พูดคุย:ฟุตบอลโลก 2014

หน้านี้เป็นหน้าพูดคุยสำหรับการแสดงความเห็นเพื่อพัฒนาบทความ ฟุตบอลโลก 2014

ฟุตบอลโลก 2014 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศบราซิล โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศบราซิล ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ฟุตบอลโลก 2014 หรือแวะไปที่หน้าโครงการเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
ฟุตบอลโลก 2014 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิฟุตบอลและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับฟุตบอล ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ฟุตบอลโลก 2014 หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ภาษาโปรตุเกส แก้

ในเรื่องของชื่อสนาม และชื่ออื่นที่เป็นภาษาโปรตุเกสสำเนียงบราซิล ผมไม่ชำนาญในเรื่องนี้ และไม่มีหน้าตารางถอดเสียง รบกวนผู้รู้มาช่วยถอดเสียงชื่อด้วยนะครับ --EarTh' :: Talk 17:34, 4 เมษายน 2556 (ICT)

สิทธิ์การออกอากาศในประเทศไทย แก้

ได้ย้ายเนื้อหา ที่ไม่เป็นสารานุกรม มีเนื้อหาเยิ่นเย่อ แสดงรายละเอียดมากเกินไป เขียนหมือนข่าว ย้ายไปในหน้าอินคิวเบเตอร์ ผู้อ่านเข้าไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หน้านั้นครับ --Sry85 (พูดคุย) 18:44, 23 มิถุนายน 2557 (ICT)

จะใส่เข้าไปทำไมครับ ได้ย้ายเนื้อหาออกไปแล้ว ทำไมต้องใส่ทุกอย่างไว้ในหน้าเดียวกันหมด ขอเหตุผลหน่อยครับหรือว่าแค่อยากจะย้อน--Sry85 (พูดคุย) 19:08, 23 มิถุนายน 2557 (ICT)

พื้นที่เซ่นสังเวยความบ้าอำนาจของผู้ใช้อำนาจในทางมิชอบ แก้

สิทธิการออกอากาศ แก้

ฟีฟ่ากำหนดให้สิทธิในการออกอากาศ ครอบคลุมไปยังวิทยุกระจายเสียง, วิทยุโทรทัศน์, อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยฟีฟ่าเป็นผู้จัดจำหน่าย ให้แก่ผู้ประกอบการสื่อ ของแต่ละประเทศเองโดยตรง หรือผ่านบริษัทตัวแทนผู้รับอนุญาต หรือผ่านองค์กรต่างๆ เช่นสหภาพการกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งยุโรป (อีบียู), องค์การโทรทัศน์แห่งอเมริกากลางและใต้ (โอไอที), องค์การเนื้อหาสื่อสากล (ไอเอ็มซี), บริษัทโฆษณาเดนต์สุของญี่ปุ่น เป็นต้น[1] โดยการจำหน่ายสิทธิเหล่านี้ คิดเป็นถึงร้อยละ 60 ของรายได้จากฟุตบอลโลกของฟีฟ่า[2] สำหรับศูนย์กระจายเสียงแพร่ภาพนานาชาติ ตั้งอยู่ที่รีอูเซงตรู (Riocentro) ในย่านบาร์ราดาชีฌูกา (Barra da Tijuca) ของนครรีโอเดจาเนโร[3][4]

ทั้งนี้ ฟีฟ่าจำหน่ายสิทธิในการออกอากาศ ให้แก่เครือข่ายโทรทัศน์จากทั่วโลก อาทิ บีบีซีกับไอทีวีของสหราชอาณาจักร, ซีซีทีวีของสาธารณรัฐประชาชนจีน, เอบีซีกับอีเอสพีเอ็นของสหรัฐอเมริกา เป็นต้น สำหรับในประเทศไทย บริษัท อาร์เอส อินเตอร์เนชันแนล บรอดคาสติ้ง แอนด์ สปอร์ต แมเนจเมนต์ จำกัด (อาร์เอสบีเอส) ซึ่งอยู่ในเครืออาร์เอส เป็นผู้ถือครองสิทธิแต่ผู้เดียว นับแต่ปี พ.ศ. 2549 และ 2553 โดยครั้งนี้ดำเนินการด้วยชื่อของอาร์เอส ผ่านช่องโทรทัศน์ระบบดาวเทียมของตน ซึ่งเปิดขึ้นเพื่อการนี้โดยเฉพาะ และทางฟีฟ่าอนุญาตให้ใช้ชื่อว่า อาร์เอส-ฟีฟ่า เวิลด์คัพ แชนเนล (RS-FIFA World Cup Channel) โดยช่องดังกล่าวจะถ่ายทอดสด การแข่งขันครบทั้ง 64 นัดเป็นแห่งเดียวในประเทศไทย พร้อมทั้งถ่ายทอดบันทึกการแข่งขัน รวมถึงรายการต่างๆ ซึ่งทางฟีฟ่าผลิตขึ้น และจัดส่งให้แก่ผู้รับสิทธิทั่วโลกด้วย

