นันท์นภัส เลิศนามเชิดสกุล
นันท์นภัส เลิศนามเชิดสกุล (เกิด 11 มีนาคม พ.ศ. 2545) ชื่อเล่น มิว หรือ มิวนิค[1] เป็นนักแสดงและไอดอลชาวไทย เป็นที่รู้จักจากการเป็นพิธีกรรายการ ดิสนีย์คลับ อดีตสมาชิกวงบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต รุ่นที่ 2 และสมาชิกทีมเอ็นไฟว์ (Team NV) ของวง
นันท์นภัส เลิศนามเชิดสกุล | |
---|---|
![]() | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ชื่อเกิด | นันท์นภัส เลิศนามเชิดสกุล |
เกิด | 11 มีนาคม พ.ศ. 2545 |
ที่เกิด | จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย |
แนวเพลง | |
อาชีพ |
|
เครื่องดนตรี | เสียงร้อง |
ช่วงปี | พ.ศ. 2551–ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต ออฟฟิศ (2561–2562) iAM (2562–2564) |
ประวัติแก้ไข
มิวนิคเกิดเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2545 ที่จังหวัดสมุทรปราการ มีชื่อเล่นว่า "มิว" หรือ "มิวนิค" เนื่องจากมารดาตั้งครรภ์ที่เมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี มิวนิคมีน้องสาวหนึ่งคน ชื่อเล่นว่า "มิ้ง"[1]
มิวนิคสำเร็จการศึกษาตอนปลายด้วยการสอบเทียบ GED และปัจจุบันศึกษาที่คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
การทำงานแก้ไข
มิวนิคเข้าสู่วงการบันเทิงเมื่อ พ.ศ. 2551 ในฐานะนักแสดงเด็ก ด้วยการแสดงละครโทรทัศน์เรื่อง สื่อรักชักใยอลวน รับบทเป็น "น้องจีน" และการแสดงโฆษณารสดี[2] ต่อมา มิวนิคเป็นที่รู้จักมากขึ้นในฐานะพิธีกรรายการ ดิสนีย์คลับ ร่วมกับธีระธันญ์ ขจรชัยเดชาวัฒน์ และพีรพล เพิ่มเพ็ชร์[3][4] จนต้น พ.ศ. 2561 เธอได้ยุติบทบาทในการเป็นพิธีกรรายการ เนื่องจากเข้ามาเป็นสมาชิกวงบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต รุ่นที่ 2 โดยให้เหตุผลว่า อยากจะพัฒนาความสามารถด้านการร้องและเต้น และมีสมาชิกรุ่นแรกของวงเป็นแรงบันดาลใจให้แก่เธอ[5]
มิวนิคแสดงเปิดตัวในฐานะสมาชิกวงบีเอ็นเคโฟร์ตีเอตรุ่นที่ 2 เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ด้วยเพลง "ฤดูใหม่" ซึ่งเป็นเพลงรองในซิงเกิล "เธอคือ...เมโลดี้" และเธอได้รับหน้าที่เป็นเซ็นเตอร์ของเพลงนี้[6]
นอกเหนือจากบทบาทในการเป็นนักร้องไอดอลวงบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต มิวนิคมีโอกาสได้รับบทนำในภาพยนตร์เรื่อง กระสือสยาม โดยรับบทเป็น "โมรา" ซึ่งได้เข้าฉายในโรงภาพยนตร์เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2562[7] และยังได้รับบทเป็น "แพรวพราว" ซึ่งเป็นอีกหนึ่งบทนำในซีรีส์เรื่อง One Year 365 วัน บ้านฉัน บ้านเธอ ร่วมกับสมาชิกวงบีเอ็นเคโฟร์ตีเอตคนอื่น ๆ ซีรีส์เรื่องนี้เป็นโครงการของแอปพลิเคชันไลน์ทีวี ผลิตโดย จีดีเอช จอกว้างฟิล์ม และบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต[8] ออกอากาศครั้งแรกผ่านไลน์ทีวีเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 และมีการนำมาออกอากาศซ้ำทาง ช่องวัน 31 ทุกวันศุกร์ โดยเริ่มตั้งแต่วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
ปัจจุบันมิวนิคยุติการเป็นไอดอลร่วมกับวงบีเอ็นเคโฟร์ตีเอตแล้ว แต่ยังคงเป็นศิลปินในสังกัดของบริษัทแม่ของวงอยู่คือ iAM
ผลงานแก้ไข
ผลงานเพลงแก้ไข
BNK48แก้ไข
ปี | เพลง | ซิงเกิล/อัลบั้ม | ตำแหน่ง | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|
2561 | Tsugi no Season (ฤดูใหม่) | เธอคือ...เมโลดี้ | เซ็นเตอร์ | [9] |
BNK Festival | บีเอ็นเคเฟสติวัล | เซ็มบัตสึ | [10] | |
2562 | Kimi No Koto Ga Suki Dakara (ก็เพราะว่าชอบเธอ) | บีกินเนอร์ | Undergirl | [4] |
Reborn (รีบอร์น) | จาบาจา | Undergirl (Front Member) | [11] | |
สายซับ | 77 ดินแดนแสนวิเศษ | Undergirl | ||
2563 | หัวใจใกล้กัน (Chinese Ver.) | |||
Hashire! Penguin (ฮาชิเระ! เพนกวิน) | เฮฟวีโรเทชัน | Undergirl | ||
เธอนั่นแหละ (Can You...?) | วาโรตะพีเพิล | |||
มามามิลค์แลนด์ (Ma Ma Milk) |
มิวสิกวิดีโอแก้ไข
ปี | ชื่อ | ผู้กำกับ | อ้างอิง |
---|---|---|---|
2561 | Tsugi no Season (ฤดูใหม่) | พิสิณี ขาวสมัย | [12] |
BNK Festival | ณัฐ ยศวัฒนานนท์ ณัฐพร เยี่ยมฉวี |
[13] | |
2562 | Kimi no koto ga suki dakara (ก็เพราะว่าชอบเธอ) | อัตตา เหมวดี | [14] |
Reborn | วฑูศิริ ภูวปัญญาสิริ | ||
สายซับ | จิรัศยา วงษ์สุทิน | ||
2563 | Hashire! Penguin (ฮาชิเระ! เพนกวิน) | ชูยศ เมืองยศ | [15] |
เธอนั่นแหละ (Can You...?) | อธิป วิชชุชัยอนันต์ | ||
มามามิลค์แลนด์ (Ma Ma Milk) | สกัณห์ อายุรพงศ์ |
ละคร / ซีรีส์แก้ไข
ปี | เรื่อง | บทบาท |
---|---|---|
2551 | สื่อรักชักใยอลวน | ธีรุดา (น้องจีน) |
คุณหนูฉันทนา | น้องอาย | |
2552 | ไฟรักอสูร | กุ้งนาง |
2553 | พระจันทร์ลายพยัคฆ์ | จันทร์ฉาย (วัยเด็ก) |
มงกุฎดอกส้ม | กองแก้ว | |
2554 | ดอกส้มสีทอง | กองแก้ว |
ตะวันยอดรัก | หนุงหนิง | |
2555 | กี่เพ้า (ละครโทรทัศน์) | เพ่ยเพ่ย (วัยเด็ก) |
หมูแดง | คุณพริม | |
ดอกโศก | สุดจิต (วัยเด็ก) | |
2556 | อีสา รวีช่วงโชติ | สา / อุษาวดี (วัยเด็ก) |
2557 | ร้ายรักพยัคฆ์กังฟู | หลินหลิน |
2558 | มงกุฎริษยา | ฟ้า (วัยเด็ก) |
2559 | ขมิ้นกับปูน | ทานตะวัน จิตรการ (วัยเด็ก) |
2560 | ตะวันยอแสง | ตะวัน (วัยเด็ก) |
2561 | เมืองมายา Live: สายเลือดมายา | อัน |
2562 | One Year 365 วัน บ้านฉัน บ้านเธอ | แพรวพราว อรุโณทัย (แพรวพราว) |
2563 | The Underclass ห้องนี้ไม่มีห่วย | พระแพง ธนาปรีชาพันธ์ (พระแพง) |
ภาพยนตร์แก้ไข
ปี | ชื่อ | ค่าย | ผู้กำกับ | บทบาท | วันที่เข้าฉาย | ผู้จัดจำหน่าย | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
2551 | รักสามเศร้า | มหาการ พิคเจอร์ | ยุทธเลิศ สิปปภาค | น้องฟ้า | 19 มิถุนายน | จีเอ็มเอ็ม ไท หับ | |
2553 | After School วิ่งสู้ฝัน | ชลัท ศรีวรรณา | จูน | 21 มกราคม | พระนครฟิล์ม | [16] | |
2562 | Sisters กระสือสยาม | บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต ฟิล์ม
บาแรมยู |
ปรัชญา ปิ่นแก้ว | โมรา | 4 เมษายน | สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล | [17] |
2563 | BNK48: One Take | ไอแอม ฟิล์ม | มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล | มิวนิค | 18 มิถุนายน (เน็ตฟลิกซ์) | [18] |
รายการโทรทัศน์แก้ไข
- Disney Club (2553-2561) พิธีกรหลัก
- Victory BNK48 (2561)[19]
- BNK48 Senpai 2nd Generation (2561)
- คุณพระช่วย (2562) รับเชิญร่วมกับจ๋า และ ฟ้อนด์
- ปริศนาฟ้าแลบ (2562) รับเชิญ
พิธีกรแก้ไข
- Disney Club ดิสนีย์คลับ ช่อง 7 (ร่วมกับธีระธันญ์ ขจรชัยเดชาวัฒน์ และพีรพล เพิ่มเพ็ชร์)[3]
- AniParade! (อนิพาเร่) ช่องวัน (ร่วมกับณัฐทิชา จันทรวารีเลขา, จิดาภา แช่มช้อย, และเพลินพิชญา โกมลารชุน)[20]
รางวัลแก้ไข
รางวัลที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงแก้ไข
ปี | รางวัล | สาขา | ผลงานที่เข้าชิง | ผล |
---|---|---|---|---|
2564 | รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 12[21] | ทีมนักแสดงยอดเยี่ยม | One Year 365 วัน บ้านฉัน บ้านเธอ (ร่วมกับทีมนักแสดง) |
เสนอชื่อเข้าชิง |
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 ทำความรู้จักประวัติ มิวนิค BNK48 รุ่น 2 เมมเบอร์ที่มีผู้ติดตามมากที่สุด ! Online-idol. 18 พฤษภาคม 2018.
- ↑ มิวนิค BNK48 รุ่น 2 กับโฆษณารสดี ชุดหนูหิว YouTube. 16 พฤษภาคม 2018.
- ↑ 3.0 3.1 3 พิธีกร ดิสนีย์คลับ “โบกัส-พีพี-มิว” พาชมพระราชวังพญาไท
- ↑ 4.0 4.1 ""มิวนิค" BNK48 กับบันไดพันขั้นที่ยังต้องก้าวต่อ". msn.com. msn บันเทิง. 2019-03-27. สืบค้นเมื่อ 2019-04-07.
- ↑ ฉัตรมงคล ขุนนางจ่า. ทำความรู้จัก”มิวนิคBNK48″รุ่น2 Archived 2018-06-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 77ข่าวเด็ด. 2561-05-08.
