พระเยซูถูกเฆี่ยน (เปียโร เดลลา ฟรานเชสกา)

ดูบทความหลักที่ พระเยซูถูกเฆี่ยน

พระเยซูถูกเฆี่ยน
ศิลปินเปียโร เดลลา ฟรานเชสกา
ปีprobably 1468–1470
ประเภทสีน้ำมันและสีฝุ่นเทมเพอราบนภาพ
มิติ58.4 cm × 81.5 cm (23.0 นิ้ว × 32.1 นิ้ว)
สถานที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติแห่งมาร์เค, เออร์บิโน

พระเยซูถูกเฆี่ยน (อังกฤษ: Flagellation of Christ) เป็นภาพที่เขียนโดยเปียโร เดลลา ฟรานเชสกาจิตรกรสมัยเรอเนซองส์ชาวอิตาลี ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติแห่งมาร์เคที่เมืองเออร์บิโนในประเทศอิตาลี เปียโรเขียนภาพนี้ประมาณระหว่างปี ค.ศ. 1455 ถึงปี ค.ศ. 1460 นักเขียนผู้หนึ่งบรรยายภาพนี้ว่าเป็นภาพ “enigmatic little painting”[1] องค์ประกอบของภาพต่างจากการวางองค์ประกอบภาพโดยทั่วไปและค่อนข้างซับซ้อน รูปสัญลักษณ์และความหมายในการสื่อเป็นเรื่องที่ถกเถียงทางทฤษฎีกันอย่างกว้างขวาง เค็นเน็ธ คล้าค (Kenneth Clark) นักประวัติศาสตร์ศิลปะนับภาพ “พระเยซูถูกเฆี่ยน” เป็นภาพหนึ่งในจำนวนภาพเขียนที่ดีที่สุดสิบภาพและเรียกว่าเป็น “ภาพเขียนเล็กที่ดีที่สุดในโลก”[2]

เนื้อหา แก้

หัวเรื่องของภาพเคือ “พระเยซูถูกเฆี่ยน” โดยทหารโรมันซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างช่วงเวลาที่เรียกว่าทุกขกิริยาของพระเยซู (Passion of Christ) การเฆี่ยนในภาพเกิดขึ้นบนระเบียงที่ใกลออกไปจากคนสามคนที่ยืนอยู่ตอนหน้าทางด้านขวาของรูป ที่ดูเหมือนจะไม่สนใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นข้างหลังภาพ ลักษณะที่เด่นของภาพคือการใช้การเขียนแบบทัศนมิติและความนิ่งที่กระจายไปทั่วภาพ

เปียโรลงชื่อใต้ที่นั่งของจักรพรรดิ - OPVS PETRI DE BVRGO S[AN]C[T]I SEPVLCRI - “งานของเปียโรแห่งซานเซพอลโคร” (เมืองเกิดของเปียโร)

“พระเยซูถูกเฆี่ยน” มีคุณค่าตรงที่มีลักษณะการวางองค์ประกอบของภาพที่สมบูรณ์ และความสามารถของเปียโรในการสร้างความลึกระหว่างพระเยซูที่กำลังถูกเฆี่ยนกับผู้ยืนอยู่ด้านหน้าของรูปสามคนอย่างเห็นจริงโดยการใช้ทัศนมิติ ภาพเหมือนของชายมีหนวดทางซ้ายถือกันว่าเป็นภาพเหมือนที่เป็นจริงเป็นจัง (intense) ในสมัยของเปียโร

ความหมาย แก้

หัวข้อที่มีการถกเถียงกันมากทางวิชาการของภาพนี้มักจะเกี่ยวกับความสำคัญของคนสามคนที่ยืนอยู่ที่ด้านหน้ารูป; ใครคือคนสามคนที่เห็น และ ใครคือผู้ที่นั่งอยู่ทางซ้ายซึ่งในรูปคือปอนติอุส ปิลาเตแต่จะเป็นสัญลักษณ์แทนผู้ใดในสมัยนั้น

นอกจากนั้นก็ยังมีผู้เสนอว่าคนสามคนจะเป็นใครก็ขึ้นอยู่กับการตีความหมายของภาพ ฉะนั้นคนคนเดียวอาจจะเป็นตัวแทนของคนมากกว่าหนึ่งคนก็ได้ ฉากภายในมีแสงส่องมาจากทางด้านขวาขณะที่ภายนอกจากทางซ้าย เดิมภาพนี้มีกรอบที่มีคำจารึกเป็นภาษาละติน “Convenerunt in Unum” (“เขามาด้วยกัน”) ซึ่งมาจากเพลงสดุดี 2, ii ในพันธสัญญาเดิม

