เทศบาลเมืองลพบุรี

เทศบาลเมืองในจังหวัดลพบุรี ประเทศไทย

เทศบาลเมืองลพบุรี เป็นเทศบาลเมืองแห่งหนึ่งในอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดลพบุรี มีพื้นที่ 6.85 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าหินทั้งตำบล และบางส่วนของตำบลทะเลชุบศร[2] มีประชากรในปี พ.ศ. 2562 จำนวน 22,299 คน[1]

เทศบาลเมืองลพบุรี
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองลพบุรี
ตรา
ทม.ลพบุรีตั้งอยู่ในจังหวัดลพบุรี
ทม.ลพบุรี
ทม.ลพบุรี
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองลพบุรี
ทม.ลพบุรีตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทม.ลพบุรี
ทม.ลพบุรี
ทม.ลพบุรี (ประเทศไทย)
พิกัด: 14°48′0″N 100°37′37″E / 14.80000°N 100.62694°E / 14.80000; 100.62694
ประเทศ ไทย
จังหวัดลพบุรี
อำเภอเมืองลพบุรี
จัดตั้ง
  •  • สุขาภิบาลเมืองลพบุรี
  •  • 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 (ทม.ลพบุรี)
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีจำเริญ สละชีพ
พื้นที่
 • ทั้งหมด6.85 ตร.กม. (2.64 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2562)[1]
 • ทั้งหมด22,299 คน
 • ความหนาแน่น3,255.32 คน/ตร.กม. (8,431.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04160102
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลเมืองลพบุรี ถนนนารายณ์มหาราช ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี 15000
โทรศัพท์0 3641 1047
โทรสาร0 3641 2400
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลเมืองลพบุรีมีโบราณสถานอยู่มาก เป็นศูนย์กลางของธุรกิจขนาดย่อม และเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษา รายล้อมด้วยเขตทหาร ทว่าการพัฒนาเมืองขาดการวางแผนที่ดีด้านโครงสร้างและปัจจัยพื้นฐาน ทำให้การเติบโตของเมืองขาดแนวทางที่เหมาะสม ทั้ง ๆ มีศักยภาพสูงในการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวในระดับภาค[3]

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

เทศบาลเมืองลพบุรีตั้งอยู่ในอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำลพบุรี มีพื้นที่ในความรับผิดชอบประกอบด้วยพื้นที่ตำบลท่าหินและบางส่วนของตำบลทะเลชุบศร มีพื้นที่ 6.85 ตารางกิโลเมตร หรือ 4,281 ไร่[2] มีอาณาเขตติดต่อกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ แก้

เดิมเทศบาลเมืองลพบุรีมีฐานะเป็นสุขาภิบาลเมืองลพบุรี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรมีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็นเทศบาลเมืองลพบุรี เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 มีพื้นที่ 0.90 ตารางกิโลเมตร หรือ 504 ไร่ เฉพาะตำบลท่าหินและแถบด้านใต้ของวัดมณีชลขัณฑ์[4] ต่อมามีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองลพบุรี ขยายพื้นที่ครอบคลุมเขตตำบลทะเลชุบศร ตำบลท่าแค ตำบลโคกกะเทียม ตำบลเขาพระงาม ตำบลเขาสามยอด ตำบลท่าศาลา และตำบลป่าตาล เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2487[5] ถือเป็นพื้นที่กว้างใหญ่ เต็มไปด้วยทุ่งนา ป่า และเขา[2]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรมีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองลพบุรีอีกครั้งเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2497 โดยลดขนาดพื้นที่ของเขตเทศบาล คงเหลือเพียงตำบลท่าหินและบางส่วนของตำบลทะเลชุบศร (ตั้งแต่ทิศตะวันออกของทางรถไฟสายเหนือจนถึงวงเวียนเทพสตรี อันเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดลพบุรี) โดยให้เหตุผลว่าเดิมมีพื้นที่ครอบคลุมหลายตำบล ไม่สามารถปกครองดูแล ทะนุบำรุงได้ทั่วถึงจึงปรับปรุงเขตเทศบาลเสียใหม่[6] ทำให้เทศบาลเมืองลพบุรีในปัจจุบันมีพื้นที่ 6.85 ตารางกิโลเมตร[2]

