หม่อมเจ้าพระสังวรวรประสาธน์ (ชัชวาลย์ ชลิโต)

หม่อมเจ้าพระสังวรวรประสาธน์ พระนามเดิม หม่อมเจ้าชัชวาลย์ ฉายา ชลิโต (20 ธันวาคม พ.ศ. 2407 - 29 เมษายน พ.ศ. 2442) เป็นพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกาย

หม่อมเจ้า

พระสังวรวรประสาธน์

(ชัชวาลย์ ชลิโต)
ส่วนบุคคล
ประสูติ
หม่อมเจ้าชัชวาลย์

20 ธันวาคม พ.ศ. 2407
สิ้นชีพิตักษัย29 เมษายน พ.ศ. 2442 (34 ปี)
ศาสนาพุทธ
บุพการี
ราชวงศ์ราชสกุลสิงหรา (ราชวงศ์จักรี)
นิกายเถรวาท
สำนักธรรมยุติกนิกาย
การศึกษาโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร จังหวัดพระนคร
อุปสมบทพ.ศ. 2429
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ตำแหน่งพระราชาคณะฝ่ายสมถะ

ประวัติ

แก้

หม่อมเจ้าพระสังวรวรประสาธน์ มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าชัชวาลย์ ประสูติเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2407[1] เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ ฑีฆชนม์เชษฐประยูร กับหม่อมราชวงศ์เลื่อน นรินทรางกูร

เมื่อครั้งทรงพระเยาว์ทรงเรียนที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบที่ในพระบรมมหาราชวัง ถึงปีจอ พ.ศ. 2429 ทรงผนวชที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วไปทำทัฬหีกรรมที่วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (สา ปุสฺสเทโว) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส กับพระอริยมุนี (เดช ฐานจาโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ทรงผนวชแล้วอยู่วัดราชประดิษฐฯ[2]

วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2437 ในคราวทรงตั้งหม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) ได้ทรงตั้งหม่อมเจ้าพระชัชวาลย์เป็นพระราชาคณะฝ่ายสมถะที่ หม่อมเจ้าพระสังวรวรประสาธน์ พระราชทานนิตยภัตเดือนละ 3 ตำลึง[3] ต่อมาทรงย้ายมาอยู่วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

หม่อมเจ้าพระสังวรวรประสาธน์ ประชวรอาเจียนเป็นพระโลหิตมาตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2442 จนถึงวันที่ 29 เมษายน เวลาเช้า 3 โมง 30 นาที จึงสิ้นชีพิตักษัย[4] สิริชันษาได้ 35 ปี

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "หม่อมเจ้าพระสังวรวรประสาธน์ วัดบวรนิเวศวิหาร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-23. สืบค้นเมื่อ 2017-04-30.
  2. สมมอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 428 หน้า. หน้า 196-197. ISBN 974-417-530-3
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งตำแหน่งพระสงฆ์, เล่ม 11, ตอน 39, 23 ธันวาคม ร.ศ. 113, หน้า 313
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตายในกรุง, เล่ม 16, ตอน 5, 30 เมษายน ร.ศ. 118, หน้า 80