ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน

ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน หรือ ดีเคเอ (อังกฤษ: diabetic ketoacidosis - DKA) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่มีอันตรายถึงชีวิตซึ่งพบได้ในผู้ป่วยเบาหวาน ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 แต่ก็อาจพบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ในบางสถานการณ์ DKA เป็นผลจากการขาดอินซูลิน ทำให้ร่างกายหันไปใช้พลังงานจากกรดไขมันซึ่งผลจากการเผาผลาญกรดไขมันจะทำให้ได้ผลผลิตเป็นคีโตนบอดี้ซึ่งทำให้เกิดอาการและภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้[6]

ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตน
จากเบาหวาน
(Diabetic ketoacidosis)
Dehydration may be severe in diabetic ketoacidosis, and intravenous fluids are usually needed as part of its treatment.
สาขาวิชาวิทยาต่อมไร้ท่อ
อาการอาเจียน ปวดท้อง หายใจหอบลึก ปัสสาวะบ่อย สับสน ลมหายใจมีกลิ่นอะซีโตน[1]
ภาวะแทรกซ้อนCerebral edema[2]
การตั้งต้นรวดเร็ว[1]
สาเหตุร่างกายขาดอินซูลิน[3]
ปัจจัยเสี่ยงUsually type 1 diabetes, less often other types[1]
วิธีวินิจฉัยHigh blood sugar, low blood pH, ketoacids[1]
โรคอื่นที่คล้ายกันHyperosmolar nonketotic state, alcoholic ketoacidosis, uremia, salicylate toxicity[4]
การรักษาIntravenous fluids, insulin, potassium[1]
ความชุก4–25% of people with type 1 diabetes per year[1][5]

ผู้ป่วยเบาหวานบางรายอาจไม่เคยมีอาการหรือไม่เคยรับการตรวจมาก่อนเลย จนพบมีอาการอีกครั้งก็คือเป็นมากจนเป็น DKA แล้วก็มี สิ่งกระตุ้นให้เกิด DKA ในผู้ป่วยเบาหวานมีหลายอย่าง สาเหตุที่สำคัญและพบบ่อยคือการขาดยา อาการของ DKA ที่พบบ่อยคืออาเจียนมาก ขาดน้ำ หายใจลึกเร็ว สับสน หรือหมดสติถึงขั้นโคม่าได้ การวินิจฉัย DKA ทำได้โดยการตรวจเลือดและตรวจปัสสาวะ แยกจากภาวะเลือดเป็นกรดอื่นๆ (ซึ่งพบน้อยกว่ามาก) ได้โดยตรวจพบมีน้ำตาลในเลือดสูงมาก การรักษาที่สำคัญคือการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเพื่อแก้ไขภาวะขาดน้ำ ให้อินซูลินเพื่อให้ร่างกายสามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ไม่ต้องย่อยสลายไขมันเกิดเป็นคีโตนและกรดคีโตน รักษาโรคที่พบร่วมและอาจเป็นเหตุกระตุ้นได้เช่นการติดเชื้อต่างๆ รวมทั้งติดตามอาการใกล้ชิดเพื่อตรวจและรักษาภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น[6][7]

DKA เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงทีอาจทำให้เสียชีวิตได้ โรคนี้ได้รับการอธิบายครั้งแรกใน ค.ศ. 1886 และยังไม่มีวิธีรักษาที่ได้ผลดีจนกระทั่งมีการค้นพบการใช้อินซูลินในการรักษาเมื่อช่วง ค.ศ. 1920[8] ในปัจจุบันการรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงทีสามารถลดอัตราตายได้เหลือน้อยกว่า 5%[9]

อาการและอาการแสดง แก้

การดำเนินโรคของ DKA ในครั้งหนึ่งๆ มักดำเนินไปภายในระยะเวลาประมาณ 24 ชั่วโมง อาการที่พบบ่อยได้แก่อาการคลื่นไส้อาเจียน กระหายน้ำ ปัสสาวะมาก และปวดท้อง บางครั้งสามารถปวดท้องรุนแรงได้ ผู้ป่วยที่ได้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเองจะพบว่ามีน้ำตาลในเลือดสูง หากเป็น DKA ชนิดรุนแรง ผู้ป่วยอาจมีอาการหายใจหอบลึก มีลักษณะเฉพาะที่เรียกว่าการหายใจแบบคุสส์เมาล์[9] อาจมีอาการปวดท้องแบบที่มีจุดกดเจ็บชัดเจน จนอาจถูกสงสัยว่าเป็นโรคปวดท้องเฉียบพลันชนิดอื่น เช่น ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน ไส้ติ่งอักเสบ หรือทางเดินอาหารทะลุ[9] ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งมีอาการอาเจียนเป็นตะกอนสีกาแฟซึ่งอาจเกิดจากแผลที่หลอดอาหาร หากรุนแรงมากผู้ป่วยอาจมีอาการสับสน ง่วงซึม หรือหมดสติได้[9][10]

การตรวจร่างกายมักพบอาการแสดงของภาวะขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง ผิวหนังแห้ง ไม่ยืดหยุ่น หากขาดน้ำรุนแรงอาจทำให้มีปริมาตรเลือดไหลเวียนลดลง เกิดหัวใจเต้นเร็วและความดันเลือดต่ำได้ นอกจากนี้ยังอาจพบกลิ่นคีโตน ซึ่งมักถูกบรรยายว่าเป็นกลิ่นคล้ายผลิ่นผลไม้ และอาจพบการหายใจเร็ว ซึ่งสัมพันธ์กับการหายใจแบบคุสส์เมาล์ได้

ผู้ป่วยเด็กเล็กที่เป็น DKA มีความเสี่ยงต่อการเกิดสมองบวมมากกว่าผู้ป่วยกลุ่มอื่นที่เป็นโรคนี้ ภาวะนี้อาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ หมดสติ สูญเสียรีเฟล็กซ์ม่านตาตอบสนองต่อแสง และอาจเสียชีวิตได้ ภาวะนี้พบในผู้ป่วยเด็กที่เป็น DKA ประมาณ 0.3-1.0% พบได้บ้างในวัยรุ่น แต่พบน้อยมากในผู้ใหญ่ เมื่อเป็นแล้วมีโอกาสเสียชีวิตประมาณ 20-50%

สาเหตุ แก้

ส่วนใหญ่จะพบ DKA ในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานอยู่ก่อน แต่ผู้ป่วยเบาหวานบางรายอาจมีอาการครั้งแรกตอนที่เป็น DKA โดยไม่เคยทราบมาก่อนว่าเป็นเบาหวาน ส่วนใหญ่มักมีภาวะอื่นที่กระตุ้นให้เกิดเป็น DKA ภาวะเช่นนี้เช่น การเจ็บป่วย (ปอดอักเสบ ไข้หวัดใหญ่ ท้องร่วง ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ) การตั้งครรภ์ การได้รับอินซูลินไม่เพียงพอ (เช่น อุปกรณ์เสีย) โรคหัวใจขาดเลือด สมองขาดเลือด หรือการใช้โคเคน เป็นต้น ผู้ป่วยเด็กหรือวัยรุ่นที่เป็น DKA บ่อยๆ อาจมีโรคทางพฤติกรรมการกิน หรืออาจใช้อินซูลินน้อยกว่าที่ควรเพราะกลัวอ้วน เป็นต้น[9]

วิทยาการระบาด แก้

DKA เกิดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 4.6-8.0 ต่อ 1000 ใน 1 ปี ข้อมูลประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่ามีการรับผู้ป่วย DKA ไว้รักษาในโรงพยาบาล 100,000 ครั้งต่อปี คิดเป็นค่าใช้จ่าย 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1/4 - 1/2 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการให้การดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ทั้งหมด ตั้งแต่ช่วง ค.ศ. 1980 เป็นต้นมา แนวโน้มในการให้การรักษา DKA เป็นการรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาลมากขึ้น[6] ความเสี่ยงของการเกิด DKA จะสูงในผู้ป่วยเบาหวานที่ยังคงมีพฤติกรรมหรือปัจจัยเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง เช่น การควบคุมอาหารไม่ได้ และกลุ่มที่ไม่สามารถรับการรักษาด้วยอินซูลินได้[6] ผู้ป่วยเด็กที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ประมาณ 30% จะเพิ่งทราบเป็นครั้งแรกว่าเป็นโรคเบาหวานหลังจากเกิดมี DKA[11]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Misra, S; Oliver, NS (28 October 2015). "Diabetic ketoacidosis in adults" (PDF). BMJ (Clinical Research Ed.). 351: h5660. doi:10.1136/bmj.h5660. hdl:10044/1/41091. PMID 26510442. S2CID 38872958.
  2. Bialo, SR; Agrawal, S; Boney, CM; Quintos, JB (15 February 2015). "Rare complications of pediatric diabetic ketoacidosis". World Journal of Diabetes. 6 (1): 167–74. doi:10.4239/wjd.v6.i1.167. PMC 4317308. PMID 25685287.
  3. Kitabchi AE, Umpierrez GE, Miles JM, Fisher JN (July 2009). "Hyperglycemic crises in adult patients with diabetes". Diabetes Care. 32 (7): 1335–43. doi:10.2337/dc09-9032. PMC 2699725. PMID 19564476.
  4. Ferri, Fred F. (2010). Ferri's Differential Diagnosis: A Practical Guide to the Differential Diagnosis of Symptoms, Signs, and Clinical Disorders (ภาษาอังกฤษ). Elsevier Health Sciences. p. 146. ISBN 978-0323076999. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-08.
  5. Maletkovic, J; Drexler, A (December 2013). "Diabetic ketoacidosis and hyperglycemic hyperosmolar state". Endocrinology and Metabolism Clinics of North America. 42 (4): 677–95. doi:10.1016/j.ecl.2013.07.001. PMID 24286946.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Kitabchi AE, Umpierrez GE, Murphy MB, Kreisberg RA (December 2006). "Hyperglycemic crises in adult patients with diabetes: a consensus statement from the American Diabetes Association". Diabetes Care. 29 (12): 2739–48. doi:10.2337/dc06-9916. PMID 17130218.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  7. Dunger DB, Sperling MA, Acerini CL, และคณะ (February 2004). "European Society for Paediatric Endocrinology/Lawson Wilkins Pediatric Endocrine Society consensus statement on diabetic ketoacidosis in children and adolescents". Pediatrics. 113 (2): e133–40. doi:10.1542/peds.113.2.e133. PMID 14754983. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-12.
  8. Eledrisi MS, Alshanti MS, Shah MF, Brolosy B, Jaha N (May 2006). "Overview of the diagnosis and management of diabetic ketoacidosis". American Journal of the Medical Sciences. 331 (5): 243–51. doi:10.1097/00000441-200605000-00002. PMID 16702793.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 Powers AC (2005). Kasper DL, Braunwald E, Fauci AS, และคณะ (บ.ก.). "Harrison's Principles of Internal Medicine" (16th ed.). New York, NY: McGraw-Hill: 2152–2180. ISBN 0-07-139140-1. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  10. Joint British Diabetes Societies Inpatient Care Group (March 2010). "The Management of Diabetic Ketoacidosis in Adults". NHS Diabetes. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-04. สืบค้นเมื่อ 2012-05-01.
  11. Silverstein J, Klingensmith G, Copeland K; และคณะ (January 2005). "Care of children and adolescents with type 1 diabetes: a statement of the American Diabetes Association". Diabetes Care. 28 (1): 186–212. doi:10.2337/diacare.28.1.186. PMID 15616254.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก