ภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ

(เปลี่ยนทางจาก ภาษาศาสตร์โอลิมปิก)

ภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ (อังกฤษ: International Linguistics Olympiad: IOL) เป็นสาขาหนึ่งของโอลิมปิกวิชาการของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา ผู้เข้าแข่งขันจะต้องใช้รู้ทางด้านภาษาศาสตร์วรรณนา ภาษาศาสตร์ทฤษฎี และภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์เพื่อตอบโจทย์ โดยที่ความรู้ทางภาษาใดภาษาหนึ่งของผู้เข้าแข่งขันไม่ได้ช่วยให้มีข้อได้เปรียบในการตอบโจทย์ที่เกี่ยวกับภาษาที่ตนรู้เท่าใดนัก

รูปแบบการแข่งขัน แก้

รูปแบบการแข่งขันของภาษาศาสตร์โอลิมปิกแตกต่างจากโอลิมปิกวิชาการแขนงอื่น ๆ เนื่องจากจะแบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การแข่งขันแบบรายบุคคลและแบบทีม การแข่งขันประเภทบุคคลประกอบด้วยโจทย์ 5 ข้อ และมีเวลาในการแข่งขัน 6 ชั่วโมง โดยโจทย์ครอบคลุมเนื้อหาของสาขาหลักของภาษาศาสตร์วรรณนา ภาษาศาสตร์ทฤษฎี และภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ เช่น สัทศาสตร์ วิทยาหน่วยคำ วากยสัมพันธ์ อรรถศาสตร์ และภาษาศาสตร์สังคม เป็นต้น

การแข่งขันประเภททีมประกอบด้วยโจทย์ที่มีความยากและใช้เวลามาก 1 ข้อ ตั้งแต่การแข่งขั้นภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศครั้งที่ 2 ซึ่งในแต่ละทีมประกอบด้วยนักเรียนทั้งหมด 4 คน และมีเวลาในการแก้โจทย์ 3 ถึง 4 ชั่วโมง

ประเทศไทยในการแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ แก้

ประเทศไทยได้เริ่มส่งนักเรียนผู้แทนประเทศเข้าร่วมการแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศครั้งแรกขึ้นในปี พ.ศ. 2565 ณ เมืองแคสเซิลทาวน์ ไอล์ออฟแมน โดยมีการคัดเลือกผ่านการแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกแห่งประเทศไทย (ภอท.) และการแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกเอเชียแปซิฟิก โดยมีมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการ และพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) และภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[1] เป็นผู้ดูแล

สถานที่จัดการแข่งขัน แก้

ครั้งที่ ปีที่จัดการแข่งขัน สถานที่จัดการแข่งขัน วันที่จัดการแข่งขัน จำนวนประเทศที่เข้าร่วม ผู้เข้าแข่งขัน เว็บไซต์ทางการ
1 2003   บอรอแวตส์ บัลแกเรีย 6 – 12 กันยายน 6 33 [1]
2 2004   มอสโก รัสเซีย 31 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม 7 43 [2]
3 2005   ไลเดน เนเธอร์แลนด์ 8 – 12 สิงหาคม 9 50
4 2006   ตาร์ตู เอสโตเนีย 1–6 สิงหาคม 9 51 [3] เก็บถาวร 2011-07-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
5 2007   เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก รัสเซีย 31 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม 9 61 [4] เก็บถาวร 2012-12-21 ที่ archive.today
6 2008   สเลินแชฟเบรียก บัลแกเรีย 4–9 สิงหาคม 11 63 [5] เก็บถาวร 2012-03-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
7 2009   วรอตสวัฟ โปแลนด์ 26–31 กรกฎาคม 17 86 [6]
8 2010   สต็อกโฮล์ม สวีเดน 19–24 กรกฎาคม 18 99 [7]
9 2011   พิตต์สเบิร์ก สหรัฐ 24–30 กรกฎาคม 19 102 [8] เก็บถาวร 2013-06-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
10 2012   ลูบลิยานา สโลวีเนีย 29 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม 26 131 [9] เก็บถาวร 2013-06-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
11 2013   แมนเชสเตอร์ สหราชอาณาจักร 22–26 กรกฎาคม 26 138
12 2014   ปักกิ่ง จีน 21–25 กรกฎาคม 28 152
13 2015   บลากอแอฟกรัต บัลแกเรีย 20–24 กรกฎาคม 29 166
14 2016   ไมซอร์ อินเดีย 25–29 กรกฎาคม 31 167
15 2017   ดับลิน ไอร์แลนด์ 31 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม 29 180
16 2018   ปราก เช็กเกีย 25–31 กรกฎาคม 29 192
17 2019   ยงอิน เกาหลีใต้ 29 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม 35 209
18 2021   แว็นตส์ปิลส์ ลัตเวีย 19–23 กรกฎาคม 34 216 [10][ลิงก์เสีย]
19 2022   แคสเซิลทาวน์ ไอล์ออฟแมน 25–29 กรกฎาคม 32 185 [11] เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
20 2023   บันสโก บัลแกเรีย 24–28 กรกฎาคม 38 204 [12]
21 2024   บราซิเลีย บราซิล
22 2025   ไทเป ไต้หวัน

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  1. Siriwongthawan, Ketkaew. "รายชื่อผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 19 (19th IOL)".