พระสังฆมิตตาเถรี
สังฆมิตตา (บาลี: Saṅghamittā) หรือ สังฆมิตรา (สันสกฤต: Saṅghamitrā) หรือนามเดิม อยาปาลี (อักษรโรมัน: Ayapali;[1] 282 ปี – 203 ปีก่อนคริสต์กาล[1]) เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระเจ้าอโศก (304 ปี – 232 ปีก่อนคริสต์กาล) และพระเทวีผู้เป็นพระชายาพระองค์แรก พระนางสังฆมิตตาและพระมหินทะ พระเชษฐา ได้อุปสมบท และต่อมาเดินทางไปยังประเทศศรีลังกาเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามคำอาราธนาของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะแห่งอนุราธปุระ (250 ปี – 210 ปีก่อนคริสต์กาล) ผู้เป็นกษัตริย์ในยุคร่วมสมัยกันกับพระเจ้าอโศก ถึงแม้พระเจ้าอโศกจะไม่โปรดที่จะส่งพระราชธิดาไปยังต่างแดน แต่ท้ายที่สุดก็ทรงยอมความมุ่งมั่นของพระนางสังฆมิตตา พระนางและภิกษุณีจำนวนหนึ่งได้ตั้งภิกษุณีสงฆ์ขึ้นในศรีลังกาตามพระประสงค์ของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะที่ปราถนาให้พระนางอนุฬาและสตรีคนอื่น ๆ ในราชสำนักที่อนุราธปุระได้อุปสมบท[2][3][4][5][6]
สังฆมิตตาเถรี | |
---|---|
සංඝමිත්තා මහ රහත් තෙරණින් වහන්සේ | |
รูปเคารพพระนางสังฆมิตตาเถรีทรงถือต้นอ่อนของต้นพระศรีมหาโพธิ์ในอารามแห่งหนึ่งในประเทศศรีลังกา | |
ชื่ออื่น | สังฆมิตรา (ภาษาสันสกฤต), อยาปาลี |
ส่วนบุคคล | |
ประสูติ | 282 ปีก่อนคริสต์กาล[1] |
สิ้นพระชนม์ | 203 ปีก่อนคริสต์กาล[1] |
ที่ฝังศพ | ศรีลังกา |
ศาสนา | ศาสนาพุทธ |
สัญชาติ | อินเดีย |
คู่สมรส | อัคคีพรหมา |
บุตร | สุมานา (บุตร) |
บุพการี |
|
นิกาย | เถรวาท |
รู้จักจาก | ตั้งภิกษุณีสงฆ์เถรวาทขึ้นในศรีลังกา |
ชื่ออื่น | สังฆมิตรา (ภาษาสันสกฤต), อยาปาลี |
เนื่องด้วยพระนางสังฆมิตตาได้ตั้งภิกษุณีสงฆ์หรือ เมเหนีสาสนา (Meheini Sasna) ขึ้นในลังกา พระนามของพระนางจึงเชื่อมโยงกับคณะนักบวชหญิงเถรวาทที่จัดตั้งขึ้นในศรีลังกาและในดินแดนอื่น ๆ ทั้งพม่า จีน และไทย เชื่อกันว่าพระนางเป็นผู้นำต้นอ่อนของต้นพระศรีมหาโพธิ์อันศักดิ์สิทธิ์จากอินเดียมาปลูกในอนุราธปุระ (คือ ต้นพระชัยศรีมหาโพธิ์) มีการเฉลิมฉลองต้นพระชัยศรีมหาโพธิในอนุราธปุระทุกวันเดือนเพ็ญของเดือนธันวาคมในชื่อ อุทุวปโปยะ (Uduvapa Poya) หรือ อุโบสถโปยะ (Uposatha Poya) และในขณะเดียวกันก็เป็นวันสังฆมิตตาในศรีลังกาเช่นกัน[3][5][7]
ชีวิตช่วงต้น
แก้พระนางสังฆมิตตาเป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระเจ้าอโศกมหาราช (304 ปี – 232 ปีก่อนคริสต์กาล) และพระเทวีผู้เป็นพระชายาพระองค์แรก ประสูติเมื่อ 282 ปีก่อนคริสต์ศักราช[1] เป็นพระราชบุตรพระองค์รองจากพระมหินทเถระผู้เป็นพระเชษฐา พระนางสังฆมิตตาประสูติที่เมืองอุชเชนี (ปัจจุบันเป็นนครในรัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย) พระนางอภิเษกสมรสเมื่อวัยได้ 14 ปี กับอัคคิพรหม ซึ่งในภายหลังได้บรรลุเป็นพระอรหันต์เช่นกัน ทั้งคู่มีบุตรหนึ่งคนคือสุมนสามเณร ซึ่งต่อมาก็บรรลุอรหันต์เช่นกัน พระอาจารย์ของพระนางคือพระอายุปาลิตเถรี พระนางบรรพชาเมื่ออายุได้ 18 ปีพร้อมกับพระเชษฐา โดยมีพระธัมมปาลิตเถรีเป็นพระอุปัชฌาย์ พระนางบรรลุอรหันต์และประทับอยู่ในปาฏลีบุตร (ปัจจุบันคือนครปัฏณา)[3][5][8][9]
ชีวิตในศรีลังกา
