ดอกส้มสีทอง เป็นละครแนวดราม่า สะท้อนสังคม

ดอกส้มสีทอง
สร้างโดยบริษัท บรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น จำกัด
เขียนโดยบทประพันธ์: ถ่ายเถา สุจริตกุล
บทโทรทัศน์: ศัลยา
กำกับโดยโชติรัตน์ รักษ์เริ่มวงษ์
แสดงนำวิทยา วสุไกรไพศาล
อารยา เอ ฮาร์เก็ต
มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล
หลุยส์ สก็อต
อภิษฎา เครือคงคา
ฉัตรชัย เปล่งพานิช
จริยา แอนโฟเน่
รินลณี ศรีเพ็ญ
เบญจวรรณ อาร์ดเนอร์
จำนวนตอน16 ตอน
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิตประวิทย์ มาลีนนท์
อรุโณชา ภาณุพันธ์
ความยาวตอน120 นาที
ออกอากาศ
เครือข่ายช่อง 3 เอชดี
ออกอากาศ30 มีนาคม ค.ศ. 2011 –
19 พฤษภาคม ค.ศ. 2011

ออกฉายทางช่อง 3 เอชดี เมื่อปี 2554โดยเป็นภาคต่อจากละครเรื่องมงกุฎดอกส้ม ละครพัฒนาจากบทประพันธ์ในชื่อเดียวกันเรื่อง ดอกส้มสีทอง บทประพันธ์ของ ถ่ายเถา สุจริตกุล[1]

โครงเรื่อง แก้

นักแสดง แก้

บทบาทในเรื่อง นักแสดงปี พ.ศ. 2554
เรยา วงษ์เศวต (ฟ้า) อารยา เอ ฮาร์เก็ต
ก้องเกียรติ เจนพานิชย์สกุล (คุณชายใหญ่) วิทยา วสุไกรไพศาล
ณฤดี เจนพานิชย์สกุล (คุณดี๋) มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล
เด่นจันทร์ ชลธี (เด่น) อภิษฎา เครือคงคา
เกียรติกร เจนพานิชย์สกุล (ซีเค) หลุยส์ สก็อต
เจ้าสัวเชงสือเกียง ฉัตรชัย เปล่งพานิช
เม่งฮวย (คุณนายที่ 1) จริยา แอนโฟเน่
เยนหลิง (คุณนายที่ 2) รินลณี ศรีเพ็ญ
ซิลเวีย (คุณนายที่ 5) เบญจวรรณ อาร์ดเนอร์
ลำยอง วงษ์เศวต (แม่เรยา) ปวีณา ชารีฟสกุล
นัท ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ
โจ โฆษวิส ปิยะสกุลแก้ว
อาอื้ม พิศมัย วิไลศักดิ์
พุ่ม อัญชลี ไชยศิริ
อาจิว วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์
อาเง็ก จรรยา ธนาสว่างกุล
อาฮุ้ง อณูวรรณ ปรีญานนท์
อาจู ปาจรีย์ ณ นคร
นักแสดงรับเชิญ
คำแก้ว (คุณนายที่ 4) วนิดา เติมธนาภรณ์
เหมเกว่/โรส (คุณนายที่ 3) ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์
กรองกาญจน์ เจนพานิชย์สกุล (หมวยใหญ่) ณิชชาพัณณ์ ชุณหะวงศ์วสุ
คุณนายแหม่ม บอนนี่ เซลเลอร์แบ็ค
ไทรรัตน์ โชคชัย บุญวรเมธี
เรืองยศ สุพจน์ จันทร์เจริญ
เดช ชลธี สุเชาว์ พงษ์วิไล
ดาว กฤติยา วุฒิหิรัญปรีดา
อาโกวตี้ พิมพ์แข กุญชร ณ อยุธยา
อาเซ็ง เพทาย พลอยมีค่า
เรยา (วัยเด็ก) ด.ญ.ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนา
กองแก้ว ด.ญ.นันท์นภัส เลิศนามเชิดสกุล
กรรณิการ์ ด.ญ.กัญปภัส ฤดีขจรไชย
เกียรติกร (วัยเด็ก) ด.ช.รจนกร อยู่หน้า

