ระบบการวัด

(เปลี่ยนทางจาก มาตราชั่งตวงวัด)

ระบบการวัด (อังกฤษ: systems of measurement) คือกลุ่มของหน่วยวัดที่สามารถใช้ระบุสิ่งใด ๆ ซึ่งสามารถวัดได้ และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ มีการวางระเบียบและนิยามเพื่อการค้าและการพาณิชย์ ในทางวิทยาศาสตร์ ปริมาณบางชนิดที่ได้วิเคราะห์แล้วถูกกำหนดขึ้นให้เป็นหน่วยมูลฐาน ซึ่งหมายความว่าหน่วยอื่น ๆ ที่จำเป็นสามารถพัฒนาได้จากหน่วยมูลฐานเหล่านี้ ในขณะที่ยุคก่อนหน้า หน่วยวัดต่าง ๆ ถูกกำหนดขึ้นโดยคำสั่งจากการวินิจฉัยสิ่งเหล่านั้น (ดูเพิ่มที่กฎหมายลายลักษณ์อักษร) และไม่จำเป็นว่าจะต้องเกี่ยวข้องกับการใช้งานทางสากลหรือความสอดคล้องในหน่วยตัวเอง

ระบบการวัดสำหรับประเทศไทยในปัจจุบัน ใช้ตาม พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ เพิ่มเติมจาก พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒

ประวัติ แก้

ตั้งแต่เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส การวัดระบบเมตริกก็เกิดขึ้น และได้เผยแพร่ไปทั่วโลกแทนที่ระบบการวัดตามประเพณีเป็นส่วนมาก ในระบบส่วนใหญ่ ความยาว (ระยะทาง) น้ำหนัก และเวลา ถือเป็นปริมาณมูลฐาน หรือมิฉะนั้นปริมาณที่ดีกว่าก็จะเป็นที่ยอมรับในทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ เช่นการใช้มวลแทนน้ำหนักซึ่งเป็นพารามิเตอร์ที่มูลฐานกว่าและดีกว่า การวัดบางระบบได้เปลี่ยนแปลงไปเพื่อยอมรับความสัมพันธ์ระหว่างระบบที่เพิ่มขึ้น ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือการแก้ไขกฎหมายสำหรับการวัดระบบอังกฤษเมื่อ ค.ศ. 1824

การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ในเวลาต่อมา แสดงให้เห็นว่าประจุไฟฟ้าหรือกระแสไฟฟ้าก็ควรเพิ่มลงในกลุ่มปริมาณมูลฐานด้วยเป็นอย่างน้อย โดยที่หน่วยวัดอื่น ๆ อาจต้องนิยามขึ้นมาใหม่ ส่วนปริมาณอย่างอื่นอาทิ กำลัง ความเร็ว ฯลฯ สืบทอดจากกลุ่มปริมาณมูลฐานเหล่านี้เช่น ความเร็วคือระยะทางต่อหนึ่งหน่วยเวลา เป็นต้น หน่วยวัดตามประเพณีต่าง ๆ มากมายในอดีตถูกใช้กับปริมาณอย่างเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ความยาวอาจสามารถวัดได้ในหน่วย นิ้ว ฟุต หลา ฟาทอม ไมล์ ไมล์ทะเล คืบ ศอก วา เส้น โยชน์ ฯลฯ โดยที่ตัวคูณของการแปลงหน่วยในระบบประเพณีอาจไม่ได้เป็นกำลังของสิบหรือเศษส่วนอย่างง่าย

หน่วยวัดที่มีเบื้องหลังทางวัฒนธรรมคล้ายกันไม่จำเป็นว่าจะต้องมีหน่วยวัดที่เหมือนกัน (หรือเท่ากัน) เราอาจทำความเข้าใจได้จากประวัติศาสตร์ว่า ระบบการวัดมีความเหมาะสมอย่างสมบูรณ์กับสภาพแวดล้อมทางสังคมที่มันอยู่ และการทำความเข้าใจว่า ระบบสากลที่ดีกว่า (ที่มีพื้นฐานอยู่บนเหตุผลและปริมาณมูลฐาน) จะค่อย ๆ แพร่หลายด้วยความเจริญและความตระหนักต่อลักษณะอันเข้มงวดของฟิสิกส์แบบนิวตัน ยิ่งไปกว่านั้น การเปลี่ยนแปลงระบบการวัดทำให้เกิดต้นทุนทางการเงินและทางวัฒนธรรม ควบคู่ไปกับข้อดีที่เพิ่มขึ้นจากการแทนที่ระบบเก่าไปสู่ระบบใหม่

เมื่อเครื่องมือวิเคราะห์ในสาขาที่เกี่ยวข้อง เป็นที่ต้องการและมีการใช้อย่างแพร่หลายในวิทยาศาสตร์สาขาใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิทยาศาสตร์ประยุกต์อย่างวิศวกรรมโยธาและวิศวกรรมเครื่องกล ความกดดันต่อการแปลงหน่วยให้เป็นรากฐานสามัญของการวัดจะก่อกำเนิดขึ้น เมื่อผู้คนเห็นคุณค่าความต้องการเหล่านี้เพิ่มขึ้น และความยากในการแปลงหน่วยระหว่างระบบประเพณีที่มีอยู่มากมายเพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากการยอมรับที่กว้างขวางมากขึ้น ก็จะเกิดการให้เหตุผลที่ปรากฏชัดเพื่อพยายามทำการวัดให้เป็นมาตรฐานในระดับสากล จิตวิญญาณของการปฏิวัติฝรั่งเศสจึงเป็นก้าวแรกที่สำคัญและเป็นรากฐานต่อการพัฒนาในภายหน้า

หน่วยที่ใช้วัดปริมาณ หรือ มวล ในปัจจุบันมีหลายระบบ

  1. ระบบอังกฤษ มีหน่วยวัดปริมาตร ความกว้างและความยาว (ระยะทาง) เป็นฟุต ส่วนมวลใช้หน่วยวัดเป็นปอนด์ ซึ่งระบบนี้นิยมใช้ในประเทศอังกฤษ และ สหรัฐอเมริกา
  2. ระบบเมตริก มีหน่วยวัดปริมาตร ความกว้างและความยาวเป็น เมตร ส่วนการวัดมวลใช้หน่วยเป็น กรัม ซึ่งเป็นระบบที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก

หน่วยสำหรับการวัดปริมาณต่างๆ มีหลายระบบ ที่สำคัญคือ

ในทางวิทยาศาสตร์ และ ทางอุตสาหกรรม จะใช้มาตรฐานในการวัดแบบเดียวกัน (The international system of unite)[1]

อ้างอิง แก้