พูดคุย:ศาสนาในประเทศไทย

ความคิดเห็นล่าสุดเมื่อ: 7 ปีที่แล้ว โดย God of japan ในหัวข้อ สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2543
ศาสนาในประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ศาสนาในประเทศไทย หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
??? บทความนี้ยังไม่ได้รับการพิจารณาตามการจัดระดับการเขียนบทความ

สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2543 แก้

ปฐมภูมิของไทยแท้ แก้

ประชากรรวม 60,916,441 [1]
  • นับถือศาสนา (60,916,441-164,396-222,200=60,529,845) = 99.37%
    • พุทธ 57,157,751 = 93.83%
    • อิสลาม 2,777,542 = 4.56%
    • คริสต์ 486,840 = 0.80%
    • ฮินดู 52,631 = 0.086%
    • ขงจื้อ 6,925 = 0.011%
    • อื่นๆ 48,156 = 0.079%
  • ไม่มีศาสนา 164,396 = 0.27%
  • ไม่ทราบ 222,200 = 0.36%

แหล่งทุติยภูมิของฝรั่ง แก้

Buddhist 94.6%, Muslim 4.6%, Christian 0.7%, other 0.1% (2000 census) [2]

The country has an area of approximately 198 thousand square miles, and its population is an estimated 64 million. According to the Government's National Statistics Office, approximately 94 percent of the population was Buddhist and 5 percent was Muslim; however, estimates by nongovernmental organizations, academics, and religious groups stated that approximately 85 to 90 percent of the population was Theravada Buddhist and up to 10 percent of the population was Muslim. There were small animist, Christian, Confucian, Hindu, Jewish, Sikh, and Taoist populations. According to the Religious Affairs Department (RAD), the numbers of atheists or persons who did not profess a religious faith made up less than 1 percent of the population. [3]

สรุป แก้

ข้อมูลในย่อหน้าแรกไม่ถูกต้อง ควรจะเรียบเรียงใหม่ --taweethaも 20:08, 26 กุมภาพันธ์ 2554 (ICT)

จาก [4] ของสำนักงานสถิติแห่งชาติเช่นกัน ระบุว่า 94.6% ครับ --Horus | พูดคุย 20:30, 26 กุมภาพันธ์ 2554 (ICT)

Advance results based on a one per cent sample households (see the sample design method of estimation [5]) are, therefore, released to reflect the characteristics of the population, including the demographic, economic, social and housing conditions at national and regional levels. -- อุตสาห์ทำสำมะโน แต่ประมวลผลแบบสุ่มตัวอย่าง... และเมื่อผลสำเร็จแบบสำมะโนออกมาแล้ว ก็ยังปล่อยผลแบบสุ่มตัวอย่างออกทางเว็บ... สำนักงานสถิติแห่งชาติ !

ทำให้ไม่ตรงครับ แต่ผมไม่ใช่จะแย้งแค่ตัวเลขครับ ผมอยากให้ความสำคัญกับ Atheism/Secularism และเอาเรื่องศาสนาในบัตรประชาชน/ทะเบียนบ้านมาใส่ไปด้วยเลย ไม่ทราบคุณ Horus เห็นอย่างไรครับ แน่นอนว่าผมคงต้องไปหาอ้างอิงมาเพิ่มอีก ส่วนที่คุณ Horus แปลมาแปลตามต้นฉบับได้ดีอยู่แล้ว ที่ผมทักท้วงคือต้นฉบับมันยังไม่สมบูรณ์เท่าที่ควรและเราทำให้ดีกว่าได้ --taweethaも 20:35, 26 กุมภาพันธ์ 2554 (ICT)

