พูดคุย:ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552

ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิการเมืองและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับการเมือง ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประวัติศาสตร์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โลก เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการศึกษาค้นคว้าที่น่าเชื่อถือสำหรับผู้อ่าน ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ชื่อบทความ แก้

ท่าทางเรื่องนี้จะเปลี่ยนกันบ่อย และคงไม่จบง่ายๆ ลองมา"คุย"กันไหมครับว่าใช้ชื่ออะไรดี เพราะเห็นเปลี่ยนชื่อกัน 5 ครั้งแล้ว แล้วก็ถ้าคิดว่ายังไงก็ไม่ขอคุยอยากเปลี่ยนชื่ออย่างเดียว ก็คงไม่มีประโยชน์อะไรอยู่ดี --Manop | พูดคุย - (irc) 06:19, 19 เมษายน 2552 (ICT)
ขออนุญาตย้อนการแก้ไขของคุณ ZenithZealotry เนื่องจากข้อความส่วนใหญ่ที่เปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมเข้ามานั้น เป็นเนื้อหาที่ขาดข้อมูลอ้างอิงสนับสนุนในหลายๆ ประเด็น ซึ่งอาจจะเป็นการนั่งเทียนขึ้นมา หรือจดจำมาจากข่าวโคมลอย หรือข่าวหลอกลวงโดยขาดการกลั่นกรอง หากคุณ ZenithZealotry จะเขียนเนื้อหาที่เป็นประเด็นละเอียดอ่อนและมีผลกระทบต่อความรู้สึกของผู้อ่าน (ในด้านการเร้าอารมณ์ หรือปลุกระดม) ดิฉันเสนอว่าลองไปเขียนนิยายน่าจะตรงกับความสามารถที่มีมากกว่า สำหรับการเขียนวิกิพีเดีย ในประเด็นที่มีความเห็นที่หลากหลายของคนหลายกลุ่มเช่นนี้ ขอความกรุณาระบุแหล่งอ้างอิงด้วย เพื่อความถูกต้อง ชัดเจน และเป็นกลางของเนื้อหาในสารานุกรมนี้
ดิฉันในฐานะผู้ทำวิจัยเรื่อง สารานุกรมวิกิพีเดียไทยและการสื่อสารความรู้สู่สาธารณะ รู้สึกไม่สบายใจที่ผลการศึกษาพบว่า ผู้ใช้วิกิพีเดียไทยไม่ค่อยเชื่อถือในเนื้อหาของวิกิพีเดียไทยนัก ซึ่งแน่นอนว่าความเห็นเหล่านั้นมาจากข้อมูลที่ขาดความน่าเชื่อถือมากมายที่ ปรากฏในวิกิพีเดียไทย และยิ่งสลดใจมากขึ้น เมื่อเห็นการกระทำของคุณ ZenithZealotry ที่ตอกย้ำได้กับผลการศึกษานั้น เพราะผู้เขียนบทความ(เช่นคุณ ZenithZealotry)ขาดการคัดกรอง และนำข้อมูลเชิงประจักษ์ที่สามารถอ้างอิงได้มาเขียน แต่กลับเขียนข้อมูลโดยขาดซึ่งการอ้างอิง ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องที่เป็นประเด็นในสังคม และมีแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือให้นำมาอ้างอิงมากมาย เช่นสำนักข่าวต่างๆ การที่ดิฉันแสดงความเห็นนี้ เพราะไม่อยากเห็นวิกิพีเดียไทยไม่น่าเชื่อถือ จากการกระทำของคุณ และอาจจะอีกหลายๆ บทความ ที่ดิฉันไม่ได้ลงไปอ่านลึกนัก เพราะทนอ่านข้อมูลอันสับสนของคุณ ZenithZealotry ไม่ไหว
ประเด็นที่ 2 ที่ดิฉันขอออกความเห็นก็คือ คุณ ZenithZealotry ไม่ควรลบบทความ เหตุการณ์ก่อความไม่สงบของกลุ่ม นปช. เมษายน พ.ศ. 2552 โดยพลการ แล้วย้ายมาเป็นบทความชื่อใหม่ในชื่อ การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง เมษายน พ.ศ. 2552 เนื่องจากว่า คุณได้ตัดสินใจคนเดียว ไม่มีการสอบถามความคิดเห็นจากผู้ใช้ท่านอื่นก่อน ซึ่งจะเห็นได้ว่า ผู้เขียนหลายคนที่เขียนบทความ เหตุการณ์ก่อความไม่สงบของกลุ่ม นปช. เมษายน พ.ศ. 2552 เห็นด้วยกับชื่อบทความดังกล่าว และมีการแก้ไขกันอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา จะมีก็แต่คุณ ZenithZealotry คนเดียวที่รับไม่ได้ และบอกว่า มีอคติในการใช้ชื่อบทความ ไม่ทราบว่า คุณเองหรือเปล่าที่มีอคติต่อชื่อบทความนี้ และรับได้ในชื่อบทความใหม่ที่ตัดสินใจด้วยตัวเองเพียงคนเดียวเท่านั้น
ดิฉันขอเสนอว่า หากคุณ ZenithZealotry หรือผู้ใช้ท่านอื่น ไม่เห็นด้วยกับชื่อบทความที่ใช้อยู่นี่ กรุณาเสนอความคิดเห็น และขอความร่วมมือจากผู้ใช้ท่านอื่นๆ ให้ร่วมเสนอหรือโหวตชื่อที่คิดว่าเหมาะสม น่าจะเป็นกลางกว่านะคะ หวังว่าคุณ ZenithZealotry คงเข้าใจ และรับเหตุผลข้อนี้ได้ และหวังว่าคุณ ZenithZealotry จะยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นๆ เพื่อร่วมพัฒนาบทความให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปค่ะ - -TuMmY- - | พูดคุย 06:22, 19 เมษายน 2552 (ICT)
เรื่องเกี่ยวกับการชุมชน(โดยสงบ)ในจุดต่างๆ ขอให้อยู่ในบทความ การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ดีไม๊คะ? เนื่องจากในปัจจุบันทางการและสื่อทั้งในและต่างประเทศ ได้แยกแยะเหตุการณ์เป็น 2 เหตุการณ์แล้วจริง กล่าวคือ การชุมชนของกลุ่มเสื้อแดง และการก่อความไม่สงบ (จลาจล) ซึ่งสื่อต่างประเทศใช้คำว่า Riots ---  ~ Look-Narm ~ คุย 09:11, 19 เมษายน 2552 (ICT)
ตอนนี้มีบทความสร้างขึ้นมาใหม่ การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง เมษายน พ.ศ. 2552 โดยบทความนี้ ผู้เขียน (ผู้ใช้:ZenithZealotry) ได้ยึดเอาข้อความจากบทความนี้เป็นหลัก แล้วแก้ไขโดยใช้อ้างอิงที่ต่างไป ฝากสมาชิกช่วยพิจารณาด้วยละกันนะคะ ---  ~ Look-Narm ~ คุย 20:40, 19 เมษายน 2552 (ICT)
ผมเห็นด้วยกลับบทความชื่อนี้ครับ และผมไม่เห็นว่ามีปัญหาเรื่องความเป็นกลางด้วย เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ความไม่สงบนั้นถูกก่อขึ้นจริง ๆ อีกอย่างผมเห็นว่าบทความ การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง เมษายน พ.ศ. 2552 ที่สร้างขึ้นมาใหม่ มีการอ้างอิงจากเว็บไซต์ที่มีมุมมองจากด้านเดียวครับ รวมทั้งมีการอ้างอิงจากบล็อกอีกต่างหาก ผมว่าบทความนี้เขียนเข้าข้างฝ่ายเสื้อแดงอย่างเดียว และไม่เป็นกลางอย่างมาก -- atcharakorn 22:21, 19 เมษายน 2552 (ICT)
ขออนุญาตเห็นด้วยกับคุณ Watcharakorn ทุกอย่างค่ะ และดิฉันได้แจ้งลบบทความการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง เมษายน พ.ศ. 2552 ที่สร้างขึ้นมาใหม่โดยคุณ ZenithZealotry เนื่องจากเหตุผลข้างต้น แต่ถูกคุณ ZenithZealotry ได้นำป้ายแจ้งลบออกไปแล้วค่ะ - -TuMmY- - | พูดคุย 22:40, 19 เมษายน 2552 (ICT)
ช่วยกันปรับแก้ บทความหลัก เหตุการณ์ก่อความไม่สงบของกลุ่ม นปช. เมษายน พ.ศ. 2552 ให้เห็นมุมมอง 2 ด้านดีไม๊คะ? เช่น กรณีที่มาจาก ประชาไท หรือ สื่อที่อ้างถึงใน บทความการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง เมษายน พ.ศ. 2552 และหากเหตุการณ์ไหนยังไม่มีข้อสรุปเพราะมีความเป็นปัจจุบัน ก็อาจจะทิ้งไว้ให้เห็นทั้ง 2 แหล่งข้อมูล เมื่อทุกอย่างผ่านไปจนได้ข้อสรุปชัดเจนแล้วจะได้มีบันทึกไว้ ว่าเกิดการบิดเบือน ที่ไหน? โดยใคร? ว่าไง? อย่างไร? ---  ~ Look-Narm ~ คุย 22:46, 19 เมษายน 2552 (ICT)
คุณลูกน้ำครับ ผมมีจุดยืนตั้งแต่แรกว่า ชื่อบทความที่คุณเห็นว่าเป็นบทความหลักเนี่ยครับ ผมไม่เห็นด้วยกับชื่อบทความนี้ ในสองข้อด้วยกัน
  • รูปการณ์ที่ปรากฏโดยทั่วไป ชัดเจนว่าเป็นการชุมนุมนะครับ แต่การระบุว่าเป็น "การก่อความไม่สงบ" ผมเห็นว่าไม่เป็นธรรมกับผู้ชุมนุมอย่างยิ่งนะครับ เนื่องจากเป็นการกล่าวหาด้วยอคติค่อนข้างมากครับ จึงควรใช้คำว่า "การชุมนุม" มากกว่าครับ
  • นปช.เป็นเพียงองค์กรนำของกลุ่มคนเสื้อแดงเท่านั้นครับ ไม่สามารถที่จะกล่าวอ้างได้ว่า กลุ่มคนเสื้อแดงทั้งหมดคือ นปช.ครับ การเหมารวมเอาเองดังที่ว่านั้น มีจุดประสงค์เพื่อจะเชื่อมโยงว่า กลุ่มคนเสื้อแดง มีคุณทักษิณอยู่เบื้องหลัง ซึ่งเป็นความพยายามที่จะ Discredit กลุ่มคนเสื้อแดง จึงควรใช้คำว่า "กลุ่มคนเสื้อแดง" มากกว่าครับ
ส่วนเรื่องอื่น ค่อยปรึกษาหารือกันด้วยเหตุผลกันได้ครับ -- ภาพการ์ตูนมาสคอต แทนตัว Zenith Zealotry Zenith Zealotry | เซนิทสโมสร | 01:21, 20 เมษายน 2552 (ICT)
คุณ ZenithZealotry คะ ขอปรึกษาว่า
  1. เรื่องความยุ่งวุ่ยวายที่เกิดขึ้นจริงนั้น จะอยู่ในเหตุการณ์ใด? หากไม่ใช่ทั้ง นปช.และกลุ่มเสื้อแดง งั้นเป็น เหตุการณ์ก่อความไม่สงบทางการเมือง เมษายน 2552 เหรอคะ?
  2. เห็นด้วยว่ามีการชุมนุมอยู่ในเหตุการณ์นี้ด้วย และมีการสลายการชุมนุม แต่เราก็มีบทความแดงทั้งแผ่นดินสัญจรอยู่แล้วนี่คะ หากส่วนที่ไม่เกี่ยวกับ เหตุการณ์ก่อความไม่สงบทางการเมือง เมษายน 2552 จะเขียนไว้ในบทความการชุมนุมแดงทั้งแผ่นดินสัญจรก็ได้ หรือไงดีคะ?
  3. เรื่อง แม่แบบ:แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ นั้น เหตุการณ์มีทั้ง เหตุการณ์ 22 กรกฎา นปก.บุกบ้านสี่เสาเทเวศร์ แต่ใำห้สงสัยว่าทำไมถึงไม่ยินดีให้ใส่ เหตุการณ์ก่อความไม่สงบของกลุ่ม นปช. เมษายน พ.ศ. 2552 ในเมื่อเป็นเหตุการณ์ที่ทุกคนไม่ว่าสื่อไทยและสื่อนอกก็ระบุว่า นปช. และ UDD เกี่ยวข้องกันแ ละสัมพันธ์กัน---  ~ Look-Narm ~ คุย 08:35, 20 เมษายน 2552 (ICT)