ชุมชน แก้

ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองลพบุรีมีทั้งหมด 20 ชุมชน ดังต่อไปนี้

  • ชุมชนนเรศวร
  • ชุมชนศรีสุริโยทัย
  • ชุมชนราชมนู
  • ชุมชนสระมโนราห์
  • ชุมชนบ้านป้อม
  • ชุมชนวัดเชิงท่า
  • ชุมชนร่วมน้ำใจ 1
  • ชุมชนร่วมน้ำใจ 2
  • ชุมชนตลาดล่าง
  • ชุมชนวัดคลองสายบัว
  • ชุมชนอุตุนิยมวิทยา
  • ชุมชนไปรษณีย์
  • ชุมชนรามเดโช
  • ชุมชนนครโกษา
  • ชุมชนสีหราชเดโชชัย
  • ชุมชนทะเลน้อย
  • ชุมชนอู่รถรางเก่า
  • ชุมชนสันเปาโล
  • ชุมชนประตูผี
  • ชุมชนศรีปราชญ์

โครงสร้างพื้นฐาน แก้

การศึกษา แก้

สาธารณสุข แก้

เทศบาลเมืองลพบุรีมีสถานบริการด้านสาธารณสุข 3 แห่ง

ศาสนสถาน แก้

การขนส่ง แก้

ทางถนน แก้

ถนนสายสำคัญในตัวเมืองลพบุรีมีดังนี้

  • ถนนนารายณ์มหาราช (ทางหลวงหมายเลข 311)
  • ถนนปรางค์สามยอด (ส่วนหนึ่งของทางหลวงหมายเลข 311)
  • ถนนนเรศวร (ทางหลวงหมายเลข 3016)
  • ถนนฝรั่งเศส
  • ถนนราชมนู
  • ถนนราชดำเนิน
  • ถนนประตูชัย
  • ถนนพระปิยะ
  • ถนนบนเมือง
  • ถนนวิชาเยนทร์
  • ถนนศรีปราชญ์
  • ถนนพระศรีมโหศถ
  • ถนนพระยากำจัด
  • ถนนเพทราชา
  • ถนนกาญจนาคม
  • ถนนสรศักดิ์
  • ถนนพิชัยดาบหัก
  • ถนนโกษาปาน
  • ถนนสีหราชเดโชชัย
  • ถนนสราญรมย์
  • ถนนสีดา
  • ถนนพระยาอนุชิต
  • ถนนชนะสงคราม
  • ถนนโกษาเหล็ก
  • ถนนรามเดโช
  • ถนนพระโหราธิบดี
  • ถนนพระราม

ทางราง แก้

การคมนาคมทางรถไฟ ปัจจุบันมีรถไฟสายกรุงเทพ–เชียงใหม่ โดยผ่านจังหวัดปทุมธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสระบุรี จนถึงจังหวัดลพบุรี เปิดการเดินรถ โดยมีสถานีรถไฟหลักคือสถานีรถไฟลพบุรี

ในอดีตลพบุรีเคยเปิดให้บริการรถรางสายท่าโพธิ์–เอราวัณ แล้วยุติการเดินรถเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2505[7][8]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2562 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองลพบุรี ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "สภาพทั่วไปของเทศบาลเมืองลพบุรี". เทศบาลเมืองลพบุรี. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. ประพันธ์ วิชาศิลป์ (2524). "แผนนโยบายการพัฒนาชุมชนเทศบาลเมืองลพบุรี". สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี พุทธศักราช ๒๔๗๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 52: 1727–1730. 10 ธันวาคม 2478.
  5. "พระราชกริสดีกา เปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่เทสบาลเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี พุทธสักราช 2487". คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ. 20 มิถุนายน 2487. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "พระราชกฤษฎีกา เปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่เทศบาลเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๗". คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ. 1 มิถุนายน 2497. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. สมพงษ์ นิติกุล. ภาพโบราณ ตำนานเมืองลพบุรี. กรุงเทพฯ : พี.เอ.ลีฟวิ่ง, 2456, หน้า 27-28
  8. ฉันทฤทธิ์ วิโรจน์ศิริ. สถาปัตยกรรมเมืองเก่าลพบุรี : คู่มือท่องเที่ยวเมืองเก่าลพบุรี. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง, 2556, หน้า 21