การตีความหมายโดยทั่วไป แก้

ถ้าจะตีความหมายกันอย่างปกติแล้วชายสามคนก็คือ ออดดาโตนิโอ ดา มอนเตเฟลโตร (Oddantonio da Montefeltro) ดยุกแห่งเออร์บิโนผู้อุปถัมภ์ของเปียโร และที่ปรึกษาสองคน เซราฟินี และริชเชียเรลลิผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าฆ่าดยุกเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1444 หรือที่ปรึกษาสองคนอาจจะเป็นมานเฟรโด เดอิ ปิโอ และทอมมาโซ ดิ กุยโด เดลอักเนลโลผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าฆ่าดยุกเช่นกันเพราะความที่เป็นรัฐบาลที่ไม่เป็นที่นิยม ความตายอย่างบริสุทธิ์ของออดดาโตนิโอจึงอาจจะเทียบได้กับการสิ้นพระชนม์ของพระเยซู

การตีความหมายทางความสัมพันธ์ทางตระกูล แก้

อีกทฤษฎีหนึ่งก็ว่าอาจจะเป็นภาพที่ได้รับจ้างโดยเฟเดอริโคที่ 2 แห่งมอนเตเฟลโตร (Federico II da Montefeltro) สำหรับการฉลอง ดยุกแห่งเออร์บิโนเป็นดยุกต่อจากออดดาโตนิโอ ชายสามคนจึงน่าจะเป็นผู้ที่เป็นดยุกมาก่อนหน้านั้น ความหมายนี้เป็นความหมายที่เริ่มตีความกันในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ตามหลักฐานจากมหาวิหารเออร์บิโน ซึ่งเป็นเคยเป็นที่เก็บภาพเขียน ตามคำบรรยายที่บันทึกไว้ว่า “การเฆี่ยนของพระเยซูผู้เป็นเจ้า พร้อมกับภาพบุคคลและภาพเหมือนของดยุกกุยดูบาลโด และออดโด อันโตนิโอ”

การตีความหมายทางการเมืองของคริสต์ศาสนา แก้

ตามความคิดเห็นเดิมผู้ที่ยืนตรงกลางเป็นสัญลักษณ์ของเทวดาที่ยืนขนาบระหว่างคริสต์ศาสนาลัทธิตะวันตกและตะวันออก ซึ่งเกิดความแตกแยกและมีผลกระทบกระเทือนต่อคริสต์ศาสนจักรทั้งหมด

ผู้ที่นั่งดูการเฆี่ยนอยู่ทางด้านซ้ายคือจักรพรรดิจอห์นที่ 8 พาลาโอโลกอสแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ ที่เห็นได้จากฉลองพระองค์โดยเฉพาะหมวกสีแดงที่มีลักษณะแปลกที่ขอบนอกม้วนขึ้นมาซึ่งปรากฏบนเหรียญโดยPisanello อีกทฤษฎีนี้เสนอโดยคาร์โล กินซ์เบิร์กในปี ค.ศ. 2000[3] ว่าเป็นภาพเขียนของการเชิญชวนจากคาร์ดินาลเบสซาริโอน (Basilius Bessarion) และจิโอวานนิ บาชชิแก่เฟเดริโกในการเข้าร่วมทำสงครามครูเสด ชายหนุ่มในภาพอาจจะเป็นบอนคอนติที่ 2 แห่งมอนเตเฟลโตรผู้มาเสียชีวิตระหว่างที่มีโรคระบาดในยุโรปในปี ค.ศ. 1458 ฉะนั้นความทรมานของพระเยซูจึงเปรียบได้กับทั้งผู้ถูกทรมานที่ไบเซ็นไทน์และความทรมานของบอนคอนติ

ซิลเวีย รอนชีและนักประวัติศาสตร์ศิลปะอีกหลายคน[4] เชื่อว่าภาพสื่อความหมายทางการเมืองโดยคาร์ดินาลเบสซาริโอน พระเยซูที่ถูกเฆี่ยนเป็นสัญลักษณ์การทรมานของคอนแสตนติโนเปิลซึ่งขณะนั้นถุกล้อมโดยกองทัพของจักรวรรดิออตโตมัน และทั้งคริสต์ศาสนจักร ผู้ที่นั่งดูอยู่ทางซ้ายคือสุลต่านมูรัดที่ 2 แห่งจักรวรรดิออตโตมัน และทางด้านซ้ายเป็นจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 8 คนสามคนทางด้านขวาจากซ้ายคือ คาร์ดินาลเบสซาริโอน, ทอมัส พาเลอิโอโลกอส (Thomas Palaiologos) (พระอนุชาของจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 8) ผู้ไม่สวมรองเท้าเพราะไม่ใช่พระจักรพรรดิ และนิโคโลที่ 3 เดสเต (Niccolò III d'Este) ผู้เป็นเจ้าภาพในการ , host of the การประชุมบาทหลวงแห่งเฟอร์รารา (Council of Florence) เมื่อนิโคโลย้ายการปกครองไปที่เฟอร์รารา.

