12.1°ซ 29 2526 8.9°ซ 26 2542 7.5°ซ 13 2498 10.0°ซ 9 2559 18.2°ซ 2 16.7°ซ 27/28 16.7°ซ 27/28 17.6°ซ 5
ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ
เลย 5.6°ซ 30 2499 2.2°ซ 31 2516
2518
0.1°ซ 2 2517 6.2°ซ 1 2506 16.0°ซ 26 15.0°ซ 26 12.9°ซ 27 15.4°ซ 7
นครพนม 7.2°ซ 23 2498 4.1°ซ 30 2518 1.8°ซ 12 2498 8.0°ซ 13 2517 14.7°ซ 1 12.5°ซ 31 13.1°ซ 1 17.1°ซ 1
นครราชสีมา 9.1°ซ 30 2499 6.2°ซ 31 2518 4.9°ซ 12 2498 10.6°ซ 21 2498 17.9°ซ 1/2 16.9°ซ 31 16.8°ซ 27/28 19.4°ซ 1/2
อุบลราชธานี 12.5°ซ 22 2497 8.5°ซ 30 2518 7.6°ซ 12 2498 11.5°ซ 8
11
2559
2520
17.9°ซ 1 16.3°ซ 31 15.8°ซ 23 19.2°ซ 1
ภาคกลาง นครสวรรค์ 11.9°ซ 28
19
29
2499
2514
2526
7.7°ซ 25 2542 6.1°ซ 13 2498 10.4°ซ 9 2559 19.4°ซ 1/2 18.1°ซ 26 17.7°ซ 28 20.6°ซ 1
สุพรรณบุรี 14.5°ซ 30
18
2499
2514
10.0°ซ 31 2518 9.2°ซ 13 2498 12.0°ซ 6 2500 17.8°ซ 1 19.8°ซ 26 17.3°ซ 28/28 20.9°ซ 1
กาญจนบุรี 11.6°ซ 17 2514 6.8°ซ 31 2518 5.5°ซ 13 2498 12.1°ซ 13 2517 18.6°ซ 1 20.2°ซ 27 18.5°ซ 27 21.6°ซ 1
กรุงเทพมหานคร 14.2°ซ 17 2514 10.5°ซ 30 2518 9.9°ซ 12 2498 14.9°ซ 13 2517 21.2°ซ 1 21.5°ซ 31 20.2°ซ 24 24.1°ซ 11
ภาคตะวันออก สระแก้ว 14.7°ซ 6 2543 9.0°ซ 24 2542 11.4°ซ 12 2552 13.0°ซ 8 2559 20.9°ซ 26/27 19.0°ซ 31 18.5°ซ 24 22.5°ซ 1
ชลบุรี 14.2°ซ 16 2514 12.0°ซ 29 2518 9.9°ซ 12 2498 16.0°ซ 8 2559 22.5°ซ 1 21.1°ซ 31 21.0°ซ 1 24.7°ซ 18/19
ภาคใต้ ประจวบคีรีขันธ์ 13.0°ซ 22 2497 11.4°ซ 31 2499 10.5°ซ 19 2506 12.2°ซ 6 2500 21.9°ซ 1 21.2°ซ 26 20.0°ซ 28/29 22.0°ซ 19
ภูเก็ต 19.3°ซ 23 2497 18.4°ซ 1 2525 17.4°ซ 4 2500 18.6°ซ 18 2526 23.8°ซ 19 22.4°ซ 28 23.5°ซ 5 24.2°ซ 9
อ้างอิงข้อมูล การคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูหนาวของกรมอุตุนิยมวิทยา[9]
สถิติอุณหภูมิต่ำที่สุดช่วงฤดูหนาวของประเทศไทยคาบ 67 ปี พ.ศ. 2494–2560[14]
ระบบตรวจอากาศอัตโนมัติ กรมอุตุนิยมวิทยา[15]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "การเข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๖๑" (PDF). tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2561. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |archivedate= (help)
  2. 2.0 2.1 "When does winter start?". metoffice.gov.uk. Met Office. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2561. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |archivedate= (help)
  3. "Meteorological Versus Astronomical Summer—What's the Difference?". ncdc.noaa.gov. NOAA. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "การเข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๖๒" (PDF). tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |archivedate= (help)
  5. "ฤดูกาลของประเทศไทย". tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 "ภูมิอากาศของประเทศไทย" (PDF). tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |archivedate= (help)
  7. "ภูมิอากาศกรุงเทพมหานคร" (PDF). tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |archivedate= (help)
  8. "ข้อมูลพื้นฐานสถานีอุตุนิยมวิทยากรุงเทพฯ" (PDF). tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |archivedate= (help)
  9. 9.00 9.01 9.02 9.03 9.04 9.05 9.06 9.07 9.08 9.09 "การคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย พ.ศ. 2561–2562". tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-25. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  10. "ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง ฝนตกหนัก คลื่นลมแรงบริเวณภาคใต้ (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 17 ธันวาคม 2561)" (PDF). tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2561. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |archivedate= (help)
  11. "ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบนและคลื่นลมแรงบริเวณภาคใต้ (ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2561 - 2 มกราคม 2562) ฉบับที่ 1 (547/2561)" (PDF). tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2561. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |archivedate= (help)
  12. "หนาวระลอกใหญ่ ยอดดอยยะเยือก 2 องศาฯ เหมยขาบโผล่ 3 วันติด". tmd.go.th. ไทยรัฐ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2561. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |archivedate= (help)
  13. "ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบนและคลื่นลมแรงบริเวณภาคใต้ (ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2561 - 2 มกราคม 2562) ฉบับที่ 4 (550/2561)" (PDF). tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2561. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |archivedate= (help)
  14. "สถิติอุณหภูมิต่ำที่สุดช่วงฤดูหนาวของประเทศไทยคาบ 67 ปี พ.ศ. 2494–2560" (PDF). tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2561. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |archivedate= (help)
  15. "Thai Meteorological Department Automatic Weather System". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-10. สืบค้นเมื่อ 2018-10-25.