ผมดูไม่เป็นหรอกครับ แต่ถ้าจะเปลี่ยนจำนวนนี้ก็คงต้องเปลี่ยนหลายหน้าอยู่เหมือนกัน --Horus | พูดคุย 20:37, 26 กุมภาพันธ์ 2554 (ICT)
ไม่ต้องกลัวเรื่องเปลี่ยนตัวเลขครับ เพราะว่าผลสำมะโน พ.ศ. 2553 ก็คงจะต้องออกมาในเร็ววัน (เขาทำกันทุกสิบปี ตอนแรกเห็นแล้วตกใจว่ารีบเขียนทำไม ไม่กลัวต้องเปลี่ยนอีกเหรอ แต่พอพบว่าผลมันผิดก็คงต้องแ้ก้กันก่อนมั้งครับ ตอนนี้ในบทความมัน 94.7 เลย สูงกว่าข้อมูลจากทุกแหล่งเลยนะครับ แม้แต่อ้างอิงของบทความเอง) --taweethaも 20:39, 26 กุมภาพันธ์ 2554 (ICT)

เสนอ แก้

ผมจะดูแนวทางเขียนจาก en:Religion in the United States แล้วขอเสนอร่างในหน้าอภิปรายดังนี้ ถ้ามีประเด็นอะไรเพิ่มเติมหรือไม่เห็นด้วยอย่างไร บอกตรงนี้เลยนะครับจะได้ไม่เสียเวลา --taweethaも 08:35, 27 กุมภาพันธ์ 2554 (ICT)

