พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีน

พิพิธภัณฑ์ศิลปะและประวัติศาสตร์ในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีน (จีน: 中国国家博物馆; พินอิน: Zhōngguó Guójiā Bówùguǎn; อังกฤษ: National Museum of China) ตั้งอยู่ที่เลขที่ 16 ถนนฉางอานตะวันออก เขตตงเฉิง กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ทางฝั่งตะวันออกของจัตุรัสเทียนอันเหมิน ด้วยพื้นที่รวมเกือบ 200,000 ตร.ม. รวบรวมผลงานกว่า 1.4 ล้านชิ้น และห้องจัดแสดงถึง 48 ห้อง จึงเป็นพิพิธภัณฑ์อาคารเดี่ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมวัฒนธรรมจีนไว้มากที่สุด ภารกิจของพิพิธภัณฑ์คือการให้ความรู้เกี่ยวกับศิลปะและประวัติศาสตร์ของจีน กำกับโดยกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีน
中国国家博物馆
National Museum of China
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีน มองจากจัตุรัสเทียนอันเหมิน
แผนที่
ก่อตั้งพ.ศ. 2546; 21 ปีก่อน
ที่ตั้งเลขที่ 16 ถนนฉางอานตะวันออก, เขตตงเฉิง, ปักกิ่ง, ประเทศจีน
ประเภทพิพิธภัณฑ์ศิลปะ, พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์
ผลงานศิลปะจีน
ขนาดผลงาน1.4 ล้านชิ้น
จำนวนผู้เยี่ยมชม2,377,600 คน (พ.ศ. 2564)[1]
ภัณฑารักษ์หวัง ชุนฟา (王春法)[2]
เจ้าของกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว
ขนส่งมวลชนรถไฟใต้ดินปักกิ่ง สาย 1
เว็บไซต์en.chnmuseum.cn (ภาษาอังกฤษ)
ป้ายชื่อพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีนในตอนเย็น

ปัจจุบันพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีนมีของสะสมมากกว่า 1.4 ล้านรายการ ครอบคลุมโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมโบราณ โบราณวัตถุทางวัฒนธรรมสมัยใหม่ หนังสือและหนังสือหายาก งานศิลปะ และหมวดอื่น ๆ ในจำนวนนี้มีโบราณวัตถุทางวัฒนธรรม 815,000 ชิ้น (ชุด) โบราณวัตถุทางวัฒนธรรมสมัยใหม่ 340,000 ชิ้น (ชุด) หนังสือหายากและหนังสือโบราณมากกว่า 240,000 ชิ้น (ชุด) มีโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมชั้นหนึ่งเกือบ 6,000 ชิ้น (ชุด)[3] นิทรรศการประกอบด้วยนิทรรศการพื้นฐาน นิทรรศการพิเศษ และนิทรรศการชั่วคราว 3 ชุด เป็นระบบนิทรรศการสามมิติที่ครอบคลุมนิทรรศการตามธีม นิทรรศการพื้นฐาน นิทรรศการพิเศษ และนิทรรศการชั่วคราว ในปี พ.ศ. 2555 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีนมีผู้เข้าชมประมาณ 5.37 ล้านคน[4] และประมาณ 7.55 ล้านคนในปี พ.ศ. 2559[5]

ประวัติศาตร์ แก้

 
แบบจำลองอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีน ก่อนการปรับปรุง
 
แบบจำลองอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีน หลังการปรับปรุง

พิพิธภัณฑ์ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2546[6] โดยการรวมเอาพิพิธภัณฑ์ 2 แห่งที่แยกจากกันแต่อยู่ในอาคารเดียวกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502 คือ พิพิธภัณฑ์การปฏิวัติจีน ในปีกเหนือ และพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ชาติจีน ในปีกใต้

ตัวอาคารสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2501 โดยเป็นหนึ่งในอาคารของโครงการสิบสิ่งก่อสร้างอันยิ่งใหญ่ (十大建筑) ที่สร้างขึ้นเนื่องในวาระครบรอบ 10 ปีของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน และมีการก่อสร้างพร้อมกันกับอาคารมหาศาลาประชาชน (人民大会堂) ที่อยู่ฝั่งตรงข้าม

โครงสร้างอาคารตั้งอยู่บนพื้นที่ 6.5 เฮกตาร์ (16 เอเคอร์) และมีความยาวด้านหน้า 313 เมตร (1,027 ฟุต) ความสูง 4 ชั้น รวม 40 เมตร (130 ฟุต) และความกว้าง 149 เมตร (489 ฟุต)[7]

 
แบบจำลองหอสักการะฟ้าเทียนถาน ที่โถงด้านหน้า ในปี พ.ศ. 2557

หลังจาก 4 ปีของการปรับปรุง พิพิธภัณฑ์ได้เปิดใช้งานอีกครั้งในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554 โดยมีห้องโถงนิทรรศการใหม่ 28 ห้อง พื้นที่จัดแสดงมากกว่า 3 เท่าจากครั้งก่อน และสถานที่จัดแสดงนิทรรศการและห้องเก็บของที่ทันสมัย ​​มีพื้นที่ทั้งหมดเกือบ 200,000 ตารางเมตร ( 2.2 ล้านตารางฟุต) ที่จะแสดง การปรับปรุงใหม่ได้รับการออกแบบโดยบริษัท Gerkan, Marg and Partners จากประเทศเยอรมนี[8]

เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พิพิธภัณฑ์จึงถูกปิดไปบางส่วนในปี พ.ศ. 2563 และจำนวนผู้เข้าชมลดลงถึง 78% เหลือเพียง 1,600,000 คน อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2564 พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่สองในการจัดอันดับพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่มีผู้เข้าชมมากที่สุด รองจากพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ที่ประเทศฝรั่งเศส

นิทรรศการ แก้

 
นิทรรศการความสำเร็จ 30 ปีของโครงการอวกาศจีน ถูกจัดขึ้นที่ห้องโถงตะวันตกของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีน ในปี พ.ศ. 2566

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีนได้จัดนิทรรศการถาวรและชั่วคราวมากกว่า 10 รายการตลอดทั้งปี ไม่เพียงแต่มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาของจีนในสมัยโบราณและสมัยใหม่เท่านั้น แต่ยังพยายามที่จะเป็นหน้าต่างแสดงอารยธรรมโลกอีกด้วย

  • นิทรรศการถาวร
    • จีนโบราณ
    • ถนนสู่การปฏิวัติ
    • ผลงานศิลปะคลาสสิกสมัยใหม่
  • นิทรรศการเฉพาะเรื่องถาวร
    • ศิลปะสำริดจีนโบราณ
    • พระพุทธรูปศิลปะจีนโบราณ
    • ศิลปะเครื่องลายครามจีนโบราณ
    • ศิลปะหยกจีนโบราณ
    • เหรียญจีนโบราณ
    • ศิลปะประติมากรรมแอฟริกัน
    • ราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง
    • การออกแบบสถาปัตยกรรมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีน
    • ประวัติโดยย่อและความสำเร็จของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีน
  • นิทรรศการพิเศษ (เปิดเป็นครั้งคราว)

คอลเลกชัน แก้

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ครอบคลุมประวัติศาสตร์จีนตั้งแต่ยุคมนุษย์หยวนโมวเมื่อ 1.7 ล้านปีก่อนจนถึงปลายราชวงศ์ชิง (ราชวงศ์สุดท้ายในประวัติศาสตร์จีน) มีของสะสมถาวรกว่า 1,050,000 ชิ้น[9] ด้วยโบราณวัตถุล้ำค่าและหายากมากมายที่ไม่สามารถพบเจอได้ในพิพิธภัณฑ์แห่งใดในจีนหรือที่อื่น ๆ ในโลก

