พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ ฑีฆชนม์เชษฐประยูร
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ ฑีฆชนม์เชษฐประยูร (10 ธันวาคม พ.ศ. 2369 - 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2446) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาคล้าย
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ ฑีฆชนม์เชษฐประยูร | |
---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 3 พระองค์เจ้าชั้นเอก | |
ประสูติ | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2369 |
สิ้นพระชนม์ | 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2446 (76 ปี) |
พระบุตร | 28 พระองค์ [1] |
ราชสกุล | สิงหรา |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาคล้าย ในรัชกาลที่ 3 |
พระประวัติ
แก้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ ฑีฆชนม์เชษฐประยูร มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าสิงหรา เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาคล้าย ซึ่งมีเชื้อสายเปอร์เซีย[2] ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 11 ค่ำ เดือนอ้าย ปีจอ ตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2369[3] ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ทรงกำกับกรมพระอาลักษณ์ และทรงสถาปนาเป็น กรมหมื่นอักษรสาสนโสภณ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ เลื่อนเป็น กรมขุนบดินทรไพศาลโสภณ และโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกำกับกรมอักษรพิมพการและกำกับศาลรับสั่งชำระความราชตระกูล แล้วทรงเลื่อนเป็น กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ ฑีฆชนม์เชษฐประยูร พระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2446 ด้วยพระชันษา 76 ปี นับเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีพระชันษาสูงที่สุด ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระบรมมหาราชวังพร้อมด้วยกระบวนแห่นำตามเสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณ วังพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ พระราชทานน้ำสรงพระศพ ทรงสวมพระชฎาพระราชทานแล้ว เชิญพระศพขึ้นพระดิษฐานบนชั้นแว่นฟ้า 2 ชั้น ประกอบพระโกศกุดั่นน้อย มีเครื่องสูงทองแผ่ลวดแวดล้อม[4]
พระโอรสธิดา
แก้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ ฑีฆชนม์เชษฐประยูร เป็นต้นราชสกุล สิงหรา เสกสมรสกับหม่อมกลีบ สิงหรา ณ อยุธยา, หม่อมมาลัย สิงหรา ณ อยุธยา และมีหม่อมอื่น ๆ อีกหลายคน มีพระโอรส พระธิดา ดังนี้
- หม่อมเจ้าหญิงนัดดา สิงหรา
- หม่อมเจ้านพรัตน์ สิงหรา (ประสูติ พ.ศ. 2391)
- หม่อมเจ้าหญิงโกสุมภ์ สิงหรา (พ.ศ. 2391 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2462)
- หม่อมเจ้าวัชรินทร์ สิงหรา (พ.ศ. 2393 – 3 เมษายน พ.ศ. 2462) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงสุคนธราศรี สุบรรณ (พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนภูวนัยนฤเบนทราธิบาล และหม่อมทองคำ สิงหรา ณ อยุธยา
- หม่อมราชวงศ์ถนอมวงศ์ สิงหรา สมรสกับเปี่ยม สิงหรา ณ อยุธยา (สกุลเดิม ณ บางช้าง)
- หม่อมหลวงนัดดาดวง สมรสกับหม่อมเจ้าพงศ์ภูวนาถ ทวีวงศ์
- หม่อมหลวงช่วงวิเชียร สิงหรา
- หม่อมหลวงจำเนียรเนติ์ สิงหรา
- หม่อมหลวงเกษสุดา สมรสกับหม่อมเจ้าพงศ์ภูวนาถ ทวีวงศ์
- หม่อมหลวงวิชาชาญ สิงหรา
- หม่อมราชวงศ์พงศ์ประยูร สิงหรา สมรสกับเนย สิงหรา ณ อยุธยา (สกุลเดิม โชตึกเสถียร)
- หม่อมหลวงศยุมพร สิงหรา
- หม่อมหลวงสมรพิศ สมรสกับชื้น จารุจินดา
- หม่อมหลวงดิศรา สิงหรา
- หม่อมหลวงธนาภรณ์ สิงหรา สมรสกับยุพา สิงหรา ณ อยุธยา (สกุลเดิม ศักดิ์ภูเขียว)
- หม่อมราชวงศ์ตระกูลรัตน์ สิงหรา สมรสกับชุบ สิงหรา ณ อยุธยา (สกุลเดิม วังสวรรณ)
- หม่อมหลวงวิเชียรโชติ สิงหรา
- หม่อมหลวงศรีสุคนธ์ สิงหรา
- หม่อมหลวงกมลรัตน์ สิงหรา
- หม่อมหลวงอุบลรัตน์ สิงหรา
- หม่อมราชวงศ์หญิงวัจนา สิงหรา
- หม่อมราชวงศ์หญิงยุภาภักตร์ สมรสกับพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (หม่อมราชวงศ์สิทธิ์ สุทัศน์)
- หม่อมราชวงศ์อรรคเรศน์ สิงหรา
- หม่อมราชวงศ์เจตน์จำนง สิงหรา
- หม่อมราชวงศ์หญิงวงศ์ขนิษฐ์ สมรสกับพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (หม่อมราชวงศ์สิทธิ์ สุทัศน์)
- หม่อมราชวงศ์กิตติศัพท์ สิงหรา
- หม่อมราชวงศ์ฉบับบูรณ์ สิงหรา สมรสกับอรุณ สิงหรา ณ อยุธยา (สกุลเดิม ณ นคร)
- หม่อมหลวงรุ่งเรือง สิงหรา