การวิจารณ์ แก้

กระแสวิจารณ์เชิงลบ แก้

เมื่อออกฉาย กระแสของละครเรื่องนี้ได้ก่อให้เกิดเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมอย่างกว้างขวาง โดยมีผู้ต้องการให้เปลี่ยนเนื้อหา โดยเรียกร้องผ่านไปยังกระทรวงวัฒนธรรม เนื่องจากมองว่าตัวละครเอก คือ เรยา มีพฤติกรรมชอบแย่งสามีคนอื่นและมีฉากเพศสัมพันธ์มากเกินไป ไม่เหมาะสมกับเด็กและเยาวชน[2] แต่ทางผู้จัดอ้างว่าไม่สามารถเปลี่ยนเนื้อหาได้[3] ซึ่งละครเรื่องนี้ได้ถูกจัดเรตให้เป็น น.13+ ต่อมาได้ถูกเปลี่ยนให้เป็นเรต น.18+ [4] ในที่สุดหลังการถกกับ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ดูแลสื่อมวลชนภายในประเทศ ได้ข้อสรุปว่า จะตัดบางฉากที่ไม่เหมาะสมออก[5]

วลี "ฟ้ารักพ่อ" แก้

ในปี พ.ศ. 2562 ช่วงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 วลี "ฟ้ารักพ่อ" ที่มาจากละครเรื่องนี้ ได้รับความนิยมในโลกออนไลน์สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ พร้อมด้วยสมาชิกพรรคได้เดินทางไปชมงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์–จุฬาฯ ครั้งที่ 73 ณ สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ ระหว่างนั้นก็มีนักศึกษาทั้งสองสถาบันได้ขอเข้าไปทักทายและขอถ่ายรูปเป็นจำนวนมาก ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์จึงได้ใช้แฮชแท็กดังกล่าวสะท้อนความนิยม และธนาธรก็ใช้วลี "พ่อก็รักฟ้า" เพื่อขอบคุณผู้ที่เข้ามาทักทาย และขอคะแนนเสียงให้กับพรรคฯ ในการเลือกตั้งครั้งนี้[6] ตั้งแต่นั้นมากลุ่มผู้สนับสนุนพรรคอนาคตใหม่จึงเรียกแทนตนเองว่า "ฟ้า" และมักเรียกนายธนาธรว่า "พ่อ" หรือ "พ่อฟ้า"

ในปี พ.ศ. 2566 วันเฉลิม จำเนียรพล ยูทูบเบอร์ชาวไทยในนามศิลปิน แบดมิกซี ออกเพลง "ฟ้ารักพ่อ" ร้องรับเชิญโดยนักร้องเพลงลูกทุ่งหญิง ยุ้ย ญาติเยอะ โดยวลี "ฟ้ารักพ่อ" และ "ถ้าฟ้าต้องเสียตัว ฟ้าต้องได้เป็นแอร์" ถูกนำมาใช้ในเนื้อเพลง รวมถึงมิวสิกวิดีโอที่ถ่ายทำเลียนแบบการแสดงของตัวละครหลักในละคร[7]

รางวัล แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

อ้างอิง แก้

  1. ถ่ายเถา สุจริตกุล, ดอกส้มสีทอง, ISBN 9786165081504
  2. ดอกส้มสีทอง แรงเกิน! ผู้ปกครอง ร้อง ระงับฉาย จากสนุกดอตคอม
  3. นิพิฏฐ์ฉุนขาด ดอกส้มสีทอง ไม่เปลี่ยนบท! จากเดลินิวส์
  4. ปรับเรต“ดอกส้มสีทอง”น.18+ จากเดลินิวส์
  5. [1]เก็บถาวร 2011-05-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน "ดอกส้มฯ"เฮ!ไม่แบนช่อง3ยอมหั่นฉากแรง จากสยามดารา
  6. เปิดที่มา ปรากฏการณ์ร้อนกับ #ฟ้ารักพ่อ และ #พ่อก็รักฟ้า กระแสแรงจากงานบอล
  7. หทัยธาร ฉัตรเลิศมงคล (4 ธันวาคม 2566). "Bad Story อัลบั้มของ Badmixy มิกซ์ เฉลิมศรี ที่ทำดีและทำถึง!". เดอะสแตนดาร์ด. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 ธันวาคม 2566. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2023.
  8. ประกาศรางวัลคมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 9 จากสนุกดอตคอม
  9. เดลินิวส์: หน้า 10 ฉบับวันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 แรม 8 ค่ำ เดือน 3 ปีเถาะ
  10. ณเดชน์-ชมพู่ คว้ารางวัลเมขลา จากเดลินิวส์