พิจารณารวมเนื้อหาให้เป็นบทความเดียวกันก่อนครับ ก่อนที่จะทำอะไรต่อไป หากแยกบทความกัน จะกลายเป็นคู่ขนาน ไม่มีทางเป็นกลางได้ --Octra Dagostino 22:54, 19 เมษายน 2552 (ICT)
ผมว่าทำอะไรไม่ได้หรอกครับ เพราะถ้าทำไปก็โดนแก้กลับตลอดแน่ ๆ -- atcharakorn 01:10, 20 เมษายน 2552 (ICT)
  • คุณ octahedron80 ครับ ด้วยความเคารพจริงๆ ผมขออนุญาตอธิบายถึงจุดยืนสองข้อ ตามที่ผมได้ยืนยันไว้ข้างต้นนะครับ สิ่งที่ผมต้องการสื่อไปถึงเพื่อนสมาชิกก็คือ ผมไม่ยอมรับการมีอยู่ของอีกบทความหนึ่ง ที่ผมไม่ต้องการแม้แต่จะเอ่ยถึงชื่อเลยครับ เพราะฉะนั้น นี่คือสาเหตุที่ผมปฏิเสธการปรึกษาหารือในหน้าพูดคุยของบทความนั้นโดยสิ้นเชิงครับ
  • คุณลูกน้ำครับ ข้อเท็จจริงคือ มีการปะทะกันระหว่างคนหลายฝ่ายในช่วงเวลานั้น ผมเห็นด้วยในหลักการ เรื่องชื่อบทความครับ แต่ขอปรับปรุงอีกเล็กน้อย เป็นว่า เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในกรุงเทพมหานคร เมษายน พ.ศ. 2552 ก็น่าจะเป็นหนทางที่เป็นไปได้ครับ
  • ผมเห็นว่า การใช้คำว่า ลำดับเหตุการณ์ จำต้องบรรยายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในทุกแง่มุม ทั้งเรื่องการชุมนุม และทั้งความไม่สงบดังว่านั้นด้วยครับ เพื่อให้เกิดความครบถ้วนรอบด้าน สอดรับกับคำว่า ลำดับเหตุการณ์ ที่แท้จริงน่ะครับ
  • เหตุผลที่ผมไม่ยินดีก็เพราะ ชื่อบทความตั้งขึ้นด้วยอคติ ดังที่ผมได้แสดงจุดยืนไปข้างต้นแล้วนะครับ ส่วนเรื่องเนื้อหา จะรวมเป็นเนื้อหาเดียวกันได้อย่างไร ก็อยู่ที่การเจรจากันต่อไปครับ ถ้าเช่นนั้น ผมก็ต้องขอเสนอให้เปลี่ยนชื่อหมวดหมู่ นปช. เป็นหมวดหมู่ กลุ่มคนเสื้อแดง ไปเลยครับ แล้วก็นำรายชื่อบุคคลและองค์กรที่เป็นแนวร่วม จากบทความ นปช.แยกออกมาเป็นบทความใหม่ กลุ่มคนเสื้อแดง ไปเลย ก็เป็นข้อเสนอที่ผมคิดขึ้นได้ในเวลานี้นะครับ -- ภาพการ์ตูนมาสคอต แทนตัว Zenith Zealotry Zenith Zealotry | เซนิทสโมสร | 15:38, 20 เมษายน 2552 (ICT)
ก่อนอื่นขอเท้าความถึงการเริ่มต้นบทความก่อนเลย ว่า ในช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบนั้น ได้มีความพยายามในการอัปเดตข้อมูลที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ความไม่สงบเหล่า นั้น โดยมีการเริ่มต้นเขียนที่หน้า นปช. ในส่วน เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง [1] และมีการปรับปรุงข้อมูลเรื่อยมา ซึ่งดิฉันได้ร่วมปรับปรุงเนื้อหาด้วย ในที่สุดได้ปรึกษากับผู้ร่วมเขียนท่านอื่นว่าควรแยกบทความเฉพาะการก่อความ ไม่สงบออกมา เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาในบทความ นั่นคือการแยกเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องไปยังหน้าใหม่ คือ รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 และ เหตุการณ์ 22 กรกฎา นปก.บุกบ้านสี่เสาเทเวศร์ และได้ตกลงตั้งชื่อว่า เหตุการณ์ก่อความไม่สงบของกลุ่ม นปช. เมษายน พ.ศ. 2552 ก็เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อบทความที่มาก่อนดังกล่าวข้างต้น โดยมีการระบุชื่อกลุ่มผู้ก่อเหตุการณ์ อีกทั้ง บทความก็เริ่มเขียนมาจากหน้า นปช. เอง ก็น่าจะเป็นเหตุเป็นผลที่จะสามารถตั้งชื่อบทความว่า เหตุการณ์ก่อความไม่สงบของกลุ่ม นปช. เมษายน พ.ศ. 2552 ได้ค่ะ - -TuMmY- - | พูดคุย 17:18, 20 เมษายน 2552 (ICT)
คำสรุปว่า กลุ่มคนเสื้อแดงทั้งหมด ไม่ได้เป็น นปช. นี่มันงงงงและเข้าใจยากอยู่นะคะ? เราจะแยกอย่างไร? และพฤติกรรมใดเป็นฉันทามติจากกลุ่ม นปช. หรือกระทำโดยกลุ่มเสื้อแดง เข้าใจยากอยู่นะคะ หากจะแยกโดย ความรุนแรง กับ ประชุมโดยสงบ/อหิงสา ภาพที่ที่ชุมนุมมันก็ไม่ได้เป็นอย่างนั้นนะคะ เช่น การที่ สส สุภรณ์ บุกมาที่มหาดไทยแล้วพาเอา เจ้าหน้าที่ ศรภ ไปหลังเวที นปช. นั้นก็ดูไม่ได้สงบอหิงสาเลยนะคะ หรือตอนที่ประชุมอาเซียน กลุ่มของนายอริสมันต์วันนั้นก็ดูเกรี้ยวกราดมาก เช่นกัน ฝากคุณ ZenithZealotry ให้ความกระจ่างด้วยจะเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยในการปรับแก้บทความ การรวม/ แยก หรือบรรจุในแม่แบบ ได้ถูกต้องขึ้น ขอบคุณค่ะ ---  ~ Look-Narm ~ คุย 19:59, 20 เมษายน 2552 (ICT)
