ภาวะพิษจากเมทานอล

ภาวะพิษจากเมทานอล[4] (อังกฤษ: Methanol toxicity หรือ methanol poisoning) เป็นพิษจากการได้รับเมทานอล เริ่มแรกจะมีอาการคลื่นไส้ ปวดศีรษะ และปวดท้อง อาจเกิดตาพร่ามัวร่วมด้วย[2] ในระยะยาวอาจส่งผลให้การมองเห็นบกพร่องจากเส้นประสาทตาถูกทำลายโดยกรดฟอร์มิกและไตวาย[1] หากได้รับในปริมาณมากอาจทำให้หมดสติและเสียชีวิต

ภาวะพิษจากเมทานอล
ชื่ออื่นMethanol poisoning
โครงสร้างโมเลกุลของเมทานอล
สาขาวิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
อาการความรู้สึกตัวลดลง, การทำงานประสานของร่างกายลดลง, อาเจียน, ปวดท้อง, ลมหายใจมีกลิ่นเฉพาะ[1][2]
ภาวะแทรกซ้อนความบกพร่องทางการมองเห็น, ไตวาย[1]
สาเหตุเมทานอล[1][2]
วิธีวินิจฉัยภาวะเลือดเป็นกรด, ออสโมลาลิตีของพลาสมาเพิ่มสูงขึ้น, ระดับเมทานอลในเลือด[1][2]
โรคอื่นที่คล้ายกันการติดเชื้อ, การได้รับแอลกอฮอล์พิษอื่น ๆ, กลุ่มอาการเซโรโทนิน, ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน[2]
การรักษายาต้านพิษ, การชำระเลือดผ่านเยื่อ[2]
ยาโฟมีพิโซล, เอทานอล[2]
พยากรณ์โรคดีหากได้รับการรักษาทันท่วงที[1]
ความชุก1,700 รายต่อปี (สหรัฐ)[3]

เมทานอลเป็นแอลกอฮอล์ที่มีสูตรเคมีคือ CH3OH หรือ CH4O ลักษณะเป็นของเหลวไม่มีสี ระเหยง่ายและติดไฟ[5] การเป็นพิษส่วนใหญ่เกิดจากความสับสนกับเอทานอลซึ่งเป็นแอลกอฮอล์ที่ดื่มได้ และการดื่มน้ำยาเช็ดกระจกรถด้วยความไม่ตั้งใจหรือพยายามฆ่าตัวตาย[2] เมื่อมนุษย์รับเมทานอลเข้าไปจะสลายกลายเป็นฟอร์มาลดีไฮด์ด้วยเอนไซม์แอลกอฮอล์ดีไฮโดรจีเนสที่ตับ ก่อนจะแปรสภาพเป็นกรดฟอร์มิกด้วยเอนไซม์แอลดีไฮด์ดีไฮโดรจีเนส[6][7] กลไกความเป็นพิษเกิดได้กับ 2 ระบบได้แก่ ลดการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางเช่นเดียวกับภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษ และเกิดภาวะพร่องออกซิเจนในระดับเซลล์จากกรดฟอร์มิก ส่งผลให้เกิดกรดแล็กติกเพิ่มขึ้นในเลือด นำไปสู่ภาวะเลือดเป็นกรด[8][9] การวินิจฉัยจะใช้วิธีตรวจร่างกายเพื่อดูการหายใจและม่านตา และตรวจเลือดเพื่อหาภาวะเลือดเป็นกรดและระดับออสโมลาลิตีของพลาสมา[1][2] การรักษาจะใช้ยาต้านพิษได้แก่โฟมีพิโซล (fomepizole) หรือเอทานอล[2][10] นอกจากนี้อาจใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต กรดโฟลิก และไทอามีนร่วมด้วย[2]

มีการรายงานการเป็นพิษจากเมทานอลครั้งแรก ๆ ในปี ค.ศ. 1856[11] การเป็นพิษพบได้ทั่วไปในประเทศกำลังพัฒนาจากการดื่มแอลกอฮอล์ปนเปื้อน[2] โดยพบมากในเพศชายวัยผู้ใหญ่[3] ในปี ค.ศ. 2013 มีรายงานการเป็นพิษจากเมทานอลประมาณ 1,700 รายในสหรัฐ[3]