ข้อ 1 เป็นสถิติทั่วไป ส่วนข้อที่เหลือเป็นเรื่องเกี่ยวกับรัฐบาลไทยเท่านั้น
  1. จากสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2543 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ประชากรในประเทศไทยนับถือศาสนา 99.37% โดยแบ่งออกเป็นศาสนาพุทธ 93.83% ศาสนาอิสลาม 4.56% ศาสนาคริสต์ 0.80% ศาสนาฮินดู 0.086% ลัทธิขงจื๊อ 0.011% และอื่นๆ 0.079% และมีประชากรที่ไม่นับถือศาสนาและไม่ทราบศาสนา 0.27% และ 0.36% ตามลำดับ[1] อย่างไรก็ตามการสำรวจของเอ็นจีโอ นักวิชาการ และกลุ่มศาสนา บ่งชี้ว่าประเทศไทยมีชาวพุทธนิกายเถรวาทราว 85-90% และผู้นับถือศาสนาอิสลามอาจมีมากถึง 10% สำหรับผู้ไม่นับถือศาสนากรมการศาสนาประมาณการณ์ว่ามีน้อยกว่า 1% ของประชากรทั้งประเทศ[2]
  2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 รวมถึงรัฐธรรมนูญไทยฉบับก่อนหน้ารับรองเสรีภาพในการถือศาสนาของประชาชน[3] แต่บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก[4] และกำหนดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐชัดเจนว่ารัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครองศาสนาในมาตรา 79[5] แม้ว่าจะมีการเรียกร้องให้บัญญัติศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวแต่ในที่สุดมาตรานี้มีความเพียงว่า "พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านาน" นอกจากรัฐธรรมนูญแล้วศาสนาในประเทศไทยยังได้รับการคุ้มครองโดย พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งห้ามการกล่าวหมิ่นประมาทพุทธศาสนารวมถึงพระสงฆ์ และคุ้มครองศาสนสถานและศาสนพิธีของศาสนาอื่นๆ ตามลำดับ[6]
  3. นับแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นต้นมา ฝ่ายอาณาจักรไทยมีความสัมพันธ์กับฝ่ายศาสนจักรอย่างแน่นแฟ้น พระมหากษัตริย์ไทยและพระราชนิกุลทรงเป็นพุทธมามกะและหลายพระองค์ทรวงผนวชเป็นภิกษุ จึงมีการอุดหนุนค้ำจุนกันระหว่างสถาบันทั้งสองเรื่อยมา ในปัจจุบันกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม มีหน้าที่กำกับดูแลและรับรองกลุ่มศาสนาซึ่งรับรองเพียงห้าศาสนาหลักเท่านั้น และไม่รับรองกลุ่มศาสนาใดเพิ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา[7] กลุ่มศาสนาที่ได้รับการรับรองมีสิทธิ์ได้รับเงินอุดหนุนและสิทธิ์ประโยชน์ทางภาษี ส่วนสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีมีหน้าที่ดูแลพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ทั้งสองหน่วยงานรับงบประมาณจากรัฐบาลเพื่อใช้ในกิจการทางศาสนารวมกันกว่าสี่พันล้านบาทต่อปี
  4. กระทรวงมหาดไทยเคยเก็บข้อมูลศาสนาและหมู่เลือดของคนไทยและพิมพ์ลงในบัตรประจำตัวประชาชน[8] แต่ปัจจุบันเลิกเก็บข้อมูลดังกล่าวแล้ว[9] ในการสมัครงานหรือสมัครเข้าเรียนต่อมักจะมีการถามข้อมูลศาสนาด้วย[ต้องการอ้างอิง] วิชาศาสนาเป็นวิชาบังคับในโรงเรียนรัฐบาลทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา นักเรียนในโรงเรียนรัฐที่มิได้ถือศาสนาอื่นต้องสวดมนต์ไหว้พระหลังเคารพธงชาติทุกวัน[ต้องการอ้างอิง]
  5. อิทธิพลของศาสนาและความเชื่อในประเทศไทยสะท้อนออกมาในหลากหลายรูปแบบ อาทิเช่น ตราแผ่นดินหรือตราประจำหน่วยงานที่มักเป็นเทพเจ้าในศาสนพราหมณ์-ฮินดูที่มีตำนานเกี่ยวข้องกับพันธกิจของหน่วยงาน ธงไตรรงค์ที่มีสีขาวเป็นสัญลักษณ์ของศาสนา การใช้ปีพุทธศักราช (แต่ยึดปฏิทินสุริยคติตามระบบเกรโกเรียน) การใส่ภาพวัดในพุทธศาสนาลงในเหรียญกษาปณ์และธนบัตร การตั้งศาลพระภูมิเจ้าที่ในหน่วยงานราชการ การบูชาพระรัตนตรัยก่อนเริ่มพิธีการ การกำหนดวันสำคัญทางศาสนาเป็นวันหยุดประจำชาติ รวมถึงรัฐพิธีที่เป็นความเชื่อทางศาสนาที่มีมาแต่โบราณ เช่น พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย
อ้างอิง
  1. http://popcensus.nso.go.th/show_table.php?t=t5&yr=2543&a=1
  2. http://www.state.gov/g/drl/rls/irf/2006/71359.htm
  3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ หมวด ๓ มาตรา ๓๗
  4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ หมวด ๑ มาตรา ๙
  5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ หมวด ๕ มาตรา ๗๙
  6. http://www.state.gov/g/drl/rls/irf/2006/71359.htm
  7. http://www.state.gov/g/drl/rls/irf/2006/71359.htm
  8. กฏกระทรวงฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2542) ออกตามความใน พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน
  9. http://203.113.86.149/callcenter1548/QuestionBoard/view.php?seq_no=14189

  • ขอเสนอให้ใช้คำว่า "เสรีภาพทางศาสนา" ไม่ควรใช้ "เสรีภาพในการนับถือศาสนา" เพราะเสรีภาพทางศาสนารวมเสรีภาพในการนับถือหรือไม่นับถือศาสนา เสรีภาพในการเปลี่ยนศาสนา และเสรีภาพในการเผยแพร่ศาสนา
  • เรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ควรใช้คำอย่างระมัดระวัง
  • คิดว่าควรพูดเรื่องนับถือหลาย ๆ ศาสนาพร้อมกันด้วย เช่น ชาวไทยมีศาลพระภูมิ ไหว้พระตรีมูรติ แต่เป็นพุทธ หรือ ชาวไทยเชื้อสายจีนไหว้ทั้งพระพุทธไหว้ทั้งเจ้า เป็นต้น
  • Religious Organisations Act หาไม่เจอ สงสัย CIA จะมั่วเองจริง (มีแต่พระราชบัญญัติการบริหารองค์กรอิสลาม พ.ศ. 2540) แต่ถ้าจะอ้างอิงเรื่องรับรองคิดว่าลิงก์นี้พอใช้ได้ [6] --Rattakorn 20:54, 27 กุมภาพันธ์ 2554 (ICT)