ปล. อีกอันนึงถ้าใช้ตรรกะข้างต้นก็จะไม่เข้าใจเลย คือ กรณีกลุ่มรถแทกซี่ที่นำโดยหนึ่งในแกนนำ นปช. นำรถแท๊กซี่ปิดถนน ค่ะ อันนี้เป็นการก่อความไม่สงบโดย นปช. หรือไม่คะ ---  ~ Look-Narm ~ คุย 20:02, 20 เมษายน 2552 (ICT)
ยุติการอภิปรายในหน้านี้ ไปคุยต่อที่ พูดคุย:การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง เมษายน พ.ศ. 2552#ชื่อบทความ --Octra Dagostino 15:53, 20 เมษายน 2552 (ICT)
ทำไมถึงยุติการอภิปรายที่หน้านี้หรือครับ ผมว่าควรจะยุติการอภิปรายที่อีกหน้าแล้วรวมมาไว้ที่หน้านี้แทนมากกว่านะครับ--ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 19:06, 20 เมษายน 2552 (ICT)
ผมย้ายกลับมาเลยละกันครับ จะได้คุยกันที่เดียว ถ้าคนไหนไม่อยากคุยก็ช่างเหอะครับ วิกิพีเดียไม่ต้องเอาใจพวกขี้น้อยใจ --Manop | พูดคุย - (irc) 08:15, 21 เมษายน 2552 (ICT)
ผมว่าอีกบทความหนึ่งนี้ถ้าเอาเรื่องความรุนแรงออก เนื้อหาก็แทบจะไม่เหลืออะไรแล้วนะครับ บทความนั้นก็คง{{ขาดความสำคัญ}} ในตัวเองอยู่ดี ว่าแต่คุณ Zenith Zealotry เอาที่ไหนมาพูดหรือครับว่า เหตุการณ์นี้ไม่ใช่ นปช. เพราะอย่างข่าว CNN เองก็ยังเขียนว่า เป็นเรื่องของ "United Front for Democracy against Dictatorship" จาก "Thaksin Shinawatra " [2] ไม่อยากเอาข่าวไทยเดี๋ยวหาว่าไม่เป็นกลางอีก --Manop | พูดคุย - (irc) 08:31, 21 เมษายน 2552 (ICT)
ผมว่ากลุ่มคนเสื้อแดงน่าจะหมายถึงหลายๆกลุ่มมารวมกันนะครับ เช่น ชมรมคนรักอุดร กลุ่มรักเชียงใหม่ 51 แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ เป็นต้น --KungDekZa 11:21, 21 เมษายน 2552 (ICT)
ผมว่าในตอนต้น กลุ่มคนเสื้อแดง และ กลุ่ม แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ เป็นกลุ่มเดียวกัน เพราะว่า มีผู้นำสูงสุดร่วมกัน และมีอุดมคติเดียวกัน สังเกดได้ว่า ในการชุมนุมของ นปช ที่ผ่านมา มีการชูป้ายของแต่ละกลุ่มย่อยๆ ที่ได้เดินทางมาสนับสนุน เช่น กลุ่ม ชมรมคนรักอุดร หรือ กลุ่มรักเชียงใหม่ 51 และอีกมากมาย ล้วนแล้วแต่เป็นกลุ่มคนที่ใส่เสื้อสีแดง (กลุ่มคนเสื้อแดง) อาจมีบางส่วนที่ไม่ได้เดินทางมาสนับสนุน แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มย่อย ที่ร่วมใจกันใช้เสื้อสีแดง และ เป็นกลุ่ม นปช ตั้งแต่ต้น ทั้งหมด เป็นกลุ่มเดียวกัน หรือถ้าไม่ใช่ ก็ต่างกันแค่เล็กน้อยจนแยกกันแทบไม่ได้
ต่อมาภายหลัง กลุ่มที่ชุมนุม มีการสร้างความวุ่นวาย และเสียหายต่อภาพลักษณ์ของกลุ่มตนเอง กลุ่มคนบางกลุ่ม ที่ตั้งแต่แรกเริ่มไม่เคยคิดแยกกลุ่มตัวเองออกจากเสื้อสีแดงหรือนปช เริ่มมีความคิดแตกแยก ไม่ออกให้ตนเองมีการพัวพันกับสิ่งที่เกิดขึ้น เลยมีการเริ่มแบ่งกลุ่มย่อยและอ้างว่าไม่เคยเป็นกลุ่มเดียวกัน ก็จะมีการโยนความให้กับฝ่ายอื่นๆที่ตนเองสามารถย่อยลงไปได้ เป็นความคิดของคนกลุ่มเล็กเท่านั้น ซึ่งประเด็นนี้ก็ไม่ยากเกินความเข้าใจ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้ามองในแง่ของคนข้างนอก มันก็ไม่ค่อยต่างกับการ ที่คนๆหนึ่งที่เกิดในประเทศหนึ่งที่ถูกมองว่าไม่ดี บอกว่า ผมไม่ได้เป็นคนของประเทศนั้นนะ เพราะตัวเองมีต้นกำเนิดเชื้อสายจากที่อื่น ซึ่งมันก็ฟังได้ แต่มันคงจะเป็นไปได้ยากที่จะให้คนภายนอกเข้าใจเช่นนั้น ไม่มีใครอยากจะไห้ตัวเองถูกมองว่าเป็นคนไม่ดีหรอกครับ แต่ความจริงบางอย่างมันคงยากที่จะแยกแยะ การปรับเปลี่ยนสถานะหรือความคิดภายหลังนั้น ถึงแม้ว่าจะเป็นจริง มันก็เหมือนเป็นการแก้ตัว และคงถูกมองว่ามีแค่ส่วนน้อย สึ่งใดที่เกิดขึ้นมาแล้ว การกำเนิดตอนต้นมันจะคือความเป็นจริงที่ไม่สามารถถูกเปลี่ยนแปลงได้ การแตกแยกภายหลังไม่สามารถนำมาอธิบายการกำเนิดตอนต้นได้ครับ--Libra 17:16, 21 เมษายน 2552 (ICT)