แก้พระนางสังฆมิตตาพร้อมด้วยภิกษุณีสิบรูปเดินทางไปยังศรีลังกาเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาหตามคำอาราธนาของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะแห่งอนุราธปุระ (250 ปี – 210 ปีก่อนคริสต์กาล) ซึ่งร่วมสมัยกันกับพระเจ้าอโศก ถึงแม้พระเจ้าอโศกจะไม่โปรดที่จะส่งพระธิดาไปยังต่างแดน แต่ท้ายที่สุดก็ทรงยอมความมุ่งมั่นของพระนางสังฆมิตตา พระนางและภิกษุณีจำนวนหนึ่งได้ตั้งภิกษุณีสงฆ์ขึ้นในศรีลังกาตามพระประสงค์ของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะที่ปราถนาให้พระนางอนุฬาและสตรีคนอื่น ๆ ในราชสำนักที่อนุราธปุระได้บวชในพระพุทธศาสนา[2] เมื่อเดินทางถึงอนุราธปุระ พระนางสังฆมิตตาได้ปลูกต้นอ่อนของต้นพระศรีมหาโพธิ์ในสวนมหาเมฆวนา (Mahāmeghavana) ที่ซึ่งปัจจุบันยังยืนต้นคงอยู่[3][5][6] และเป็นที่รู้จักในชื่อต้นพระชัยศรีมหาโพธิ์
ในคัมภีร์ทีปวงศ์ระบุจำนวนภิกษุณีที่เดินทางไปลังกาด้วยอยู่ที่ 3 รูป อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปยึดถือจำนวนภิกษุณีที่เดินทางไปลังการวม 11 รูปซึ่งรวมพระนางสังฆมิตตา นามของภิกษุณีสิบรูปได้แก่: อุตตรา (Uttara), เหมา (Hema), ปสัทปาลา (Pasadpala), อัคคีมิตตา (Aggimitta), ทาสิกา (Dasika), เผคคู (Pheggu), ปัพพพตา (Pabbata), มัตตา (Matta), มัลลา (Malla) และธัมมทาสิยา (Dhammadasiya)[10]
พระนางสังฆมิตตาเถรีได้บรรพชาพระนางอนุฬาเป็นภิกษุณีรูปแรก ตามด้วยอีก 1,000 รูปในเวลาต่อมา ภิกษุณีเหล่านี้เป็นภิกษุณีสงฆ์กลุ่มแรกในศรีลังกา"[11] สตรีที่ได้บวชภิกษุณีนี้มีมาจากทุกชนชั้นของสังคม[11]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Dalmiya, Rita. "SANGHAMITRA (282–203 BCE)". streeshakti.com. Streeshakti The Parallel Force. สืบค้นเมื่อ 2021-03-23.
- ↑ 2.0 2.1 "Sanghamittā Therī". What the Buddha said in plain English!. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-04. สืบค้นเมื่อ 2010-04-28.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 "A brief history of Sanghamitta". Bodhistav Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2011. สืบค้นเมื่อ 2010-05-02.
- ↑ "Mahindagamanaya was more than a diplomatic mission". Daily Mirror. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-06. สืบค้นเมื่อ 2010-05-02.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 "Theerrii Sanghamiitttta and The Bodhii—tree" (PDF). California: A Gift of Dhamma:Maung Paw. pp. 1–8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-24. สืบค้นเมื่อ 2010-05-02.
- ↑ 6.0 6.1 Harishchanndar, Walisinha (1998). The sacred city of Anuradhapura. Asian Educational Services. pp. 29–36. ISBN 81-206-0216-1. สืบค้นเมื่อ 2010-05-02.
- ↑ "How to be Real Buddhist through Observance?". What Buddha Said Net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-27. สืบค้นเมื่อ 2010-05-02.
- ↑ "Sangamitta Teri". What Buddha Said Net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-04. สืบค้นเมื่อ 2010-05-02.
- ↑ Malalasekera, G.P. (2003). Dictionary of Pali Proper Names: Pali-English. Asian Educational Services. p. 990. ISBN 81-206-1823-8. สืบค้นเมื่อ 2010-05-02.
- ↑ Law, B.C (1994). On the Chronicles of Ceylon. Asian Educational Services. ISBN 81-206-0907-7. สืบค้นเมื่อ 2010-05-03.
- ↑ 11.0 11.1 "Full Moon Poya Day of Unduvap". Sri Lanka Guardian. 2008-12-12. สืบค้นเมื่อ 2010-05-02.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Sanghmitra Theri, A liberated woman
- Arahat Theri Sanghmitra เก็บถาวร 2019-09-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- She is celebrated @ Fullmoon in December เก็บถาวร 2010-06-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน