พูดคุย:สงครามเย็น

หน้านี้เป็นหน้าพูดคุยสำหรับการแสดงความเห็นเพื่อพัฒนาบทความ สงครามเย็น

บทความนี้อยู่ในโครงการวิกิต่อไปนี้:
สงครามเย็น เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประวัติศาสตร์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โลก เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการศึกษาค้นคว้าที่น่าเชื่อถือสำหรับผู้อ่าน ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ สงครามเย็น หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
สงครามเย็น เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิการทหารและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับอาวุธ ทหาร การทหาร และสงคราม ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ สงครามเย็น หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
สงครามเย็น เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิสหรัฐและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับสหรัฐ ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ สงครามเย็น หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
สงครามเย็น เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิสหภาพโซเวียตและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับสหภาพโซเวียต ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ สงครามเย็น หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

คือการต่อสู้ระหว่างค่ายประชาธิปไตยกับค่ายคอมมิวนิสต์เป็นการทำสงครามกันโดยปราศจากเสียงปืนหรือการเข่นฆ่า การขยายลัทธิคอมมิวนิสต์ดังกล่าวส่งผลให้สหรัฐอเมริกา ได้มีปฏิกิริยาตอบโต้ โดยการใช้ "แผนมาร์เชล" (Marshall Plan) และลัทธิ "ทรูแมน" (Truman Doctrine) ซึ่งเป็นการช่วยเหลือทางด้านทหารและเศรษฐกิจให้แก่กรีซและตุรกีที่กำลังตกเป็นเป้าหมายของสหภาพโซเวียต และได้รวมตัวกับยุโรปตั้งองค์การนาโตหรือสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือขึ้น ส่วนสหภาพโซเวียตได้จัดตั้งองค์การกติกาสัญญาวอซอร์และแผนการโมโลตอป ซึ่งเป็นการรวมตัวของประเทศโลกฝ่ายคอมมิวนิสต์สังคมโลกปัจจุบัน จุดเปลี่ยนที่สำคัญ ที่นำสู่สังคมโลกปัจจุบันคือ การล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปีค.ศ. 1991 สหภาพโซเวียตเป็นประเทศที่มีดินแดนกว้างขวาง มีบทบาทเป็นผู้นำของโลกคอมมิวนิสต์ และทำให้โลกแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายคือ ลัทธิคอมมิวนิสต์ โซเวียตเป็นแกนนำ และฝ่ายโลกเสรีนำโดยสหรัฐอเมริกา ช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ทั้งสองประ เทศประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจตกต่ำอันเนื่องมาจากการทำสงคราม ดังนั้นประเทศมหาอำนาจทั้งสองจึงได้ตกลงเจรจาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ขึ้น ทำให้สถานการณ์โลกเริ่มคลี่คลาย

การเปลี่ยนแปลงครั้งที่สองของสหภาพโซเวียตที่สงผลกระทบทั่วโลกและทำให้สหภาพโซเวียตต้องล่มสลายคือ การปรับเปลี่ยนนโยบายบริหารประเทศใหม่ของนายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ประธานาธิบดีโซเวียต ซึ่งได้ใช้นโยบาย เปเรสทอยก้า กลาสนอสต์ ซึ่งมีสาระสำคัญอยู่ที่การปฏิรูปโครงสร้างทางการเมือง ขจัดความเฉื่อยชา การคอรัปชั่นของเจ้าหน้าที่พรรค และยังรวมถึงการเปิดโอกาสให้มีประชาธิปไตยในการรับข้อมูลข่าวสาร ประเทศบริวารของสหภาพโซเวียตในยุโรปตะวันออกต่างแยกตัวเป็นอิสระปกครองตนเอง ส่งผลให้โซเวียตถึงการล่มสลาย เข้าสู่โลกสังคมแบบใหม่