ขอโทษนะครับ ผมขอเสนอว่า เนื้อหาทำนองนี้ควรตั้งชื่อเป็นแค่ "เหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศไทย dd1-mmm1-yyyy1 ถึง dd2-mmm2-yyyy2" จะดูเป็นกลางมากกว่า โดย dd1-mmm1-yyyy1 คือวันที่เริ่มเกิดเหตุการณ์ และ dd2-mmm2-yyyy2 เป็นวันที่ระบุได้ว่าเหตุการณ์สิ้นสุดแล้ว (ถ้ามี ซึ่งผมก็ไม่คิดว่าบทความสารานุกรมจะสรุปได้ในระหว่างที่เกิดเหตุการณ์ครับ) ส่วนพวกคำว่า "นปก" "เสื้อแดง" "เสื้อเหลือง" หรืออื่นๆ ควรไปอยู่ในคำค้นที่เกี่ยวข้องนะครับ (ผมเองก็ยังใหม่ใน wiki แต่เข้าใจว่า wiki เองก็ต้องมีส่วนของ คำค้นที่เกี่ยวข้องเหมือนๆ blog หรือ web board ชนิดอื่นๆนะครับ) --Keroberos99 09:41, 22 เมษายน 2552 (ICT)
ตัดฝ่ายออกไปจากชื่อบทความก็น่าจะหมดเรื่อง แบบที่ข้างบนคุณ Keroberos99 ว่าไว้ (เข้าใจว่าคนที่ค้นหาคงทราบว่าเป็นกลุ่มไหนยังไง) --Summer Memories 10:24, 22 เมษายน 2552 (ICT)
ถ้าตัดชื่อฝ่ายออกจากบทความคงจะทำให้เรื่องการถกเถียงเรื่องชื่อหมดไป แต่ว่ามันจะมีประเด็นอื่นตามมาครับ 1)มันก็จะเป็นเพียงสำหรับบทความนี้ บทความอื่นๆในอดีตหรือในอนาคตก็จะมีประเด็นนี้ขึ้นมาอีกได้ 2)มันจะทำให้บทความนี้เป็นบทความที่ไม่สมบูรณ์ เหมือนกับการเขียนบทความที่ไม่มีการกล่าวชื่อของ Antagonist ในกรณีนี้จะกลายเป็น "กลุ่มผู้ชุมนุม" โดยจะทำให้บทความไม่สื่อถึงอุดมคติที่มีประวัติและที่มา เหมือนเป็นการสร้างกลุ่มใหม่ ผมคิดว่าความผูกพันระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุม และ ไม่ว่าจะเป็นสีแดง หรือ นปช คงจะแยกออกจากกันไม่ได้ และไม่เห็นสมควรที่จะทำอย่างนั้น ผมคิดว่าน่าจะเขียนไปในแนวที่ว่า กลุ่ม เสื้อแดง และ นปช เป็นกลุ่มที่มีจุดกำเนิดเดียวกัน แต่มาถึงทุกวันนี้ ได้กลุ่มคนย่อยบางกลุ่ม มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน ไม่เห็นด้วยกับการกระทำบางอย่าง อย่างชัดเจนมากขึ้น จนมีการแยกตัวทางความคิดเห็น ซึ่งนำไปสู่การแยกตัวของความมีตัวตนของตนเอง--Libra 12:57, 22 เมษายน 2552 (ICT)
ตั้งเป็นชื่อ "การขับไล่อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี" เลยจะดีไหมครับ เพราะการขับไล่ทักษิณ ชินวัตร จากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก็มีอยู่แล้ว แล้วก็รวมเหตุการณ์มาไว้ที่นี่เลย --KungDekZa 14:59, 22 เมษายน 2552 (ICT)
ถึงประเด็นของการพูดคุยเรื่องชื่อของบทความ ตอนนี้จากชื่อหัวข้อที่ถูกกล่าวมาแล้วทั้งหมด ผมเห็นด้วยกับชื่อ "เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552" มากที่สุด ซึ่งดัดแปลงมาจากของคุณ Keroberos99 ที่ได้เสนอไว้เบื้องต้น ชื่อเป็นชื่อที่เป็นกลางไม่มีการกล่าวหาว่าฝ่ายไหนเป็นผู้สร้างความไม่สงบ และอธิบายถึงประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นด้วย เรื่องของช่วงเวลานั้น สามารถอธิบายได้ดีที่สุดแค่ "เมษายน พ.ศ. 2552" เท่านั้น เพราะเป็นช่วงเวลาที่เกินการประทะกันและเป็นประเด็นสำคัญที่นำมาสู่บทความ มันยากที่จะเจาะจงไปที่วันที่ใดวันที่หนึ่ง เพราะว่าเรื่องนี้เป็นเหตุการณ์ต่อเนื่อง มาถึงตอนนี้บางคนอาจจะเห็นว่ายังไม่จบก็เป็นได้ ส่วนเรื่องของเนื้อหานั้นได้มีการบันทึกสาระสำคัญไว้แล้ว และไม่มีความเห็นใดๆ สำหรับการเปลี่ยนแปลง--Libra 16:03, 22 เมษายน 2552 (ICT)
เห็นด้วยกับคุณ Libra ครับ คำว่า "เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552" อาจฟังดูลอยๆ ก็จริงแต่ก็ตัดปัญหาการใช้คำที่ระบุว่าใครก่อสถานการณ์ สถานการณ์เป็นแบบไหน (ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมโดยสงบ, กบฏ, จลาจล, การยึดอำนาจ, การปฏิวัติประชาชน ฯลฯ สารพัดอีกร้อยแปดพันเก้าที่จะยกมาอ้างมาเถียงกัน) จะได้เลิกเถียงกันว่าชื่ออย่างโน้นก็ไม่ดี อย่างนี้ก็ไม่เป็นธรรมต่อ นปช. แถมตอนนี้แม้เหตุการณ์มันจะผ่านไปแล้ว แต่ผมเชื่อว่าการตกลงเรียกชื่อเหตุการณ์นี้มันยังไม่นิ่งหรอก มันต้องรอไปจนกว่าฝุ่นควันความขัดแย้งทั้งหลายจางลงไปมากกว่านี้ก่อน นักประวัติศาสตร์จึงจะสรุปได้ว่าควรใช้ชื่อเรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่าอย่างไรกันแน่ ที่สำคัญ เรื่องนี้มันยังขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นฝ่ายเขียนประวัติศาสตร์เรื่องนี้ด้วย --สุทธิพงษ์ พื้นแสน 17:03, 22 เมษายน 2552 (ICT)
แล้วจะเถียงกันทำไมให้มันยืดยาว สุดท้ายก็แค่เปลี่ยนจากชื่อที่เสนอไป แค่จากคำว่า "ในกรุงเทพมหานคร" เป็น "ในประเทศไทย" ทั้งที่ก่อนหน้านี้ บางคนก็ทำอย่างกับจะให้เป็นจำเลยให้ได้ -- ภาพการ์ตูนมาสคอต แทนตัว Zenith Zealotry Zenith Zealotry | เซนิทสโมสร | 15:56, 23 เมษายน 2552 (ICT)