เปียโรเขียนภาพ “พระเยซูถูกเฆี่ยน” 20 ปีหลังจากคอนแสตนติโนเปิลเสียเมืองแต่ในขณะนั้นสัญลักษณ์แฝงคติของเหตุการณ์นั้นและบุคคลในไบเซ็นไทน์ในการเมืองของอิตาลียังเป็นที่รู้จักกันในอิตาลี เช่นในงานเขียนของเบนนอซโซ กอซโซลิ ในชาเปลแมไจที่วังเมดิชิ-ริคคาดิในฟลอเรนซ์

เค็นเน็ธ คล้าค แก้

ในปี ค.ศ. 1951 นักประวัติศาสตร์ศิลปะ เค็นเน็ธ คล้าค (Kenneth Clark) กล่าวว่าผู้มีหนวนในรูปคือนักปราชญ์กรีกและภาพเขียนเป็นสัญลักษณ์แฝงคติที่แสดงถึงความลำบากของสถาบันศาสนาหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ในปี ค.ศ. 1453 และความพยายามที่เข้าร่วมสงครามครูเสดโดยสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 2ที่ถกเถียงกันที่การประชุมสภาบาทหลวงแห่งมานตัว ชายที่ทางซ้ายสุดจึงเป็นพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์

มาริลิน อารอนเบิร์ก ลาวิน แก้

คำอธิบายอีกคำหนึ่งเป็นของมาริลิน อารอนเบิร์ก ลาวิน (Marilyn Aronberg Lavin) ใน “เปียโร เดลลา ฟรานเชสกา: พระเยซูถูกเฆี่ยน”[5]

ฉากภายในเป็นสัญลักษณ์ของปอนติอุส ปิลาเตแสดงให้เห็นพระเจ้าแฮรอดทรงยืนหันหลังเพราะเป็นลักษณะของภาพเขียนหลายภาพที่เป็นภาพการเฆี่ยนพระเยซูที่เปียโรได้เคยเห็นมา

ลาวินกล่าวว่าชายที่ยืนทางขวาคือ ลุโดวิโคที่ 2 กอนซากา มาร์ควิสแห่งมานตัว (Ludovico II Gonzaga, Marquis of Mantua) และทางซ้ายคือเพื่อนสนิทนักดาราศาสตร์ออตตาวิโอ อูบาลดินิ เดลลา คาร์ดาผู้พำนักอยู่ในวังของดยุก ออตตาวิโอแต่งตัวตามแบบนักดาราศาสตร์โบราณไปจนถึงหนวดสองแฉก ในช่วงเวลาที่วาดภาพทั้งลุโดวิโคและออตตาวิโอต่างก็สูญเสียบุตรชายที่เป็นที่รักซึ่งในรูปเป็นชายหนุ่มที่ยืนอยู่ระหว่างทั้งสองคน สังเกตว่าศีรษะของชายหนุ่มมีรัศมีที่เป็นต้นลอเรลซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความรุ่งโรจน์ ลาวินตั้งข้อสังเกตว่าจุดหมายของภาพเขียนก็เพื่อเปรียบเทียบความทุกข์ทรมานของพระเยซูกับความโศรกเศร้าของพ่อทั้งสองคน และออตตาวิโอเป็นผู้จ้างให้วาดภาพสำหรับชาเปลเปอร์โดโนที่เป็นชาเปลส่วนตัวภายในวังดยุกที่เออร์บิโน ซึ่งมีแท่นบูชาที่มีด้านที่มีขนาดเดียวกับภาพเขียนพอดี ถ้าภาพเขียนอยู่บนแท่นบูชาทัศนมิติของภาพจะดูเหมือนถูกต้องต่อผู้คุกเข่าหน้าแท่น

เดวิด เอ คิง แก้

ในหนังสือที่เขียนเมื่อไม่นานมานี้[6] เป็นการตีความหมายใหม่โดย เดวิด เอ คิง (David King) ผู้อำนวยการของสถาบันเพื่อประวัติศาสตร์ของวิทยาศาสตร์ในแฟรงค์เฟิร์ตในประเทศเยอรมันี ซึ่งเปรียบเทียบภาพเขียนกับรอยจารึกบนเครื่องคำนวณทางดาราศาสตร์แอสโตรลาเบ (astrolabe) ที่ทำในปี ค.ศ. 1462 โดย เรจิโอมอนตานุส (Regiomontanus) ให้แก่คาร์ดินัลเบสซาริออน (Basilius Bessarion)[7] คิงอ้างว่าการค้นหาอักษรย่อของชื่อจากคำจารึกทำให้ทราบได้ว่าแต่ละคนในภาพคือใครและบางคนอาจจะเป็นสัญลักษณ์ของคนมากกว่าหนึ่งคนและพระเจ้ากรีกโรมันอีกองค์หนึ่ง

