ดอกส้มสีทอง
บทความนี้ต้องการข้อความอธิบายความสำคัญที่กระชับ และสรุปเนื้อหาไว้ย่อหน้าแรกของบทความ |
ดอกส้มสีทอง เป็นละครสะท้อนสังคมที่ออกฉายทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 โดยเป็นภาคต่อจากละครเรื่องมงกุฎดอกส้ม ละครพัฒนาจากบทประพันธ์ในชื่อเดียวกันเรื่อง ดอกส้มสีทอง บทประพันธ์ของ ถ่ายเถา สุจริตกุล[1]
ดอกส้มสีทอง | |
---|---|
![]() | |
สร้างโดย | บริษัท บรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น จำกัด |
เขียนโดย | บทประพันธ์: ถ่ายเถา สุจริตกุล บทโทรทัศน์: ศัลยา |
กำกับโดย | โชติรัตน์ รักษ์เริ่มวงษ์ |
แสดงนำ | อารยา เอ ฮาร์เก็ต วิทยา วสุไกรไพศาล มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล ฉัตรชัย เปล่งพานิช จริยา แอนโฟเน่ รินลณี ศรีเพ็ญ เบญจวรรณ อาร์ดเนอร์ หลุยส์ สก็อต อภิษฎา เครือคงคา ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์ วนิดา เติมธนาภรณ์ |
จำนวนตอน | 16 ตอน |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการผลิต | ประวิทย์ มาลีนนท์ อรุโณชา ภาณุพันธ์ |
ความยาวตอน | 120 นาที |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 |
ออกอากาศครั้งแรก | 30 มีนาคม พ.ศ. 2554 |
ออกอากาศ | 30 มีนาคม พ.ศ. 2554 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 |
ลำดับเหตุการณ์ | |
ก่อนหน้าโดย | มงกุฎดอกส้ม |
ติดตามโดย | เรยา |
โครงเรื่องแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
นักแสดงแก้ไข
บทบาทในเรื่อง | นักแสดงปี พ.ศ. 2554 |
เรยา วงษ์เศวต (ฟ้า) | อารยา เอ ฮาร์เก็ต |
ก้องเกียรติ เจนพานิชย์สกุล (คุณชายใหญ่) | วิทยา วสุไกรไพศาล |
ณฤดี เจนพานิชย์สกุล (คุณดี๋) | มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล |
สินทร ชลธี (สิน) | วรวุฒิ นิยมทรัพย์ |
เด่นจันทร์ ชลธี (เด่น) | อภิษฎา เครือคงคา |
เกียรติกร เจนพานิชย์สกุล (ซีเค) | หลุยส์ สก็อต |
เจ้าสัวเชงสือเกียง | ฉัตรชัย เปล่งพานิช |
เม่งฮวย (คุณนายที่ 1) | จริยา แอนโฟเน่ |
เยนหลิง (คุณนายที่ 2) | รินลณี ศรีเพ็ญ |
ซิลเวีย (คุณนายที่ 5) | เบญจวรรณ อาร์ดเนอร์ |
ลำยอง วงษ์เศวต | ปวีณา ชารีฟสกุล |
นัท | ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ |
โจ | โฆษวิส ปิยะสกุลแก้ว |
อาอื้ม | พิศมัย วิไลศักดิ์ |
พุ่ม | อัญชลี ไชยศิริ |
อาจิว | วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์ |
อาเง็ก | จรรยา ธนาสว่างกุล |
อาฮุ้ง | อณูวรรณ ปรีญานนท์ |
อาจู | ปาจรีย์ ณ นคร |
นักแสดงรับเชิญ | |
---|---|
คำแก้ว (คุณนายที่ 4) | วนิดา เติมธนาภรณ์ |
เหมเกว่/โรส (คุณนายที่ 3) | ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์ |
กรองกาญจน์ เจนพานิชย์สกุล (หมวยใหญ่) | ณิชชาพัณณ์ ชุณหะวงศ์วสุ |
ไทรรัตน์ | โชคชัย บุญวรเมธี |
เรืองยศ | สุพจน์ จันทร์เจริญ |
เดช ชลธี | สุเชาว์ พงษ์วิไล |
ดาว | กฤติยา วุฒิหิรัญปรีดา |
อาโกวตี้ | พิมพ์แข กุญชร ณ อยุธยา |
อาเซ็ง | เพทาย พลอยมีค่า |
เรยา (วัยเด็ก) | ด.ญ.ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนา |
กองแก้ว | ด.ญ.นันท์นภัส เลิศนามเชิดสกุล |
กรรณิการ์ | ด.ญ.กัญปภัส ฤดีขจรไชย |
เกียรติกร (วัยเด็ก) | ด.ช.รจนกร อยู่หน้า |
การวิจารณ์แก้ไข
กระแสวิจารณ์เชิงลบแก้ไข
