ราชวงศ์อ็อลเดินบวร์ค

(เปลี่ยนทางจาก ราชวงศ์ออลเดนบูร์ก)

ราชวงศ์อ็อลเดินบวร์ค (อังกฤษ: House of Oldenburg) เป็นสายราชตระกูลเยอรมัน[3]ที่ปกครองหรือเคยปกครองเหนือเดนมาร์ก ไอซ์แลนด์ กรีซ นอร์เวย์ รัสเซีย สวีเดน สหราชอาณาจักร ชเลสวิช ฮ็อลชไตน์ และอ็อลเดินบวร์ค พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันของนอร์เวย์และสหราชอาณาจักรสืบเชื้อสายทางพระราชบิดาของสายกลึคส์บวร์คในราชวงศ์นี้

ราชวงศ์อ็อลเดินบวร์ค
พระราชอิสริยยศ
ปกครอง
สาขา
ประมุขพระองค์แรกเอลีมาร์ที่ 1 เคานต์แห่งอ็อลเดินบวร์ค
ผู้นำสกุลองค์ปัจจุบันฟรีดริช เฟร์ดินันด์ เจ้าชายแห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์[1][2]
ประมุขพระองค์สุดท้าย
เดนมาร์ก:
มาร์เกรเธอที่ 2 (1972–2024) (สืบตระกูลฝั่งพระราชบิดา)
รัสเซีย:
นิโคลัสที่ 2 (1894–1917)
สวีเดน:
คาร์ลที่ 13 (1809–1818)
กรีซ:
กอนสตันดีโนสที่ 2 (1964–1973)
อ็อลเดินบวร์ค:
ฟรีดริช เอากุสท์ที่ 2 (1900–1918)
ชเลสวิช ฮ็อลชไตน์ และซัคเซิน-เลาเอินบวร์ค:
คริสเตียนที่ 9 (1863–1864)
สถาปนา1101; 923 ปีที่แล้ว (1101)
ล่มสลาย
รัสเซีย:
การปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์, 1917
กรีซ:
การลงประชามติสาธารณรัฐกรีก ค.ศ. 1974, 1974
อ็อลเดินบวร์ค:
การปฏิวัติเยอรมัน, 1918
ซัคเซิน-เลาเอินบวร์ค:
สงครามชเลสวิชครั้งที่สอง, 1864
ชเลสวิชและฮ็อลชไตน์:
สงครามชเลสวิชครั้งที่สอง, 1864

ราชตระกูลรุ่งเรืองขึ้นมามีความสำคัญเมื่อเคานต์คริสเตียนที่ 1 แห่งอ็อลเดินบวร์คได้รับเลือกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์กในปี ค.ศ. 1448 และนอร์เวย์ในปี ค.ศ. 1450 และราชวงศ์อ็อลเดินบวร์คก็ได้ปกครองเดนมาร์กตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ประวัติ

แก้

การเสกสมรสของเคานต์แห่งอ็อลเดินบวร์ค ในยุคกลางเป็นการปูทางไปสู่การเป็นทายาทของพระมหากษัตริย์ในราชอาณาจักรต่างๆ ในสแกนดิเนเวีย ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 โดยการเสกสมรสระหว่างผู้สืบเชื้อสายของพระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 1 แห่งสวีเดน และพระเจ้าอีริคที่ 4 แห่งเดนมาร์ก ก็ทำให้ได้ครองสวีเดนและเดนมาร์กมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1350

ในขณะนั้นคู่แข่งคือผู้สืบเชื้อสายจากสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 1 แห่งเดนมาร์ก ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ทายาทอ็อลเดินบวร์ค สมรสกับเฮดวิกแห่งฮ็อลชไตน์ผู้สืบเชื้อสายมาจากยูเฟเมียแห่งสวีเดนและนอร์เวย์ และจากพระเจ้าอีริคที่ 4 แห่งเดนมาร์ก พระโอรสคริสเตียนจึงกลายเป็นพระมหากษัตริย์ของทั้งสามอาณาจักรที่เรียกว่าสหราชอาณาจักรคาลมาร์

อ้างอิง

แก้
  1. Genealogisches Handbuch des Adels, Fürstliche Häuser, Band XVII, "Oldenburg". C.A. Starke Verlag, 2004, pp. 44–50 (in German). ISBN 9783798008335.
  2. Burke's Royal Families of the World, p. 60. ISBN 0-85011-023-8.
  3. Wilson, Peter Hamish (2011). The Thirty Years War: Europe's Tragedy (ภาษาอังกฤษ). Harvard University Press. ISBN 978-0-674-06231-3.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้