ซึ่งช่องรายการดังกล่าวสามารถรับชม ในระบบโทรทัศน์ความละเอียดมาตรฐาน ผ่านกล่องรับสัญญาณดาวเทียมซันบ็อกซ์ และกล่องบอลโลกดิจิทัลทีวี ของอาร์เอสเท่านั้น อนึ่ง อาร์เอสทำสัญญาอนุญาตให้พีเอสไอ ผู้ประกอบการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม รับดำเนินการแพร่ภาพช่อง อาร์เอส-ฟีฟ่า เวิลด์คัพ แชนเนล คู่ขนานในระบบโทรทัศน์ความละเอียดสูงด้วย นอกจากนี้ สำหรับการถ่ายทอดสด ผ่านโทรทัศน์ภาคพื้นดิน อาร์เอสมอบหมายให้ช่อง 8 ของตนเอง ซึ่งอยู่ในระบบดิจิทัล หมายเลข 27 ร่วมกับการทำสัญญาอนุญาต แก่สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ซึ่งอยู่ทั้งในระบบแอนะล็อก หมายเลข 7 และระบบดิจิทัล หมายเลข 35 เป็นจำนวนรวม 22 นัดการแข่งขัน

สำหรับการออกอากาศผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ อาร์เอสทำสัญญาอนุญาต ให้บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส เป็นผู้ดำเนินการผ่านแอปพลิเคชันชื่อ เอไอเอสออนแอร์ (AIS On Air) ที่เปิดให้ดาวน์โหลด ผ่านแอพสโตร์ในระบบไอโอเอส และกูเกิลเพลย์ในระบบแอนดรอยด์ โดยจะต้องเป็นผู้ใช้บริการในระบบเอไอเอส ที่ชำระค่าบริการอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 199 บาทเท่านั้น[5] ซึ่งการถ่ายทอดสดในทุกช่องทาง จะไม่มีภาพยนตร์โฆษณาคั่นระหว่างการแข่งขัน

ต่อมาเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2557 เวลา 13:30 น. ศาลปกครองสูงสุด พิพากษาให้อาร์เอสบีเอส ไม่ต้องออกอากาศการแข่งขันฟุตบอลโลก ตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ว่าด้วยหลักเกณฑ์ รายการโทรทัศน์สำคัญที่ให้เผยแพร่ได้ เฉพาะกับโทรทัศน์ซึ่งให้บริการเป็นการทั่วไป เนื่องจากเป็นการตกลงซื้อขายสิทธิ ก่อนประกาศดังกล่าวจะมีผลใชับังคับ ซึ่งเป็นการพิพากษายืนตามศาลปกครองชั้นต้น[6] หลังจากนั้น เลขาธิการ กสทช. ฐากร ตัณฑสิทธิ์ แถลงว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ติดต่อมายังประธาน กสทช. พลอากาศเอก ธเรศ ปุณศรี เพื่อแจ้งให้ทาง กสทช.ดำเนินการให้ประชาชน สามารถรับชมถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกครั้งนี้ ทั้งหมด 64 นัดผ่านโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ซึ่งให้บริการเป็นการทั่วไป (ฟรีทีวี) กสทช.จึงเชิญผู้แทนอาร์เอสบีเอส หารือแนวทางในการชดเชย[7]

โดยฝ่ายอาร์เอสบีเอส เสนอให้มีค่าชดเชยเป็นเงิน 766.515 ล้านบาท ซึ่งในวันต่อมา (12 มิถุนายน) คณะกรรมการกองทุนวิจัยและพัฒนา กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กองทุน กทปส.) และคณะกรรมการ กสทช.ประชุมพิจารณาการชดเชยดังกล่าว โดยออกมติให้ใช้กองทุน กทปส.ชดเชยให้อาร์เอสบีเอส เป็นเงินไม่เกิน 427.015 ล้านบาท[8] เมื่อสามารถตกลงกันได้แล้ว ในเวลา 15:30 น. จึงจัดแถลงข่าวการถ่ายทอดสดร่วมกัน ระหว่างสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (38 นัด), สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 (29 นัด) และช่อง 8 ของอาร์เอส (56 นัด) โดยที่บางนัดมีถ่ายทอดสดมากกว่า 1 ช่องโทรทัศน์[9] มีรายงานข่าวด้วยว่า คสช.ประสานงานให้ ททบ.จัดเตรียมเวลาออกอากาศ เพื่อรองรับการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกดังกล่าว รวมกว่า 80 ชั่วโมง

สำหรับผู้ต้องการชมถ่ายทอดสดการแข่งขันฯ ซึ่งเตรียมการไว้ก่อนหน้านี้ โดยซื้อกล่องรับสัญญาณดาวเทียมของอาร์เอสไปแล้ว เมื่อสถานการณ์เป็นไปดังกล่าว จึงอาจส่งผลให้ผู้ชมกลุ่มนี้เกิดความรู้สึกว่า การลงทุนของตนเสียเปล่าหรือไม่[10] เป็นผลให้วันรุ่งขึ้น (13 มิถุนายน) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาร์เอส สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ต้องเปิดแถลงข่าวในประเด็นดังกล่าว โดยอาร์เอสยังคงจำหน่าย กล่องบอลโลกดิจิทัลทีวีต่อไป เนื่องจากยังมีบริการอีกหลายอย่างที่คุ้มค่า แต่หากลูกค้าไม่ต้องการใช้กล่องฯ ดังกล่าวอีก อาร์เอสจะพิจารณาจ่ายค่าชดเชยเยียวยา โดยจะคืนเงินสูงสุดไม่เกิน 1,590 บาทต่อกล่องฯ ส่วนตัวยินดีให้ความร่วมมือกับภาครัฐ สำหรับเงินจากทาง กสทช.ไม่ใช่การซื้อสิทธิต่อ หากแต่เป็นค่าชดเชยการเสียโอกาสทางธุรกิจ ซึ่งยอมรับว่าไม่คุ้มค่ากับส่วนที่เสียไป แต่ยังมั่นใจว่าจะไม่ขาดทุน[11]

  1. "2014 FIFA World Cup BrazilTM Media Rights Licensees" (PDF). FIFA. 7 November 2013.
  2. "FIFA revenue estimated to be 4 billion dollars at the close of the 2014 World Cup". CONMEBOL.com. 17 May 2013.
  3. "International Broadcast Centre to be hosted in Rio de Janeiro". FIFA. 27 May 2011.
  4. "Nerve centre for World Cup TV production opens in Rio". FIFA. 2 June 2014.
  5. เอไอเอสไม่ยอมตกเทรนด์! ให้ดูบอลโลกสดทุกนัดผ่านแอพฯ, ไทยรัฐออนไลน์, 12 มิถุนายน 2557.
  6. ศาล ปค.สูงสุดชี้ 'RS' ชนะไม่ต้องถ่ายบอลโลกทางฟรีทีวี 64 แมตช์, ไทยรัฐออนไลน์, 11 มิถุนายน 2557.
  7. คนไทยเฮ! คสช.จัดให้ดูบอลโลกครบทุกแมตช์ สั่ง กสทช.ถกอาร์เอส, ไทยรัฐออนไลน์, 11 มิถุนายน 2557.
  8. มติ กสทช.ควัก 427 ล้าน ให้อาร์เอสถ่ายบอลโลกออกฟรีทีวี, ไทยรัฐออนไลน์, 12 มิ.ย. 2557.
  9. ช่อง 5-7-8 จับมือถ่ายทอดสดบอลโลก 64 แมตช์, โพสต์ทูเดย์, 12 มิถุนายน 2557.
  10. งานเข้า 'อาร์เอส' ผู้บริโภคจี้ คืนเงินค่ากล่องดูบอลโลก, ไทยรัฐออนไลน์, 12 มิถุนายน 2557.
  11. 'เฮียฮ้อ' ย้ำ-ยินดีจ่ายชดเชยกล่องบอลโลก, ไทยรัฐออนไลน์, 13 มิถุนายน 2557.
พร้อมทั้งยืนยันสิทธิในการนำเนื้อหาข้างต้น กลับไปลงในบทความอีกครั้ง หลังจากพ้น 24 ชั่วโมง คือเวลา 18:41 น. ของวันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ตามเวลาประเทศไทย อย่างแน่นอนที่สุด ลงชื่อ -- Zenith Zealotry | เซนิตสโมสร | 18:50, 23 มิถุนายน 2557 (ICT)
กลับไปที่หน้า "ฟุตบอลโลก 2014"