เพราะการพูดที่ยืดยาวนี่ละครับ ถึงได้คำตอบที่ออกมาดี ว่าแต่เรื่องแค่นี้ไม่รู้หรือจริงหรือครับ เห็นคุยกันมาตั้งยาว --Manop | พูดคุย - (irc) 21:56, 23 เมษายน 2552 (ICT)
ตกลงการอภิปรายได้ข้อสรุปแล้วหรือคะ เปลี่ยนชื่อซะแล้ว แต่ดิฉันก็เห็นด้วยกับชื่อที่เปลี่ยนมาใหม่นี้นะคะ เพราะมันมีเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้นจริง ขำก็แต่ว่า ระบุไม่ได้ว่าผู้ใดก่อเหตุ เพราะเกรงจะกระทบกระเทือนจิตใจอันอ่อนโยน... ดิฉันเห็นว่าอย่างน้อย การพูดคุยที่นี่ ยาวยืด ก็มีประโยชน์ตรงที่ว่า เราได้ความเห็นจากคนหลายกลุ่ม หลายฝ่าย ที่มีความแตกต่างทางความคิด แล้วช่วยกันเสนอจนได้สิ่งที่ถือว่าหลายคนโอเค ตามวิถีประชาธิปไตย ไม่ใช่ คิดจะเปลี่ยนชื่อก็เปลี่ยน โดยไม่ถามคนอื่นในสังคมเลย อย่างนั้น ไม่ชอบด้วยหลักการของประชาธิปไตยค่ะ ขอบคุณทุกท่านที่ร่วมออกความเห็น และช่วยกันพัฒนาบทความให้น่าเชื่อถือนะคะ - -TuMmY- - | พูดคุย 20:44, 23 เมษายน 2552 (ICT)
แล้วตรงการเหน็บแนมนี่เป็นส่วนหนึ่งของการอภิปรายด้วยหรือเปล่าครับ หรือว่าต้องติด {{สันติวิธี}} ในหน้าอภิปรายแบบนี้ด้วย --Horus 20:53, 23 เมษายน 2552 (ICT)
เรียนท่าน Horus การอภิปรายคือการแสดงความคิดเห็นค่ะ ส่วนผู้อ่านจะตีความอย่างไร ขึ้นอยู่กับอคติที่เขามีค่ะ อีกอย่าง หน้า เหตุการณ์ก่อความไม่สงบของกลุ่ม นปช. เมษายน พ.ศ. 2552 ไม่เห็นจำเป็นต้องลบนี่คะ ทำเป็นหน้าเปลี่ยนทางมาก็ได้ เพื่อประโยชน์ในการค้นหาของผู้ใช้อื่นๆ ที่ค้นหาด้วยชื่อกลุ่มทางการเมืองที่เขาสนใจค่ะ หรือการลบ นี่ ลบตามอคติป่าวคะ (แสดงความเห็นอีกค่ะ) - -TuMmY- - | พูดคุย 21:08, 23 เมษายน 2552 (ICT)
ผมก็ลบเพราะว่าคนที่คุณเถียงแจ้งลบนั่นแหละครับ จะเห็นได้ว่าคุณ Zenith เป็นคนแจ้งลบเองด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นจะหาว่าผมมีอคติได้อย่างไรหรือครับ --Horus 21:14, 23 เมษายน 2552 (ICT)
คุณมานพแก้ไขแล้วครับ เพราะความไม่เจนจัดของผมเอง --Horus 21:33, 23 เมษายน 2552 (ICT)
ขอบคุณคุณ Horus ที่เข้าใจค่ะ ที่ตั๋มถามไปเป็นการแซวเล่นนะคะ เรื่องลบตามอคติ เพราะก่อนจะลบบทความต้องพิจารณาด้วยว่าควรลบหรือไม่น่ะค่ะ ไม่เช่นนั้นใครอยากจะแจ้งลบบทความไหนก็ทำตามสบาย ผู้ดูแลแค่คอยลบให้ตามใจคนแจ้ง ถ้าเป็นอย่างนั้นคงให้ user มีสิทธิลบหน้าไปเลยดีกว่าเนอะ หากคุณไม่ได้ทำไปด้วยอคติก็สบายใจได้นะคะ ตั๋มแค่ถามเฉยๆ และคิดว่าพอใจกับคำตอบค่ะ - -TuMmY- - | พูดคุย 00:23, 24 เมษายน 2552 (ICT)
ว่าแต่คุณ Tummy ก็ไม่ต้องเหน็บก็ได้นะครับว่าไป แม้ว่าบางคนเขาอาจจะน้อยใจต้องแอบไปบ่นคนเดียวแต่ก็ไม่ควรจะไปเหน็บแหนมเขา ส่วนเรื่อง {{สันติวิธี}} นั้นจริงๆ ก็อาจจะไม่ต้องมีก็ได้นะครับ เพราะหน้าพูดคุยของวิกิพีเดียทุกหน้าก็ควรจะต้องรักษามารยาทอยู่แล้ว เหมือนข้อความที่ติดไว้ในส่วนบนของทุกหน้าพูดคุย ซึ่งอย่างกรณีคุณ ZenithZealotry แอบเขียนข้อความทิ้งอย่าง "ไม่ต้องมาหลอกด่ากู ถ้าคิดว่าพวกมึงดีเลิศก็เชิญคุยกันเอง แต่กูมีสิทธิที่จะทำแบบนี้" หรือ "ข้องใจในพฤติกรรมของ "พระเจ้า" และเศษมนุษย์บางราย" ที่เขียนใน [3] อันนี้นโยบายก็คงช่วยอะไรไม่ได้ เพราะวิกิพีเดียเปิดเสรีให้ทุกคนมาร่วมแก้ไข ซึ่งคงไม่ได้มีนโยบายว่าคนนี้ปากไม่ดีห้ามแก้ไขวิกิพีเดีย และนอกจากนี้คำพูดของแต่ละคนก็สื่อนิสัยและความคิดของคนนั้นออกมาอยู่แล้ว ว่าเขาคิดและมีเจตนาอย่างไรกับชาววิกิพีเดียคนอื่น --Manop | พูดคุย - (irc) 21:56, 23 เมษายน 2552 (ICT)
* ใครน้อยใจไม่ทราบครับ?
* สิ่งที่ผมทำเกี่ยวกับบทความนี้ คือการปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนไทยกลุ่มหนึ่งครับ
* คุณภาพที่เกิดจากอคติของคนหยิบมือเดียว ไม่มีค่าควรที่ผมจะสนใจหรอกครับ
* ผมเพิ่งจะทราบว่า "พระเจ้า" ของที่นี่ เป็นสตรีที่ไม่สุภาพนักนะครับ พิสูจน์ได้จากการบรรยายฟ้องแก่ผู้คนทั่วไป ที่อาจมองไม่เห็นข้อความ ให้ได้รับทราบทั่วกัน ราวกับจะ "นินทา" ผู้อื่นซึ่งหน้าเช่นนั้น -- ภาพการ์ตูนมาสคอต แทนตัว Zenith Zealotry Zenith Zealotry | เซนิทสโมสร | 22:50, 23 เมษายน 2552 (ICT)