เมื่อออกฉาย กระแสของละครเรื่องนี้ได้ก่อให้เกิดเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมอย่างกว้างขวาง โดยมีผู้ต้องการให้เปลี่ยนเนื้อหา โดยเรียกร้องผ่านไปยังกระทรวงวัฒนธรรม เนื่องจากมองว่าตัวละครเอก คือ เรยา มีพฤติกรรมชอบแย่งสามีคนอื่นและมีฉากเพศสัมพันธ์มากเกินไป ไม่เหมาะสมกับเด็กและเยาวชน[2] แต่ทางผู้จัดอ้างว่าไม่สามารถเปลี่ยนเนื้อหาได้[3] ซึ่งละครเรื่องนี้ได้ถูกจัดเรตให้เป็น น.13+ ต่อมาได้ถูกเปลี่ยนให้เป็นเรต น.18+ [4] ในที่สุดหลังการถกกับ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ดูแลสื่อมวลชนภายในประเทศ ได้ข้อสรุปว่า จะตัดบางฉากที่ไม่เหมาะสมออก[5]
วลี "ฟ้ารักพ่อ"แก้ไข
ในปี พ.ศ. 2562 ช่วงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 วลี "ฟ้ารักพ่อ" ที่มาจากละครเรื่องนี้ ได้รับความนิยมในโลกออนไลน์สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ พร้อมด้วยสมาชิกพรรคได้เดินทางไปชมงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์–จุฬาฯ ครั้งที่ 73 ณ สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ ระหว่างนั้นก็มีนักศึกษาทั้งสองสถาบันได้ขอเข้าไปทักทายและขอถ่ายรูปเป็นจำนวนมาก ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์จึงได้ใช้แฮชแท็กดังกล่าวสะท้อนความนิยม และธนาธรก็ใช้วลี "พ่อก็รักฟ้า" เพื่อขอบคุณผู้ที่เข้ามาทักทาย และขอคะแนนเสียงให้กับพรรคฯ ในการเลือกตั้งครั้งนี้[6] ตั้งแต่นั้นมากลุ่มผู้สนับสนุนพรรคอนาคตใหม่จึงเรียกแทนตนเองว่า "ฟ้า" และมักเรียกนายธนาธรว่า "พ่อ" หรือ "พ่อฟ้า"
รางวัลแก้ไข
- คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 9 ประจำปี พ.ศ. 2554 นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม อารยา เอ ฮาร์เก็ต
- คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 9 ประจำปี พ.ศ. 2554 บทละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยม ศัลยา (ศัลยา สุขะนิวัตติ์)[7]
- โทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 26 ประจำปี พ.ศ. 2554 นักแสดงสนับสนุนชายยอดเยี่ยม หลุยส์ สก็อต
- โทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 26 ประจำปี พ.ศ. 2554 นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม อารยา เอ ฮาร์เก็ต[8]
- รางวัลเมขลา ครั้งที่ 24 ประจำปี พ.ศ. 2554 นักแสดงนำหญิงมหานิยม อารยา เอ ฮาร์เก็ต
- รางวัลเมขลา ครั้งที่ 24 ประจำปี พ.ศ. 2554 บทโทรทัศน์เมขลามหานิยม ศัลยา[9]
- รางวัล Bang Awards 2012 จาก BANGCHANNEL Favorite Cast ทีมนักแสดงนำโด่ง ดอกส้มสีทอง
- รางวัล Bang Awards 2012 จาก BANGCHANNEL Favorite Scene Eater ขโมยซีนยอดเยี่ยม ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ถ่ายเถา สุจริตกุล, ดอกส้มสีทอง, ISBN 9786165081504
- ↑ ดอกส้มสีทอง แรงเกิน! ผู้ปกครอง ร้อง ระงับฉาย จากสนุกดอตคอม
- ↑ นิพิฏฐ์ฉุนขาด ดอกส้มสีทอง ไม่เปลี่ยนบท! จากเดลินิวส์
- ↑ ปรับเรต“ดอกส้มสีทอง”น.18+ จากเดลินิวส์
- ↑ "ดอกส้มฯ"เฮ!ไม่แบนช่อง3ยอมหั่นฉากแรง จากสยามดารา
- ↑ เปิดที่มา ปรากฏการณ์ร้อนกับ #ฟ้ารักพ่อ และ #พ่อก็รักฟ้า กระแสแรงจากงานบอล
- ↑ ประกาศรางวัลคมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 9 จากสนุกดอตคอม
- ↑ เดลินิวส์: หน้า 10 ฉบับวันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 แรม 8 ค่ำ เดือน 3 ปีเถาะ
- ↑ ณเดชน์-ชมพู่ คว้ารางวัลเมขลา จากเดลินิวส์
บทความนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล หมายเหตุ: ขอแนะนำให้จัดหมวดหมู่โครงให้เข้ากับเนื้อหาของบทความ (ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:โครงการจัดหมวดหมู่โครงที่ยังไม่สมบูรณ์) |