ภาษาเอเวนค์ (Evenki language) เป็นกลุ่มของภาษาที่ใหญ่ที่สุดในภาษากลุ่มตุงกูซิกเหนือ เป็นกลุ่มที่รวมภาษาเอเวนและภาษาเนกีดัล ใช้พูดโดยชาวเอเวนค์ในรัสเซีย มองโกเลีย และจีน ใน พ.ศ. 2545 มีผู้พูดในรัสเซีย 7,500 คน คำศัพท์พื้นฐานและการผันหน่วยเสียงต่างจากภาษามองโกเลียและภาษากลุ่มเตอร์กิกแต่มีความสัมพันธ์กับภาษากลุ่มตุงกูซิกอื่น ๆ ในบางบริเวณได้รับอิทธิพลจากภาษายาคุตและภาษาบูเรียต รวมทั้งภาษารัสเซียด้วย ใน พ.ศ. 2545 มีชาวเอเวนค์พูดภาษารัสเซียถึง 92.7% ชาวเอเวนค์ในรัสเซียเขียนด้วยอักษรซีริลลิกที่เริ่มใช้เมื่อราว พ.ศ. 2463 ส่วนในจีนเขียนด้วยอักษรมองโกเลีย

ภาษาเอเวนค์
Эвэды̄ турэ̄н[1](ภาษาถิ่นรัสเซีย)
Evedȳ turēn
Ewengki Gisong (ภาษาถิ่นจีน)
əwəŋki gisʊŋ
ᠧᠸᠡᠩᠺᠢ
ᠬᠢᠰᠰᠩ
ประเทศที่มีการพูดจีน มองโกเลีย และรัสเซีย
ภูมิภาคเขตปกครองตนเองมองโกเลียในและมณฑลเฮย์หลงเจียงในจีน จังหวัดเซเลนเกในมองโกเลีย และครัสโนยาสค์ไครในรัสเซีย
จำนวนผู้พูด29,000 คน  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
อัลไต?
รหัสภาษา
ISO 639-3evn
ภาษาเอเวนค์ได้ถูกจัดเป็นภาษาที่ใกล้สูญพันธ์อันตรายโดย Atlas of the World's Languages in Danger ของ UNESCO

อักษรซีริลลิกที่ใช้เขียนภาษาเอเวนค์ ได้แก่

А а Б б В в Г г Д д Е е Ё ё Ж ж
З з И и Й й К к Л л М м Н н Ӈ ӈ
О о П п Р р С с Т т У у Ф ф Х х
Ц ц Ч ч Ш ш Щ щ Ъ ъ Ы ы Ь ь Э э
Ю ю Я я

อ้างอิง แก้

  • Bulatova, Nadezhda & Grenoble, Lenore. 1999. Evenki, Lincom Europa, Munich, ISBN 3895862223
  • Nedjalkov, Igor. 1997. Evenki, Routledge, London, ISBN 0415026407
  1. Boldyrev 1994, p. 494