"สิ่งที่ผมทำเกี่ยวกับบทความนี้ คือการปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนไทยกลุ่มหนึ่งครับ" ใช่กลุ่มที่ทำให้ผมได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนตั้ง 2.7% รึเปล่าครับ ๕๕๕ (ถึงจะได้กำไร แต่ก็ไม่อยากให้เกิดเรื่องแบบนี้หรอกนะ แต่อย่างว่า "น้ำขึ้นให้รีบตัก") --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 23:11, 23 เมษายน 2552 (ICT)

ข่าวลือ แก้

ทำไมในส่วนของข่าวลือของคนที่เสียชีวิต ถึงไม่มีการนำเสนอแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ ที่ยืนยันว่าไม่มีผู้เสียชีวิตเลยครับ อย่างเช่นจากทางโรงพยาบาล จากการที่ผบ ออกมาสาบานด้วยชีวิต หรือว่า การวิเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญ -- Gopp (not registered) --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 203.148.162.199 (พูดคุย | ตรวจ) 07:43, 20 เมษายน 2552 (ICT)

เพราะตัวข่าวลือเองก็ไม่มีแหล่งข้อมูลยืนยันที่ชัดเจน แล้วตัวข่าวลือเองก็มีเพื่อสร้างกระแสสังคม มากกว่าให้ข้อมูลข่าวสารที่แท้จริง--Neotokyo6 03:01, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)

เรื่องที่ว่าข่าวลือเป็นความจริงหรือไม่นั้น ผมขอให้อย่าพึ่งตัดสินนะครับคุณ Neotokyo6 เพราะมันอาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้ หากมองอีกมุมหนึ่งคือเป็นการปิดข่าวก็เป็นไปได้ครับ เพราะหลักฐานก็มีหลายที่นะครับ --KungDekZa 13:16, 8 พฤษภาคม 2552 (ICT)

ชื่อของบทความ แก้

ขอเสนอให้เปลี่ยนชื่อบทความกลับไปเป็นอย่างเดิมครับ เพราะคำว่า "สงกรานต์เลือด" ไม่ใช่คำที่มีใช้อย่างเป็นทางการ (สื่อก็พูดจาเรื่อยเปื่อย) หรือมิฉะนั้นก็ควรจะหาแหล่งอ้างอิงที่มายืนยันการใช้คำนี้ครับ --Horus 18:24, 22 มิถุนายน 2552 (ICT)
โดยส่วนตัวคิดว่าน่าจะได้นะครับ เพราะในวิกิพีเดียก็มีบทความอย่าง "พฤษภาทมิฬ" เหมือนกัน รอดูความเห็นท่านอื่นครับ --KungDekZa 19:19, 22 มิถุนายน 2552 (ICT)
"พฤษภาทมิฬ" ในความเห็นของผมแล้ว สามารถใช้เป็นชื่อบทความได้ เนื่องจากมีการใช้อย่างแพร่หลาย (ไม่ใช่เพียงแต่ในสื่อ แต่ยังมีในตำราเรียน เป็นต้น) ผมจึงเห็นว่าไม่ควรจะใช้ชื่อว่า "สงกรานต์เลือด" ครับ --Horus 19:24, 22 มิถุนายน 2552 (ICT)
จริงๆ จะเทียบสื่ออื่นก็ยากนะครับ เพราะเหตุการณ์เพิ่งเกิด ผ่านไปอีก 15 ปีก็อาจมีคำนี้ในตำราเรียนก็ได้ ส่วนชื่อนี่ไม่ทราบครับว่าใช้คำไหน เพราะชื่อทางการของเหตุการณ์นี้ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าใช้คำว่าอะไร รอความเห็นท่านอื่นครับ --Manop | พูดคุย - (irc) 23:00, 25 มิถุนายน 2552 (ICT)
เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ในกรณีนี้ แต่เห็นว่าใช้ชื่อเชยดีกว่าใช้ชื่อที่ชี้นำหรือก้าวหน้าเกินกว่าสังคมกระแสหลักนะครับ วิกิพีเดียมีคุณค่าในการพัฒนาสังคมอย่างกระจกสังคม จึงไม่ควรจะไปร่วมกับกระบวนการตั้งชื่อของเหตุการณ์ใดๆ ไม่ว่ากรณีใดทั้งสิ้น เพียงใช้อย่างที่มันเป็น อย่างที่มันมีอยู่ อย่างที่เป็นที่ยอมรับก็ดีแล้ว --taweethaも 23:08, 25 มิถุนายน 2552 (ICT)
เวลาคือเครื่องพิสูจน์ครับ --โจ ชิเงรุ 16:07, 26 มิถุนายน 2552 (ICT)
เพิ่งเคยได้ยินคำว่า "สงกรานต์เลือด" ก็ตอนนี้แหละครับ ตอนแรกนึกว่าชื่อเรื่องหนังผี ;P เปลี่ยนกลับเถอะครับ -- atcharakorn 18:27, 26 มิถุนายน 2552 (ICT)
การใช้ "สงกรานต์เลือด" จากสื่อต่างๆ เช่น คมชัดลึก ไทยอีนิวส์ มติชน --KungDekZa
ไม่ได้อ่านเลยหรือครับ ผมบอกว่า ผมไม่อยากให้มีการใช้คำแค่ในสื่อ เพราะสื่อเขาก็เขียนไปเรื่อยเปื่อย จับประเด็นให้มีผู้อ่านก็เท่านั้น ทั้ง ๆ ที่ทางการไม่มีเรียกหรอกครับ พวกสงกรานต์เลือดอะไรเนี่ย ชื่อมันก็เหมือนภาพยนตร์อย่างที่คุณ Watcharakorn ว่าไว้ --Horus - พูดคุย 18:40, 26 มิถุนายน 2552 (ICT)
ถ้าผู้ใช้ส่วนใหญ่บอกเปลี่ยนผมก็พร้อมที่จะเปลี่ยนครับ เพราะฉะนั้นขอดูความคิดเห็นของผู้ใช้ท่านอื่นๆครับ ว่าจะเปลี่ยนหรือไม่ อย่างไร --KungDekZa 18:46, 26 มิถุนายน 2552 (ICT)
ตามเว็บไซต์ประมวลเหตุการณ์ความไม่สงบของรัฐบาล Factreport.go.th , ผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ที่เกี่ยวกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และข่าวใน เว็บไซต์รัฐบาลไทย ก็ใช้ว่าความไม่สงบ จึงควรยืดชื่อที่ประกาศเป็นทางการจะเหมาะสมกว่าการใช้คำที่เรียกตามสื่อครับ --Chris Vineyard 18:48, 26 มิถุนายน 2552 (ICT)
เปลี่ยนคืนให้แล้วนะครับ แต่ผมเห็นว่าในเว็บไซต์รัฐสภาไทย ก็ใช้คำว่า "สงกรานต์เลือด" เช่นเดียวกัน --KungDekZa 19:08, 26 มิถุนายน 2552 (ICT)
เขาเขียนว่านำมาจากมติชนออนไลน์ครับ --Horus - พูดคุย 19:17, 26 มิถุนายน 2552 (ICT)
ถ้าว่าตามวิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อบทความ การใช้ชื่อนิยมว่า สงกรานต์เลือด ก็ดูจะเข้าท่ากว่าละครับ เพียงแต่ชื่อในวิกิพีเดียตอนนี้เป็นชื่อกลางๆ แล้วที่สื่อใช้คำว่า "สงกรานต์เลือด" เพราะการใช้ชื่อเต็มยาวๆก็ไม่สะดวก ส่วนคนออกความเห็น(ในวิกิพีเดียตอนนี้)ถ้าไม่ได้อ่านข่าวก็คงไม่คุ้นกับคำนี้เท่าไรว่าไป แต่ถ้าถามในวงกว้างขึ้นอย่างถามในพันทิปหรือว่าเว็บบอร์ดอื่น คำตอบก็อาจจะออกมาอีกรูปแบบ แต่ผมรู้สึกเหมือนกับว่า คำว่า "สงกรานต์เลือด" เองจะเริ่มไม่ค่อยมีคนใช้เท่าไรแล้ว อาจจะหมดไปหลังช่วงเหตุการณ์เพราะไม่ได้มีขนาดใหญ่เท่าเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ หรือ 14 ตุลา ที่มีผลกระทบในวงกว้าง
แต่อย่าอ้างอะไรก็ทางการเลยครับ วิกิพีเดียเป็นของประชาชน ไม่ใช่ของทางการ --Manop | พูดคุย - (irc) 23:44, 27 มิถุนายน 2552 (ICT)