- ↑ Sam Ponsan (2018-07-17). "สรุป 7 เรื่องใหม่ของ BNK48 ที่โอตะต้องจดไว้ l เปิดตัวเพลงใหม่รุ่นของ 2 l เปิดตัวซิงเกิ้ล 4 l เพิ่มรอบเธียร์เตอร์ l ตู้ปลารุ่น 2 และอื่นๆ". mangozero.com. Bangkok: The Zero Publishing. สืบค้นเมื่อ 2018-07-17.
- ↑ Rattiya Angkulanon. BNK48 เกิดแล้วไปต่อ...กลยุทธ์เติบโตพร้อมพันธมิตร The Bangkok Insight. 25 สิงหาคม 2561
- ↑ "รวมตัวครอบครัว"ONE YEAR 365 วัน บ้านฉัน บ้านเธอ"และแฟนซีรีส์ดูตอนจบด้วยกัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-12. สืบค้นเมื่อ 2020-06-12.
- ↑ Sam Ponsan. สรุป 7 เรื่องใหม่ของ BNK48 ที่โอตะต้องจดไว้ l เปิดตัวเพลงใหม่รุ่นของ 2 l เปิดตัวซิงเกิ้ล 4 l เพิ่มรอบเธียร์เตอร์ l ตู้ปลารุ่น 2 และอื่นๆ mangozero. 17 กรกฎาคม 2561.
- ↑ "[MV Full] BNK Festival / BNK48". youtube.com. BNK48. 2018-11-22. สืบค้นเมื่อ 2018-11-22.
- ↑ "BNK48 ประกาศเปิดตัวอัลบั้มที่ 2 ของวง โดยเพิ่มเพลงใหม่ 2 เพลง : ปูเป้, ฟ้อนด์, รินะ ได้เป็น Center !!". mangozero.com. Mango Zero. 2019-04-08. สืบค้นเมื่อ 2019-04-08.
- ↑ Ricchansama. ภารกิจเพื่อชาติ! เมื่อ BNK48 x JKT48 ส่งใจให้ทัพนักกีฬาในเอเชียนเกมส์ Archived 2019-04-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน GMLive. 18 สิงหาคม 2018.
- ↑ "[MV Full] BNK Festival / BNK48". youtube.com. BNK48. 2018-11-22. สืบค้นเมื่อ 2018-11-22.
- ↑ "[MV Full] Kimi no Koto ga Suki Dakara ก็เพราะว่าชอบเธอ / BNK48". youtube.com. BNK48. 2019-03-26. สืบค้นเมื่อ 2019-04-10.
- ↑ "[MV Full] Hashire! Penguin - วิ่งไปสิ...เพนกวิน / BNK48". youtube.com. BNK48. 2020-08-21. สืบค้นเมื่อ 2020-08-21.
- ↑ After School วิ่งสู้ฝัน thaicinema.org.
- ↑ "'SisterS กระสือสยาม' แหวกความระทึกขวัญ". khaosod.co.th. Khaosod. 2019-03-07. สืบค้นเมื่อ 2019-03-12.
- ↑ "One Take ภาพยนตร์สารคดีเรื่องที่ 2 ของ BNK48 เตรียมเข้าฉายแบบ Exclusive บน Netflix 18 มิถุนายนนี้". thestandard.co. สุพัฒน์ ศิวะพรพันธ์. 2020-05-09. สืบค้นเมื่อ 2020-05-23.
- ↑ ไทยรัฐฉบับพิมพ์ (2018-07-03). "BNK48 ยึดช่องเวิร์คพอยท์ แบ่งทีมแข่งภารกิจสุดป่วน". thairath.co.th. Thairath. สืบค้นเมื่อ 2018-08-31.
- ↑ AniParade! รายการใหม่ช่องวัน 31 เรียนรู้วัฒนธรรมอนิเมะ พร้อมพิธีกรจาก BNK48 ReviewsPooH. มิถุนายน 16, 2018.
- ↑ "เปิดโผรายชื่อผู้ผ่านเข้ารอบตัดสิน รางวัลนาฏราชครั้งที่ 12 ประจำปี 2563". เดลินิวส์. 2021-08-11.