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ

  1. ตอนแรกก็เห็นอย่างเดียวกันว่ามันไม่ควรใช้ว่าเสรีภาพในการนับถือ จึงเช็คกับรัฐธรรมนูญ ได้ถ้อยคำดังนี้ครับ "บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนา นิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนา และย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนธรรม ศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติ พิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองและไม่เป็นการขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
    ในการใช้เสรีภาพตามวรรคหนึ่ง บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองมิให้รัฐกระทำการใดๆ อันเป็นการรอนสิทธิหรือเสียประโยชน์อันควรมีควรได้ เพราะเหตุที่ถือศาสนา นิกายของศาสนา ลัทธินิยม ในทางศาสนา หรือปฏิบัติตามศาสนธรรม ศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือ แตกต่าง จากบุคคลอื่น" ดังนั้นผมคิดว่าควรคงคำไว้ตามรัฐธรรมนูญ แล้วให้ผู้อ่านตีความเอาเอง ว่าไม่นับถือ หรือเผยแผ่จะได้รับการคุ้มครองไหม มันมีกฎหมายที่ควบคุมนักบวชต่างชาติด้วย แต่ผมขี้เกียจเขียนถึงเพราะมันไม่มีผลใช้บังคับในทางปฏิบัติเท่าไหร่
  2. ไม่ว่าเรื่องอะไรก็ต้องระมัดระวังครับ
  3. เขียนเพิ่มได้เลยครับ คิดว่าไม่ซ้ำซ้อนกันอยู่แล้ว แต่อาจจะหาแหล่งอ้างอิงลำบาก จะเห็นว่าส่วนที่ผมเขียนเกี่ยวกับรัฐมีอ้างอิงหมด แต่พอเริ่มเข้าสู่ชีวิตประจำวันของประชาชนก็เริ่มหาอ้างอิงไม่ได้ ก็ต้องเอาสีข้างเข้าไถบ้าง
  4. ขอบคุณมากครับ เอา พ.ร.บ. ออกแล้วครับ แต่ตัวข้อมูลยังคงไว้

--taweethaも 21:18, 27 กุมภาพันธ์ 2554 (ICT)

คิดว่าส่วนที่มีอ้างอิงน่าจะใช้ได้เลยนะครับ พอเสร็จเมื่อไหร่ก็น่าจะโพสต์ลงภาษาอังกฤษได้ด้วยเลย --Horus | พูดคุย 19:15, 28 กุมภาพันธ์ 2554 (ICT)
ยังไม่ค่อยสมบูรณ์ครับและไม่เป็นไปอย่างที่คาดหมาย หากกฎหมายที่อ้างถึงไม่เจอ และหาหลักฐานที่ภาครัฐเก็บข้อมูลศาสนาไม่ได้ จึงยังยากที่จะเขียนในภาษาอังกฤษให้มี impact ครับ คงต้องไว้โอกาสหน้ากับบทความอื่น --taweethaも 20:02, 28 กุมภาพันธ์ 2554 (ICT)

จำนวนของประชากรมันผิดนี้มันต้องเป็น65ล้านกว่าๆนี้ God of japan (พูดคุย) 18:56, 12 เมษายน 2560 (+07)ตอบกลับ

กลับไปที่หน้า "ศาสนาในประเทศไทย"