ลองสมมติกรณีศึกษามาให้ดูเล่นๆ นะครับ ว่าด้วยเรื่องชื่อที่คุยกันหลายครั้งหลายบทความ

ก. วิกิพีเดียไทย ได้เริ่มใช้ชื่อ ABCD เป็นแห่งแรกๆ และต่อมาชื่อดังกล่าวก็เป็นที่ยอมรับใช้อ้างอิงกันอย่างกว้างขวางในวงกว้างเพราะคนเห็นจากวิกิพีเดีย และในทีสุดทางราชการก็ใช้ชื่อดังกล่าวเพราะเป็นที่ยอมรับของสาธารณชน
ข. ปกติเราจะเรียก ABCD ด้วย EFGH มากกว่า แต่ชื่อ ABCD ก็ยังปรากฏในเอกสารหลายแหล่งรวมถึงวิกิพีเดียไทย
ค. เรามักได้ยินการกล่าวถึง EFGH ด้วย ABCD อยู่เสมอๆ ในการพูดถึงของผู้คนรวมถึงในเว็บไซต์อย่างวิกิพีเดียไทย อย่างไรก็ตามชื่อ ABCD เป็นชื่อที่ไม่ถูกต้อง มาจากความเข้าใจที่ผิดและใช้ต่อกันมา นอกจากนี้ความหมายของ ABCD ยังคลาดเคลื่อน....
ง. สำหรับเรื่องราวที่จะกล่าวถึงนั้นยังไม่มีการตั้งชื่อเรียกที่แน่นอน ฝ่ายรัฐให้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า ABCD เอกสารอย่างเป็นทางการต่างๆ ก็ใช้ชื่อนี้ แต่ในสื่อมวลชนหลายแขนงได้ใช้ชื่อ EFGH เรียกถึงสิ่งเดียวกัน วิกิพีเดียใช้ตามเอกสารอ้างอิงหลักอยู่ ยังไม่ได้เปลี่ยนตามคำใหม่ที่เพิ่งปรากฏมาในสื่อ

คนอาจจะคิดว่าข้อ ก. ฟังดูดี ใช่ครับฟังดูดี แต่ผิดหลักการผิดวัตถุประสงค์ ข้อ ข. อาจฟังดูไม่ดี แต่ความจริงแล้วกลับยอมรับได้มากที่สุด ข้อ ค. ฟังดูเหมือนไม่มีปัญหาอะไร แต่ความจริงแล้วเป็นปัญหาที่ต้องรีบแก้ไข ข้อ ง. คือ ปัญหาที่เรากำลังเถึยงกันอยู่นี่ไงครับ --taweethaも 20:29, 26 มิถุนายน 2552 (ICT)

อันที่จริง ผมว่ามันมีบางอย่างที่เอกสารราชการกล่าวไม่ถูกเหมือนกันนะครับ อย่าง Swine influenza แปลว่า "ไข้หวัดหมู" ดันเรียกว่า "ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ" เฉย ป.ล. ผมว่าข้อ ก. เป็นไปได้ยากนะ แค่การเพิ่มคำใหม่ในพจนานุกรมก็ยากพอดูแล้วล่ะ --Horus - พูดคุย 20:35, 26 มิถุนายน 2552 (ICT)
อย่าลืมแยกถูกต้องกับถูกใจออกด้วยนะครับ เพราะหลายครั้งที่บอกว่าไม่ถูก มันมักจะเป็นไม่ถูกใจคนกลุ่มหนึ่งมากกว่า --Manop | พูดคุย - (irc) 23:31, 27 มิถุนายน 2552 (ICT)

ขอโทษครับ แก้

ขอโทษด้วยครับผมไมได้มีเจตนาจะก่อกวนต้องขอต้องอภัยเป็นอย่างสูง --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 114.128.96.19 (พูดคุย | ตรวจ) 22:15, 4 กรกฎาคม 2552 (ICT)


เพิ่มแหล่งอ้างอิงในวันที่ 12 เมษา แก้

ตรงที่นายสุพรพูดว่ามีคนตาย จากนี่ครับ http://www.youtube.com/watch?v=KFSkMPJItWg&feature=channel_page

ขอบคุณครับที่ให้ความร่วมมือแก้ไขบทความ --  KungDekZa | กล่องรับความคิดเห็น | ผลงาน 16:58, 28 กรกฎาคม 2552 (ICT)

  • youtube ใช้เป็นแหล่งอ้างอิงไม่ได้ครับ แต่ใช้เป็นแหล่งข้อมูลอื่นได้ --Horus | พูดคุย 19:00, 28 กรกฎาคม 2552 (ICT)

ปลดล็อก แก้

กรุณาปลดล็อกบทความนี้เพื่อปรับปรุงบทความให้เป็นกลางครับ--171.4.101.193 10:04, 24 ธันวาคม 2554 (ICT)

  • จะแก้ตรงไหนระบุมาที่นี่ก่อนได้ครับ In Heaven, everything is fine. 11:20, 24 ธันวาคม 2554 (ICT)
กลับไปที่หน้า "ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552"