- หม่อมหลวงอุทัย สิงหรา สมรสกับประนอม สิงหรา ณ อยุธยา (สกุลเดิม ภูมิจิตร)
- หม่อมราชวงศ์อักษรศิลป์ สิงหรา สมรสกับหม่อมหลวงระทวย สิงหรา (ราชสกุลเดิม เสนีย์วงศ์) และอุ่นเรือน สิงหรา ณ อยุธยา
- หม่อมหลวงยุพินศิลป์ สมรสกับสง่า หงสเดช
- หม่อมหลวงยอดอักษร สิงหรา
- หม่อมหลวงอักษรศิลป์ สิงหรา
- หม่อมราชวงศ์หญิงยุพินพิทย์ สมรสกับต้อ แดงอยู่
- หม่อมราชวงศ์ประสิทธิ์ศักดิ์ สิงหรา สมรสกับละม่อม สิงหรา ณ อยุธยา (สกุลเดิม กสิโสภา)
- หม่อมราชวงศ์จักรพันธ์ สิงหรา
- หม่อมราชวงศ์หญิงภาคินี สมรสกับสงบ วสุธาร
- หม่อมราชวงศ์ถนอมวงศ์ สิงหรา สมรสกับเปี่ยม สิงหรา ณ อยุธยา (สกุลเดิม ณ บางช้าง)
- หม่อมเจ้าหญิงกินเรศร์ สิงหรา (ประสูติ พ.ศ. 2395)
- หม่อมเจ้าหญิงภคินี สิงหรา (พ.ศ. 2398 – พ.ศ. 2418)
- หม่อมเจ้าวงศ์วิจิตร สิงหรา (ประสูติ พ.ศ. 2398 พระราชทานเพลิงเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2427)
- หม่อมเจ้าพิศวง สิงหรา (พ.ศ. 2399 –เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446)
- หม่อมเจ้าหญิงประสานศัพท์ (ประสูติประมาณ พ.ศ. 2400 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2467) เป็นพระชายาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ
- หม่อมเจ้าหญิงเกสรา สิงหรา (ประสูติ พ.ศ. 2400)
- หม่อมเจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม (ประสูติเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2401)
- หม่อมเจ้าชายไม่ปรากฏพระนาม
- หม่อมเจ้าหญิงละอองนวล สิงหรา (ประสูติ พ.ศ. 2406
- หม่อมเจ้าหญิงผกามาศ สิงหรา (ประสูติ พ.ศ. 2403)
- หม่อมเจ้าหญิงประวาศวรรณ สิงหรา บางแห่งว่าลวาสวรรณ (ประสูติ พ.ศ. 2406)
- หม่อมเจ้าพาหุรัด สิงหรา (พ.ศ. 2407 – 19 สิงหาคม พ.ศ. 2443)
- หม่อมเจ้าไพโรจน์ สิงหรา (ประสูติ พ.ศ. 2409)
- หม่อมเจ้าหญิงจรัสศรี สิงหรา หรือจำรัสศรี (ประสูติ พ.ศ. 2416)
- หม่อมเจ้าหญิงจินตนา สิงหรา (พ.ศ. 2422 – 30 มกราคม พ.ศ. 2433)
- หม่อมเจ้าสุธารส สิงหรา (พ.ศ. 2425 – 15 กันยายน พ.ศ. 2461) สมรสกับหม่อมเล็ก สิงหรา ณ อยุธยา
- หม่อมราชวงศ์หญิงวงศ์สินธุ์ สิงหรา
- หม่อมเจ้าหญิงแฉล้ม สิงหรา (พ.ศ. 2434 – 21 เมษายน พ.ศ. 2471)
- หม่อมเจ้ารพีพงศ์ สิงหรา (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2449)
- เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์ละม้าย ในรัชกาลที่ 5
- หม่อมเจ้าชัชวาลย์ สิงหรา ผนวชเป็นพระภิกษุ
- หม่อมเจ้าหญิงประพาฬรัตน์ สิงหรา (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2444)
- หม่อมเจ้าแสงเมฆ สิงหรา (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456)
- หม่อมเจ้าหญิงแย้มเยื้อน สิงหรา
- หม่อมเจ้าหญิงวิชุมาลย์ สิงหรา (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2450)
- หม่อมเจ้าหญิงสุภาภรณ์ สิงหรา (พ.ศ. 2438 – 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2439)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ ฑีฆชนม์เชษฐประยูร | |
---|---|
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
- พ.ศ. – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. 2436 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝ่ายหน้า)[5]
- พ.ศ. – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. 2436 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[6]
- พ.ศ. 2435 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[7]
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ ฑีฆชนม์เชษฐประยูร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
- ↑ กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 48. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2014-10-01.
- ↑ ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. 490 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-222-648-2
- ↑ ข่าวสิ้นพระชนม์ พระเจ้าราชวรวงษ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ถวายบังคมพระบรมรูปและพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 10, ตอน 34, 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436, หน้า 367
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 10 หน้า 470
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ราชสกุลในรัชกาลที่ 3 เก็บถาวร 2008-03-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระราชสกุลกระทู้ในพันทิป.คอม