กลุ่มภาษาตุงกูซิก
กลุ่มภาษาตุงกูซิก (อังกฤษ: Tungusic languages) หรือ กลุ่มภาษาแมนจู-ตุงกุส เป็นภาษาที่ใช้พูดในไซบีเรียตะวันออกและแมนจูเรีย ยังเป็นที่โต้เถียงอยู่ว่าควรจัดให้อยู่ในตระกูลภาษาอัลไตหรือไม่ ภาษานี้รวมอยู่ในกลุ่มภาษาเตอร์กิกและกลุ่มภาษามองโกลตามลำดับ ภาษาในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นภาษาที่ใกล้ตาย
กลุ่มภาษาตุงกูซิก | |
---|---|
กลุ่มเชื้อชาติ: | กลุ่มชนตุงกูซิก |
ภูมิภาค: | ไซบีเรีย, แมนจูเรีย |
การจําแนก ทางภาษาศาสตร์: | หนึ่งในตระกูลภาษาหลักของโลก |
กลุ่มย่อย: |
|
ISO 639-5: | tuw |
กลอตโตลอก: | tung1282[1] |
ขอบเขตของกลุ่มภาษาตุงกูซิก |
การจัดจำแนก
แก้นักภาษาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับกลุ่มภาษานี้มีการจัดจำแนกต่างกันโดยพิจารณาจากลักษณะของภาษา รากศัพท์ และลักษณะทางสัทวิทยา การจัดจำแนกที่เป็นที่นิยมมากที่สุดคือการแบ่งเป็นกลุ่มใต้และกลุ่มเหนือ โดยกลุ่มใต้แบ่งออกอีกเป็นกลุ่มตะวันออกเฉียงใต้และตะวันออกเฉียงเหนือ
- กลุ่มภาษาตุงกูซิกเหนือ ได้แก่ ภาษาเอเวนค์ที่พูดโดยชาวเอเวนค์ในไซบีเรียกลางและทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ภาษาอื่นที่จัดเป็นสำเนียงของภาษาเอเวนค์ได้แก่ โอโรเกน เนกิดัล โซโลน และมาเนกีร์
- กลุ่มภาษาตุงกูซิกใต้
- กลุ่มตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ภาษานาไน ภาษาอะกานี ภาษาบิราร์ ภาษากิเล ภาษาซามากิร ภาษาโอโรก ภาษาอุลช์ ภาษาโอโรช ภาษาอูเดเก
- กลุ่มตะวันตกเฉียงใต้ ได้แก่ภาษาแมนจูของชาวแมนจูผู้ก่อตั้งราชวงศ์ชิงในประเทศจีน ภาษาซิเบที่ใช้พูดในซินเจียงโดยลูกหลานของชาวแมนจู ภาษาจูร์เชน เป็นภาษาที่ตายแล้ว
ภาษาจูร์เชน-แมนจู (เป็นภาษาเดียวกันแต่มีพัฒนาการคนละช่วง โดยคำว่าภาษาแมนจูเริ่มใช้ใน พ.ศ. 2179) เป็นภาษาในกลุ่มตุงกูซิกเพียงภาษาเดียวที่มีระบบการเขียน โดยภาษาจูร์เชนมีการเขียนด้วยอักษรจูร์เชนมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 16 ส่วนภาษาแมนจูเขีนด้วยอักษรแมนจูที่ได้รับอิทธิพลจากอักษรมองโกเลีย
ลักษณะทั่วไป
แก้กลุ่มภาษาตุงกูซิกเป็นภาษารูปคำติดต่อ มีระบบการก (case) และการเปลี่ยนเสียงสระที่ซับซ้อน
ความสัมพันธ์กับภาษาอื่น
แก้กลุ่มภาษาตุงกูซิกมีความเชื่อมโยงกับกลุ่มภาษาเตอร์กิกและกลุ่มภาษามองโกเลียในตระกูลภาษาอัลตาอิก และอาจจะมีความเกี่ยวข้องกับภาษาเกาหลี ตระกูลภาษาญี่ปุ่นหรือภาษาไอนุด้วย
อ้างอิง
แก้- ↑ Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "Tungusic". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.
- Ethnologue entry for Tungus languages
- Kane, Daniel. The Sino-Jurchen Vocabulary of the Bureau of Interpreters. Indiana University Uralic and Altaic Series, Volume 153. Bloomington, Indiana: Indiana University Research Institute for Inner Asian Studies, 1989.
- Miller, Roy Andrew. Japanese and the Other Altaic Languages. Chicago: The University of Chicago Press, 1971.
- Poppe, N.N. Vergleichende Grammatik der Altaischen Sprachen [A Comparative Grammar of the Altaic Languages]. Wiesbaden: Otto Harrassowitz, 1960.
- Tsintsius, V. I. Sravnitel'naya Fonetika Tunguso-Man'chzhurskikh Yazïkov [Comparative Phonetics of the Manchu-Tungus Languages]. Leningrad, 1949.