การสิ้นสุดของสงครามเย็นและการเปลี่ยนแปลงอำนาจในโลก "สงครามเย็น" เป็นความขัดแย้งทางการเมืองและอุดมการณ์ที่นำไปสู่การแข่งขันและการเผชิญหน้าทางทหารเป็นเวลาเกือบครึ่งศตวรรษภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงครามเย็นเป็นความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและพันธมิตรตะวันตก คำประกาศของสตาลิน ในปีค.ศ. 1946 เรียกระดมพลังในชาติเพื่อเตรียมเผชิญหน้ากับฝ่ายตะวันตก นับเป็นการประกาศ "สงครามเย็น" โดยฝ่ายคอมมิวนิสต์ และการประกาศ "หลัการทรูแมน" ในปีต่อมานับเป็นการประกาศสงครามเย็น ของฝ่ายตะวันตก การล่มสลายของโซเวียต อาจกล่าวได้ว่า "เป็นการสิ้นสุดของประวัติศาสตร์" เหตุการณ์ในช่วง ค.ศ.1989 - 1990 จึงหมายถึง การสิ้นสุดของระเบียบทางการเมืองที่เกิดขึ้น เหตุการณ์ที่เป็นเครื่องชี้อย่างเด่นชัดอีกอย่าง คือการทำลายกำแพงเบอร์ลิน และการรวมประเทศเยอรมัน ผลสืบเนื่องจากความเปลี่ยนแปลงในช่วง ค.ศ.1989 - 1991 คือ การที่ฝ่ายรัสเซียสูญเสียสถานะความเป็นขั้วอำนาจที่โดดเด่นคู่สหรัฐอเมริกา อันมีนัยอยู่สองอย่างด้วย กันคือ ความตกต่ำของกำลังอำนาจทหาร และความเสื่อมของอุดมการณ์ สหรัฐอเมริกาและรัสเซียแม้จะยังเข้มแข็งที่สุดในแง่ของกำลังอำนาจทางทหาร แต่ในทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี กำลังถูกท้าทายโดยญี่ปุ่น ญี่ปุ่นเข้ามามีบทบาทและอิทธิพลทางการเมืองมากขึ้น สรุป สภาวการณ์ภายหลังสงครามเย็นบรรยากาศทางการเมืองโลกได้เข้าสู่สภาวะการเกิดสันติภาพในระดับหนึ่งเท่านั้น เพราะสภาพการณ์ที่ปรากฏตามมาและกำลังจะกลายเป็นปัญหาต่อเนื่องไปได้แก่ กระแสชาตินิยมที่กำลังเกิดขึ้นอย่างรุนแรง ตลอดจนการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ อาจก่อให้เกิดการแย่งชิงกันควบคุมทรัพยากร ตลอดเส้นทางเดินเรือ หรือแม้กระทั่งความต้องการที่จะปกป้องเทคโนโลยีของตน

แนวโน้มสังคมโลกยุคใหม่และในอนาคต หากจะกล่าวถึงโลกยุคใหม่ คงจะกล่าวได้ว่าเป็นการจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศที่กำลังพัฒนา โดยความสัมพันธ์แบบนี้ถูกเรียกว่าเป็นความสัมพันธ์แบบเหนือ - ใต้ โดยถือว่าประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นประเทศในซีกโลกเหนือ และประเทศที่กำลังพัฒนาอยู่ในส่วนทางซีกโลกใต้ ประเด็นสำคัญในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะเป็นเรื่องความสัมพันธ์ทางด้านการค้า ความสัมพันธ์เช่นนี้จึงมีแนวโน้มว่าจะเกิดการขัดแย้งขึ้นในวันหน้า การต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ในแต่ละภูมิภาค

ข้อมูลไม่ถูกต้อง, สงครามอัฟกานิสถาน แก้

สงครามอัฟกานิสถาน ที่เป็นสงครามตัวแทนในสงครามเย็นคือ สงครามระหว่างมูจาฮีดีน(ที่อเมริกาหนุนหลังในขณะนั้น) กับสหภาพโซเวียตที่กำลังหนุนหลังให้เกิดระบอบคอมมิวนิสต์ในอัฟกานิสถานในขณะนั้น แต่บทความกลับสร้างลิงค์ให้ สงครามอัฟกานิสถาน ไปยังสงครามอัฟกานิสถานที่เป็นสงครามระหว่างอเมริกากับตาลีบัน ที่เพิ่งเกิดสงครามขึ้นเมื่อไม่นานนี้ ---Blocker , พูดคุย - 22:30, 21 กันยายน 2007 (ICT)

กลับไปที่หน้า "สงครามเย็น"