ในภาพ “พระเยซูถูกเฆี่ยน” ชายหนุ่มที่ใส่เสื้อแดงคือนักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันเรจิโอมอนตานุสลูกศิษย์คนโปรดของคาร์ดินัลเบสซาริออน แต่ในขณะเดียวกันชายหนุ่มที่ว่าก็เป็นเป็นสัญลักษณ์ของคนสนิทที่ฉลาดสามคนที่เพิ่งเสียชีวิตไปของคาร์ดินัลเบสซาริออน: บวนคอนเต ดา มอนเตเฟลโตร, เบอร์นาร์ดิโน อูบาลดินิ ดัลลา คาร์ดา และ วันเจลิสตา กอนซากาด้วย จุดมุ่งหมายของภาพเขียนก็เพื่อแสดงถึงความหวังในอนาคตที่จะมาถึงและการมาถึงของนักดาราศาสตร์คนใหม่ในกลุ่มของคาร์ดินัลเบสซาริออนและเพื่อเป็นเกียรติแก่ชายหนุ่มสามคนที่เสียชีวิตไป

จอห์น โป็ป-เฮนเนสซีย์ แก้

เซอร์จอห์น โป็ป-เฮนเนสซีย์ (John Pope-Hennessy) นักประวัติศาสตร์ศิลปะถกเถียงในหนังสือ “การสอบสวนของเปียโร เดลลา ฟรานเชสกา” ว่าหัวเรื่องที่แท้จริงของภาพเขียนภาพนี้ไม่ใช่การเฆี่ยนพระเยซูแต่คือภาพ “ความฝันของนักบุญเจอโรม

“เมื่อยังหนุ่มนักบุญเจอโรมฝันว่าถูกเฆี่ยนโดยคำสั่งของเทพเพราะไปอ่านหนังสือของคนนอกรีต และต่อมานักบุญเจอโรมก็กล่าวถึงความฝันนี้ในจดหมายถึง ยุสโตชิอุม (Eustochium) ที่ตรงกับข้อเขียนบนบานซ้ายของแผงเออร์บิโน”

นอกจากนั้นโป็ป-เฮนเนสซีย์ก็ยังแสดงภาพที่เก่ากว่าโดยมัตติโอ ดิ จิโอวานนิ (Matteo di Giovanni) จิตรกรชาวเซียนนาซึ่งเขียนภาพที่บรรยายในจดหมายของนักบุญเจอโรม ซึ่งเป็นการสนับสนุนทฤษฎีนี้[8]

อิทธิพล แก้

การเขียนภาพที่แข็งและเป็นแบบแผนที่เป็นลักษณะที่เปียโรนิยมเป็นลักษณะที่เป็นที่นิยมของผู้ชอบศิลปะคิวบิสม์และศิลปะนามธรรม และเป็นที่สรรเสริญของนัประวัติศาสตร์ศิลปะ ที่บรรยายงานเขียนของเปียโรว่า “most nearly perfect achievement and the ultimate realisation of the ideals of the second Renaissance period”

อ้างอิง แก้

  1. วิลคิน, แคเร็น (4 October 2008). ""ภาพเปียโรไม่มีสหาย"". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 4 October 2008.
  2. เค็นเน็ธ คล้าค[ต้องการอ้างอิง]
  3. กินซเบิร์ก, คาร์โล (ค.ศ. 1985). ความน่าทึ่งของเปีย. ลอนดอน. ISBN 0-86091-904-8. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help) (ฉบับใหม่, ค.ศ. 2000).
  4. See http://www.silviaronchey.it/
  5. อารอนเบิร์ก ลาวิน, มาริลิน (ค.ศ. 1972). เปียโร เดลลา ฟรานเชสกา: พระเยซูถูกเฆี่ยน. มหาวิทยาลัยชิคาโก Press. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  6. คิง, เดวิด (ค.ศ. 2007). Astrolabes and Angels, Epigrams and Enigmas. From Regiomontanus’ Acrostic for Cardinal Bessarion to Piero della Francesca’s Flagellation of Christ. ชตุทท์การ์ท. ISBN 978-3-515-09061-2. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |middle= ถูกละเว้น (help)
  7. ดูเพิ่ม มาร์แชนต์, เจ (29 มีนาคม ค.ศ. 2007). "วิทยาศาสตร์และศิลปะ: ความศรัทธา". Nature (446(7135)): หน้า 488–92. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help) ข้อมูลเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ของคิง เก็บถาวร 2007-05-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  8. โป็ป-เฮนเนสซีย์, จอห์น (ค.ศ. 2002). “การสอบสวนของเปียโร เดลลา ฟรานเชสกา”. นิวยอร์ก: New York Review of Books. pp. 16–17. ISBN 1892145138. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)

ดูเพิ่ม แก้