หนึ่งในสิ่งของที่สำคัญที่สุดในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีน ได้แก่ "โฮ่วหมู่อู้ติ่ง" (后母戊鼎) สมัยราชวงศ์ชาง ซึ่งเป็นเครื่องสำริดโบราณที่มีน้ำหนักมากที่สุดในโลก หนักประมาณ 832.84 กิโลกรัม,[10] ซุนบรอนซ์ทรงสี่เหลี่ยมประดับด้วยหัวแกะสี่ตัวสมัยราชวงศ์ชาง,[10] กระทะน้ำสำริดขนาดใหญ่สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก,[10] เหรียญสำริดเลี่ยมทองเป็นรูปเสือสมัยราชวงศ์ฉิน,[10] ชุดหยกฝังศพเย็บด้วยด้ายสีทองสมัยราชวงศ์ฮั่น,[10] และคอลเลกชันซันฉ่ายเคลือบสามสีสมัยราชวงศ์ถังและเซรามิกสมัยราชวงศ์ซ่ง[10]

นอกจากนี้ยังมีของสะสมเกี่ยวกับเหรียญที่สำคัญ ซึ่งรวมถึงเหรียญ 15,000 เหรียญที่บริจาคโดย หลัว ป๋อจ้าว (羅伯昭)[11]

พิพิธภัณฑ์มีนิทรรศการถาวรชื่อ ถนนสู่การปฏิวัติ (The Road to Rejuvenation) ซึ่งนำเสนอประวัติศาสตร์ล่าสุดของจีนตั้งแต่จุดเริ่มต้นของสงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่ง โดยเน้นที่ประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน (CCP) และความสำเร็จทางการเมืองของพรรค[12]

แกลเลอรี แก้

นาฬิกานับถอยหลัง แก้

 
นาฬิกานับถอยหลังสำหรับการเริ่มต้นของ โอลิมปิกฤดูร้อน พ.ศ. 2551

ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 มีการติดตั้งนาฬิกานับถอยหลังที่เกี่ยวข้องกับโอกาสสำคัญระดับชาติ เช่น การโอนอำนาจอธิปไตยของฮ่องกงในปี พ.ศ. 2540 การโอนอำนาจอธิปไตยของมาเก๊าในปี พ.ศ. 2542 การเริ่มต้นของโอลิมปิกฤดูร้อนที่ปักกิ่ง พ.ศ. 2551 และการเปิดงานเอ็กซ์โป 2010 ที่เซี่ยงไฮ้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "National Museum Annual Report Information System". NCHA.
  2. "Wang Chunfa became the director of NMC". Wangyi News. 2018-01-04.
  3. "国博简介". 中国国家博物馆. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-04. สืบค้นเมื่อ 2021-06-19.
  4. "参观文明,文明参观". 中国国家博物馆官方网站. 2013-07-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-16. สืบค้นเมื่อ 2013-08-02.
  5. "2016年博物馆调查报告" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-09.
  6. "Message from NCM Director (Wang Chunfa)". en.chnmuseum.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-03. สืบค้นเมื่อ November 30, 2018.
  7. China.org
  8. Hanno Rauterberg, Aufklärung in eigener Sache, Die Zeit, April 1, 2011 (in German)
  9. "National Museum gets major makeover". China Economic Review. 2011-02-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-16. สืบค้นเมื่อ 2012-06-03.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 "The National Museum of China". China Culture. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-27.
  11. Luo Bozhao qianbixue wenji by Ma Feihai, Zhou Xiang, Luo Jiong, Luo Bozhao, review by Helen Wang The Numismatic Chronicle, Vol. 165 (2005), pp. 413-414
  12. Varutti, Marzia (20 February 2014). Museums in China : the politics of representation after Mao. Woodbridge. p. 115. ISBN 9781782042105. OCLC 869551750.