การรักษา แก้

ภายะพิษสามารถรักษาด้วยการใช้ยา fomepizole หรือการดื่มเอทานอล[6][12][13] ทั้งคู่มีผลให้เกิดการลดลงของแอกอฮอลดีไฮโดรจีเนสในวิถีของเมทานอลผ่านการยับยั้งแบบแข่งขัน เอทานอลซึ่งเป็นองค์ประกอบออกฤทธิ์ในเครื่องดื่มแอลกอฮลจะทำหน้าที่เป็นตัวยับยั้งแข่งขัน (competitive inhibitor) ที่สามารถจับและเพิ่มความเข้มข้นของเอนไซม์ดีไฮโดรจีเนสในตับได้ดีกว่าและมีประสิทธิภาพสูงกว่า จึงส่งผลไม่ให้เมทานอลถูกเมตาบอไลส์ต่อ เมทานอลที่ไม่ถูกเมตาบอไลส์จะถูกขับออกทางไตโดยที่ไม่ต้องเปลี่ยนเป็นสารเมตาไบไลต์ที่เป็นพิษ (ฟอร์มอลดีไฮด์ และ กรดฟอร์มิก) เสียก่อน ในขณะที่แอลกอฮลดีไฮโดรจีเนสจะเเปลี่ยนเอทานอลเป็นอะซีทอลดีไฮด์ที่เป็นพิษต่ำกว่าแทน[6][14] นอกจากนี้อาจมีการรักษาเพิ่มเติมด้วยการใช้โซเดียมไบคาร์บอเนตเพื่อรักษาอาการเมตาบอลิกเอซิดอซิสและการใช้เฮโมไดอะไลซิส หรือ เฮโมไดอะฟิลเตรชั่นเพื่อขับเมทานอลและฟอร์เมตออกจากเลือด[6]นอกจากนี้อาจใช้ กรดฟอลินิก หรือ กรดฟอลิกเพื่อเพิ่มการเมตาบอไลส์กรดฟอร์มิกในร่างกาย[6]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 Kruse, JA (October 2012). "Methanol and ethylene glycol intoxication". Critical Care Clinics. 28 (4): 661–711. doi:10.1016/j.ccc.2012.07.002. PMID 22998995.
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 Beauchamp, GA; Valento, M (September 2016). "Toxic Alcohol Ingestion: Prompt Recognition And Management In The Emergency Department". Emergency Medicine Practice. 18 (9): 1–20. PMID 27538060.
  3. 3.0 3.1 3.2 Ferri, Fred F. (2016). Ferri's Clinical Advisor 2017: 5 Books in 1 (ภาษาอังกฤษ). Elsevier Health Sciences. p. 794. ISBN 9780323448383. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-08.
  4. ปรากฏใช้คำนี้ในเอกสารของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล https://www.rama.mahidol.ac.th/poisoncenter/sites/default/files/public/pdf/books/Antidote_book4-07_Methanol-Poisoning.pdf
  5. "Methanol - MSDS" (PDF). SDS Solutions and Translation Services. สืบค้นเมื่อ October 22, 2019.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 Schep LJ, Slaughter RJ, Vale JA, Beasley DM (2009). "A seaman with blindness and confusion". BMJ. 339: b3929. doi:10.1136/bmj.b3929. PMID 19793790. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-08.
  7. "ภาวะเป็นพิษจาก methanol". คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นเมื่อ October 22, 2019.
  8. Liesivuori J, Savolainen H (September 1991). "Methanol and formic acid toxicity: biochemical mechanisms". Pharmacol. Toxicol. 69 (3): 157–63. doi:10.1111/j.1600-0773.1991.tb01290.x. PMID 1665561.
  9. "Methanol: toxicological overview" (PDF). Public Health England. สืบค้นเมื่อ October 22, 2019.
  10. Ekins, Brent R.; Rollins, Douglas E.; Duffy, Douglas P.; Gregory, Martin C. (1985). "Standardized Treatment of Severe Methanol Poisoning With Ethanol and Hemodialysis". West J Med. 142 (3): 337–340. สืบค้นเมื่อ October 22, 2019.
  11. Clary, John J. (2013). The Toxicology of Methanol (ภาษาอังกฤษ). John Wiley & Sons. p. 3.4.1. ISBN 9781118353103. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-08.
  12. Casavant MJ (Jan 2001). "Fomepizole in the treatment of poisoning". Pediatrics. 107 (1): 170–171. doi:10.1542/peds.107.1.170. PMID 11134450. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-06-29.
  13. Brent J (May 2009). "Fomepizole for ethylene glycol and methanol poisoning". N Engl J Med. 360 (21): 2216–23. doi:10.1056/NEJMct0806112. PMID 19458366.
  14. Voet, Donald, Judith G. Voet, and Charlotte W. Pratt. Fundamentals of Biochemistry: Life at the Molecular Level. 5th ed. Hoboken, NJ: Wiley, 2008. Print

แหล่งข้อมูลอื่น แก้